The Masterpiece เวทีบันลือโลก
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
The Masterpiece เวทีบันลือโลก เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์และวาไรตีโชว์ที่นำผู้กำกับและนักแสดงจำนวน 9 คู่ มาแข่งขันทำการแสดงจากการตีความผลงานศิลปะชิ้นเอก (Masterpiece) ออกมาใหม่ในหลากหลายรูปแบบ ภายใต้ความร่วมมือในการผลิตระหว่างบริษัทบันเทิงรายใหญ่ของ 2 ประเทศ ได้แก่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย กับ ฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และ สมาร์ตด็อก มีเดีย จากสหรัฐ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันพุธ เวลา 20:15 - 21:45 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566 ดำเนินรายการโดย กันต์ กันตถาวร
The Masterpiece เวทีบันลือโลก | |
---|---|
ประเภท | เรียลลิตีโชว์, วาไรตีโชว์ |
พัฒนาโดย | เคร็ก เพลสติส (สมาร์ตด็อก มีเดีย) |
กำกับโดย | |
เสนอโดย | กันต์ กันตถาวร |
แสดงนำ | |
กรรมการ |
|
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 8 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต |
|
ผู้อำนวยการสร้าง |
|
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอเวิร์คพอยท์ |
กล้อง | กล้องหลายตัว |
ความยาวตอน | 90 นาที |
บริษัทผู้ผลิต |
|
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 4 มกราคม 2566 – 1 มีนาคม 2566 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
The Mask Singer หน้ากากนักร้อง The Show ศึกชิงเวที |
งานสร้าง
แก้จุดเริ่มต้น
แก้The Masterpiece เวทีบันลือโลก เป็นรายการโทรทัศน์ที่เป็นโครงการใหญ่ระดับโลก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัทบันเทิงขนาดใหญ่ของ 2 ประเทศ ได้แก่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย และฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ กับสมาร์ตด็อก มีเดีย จากสหรัฐ[1] ซึ่งความร่วมมือนี้เกิดจากความสำเร็จของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ในการผลิตรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ที่สร้างชื่อเสียงในประเทศไทย และฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ รวมถึงพันธมิตรคือสมาร์ตด็อก มีเดีย จึงได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตและออกอากาศในรูปแบบของสหรัฐ ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงในสหรัฐเช่นกัน เคร็ก เพลสติส ผู้อำนวยการผลิตของสมาร์ตด็อก จึงกลับมาชักชวนเวิร์คพอยท์ให้มาร่วมสร้างโครงการใหญ่ร่วมกันอีกครั้ง[2]
รายการนี้เป็นความท้าทายของเวิร์คพอยท์อีกระดับ เนื่องจากเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมเพื่อพิสูจน์ศักยภาพในการสร้างการแสดงจากผลงานชิ้นเอกให้เป็นมาตรฐานระดับโลก และเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการโทรทัศน์ของประเทศไทยอีกครั้ง[2] และเป็นการร่วมพัฒนารูปแบบรายการของฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และสมาร์ตด็อก มีเดีย สำหรับจำหน่ายลิขสิทธิ์เพื่อออกอากาศนอกสหรัฐ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนารูปแบบรายการไร้สคริปต์สากลของฟ็อกซ์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซึ่งหากรูปแบบรายการนี้ประสบความสำเร็จ จะนำไปผลิตเพื่อออกอากาศในประเทศอื่น ๆ[3]
แนวคิด
แก้The Masterpiece เวทีบันลือโลก เป็นรายการแข่งขันประกวดการแสดงที่นำผลงานศิลปะชิ้นเอก (Masterpiece) ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในระดับโลก มาใช้เป็นต้นแบบเพื่อทำการแสดงประเภทต่าง ๆ ในรูปแบบใหม่ เสมือนการทำให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ผ่านการตีความหมายใหม่ หรือการใส่ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมลงไปในการแสดงในรูปแบบของผู้กำกับและนักแสดงทั้ง 9 ทีม[1] โดยนักแสดงจะออกมาจากผลงานต้นแบบเพื่อทำการแสดงรูปแบบใหม่ในประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งการร้องเพลง แสดงตลกเดี่ยว และการเต้นรำ[4] และเมื่อการแสดงสิ้นสุดลง นักแสดงจะกลับไปสู่ผลงานต้นแบบ โดยผลงานชิ้นเอกทุกผลงานสามารถนำมาทำการแสดงในรูปแบบใหม่ได้ทั้งหมด
การผลิต
แก้ในรายการนี้ การแสดงจากผลงานชิ้นเอกในแต่ละการแสดง จะเปรียบเสมือนกับการผลิตภาพยนตร์ในแต่ละเรื่อง ซึ่งใช้ทีมงานมากกว่า 500 คน และงบประมาณในการผลิตจำนวนมาก โดยในทุก ๆ การแสดง จะมีการสร้างฉากขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงมีการออกแบบเสื้อผ้า การแต่งหน้า การทำผม ของนักแสดงทุกคน ที่เน้นตามเรื่องราวของผลงานชิ้นเอกแต่ละผลงาน[2]
รูปแบบรายการ
แก้ในรายการนี้จะนำผู้กำกับและนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวน 9 ทีม มาตีความผลงานศิลปะชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงระดับโลก และนำเสนอออกมาเป็นการแสดงในรูปแบบใหม่ให้ประทับใจผู้ชมมากที่สุด รวมถึงมีศิลปินรับเชิญที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและในระดับโลก เรียกว่า "White Gang" มาเป็นตัวละครลับที่คิดคาแร็กเตอร์และใส่ลงไปในระหว่างการแสดงจริงของทุกทีม โดยที่นักแสดงจะไม่เคยได้ซ้อมกับ White Gang มาก่อน แต่ไม่มีผลต่อการตัดสิน[2] โดยการตัดสินจะมาจากการโหวตของคณะกรรมการ บุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง และนักศึกษาจากสาขาวิชาภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ[5] และในทุก ๆ สัปดาห์ ทีมที่ได้ผลคะแนนโหวตน้อยที่สุดจะถูกคัดออก จนเหลือ 2 ทีมสุดท้ายที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศซึ่งออกอากาศแบบถ่ายทอดสด และเปิดรับคะแนนโหวตสะสมจากผู้ชมในทุกช่องทางตั้งแต่หลังจบรายการในสัปดาห์ก่อนหน้ารอบชิงชนะเลิศ จนกระทั่งปิดโหวตในระหว่างการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศของรายการ และทีมที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะเลิศ และได้รับถ้วยรางวัลจากรายการ[6]
ผู้กำกับและนักแสดง
แก้ผู้กำกับ | นักแสดง | 2 ทีมสุดท้าย |
---|---|---|
ปรัชญา ปิ่นแก้ว | ยุกต์ ส่งไพศาล | |
หม่ำ จ๊กมก | เขมนิจ จามิกรณ์ | |
พิง ลำพระเพลิง | ชินวุฒ อินทรคูสิน | |
ชยนพ บุญประกอบ | มาดามมด | |
อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข | โจริญ คัมภีรพันธุ์ | |
พล หุยประเสริฐ | ปกรณ์ ลัม | |
ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม | อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี | |
สันติ ต่อวิวรรธน์ | วิชญาณี เปียกลิ่น | |
มานพ มีจำรัส | เบิ้ล ปทุมราช อาร์สยาม |
การแข่งขัน
แก้รอบที่ 1
แก้รอบที่ 2
แก้ลำดับ | ผู้กำกับ | นักแสดง | ผลงานชิ้นเอกที่นำมาแสดง | นักแสดงรับเชิญ | ผลการตัดสิน | |
---|---|---|---|---|---|---|
White Gang | นักแสดงอื่น ๆ | |||||
สัปดาห์ที่ 4 ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | ||||||
10 | ชยนพ บุญประกอบ | มาดามมด | อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ | ภาวิดา มอริจจิ | - | เข้ารอบ |
11 | พล หุยประเสริฐ | ปกรณ์ ลัม | ภาพเหมือนตนเองของฟินเซนต์ ฟัน โคค | สุวีระ บุญรอด | - | ตกรอบ |
12 | ปรัชญา ปิ่นแก้ว | ยุกต์ ส่งไพศาล | วิลเลียม เชกสเปียร์ | มารีญา พูลเลิศลาภ | พิมประภา ตั้งประภาพร ภาสกร บุญวรเมธี |
เข้ารอบ |
สัปดาห์ที่ 5 ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | ||||||
13 | หม่ำ จ๊กมก | เขมนิจ จามิกรณ์ | ซามูไร | พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ | พล นพวิชัย ธนษิต จตุรภุช |
เข้ารอบ |
14 | ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม | อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี | ตลกคาเฟ่ | กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ เท่ง เถิดเทิง |
ศรัทธา ศรัทธาทิพย์ | เข้ารอบ |
15 | มานพ มีจำรัส | เบิ้ล ปทุมราช อาร์สยาม | เสียงกรีดร้อง | สุนารี ราชสีมา | นภัสกร มิตรธีรโรจน์ | ตกรอบ |
รอบรองชนะเลิศ
แก้ลำดับ | ผู้กำกับ | นักแสดง | ผลงานชิ้นเอก ที่นำมาแสดง |
นักแสดงรับเชิญ | ผลการตัดสิน | |
---|---|---|---|---|---|---|
White Gang | นักแสดงอื่น ๆ | |||||
สัปดาห์ที่ 6 ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | ||||||
16 | ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม | อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี | โหมโรง | อาจารียา พรหมพฤกษ์ กรกันต์ สุทธิโกเศศ ธชย ประทุมวรรณ |
ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ ต้นตระกูล แก้วหย่อง ใบเบิ้ล เทพพิณ |
ตกรอบ |
17 | ปรัชญา ปิ่นแก้ว | ยุกต์ ส่งไพศาล | เสือดำ | แอนนา เสืองามเอี่ยม | ภาณุพรรณ จันทนะวงษ์ | เข้ารอบ |
สัปดาห์ที่ 7 ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | ||||||
18 | หม่ำ จ๊กมก | เขมนิจ จามิกรณ์ | การแสดงทิฟฟานี | ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ | ธัญญรัศม์ จิตประภาจิณ รินรดา ธุระพันธ์ นิธิดล ป้อมสุวรรณ |
ตกรอบ |
19 | ชยนพ บุญประกอบ | มาดามมด | มนต์รักเพลงสวรรค์ | นิตยา บุญสูงเนิน | - | เข้ารอบ |
รอบชิงชนะเลิศ
แก้ลำดับ | ผู้กำกับ | นักแสดง | ผลงานชิ้นเอก ที่นำมาแสดง |
นักแสดงรับเชิญ | ผลการแข่งขัน | |
---|---|---|---|---|---|---|
White Gang | นักแสดงอื่น ๆ | |||||
สัปดาห์ที่ 8 ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566[9] | ||||||
20 | ชยนพ บุญประกอบ | มาดามมด | ท้าวทองกีบม้า | หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล | ภัทร์ไพบูลย์ โอภาสสุวรรณ | ชนะเลิศ |
21 | ปรัชญา ปิ่นแก้ว | ยุกต์ ส่งไพศาล | นาคาดราก้อน | บัวขาว บัญชาเมฆ | ปรางชริญา ศรีสามารถ อัญชุลีอร บัวแก้ว กิตตินันท์ ชินสำราญ |
รองชนะเลิศ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "เปิดม่านโชว์ "THE MASTERPIECE" 9 ผู้กำกับจับมือ 9 นักแสดงกับโชว์บันลือโลก". ไทยรัฐ. 2023-01-04. สืบค้นเมื่อ 2023-01-14.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "'The Masterpiece เวทีบันลือโลก' ผลงานมาสเตอร์พีซชิ้นเอกรายการใหม่แกะกล่องจาก 'Workpoint'". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2023-01-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-14.
- ↑ Pinto, Jordan (2023-01-12). "Fox, Smart Dog, Workpoint test-run The Masterpiece celebrity format in Thailand" [Fox, Smart Dog, Workpoint ดำเนินการทดสอบรูปแบบรายการ The Masterpiece ในประเทศไทย]. C21 Media (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Frater, Patrick (2023-01-11). "Fox Alternative Entertainment Trials 'The Masterpiece' Competition Series in Thailand" [ฟ็อกซ์ อัลเทอร์เนทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ทดลองรายการแข่งขัน 'The Masterpiece' ในประเทศไทย]. Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""Workpoint" เล่นใหญ่ ส่ง "The Masterpiece เวทีบันลือโลก" ลงจอวันพุธ 2 ทุ่ม เริ่ม 4 มกราคมนี้". เฟซบุ๊ก. 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "WORKPOINT PREMIERES ITS NEW TALENT SHOW "THE MASTERPIECE" IN THAILAND" [เวิร์คพอยท์เปิดตัวรายการประกวดความสามารถใหม่ "THE MASTERPIECE" ในประเทศไทย]. Señal News (ภาษาอังกฤษ). 2023-01-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""รายการ THE MASTERPIECE เวทีบันลือโลก" เล่นใหญ่ ดึงคนดังระดับโลก "โคตะ มิอุระ" และ "นาตาลี เกลโบวา" เปิดเวทีบิ๊กเซอร์ไพรส์ชุดใหญ่". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-01-17. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ซุปตาร์เกาหลี Rain (เรน) โผล่เซอร์ไพรส์รายการไทย THE MASTERPIECE เวทีบันลือโลก". สนุก.คอม. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สุดยอดผลงานมาสเตอร์พีซ 'หมู ชยนพ' และ 'มาดามมด'คว้าแชมป์ 'THE MASTERPIECE เวทีบันลือโลก'". แนวหน้า. 2023-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-03-03.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แนะนำรายการ จากเว็บไซต์ของช่องเวิร์คพอยท์
- The Masterpiece เวทีบันลือโลก ที่เฟซบุ๊ก
- The Masterpiece เวทีบันลือโลก ที่ติ๊กต็อก