หนู คลองเตย
หนู คลองเตย หรือ หนู เชิญยิ้ม มีชื่อจริง วันชาติ พึ่งฉ่ำ (ชื่อเดิม ศุภชัย เนตรน้อย) ชื่อเล่น หนู (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 - 29 มกราคม พ.ศ. 2548) เป็นนักแสดงตลกชื่อดังโดยเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือการเดินแบบนกกระยาง ท่าทางที่ยียวนที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสร้างตัวตนให้ผู้คนจดจำหนูได้เป็นอย่างดี หนูมักมีคำพูดฮิตปากที่ทันสมัยไม่เหมือนใคร เช่นคำว่า “จ๊าบ” “เกมส์” “เปย์” “อิ่มทิพย์” "เละเลย" โดยเฉพาะคำว่า "เละเลย" เป็นคำพูดติดปากที่หนูมักจะพูดประจำในรายการ ระเบิดเถิดเทิง [1] เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ในอดีตเคยได้ 3 รางวัลซ้อน ได้แก่ รางวัลลูกกตัญญูดีเด่น, รางวัลครอบครัวมหาชนดีเด่น และรางวัลเมฆลาทองคำ เมื่อปี 2538 [2] หนูเสียชีวิตด้วยวัย 41 ปี ที่โรงพยาบาลบำราศนราดูรเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548[3] โดยมีอาการท้องเสียรุนแรงหลังจากล้มป่วยมานาน [4] โดยเสียชีวิตจากโรคไวรัสขึ้นสมองและวัณโรค โดยมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ก่อนจะเสียชีวิตในปี 2546-2547 อาทิเช่น คนปีมะ, ผีหัวขาด 2, หลบผี ผีไม่หลบ, คนหลบผี, ปล้นก็ปล้นวะ [5] และเคยเป็นอดีต แก็งสามช่า ใน ชิงร้อยชิงล้านคู่กับ เท่ง เถิดเทิง และ หม่ำ จ๊กมก ในปี 2541 อยู่เพียงแค่ 3 เทปเท่านั้น (4-18 มีนาคม 2541[6]) จากปัญหาส่วนตัว เช่น ความไม่ตรงต่อเวลา รวมถึงข่าวยาเสพติดจนถูก โหน่ง ชะชะช่า มาแทนที่ตำแหน่งดังกล่าว [7] และเคยเป็นตัวแสดงหลักในระเบิดเถิดเทิง ในปี 2539-2542 โดยรับบทเป็น คุณนายสะอาด ปัจจุบันมุขหนูยังคงเป็นที่หยิบยกอยู่บ่อยครั้ง อาทิ เช่น โก๊ะตี๋ อารามบอย ได้นำมุขหลวงปู่เค็มซึ่งเค้าโครงมาจากวัดเขาอีโต้[8] [9][10][11]
หนู คลองเตย | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 29 มกราคม พ.ศ. 2548 (41 ปี) สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
บิดา | ทอง เนตรน้อย |
มารดา | เกิ่น มีทอง |
อาชีพ | นักแสดงตลก |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2534 - 2548 |
ประวัติ
แก้จากเด็กบ้านนอกเข้าสู่สลัม
แก้หนูเกิดที่จังหวัดสิงห์บุรี[12] เป็นคนที่ฐานะยากจนมาก อีกทั้งการเรียนจบแค่ ป.1 และได้เดินทางในเมืองกรุงและอยู่ที่สลัมคลองเตย ซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุมยาเสพติด และหนูกลายเป็นทาสของยาเสพติดไปในที่สุด งานแรกที่หนูได้ทำคือล้างไส้หมูในโรงเชือดหมูต่อมาเป็นกระเป๋ารถสองแถวและเด็กขัดรองเท้าที่ประตูน้ำ
เข้าวงการตลก
แก้หนูเริ่มเข้าสู่วงการแสดงด้วยการเข้าร่วมคณะลิเก ในฐานะเด็กตีกลอง ขณะเล่นลิเกใช้ชื่อว่าหนูแดง, ดอกโศก, ลูกกอล์ฟ และย้ายมาคณะลิเก "อิสระ เดือนเพ็ญ" ขณะนั้นใช้ชื่อว่า "หนู เดือนเพ็ญ" ภายหลังถูก "ขมิ้น เชิญยิ้ม" พบเข้าที่ห้างสรรพสินค้าและชักจูงมาเป็นสมาชิกคณะตลกของ เป็ด เชิญยิ้ม [13]และได้สร้างเอกลักษณ์คือ เดินท่านกกระยาง โดยในช่วงแรกที่เล่นคณะเป็ดเชิญยิ้ม หนูมักจะได้รับบทบาทเป็นเพศที่สาม[14][15]ทำให้ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียง อีกทั้งมีผลงานทางด้านพิธีกรรายการเกมโชว์ต่าง ๆ และได้รับรางวัลลูกกตัญญูอีกด้วย รวมถึงเคยคบหานางแบบนู้ดชื่อดัง มรกต มณีฉาย เพึยงช่วงเวลาสั้น ๆ และเคยได้รับรางวัลลูกยอดกตัญญูเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2537
ยุคตกต่ำ
แก้หลังจากความนิยมของหนู เชิญยิ้มแพร่หลายในทั่วประเทศ แต่เกิดเรื่องอื้อฉาวคือ หนูติดหนี้การพนันบอลถึง 10 ล้านบาท จนทำให้บ้านส่วนตัวถูกยึดทั้งหมด และหนูได้ลาออกจากรายการที่หนูอยู่ทั้งหมด รวมไปถึงเลิกคบหามรกตอีกต่อไป และลาออกจากคณะเป็ด เชิญยิ้ม เพราะไม่อยากทำให้เกิดเรื่องเสียชื่อเสียงของคณะเชิญยิ้ม หลังมีข่าวอื้อฉาวถึงพนันจนทำให้ห่างหายจากวงการ หนูได้ออกรายการเจาะใจเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ยอมรับกับรายการว่าตนเคยติดหนี้พนันบอลถึง 13 ล้าน และยาเสพติด และตนเลิกทั้งสองอย่างแล้ว นับได้ว่าเป็นการเปิดใจในรอบสองเดือนของหนูจากข่าวอื้อฉาวพนันบอล เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น หนูตั้งคณะเดี่ยวอิสระ ชื่อว่า “หนู คลองเตย” เพื่อลบคำสมประมาทและไม่ให้เชิญยิ้มเกิดข้อกังขา ล้อต๊อก ดาราตลกผู้ล่วงลับเป็นผู้แนะนำสกุลดังกล่าว “เขาไม่ให้ใช้เชิญยิ้ม เราก็ใช้คลองเตย ถ้ามีปัญหาก็บอกต๊อก คลองตันตั้งให้”
กลับมาอีกครั้ง
แก้หลังจากหนู เชิญยิ้มได้ออกรายการเจาะใจ และได้สัมภาษณ์ในรายการ ทำให้หนูกลับมาแสดงตลกอีกครั้ง และคราวนี้ใช้ชื่อว่า “หนู คลองเตย” โดยสาเหตุที่ใช้เนื่องจากตนไม่ใช้ชื่อเชิญยิ้ม เพราะเกิดเสียชื่อเสียงต่อคณะเชิญยิ้ม รวมทั้งได้เข้าร่วมแก๊งสามช่าจากรายการชิงร้อยชิงล้าน แต่ก็ถูกออกไปจากแก๊งสามช่าเนื่องจากมีเรื่องอื้อฉาวว่าหนูมีอาการวิกลจริตจนไปเข้าสงบสติอารมณ์โดยยึดธรรมะเข้าข่มอยู่วัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) ซึ่งเป็นวัดที่ผู้เป็นแม่เคยบวชชี และหลังแม่เสียชีวิตก็ได้นำอัฐิมาเก็บไว้ที่วัดแห่งนี้ ขณะสงบจิตใจ ข่าวคราวของหนู คลองเตย ก็เงียบหายไป ในเวลาต่อมา คณะหนู คลองเตย นั้นหนูเป็นหัวหน้าคณะ และนำอดีตทีมตลกบางคนของคณะต่าง เช่น หม่อมเหยิน และ แป๋ว บ้านโป่ง และตลกคนใหม่เช่น ไมเคิล เชิญยิ้ม เอ เชิญยิ้ม
ปลายชีวิต
แก้หลังจากหายไปเกือบ 3 ปี จากกรณีที่มีภาพข่าวว่าเจ้าตัวเป็นคนวิกลจริต หนูได้กลับมาแสดงอีกครั้งโดยประกาศว่าตนจะไม่เสพยา พนันบอลตลอดไป โดยหนูได้มีผลงานภาพยนตร์เรื่องฅนปีมะ ซึ่งได้รับความนิยมอยู่มาก ทำให้หนูมีผลงานการแสดงละครและภาพยนตร์ต่าง ๆ แต่ว่าหนูมีโรคประจำตัวคือวัณโรค และไวรัสติดเชื้อเข้าสมอง ทำให้หนูต้องเข้าโรงพยาบาลตลอด จนกระทั่งอาการทรุดหนัก แพทย์ต้องห้ามญาติและผู้อื่นเข้าเยี่ยมอาการ จนกระทั่งหนูเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 41 ปี เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548
สมาชิกในคณะ หนู คลองเตย
แก้- เล็ก เชิญยิ้ม
- อุ๊ เชิญยิ้ม (เสียชีวิต)
- เอ เชิญยิ้ม
- โรเบิร์ต สายควัน (เสียชีวิต)
- โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม (เสียชีวิต)
- ยายชา เถิดเทิง
- เต๋อ เชิญยิ้ม
- กิ๊ฟ โคกคูน
- สีทอง เชิญยิ้ม (เสียชีวิต)
- ไมเคิล เชิญยิ้ม
- อ่าง เถิดเทิง
- เฉิน เชิญยิ้ม
- บัวทอง เชิญยิ้ม (เสียชีวิต)
- ตู่ จ๊กมก
ผลงาน
แก้ผลงานรายการโทรทัศน์
แก้
ปีแก้ |
ชื่อรายการแก้ |
บทบาทแก้ |
รับหน้าที่ร่วมกับแก้ |
หมายเหตุแก้ |
---|---|---|---|---|
2537 - 2539 | กรุสมบัติ | พิธีกร | วรุฒ วรธรรม สินจัย เปล่งพานิช |
|
2537 - 2541 | ขบวนการจี้เส้น | นักแสดง | โน๊ต เชิญยิ้ม | แสดงในตอน "บ้านทรายทอง" รับบทเป็น พจมาน[16][17]
แสดงในตอน "Acting Award" รับบทเป็น พิธีกรหญิง[18] แสดงในตอน "โมเดลลิ่ง" รับบทเป็นผู้สมัครเป็นนักแสดง[19] แสดงในตอน "ชีวิตขอทาน" รับบทเป็นลูกชาย[20] แสดงในตอน "เซลล์แมน" รับบทเป็นเจ้าของบ้าน[21] |
2538 | โป๊ะแตก | พิธีกร | - | เป็นทั้งพิธีกรและนักแสดงในช่วง "ตลกอย่างไรถ้า..!" |
2539 - 2541 | ระเบิดเถิดเทิง | สะอาด ณ แมนยูฯ | มยุรา เศวตศิลา เกียรติ กิจเจริญหม่ำ จ๊กมก เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ เท่ง เถิดเทิง เด๋อ ดอกสะเดา |
เป็นทั้งนักแสดงในช่วงละครและพิธีกรร่วม |
โอนลี่วันเกม | พิธีกร | เมทนี บุรณศิริ | ||
2540 | กามเทพผิดคิว | - | มาเป็นพิธีกรใหม่แทน เกียรติ กิจเจริญ | |
โปรแกรม ฟ.ฟัน | ดวงตา ตุงคะมณี วรุฒ วรธรรม |
|||
2540 | 7 7 40 ก้าว | ศรัณยู วงษ์กระจ่าง สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ มยุรา เศวตศิลา |
||
ช็อคเกม | อนันต์ บุนนาค ปรารถนา องค์ชัยศักดิ์ |
|||
ก่อนบ่ายคลายเครียด | ||||
2541 | ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า | พิธีกร | ปัญญา นิรันดร์กุล มยุรา เศวตศิลา หม่ำ จ๊กมก เท่ง เถิดเทิง |
1 ในสมาชิกแก๊งสามช่ารุ่นแรกสุด และอยู่ในสมาชิกด้วยระยะเวลาสั้นที่สุดเพียง 3 สัปดาห์ ตั้งแต่ 4 - 18 มีนาคม 2541 |
2541 - 2542 | เกมแก้จน | ปัญญา นิรันดร์กุล สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ ถั่วแระ เชิญยิ้ม |
เป็นทั้งนักแสดงในช่วงละครและพิธีกรร่วม | |
2542 | ระเบิดเถิดเทิง | สะอาด ณ แมนยูฯ
ชายขี้เมา |
มยุรา เศวตศิลา หม่ำ จ๊กมก เท่ง เถิดเทิง เด๋อ ดอกสะเดา แดนนี่ ศรีภิญโญ โหน่ง ชะชะช่า |
รับเชิญในตอน คุณนายกลับมาแล้ว |
2546 | กรุสมบัติ | พิธีกร | โอลิเวอร์ พูพาร์ต
วริศรา มหากายี |
ผลงานด้านภาพยนตร์
แก้ปี | ชื่อภาพยนตร์ | บทบาท | แสดงร่วมกับ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2537 | หน่วยรบสติแตก | |||
2539 | เด็กเสเพล | อ่าง | รินรวีร์ ใหญ่เสมอ | |
กองพันทหารเกณฑ์ 12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท | ทหาร | |||
2545 | ผีหัวขาด | ผีกองกอย | ||
2546 | คนปีมะ | สายฟ้า | ||
คนหลบผี | ||||
ปล้นก็ปล้นวะ | ||||
ตะวันตัดบูรพา | บุญส่ง (จ่าส่ง) | เบอนัวต์ & แดนเซอร์ | ||
หลบผีผีไม่หลบ | ||||
2547 | ผีหัวขาด 2 | ผีกองกอย | ||
บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม | น้าหนู | |||
2548 | พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า | |||
เสือภูเขา | ซูซู | รับเชิญ และเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่แสดงไว้ทั้ง 2 เรื่อง ก่อนเสียชีวิต | ||
2550 | เวิ้งปีศาจ |
ผลงานละคร
แก้- นายทองย้อย (2536) ช่อง 3
- พรหมพยศ (2536) ช่อง 9
- แม่นาคพระโขนง (2537) ช่อง 5
- เกาเหลาสายเลือด (2537) ช่อง 3
- ซุปเปอร์ปั๊ม (2537) ช่อง 3
- ทาส (2538) ช่อง 5
- ผู้กองยอดรัก (2538) ช่อง 9
- ชมรมขนหัวลุก FRIDAY (2538) ช่อง 5
- คนอยู่วัด (2539) ช่อง 3
- จัดสรรหรรษา (2539) ช่อง 3
- เงิน เงิน เงิน (2540) ช่อง 7
- รักผู้พันแถมเรือพ่วง (2540) ช่อง 5
- เพลงรักจากบ้านนา (2540) ช่อง 9
- บ้านผีปอบ (2541) ช่อง 5
- น.ส.สัปเหร่อ (2546) ช่อง 3
- บางรักซอย 9 (2547) ช่อง 9 รับเชิญ
ผลงานมิวสิควีดีโอ
แก้- เพลง แบ่งสมบัติ โน้ต เชิญยิ้ม นก วนิดา (2539)
อ้างอิง
แก้- ↑ ตลกมวย กะหร่อง ศรีอีสาน (หนู เชิญยิ้ม, หนู คลองเตย) VS เซ่อซ่า กล้าศึก (จ๊ะเอ๋ เชิญยิ้ม), สืบค้นเมื่อ 2021-06-02
- ↑ ตลกคณะเป็ด เชิญยิ้ม ฮาสนั่นจอ ชุดที่125 (2539), สืบค้นเมื่อ 2021-06-01
- ↑ ""หนู คลองเตย"เสียชีวิตแล้ว!". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2005-01-29.
- ↑ "แอน มรกต"ซึม รดน้ำศพ"หนู"ชาวตลกยกขบวนร่วมอาลัย". forum.uamulet.com.
- ↑ "อาลัยตลกอาภัพ "หนู คลองเตย"". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2005-01-29.
- ↑ ระเบิดเถิดเทิง 05-01-1998, สืบค้นเมื่อ 2021-06-03
- ↑ เปิดตัวแก๊งสามช่า เทปแรก และทายดาราปริศนา | ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า, สืบค้นเมื่อ 2021-06-02
- ↑ "สรุปมุก 'หลวงปู่เค็ม' คืออะไร เริ่มจากไหน? เข้าใจวัฒนธรรมตลก และพลังคอนเทนต์ในโลกออนไลน์ ผ่านมุกสุดคลาสสิค". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-08-14.
- ↑ "หนู คลองเตย ดาวตลกผู้ให้กำเนิดมุก 'หลวงปู่เค็ม' ก้าวเข้าไปในกองไฟ ก้าวแรกไม่เป็นไร ก้าวต่อไปไฟเริ่มไหม้สบง". THE STANDARD. 2019-08-15.
- ↑ 7 (2019-08-15). "ที่มาหลวงปู่เค็ม อภินิหารฟังแล้วหงายท้องตึง ไวรัลไปทั่วเมือง เปิดต้นฉบับคลาสสิก". ข่าวสด.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "เปิดใจ ผู้สร้าง "เหรียญหลวงปู่เค็ม" วัดเขาอีโต้ขว้างเป็ด ลั่นขายสูงถึง 8 หมื่น". www.sanook.com/news.
- ↑ "หนู คลองเตย ดาวตลกผู้ให้กำเนิดมุก 'หลวงปู่เค็ม' ก้าวเข้าไปในกองไฟ ก้าวแรกไม่เป็นไร ก้าวต่อไปไฟเริ่มไหม้สบง". เดอะสแตนดาร์ด. 15 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ข่าวดังข้ามเวลา : หนูคลองเตย ตลกสลัมบอย [คลิปเต็มรายการ], สืบค้นเมื่อ 2021-06-06
- ↑ ตลกคณะ เป็ด เชิญยิ้ม | ขบวนการฮาคับโลก ชุดที่ 34 (2534), สืบค้นเมื่อ 2021-06-01
- ↑ หนู คลองเตย ทะเลาะ เป็ด เชิญยิ้ม, สืบค้นเมื่อ 2021-06-02
- ↑ JSL Global Media (2016-01-07), ขบวนการจี้เส้น : บ้านทรายทอง ตอนที่ 1 [7 ม.ค. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-01-14), ขบวนการจี้เส้น : บ้านทรายทอง ตอนที่ 2 [14 ม.ค. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-04-01), ขบวนการจี้เส้น : Acting Award [31 มี.ค. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-05-12), ขบวนการจี้เส้น : โมเดลลิ่ง [12 พ.ค. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-03-17), ขบวนการจี้เส้น : ชีวิตขอทาน ตอนที่ 2 [17 มี.ค. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-05-05), ขบวนการจี้เส้น : เซลส์แมน ตอนที่ 2 [5 พ.ค. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-06-17), ขบวนการจี้เส้น : ขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 3 [17 มิ.ย. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30
- ↑ JSL Global Media (2016-06-10), ขบวนการจี้เส้น : ขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 2 [10 มิ.ย. 59] HD, สืบค้นเมื่อ 2024-05-30