คนครุ่นคิด (รอแด็ง)
คนครุ่นคิด[1] (ฝรั่งเศส: Le Penseur; อังกฤษ: The Thinker) เป็นประติมากรรมที่สร้างโดยโอกุสต์ รอแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รอแด็ง กรุงปารีส ในประเทศฝรั่งเศส
คนครุ่นคิด | |
---|---|
Le Penseur (1904) ในพิพิธภัณฑ์รอแด็ง ปารีส | |
ศิลปิน | โอกุสต์ รอแด็ง |
ปี | 1904 |
สื่อ | ประติมากรรมบรอนซ์ |
"คนครุ่นคิด" เป็นประติมากรรมบรอนซ์และหินอ่อนที่เป็นรูปชายนั่งคิดเหมือนมีความขัดแย้งภายใน[2] รูปปั้นมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของปรัชญา
ประติมากรรม
แก้ประติมากรรม "คนครุ่นคิด" เดิมชื่อ "กวี" เป็นงานที่จ้างโดยพิพิธภัณฑ์มัณฑนศิลป์ (Musée des Arts Décoratifs) ในกรุงปารีสเพื่อเป็นรูปปั้นสำหรับประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ รอแด็งได้รับแรงบันดาลใจจากไตรภูมิดันเตของดันเต อาลีกีเอรี และตั้งชื่อประตูว่า "ประตูนรก" ประติมากรรมแต่ละชิ้นเป็นตัวแทนของตัวละครจากมหากาพย์ เดิม "คนครุ่นคิด" ตั้งใจจะให้เป็นดันเต อาลีกีเอรี หน้า "ประตูนรก" ครุ่นคิดถึงมหากาพย์ ในประติมากรรมชิ้นสุดท้าย รูปปั้นเล็กนั่งอยู่เหนือประตูคิดถึงชะตาของผู้อยู่ข้างใต้ ประติมากรรมเป็นรูปเปลือยเพราะรอแด็งต้องการสร้างผู้ที่มีลักษณะเป็นวีรบุรุษทำนองเดียวกับมีเกลันเจโล ที่แสดงให้เห็นทั้งด้านสติปัญญาที่เกิดขึ้นจากความยำเกรงในพระเจ้าและความสามารถทางกวีนิพนธ์
รอแด็งสร้างปูนหล่อขนาดเล็กใน ค.ศ. 1880 รูปใหญ่หล่อเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1902 แต่มิได้ตั้งแสดงให้ประชาชนชมจนปี ค.ศ. 1904 ต่อมางานชิ้นนี้ตกไปเป็นของกรุงปารีส และถูกนำไปตั้งอยู่หน้าตึกป็องเตอง (Panthéon) ใน ค.ศ. 1906 และใน ค.ศ. 1922 ก็ถูกย้ายไปหน้าโรงแรมบีรงที่ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์รอแด็ง
ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดชิ้นหนึ่งของรอแด็ง และมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความมีสติปัญญา และต่อมาก็เป็นหัวเรื่องการเสียดสีที่เกิดขึ้นเมื่อรอแด็งยังมีชีวิตอยู่
หล่อเพิ่ม
แก้ประติมากรรม "คนครุ่นคิด" ถูกหล่ออีกห้าสิบรูป และนำไปตั้งหน้าพิพิธภัณฑ์ในหลายประเทศ ขนาดรูปก็ต่างกันไป บ้างก็ใหญ่กว่ารูปเดิม บ้างก็เล็กกว่า
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-18. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
- ↑ Statues — The Thinker