ชิงร้อยชิงล้าน

รายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้เกมโชว์

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย และเป็นรายการโทรทัศนลำดับที่ 2 ของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันปรับรูปแบบเป็นรายการประเภทวาไรตี้โชว์และใช้ชื่อว่า ชิงร้อย THE STORY ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 15:00 - 16:00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์

ชิงร้อยชิงล้าน
ประเภทเกมโชว์
วาไรตี้โชว์
สร้างโดยช่องเวิร์คพอยท์
เสนอโดยศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
แสดงนำแก๊งสามช่า
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอช่อง 7 สี (2533 - 2540)
สตูดิโอกรุงเทพฯ (2541 - 2549)
เวิร์คพอยท์สตูดิโอ (2549 - ปัจจุบัน)
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 (2533–2540 / 2549–2554)
ททบ.5 (2541–2548)
ช่อง 3 (2541 / 2555–2558)
ช่องเวิร์คพอยท์ (2558-ปัจจุบัน)
ออกอากาศครั้งแรก17 มกราคม พ.ศ. 2533 (33 ปี)
ออกอากาศ17 มกราคม พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน

ประวัติแก้ไข

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางช่อง 7 สี หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง ททบ.5 ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทางช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึงวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทางช่อง 3 อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่ได้ย้ายทุกรายการที่เวิร์คพอยท์ผลิตไปลงช่องเวิร์คพอยท์ทั้งหมดแล้ว ชิงร้อยชิงล้านจึงได้ย้ายมาออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ เพื่อความเป็นเอกภาพ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา

ตลอดระยะเวลากว่า 33 ปีที่ออกอากาศมานี้ มีการปรับปรุงรูปแบบรายการ และเวลาการออกอากาศอยู่หลายครั้ง ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่รายการมีเพียง 1 ชั่วโมง โดยออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 22:00 - 23:00 น. ในชิงร้อยชิงล้านยุคแรก จนถึงยุค ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) ต่อมาได้ขยายเวลาออกอากาศเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง ตั้งแต่วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 ในยุคของ ซูเปอร์เกม (SUPERGAME) เป็นต้นมา จนกระทั่งในยุค ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก (20TH CENTURY TUCK) ได้มีการเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศเป็นทุกวันอังคาร เวลา 22:25 - 00:20 น. ตั้งแต่วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแต่เดิมออกอากาศทุกวันพุธมาโดยตลอด 19 ปีเต็ม จนกระทั่งในยุค ซันไชน์เดย์ (SUNSHINE DAY) ได้มีการมีเปลี่ยนแปลงวันและเวลาออกอากาศใหม่ เป็นทุกบ่ายวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะชิงร้อยชิงล้านได้ออกอากาศในเวลากลางคืนหลังเวลา 22:00 น. มาตลอดระยะเวลา 22 ปี

ชื่อรายการแก้ไข

รายการ ชิงร้อยชิงล้าน มีการเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งหมด 11 ครั้ง โดยจะคงคำว่า ชิงร้อยชิงล้าน หรือ ชิงร้อย ไว้เสมอ โดยมีรายชื่อดังนี้

ชื่อรายการ
ชื่อ ช่วงระหว่าง ออกอากาศ ระยะเวลา หมายเหตุ
ชิงร้อยชิงล้าน 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ช่อง 7 3 ปี 8 เดือน 29 วัน
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 2 ปี 8 เดือน 15 วัน
ชิงร้อยชิงล้าน ท็อป ซีเคร็ท (TOP SECRET) 22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 9 เดือน 17 วัน
ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538 1 ปี 6 เดือน 12 วัน
ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (SUPERGAME) 3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 2 ปี 3 เดือน 22 วัน
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHA CHA CHA) 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541 ช่อง 3 10 ปี 22 วัน
7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 5 ในเทปวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2545 ชิงร้อยชิงล้านได้ปรับรูปแบบใหม่ชนิดยกเครื่อง ไตเติ้ลจะมีลักษณะคล้ายกับละครเวที และโลโก้ชิงร้อยชิงล้านจะนำเข้าสู่รายการจากไตเติ้ลด้วยแอนิเมชั่นในลักษณะของหลอดไฟกระพริบ
4 มกราคม พ.ศ. 2549 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 ช่อง 7
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก (20TH CENTURY TUCK) 2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 1 ปี 1 เดือน 3 วัน เป็นโอกาสพิเศษฉลองครบรอบ 20 ปี ในการทำงานของ "ตั๊ก-มยุรา เศวตศิลา" และมีการเชิญบุคคลในวงการบันเทิง เช่น นักแสดง , พิธีกร หรือจะเป็นบุคคลในวงการต่าง ๆ มารับหน้าที่พิธีกรคู่กับมยุราในแต่ละสัปดาห์ อาจจะมาสัปดาห์ละ 1 คน หรือ 2 คน รวมทั้งเป็นยุคสุดท้ายที่ออกอากาศในคืนวันพุธ และเป็นยุคแรกที่ออกอากาศในคืนวันอังคาร
ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ (SUNSHINE DAY) 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ช่อง 3 3 ปี 5 เดือน 27 วัน เป็นการกลับมาออกอากาศทางช่อง 3 อีกครั้งหลังจากที่ไม่ได้ออกอากาศทางช่อง 3 มายาวนานกว่า 14 ปี รวมทั้งเป็นยุคแรกที่ออกอากาศในยามบ่ายวันอาทิตย์ จากเดิมออกอากาศในคืนวันอังคาร
ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว (WOW WOW WOW) รูปแบบที่ 1: 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ช่องเวิร์คพอยท์ 2 ปี 3 เดือน 3 วัน ในช่วงตลอดทั้งเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2560 รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว (WOW WOW WOW) ออกอากาศในช่วงกลางคืนเป็นครั้งแรก และเป็นการกลับมาออกอากาศในช่วงกลางคืนในรอบ 6 ปี 6 เดือน ของรายการ ชิงร้อยชิงล้าน
รูปแบบที่ 2: 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 11 กันยายน พ.ศ. 2565 4 ปี 10 เดือน 6 วัน ในช่วงเดือนตั้งแต่เดือน สิงหาคม เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนนักแสดงคนใหม่ นาย เดอะคอมเมเดียน และ แจ๊ส ชวนชื่น แทน หม่ำ จ๊กมก, ส้มเช้ง สามช่า และ พัน พลุแตก และในเดือน กันยายน ได้เพิ่ม บอล เชิญยิ้ม เข้ามาเพิ่มอีกด้วย
รูปแบบที่ 3: 18 กันยายน พ.ศ. 2565 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 5 เดือน 8 วัน
ชิงร้อยชิงล้าน เดอะบิ๊ก (THE BIG)[1] 21 และ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 2 สัปดาห์ เป็นโอกาสพิเศษของรายการชิงร้อยชิงล้าน และเป็นการกลับมาออกอากาศในวันพุธอีกครั้งในรอบ 13 ปี
ชิงร้อย THE STORY[2][3][4] 5 มีนาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน ยังออกอากาศอยู่ รูปแบบเหมือนกับ ชิงร้อยชิงล้าน เดอะบิ๊ก (THE BIG) แต่ออกอากาศในวันและเวลาเดิม และเป็นครั้งแรกที่ตัดคำว่า "ชิงล้าน" ออกจากชื่อรายการ

ผู้ดำเนินรายการแก้ไข

พิธีกรประจำรายการ
ชื่อพิธีกร ช่วงระหว่าง ระยะเวลาที่เป็นพิธีกร หมายเหตุ
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน 4 ปี 3 เดือน 15 วัน (ปัจจุบัน)
อดีตพิธีกรประจำรายการ
ปัญญา นิรันดร์กุล 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 2 เมษายน พ.ศ. 2551 18 ปี 2 เดือน 16 วัน ช่วงที่รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ปรับรูปแบบใหม่เป็น ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก (20TH CENTURY TUCK) ปัญญา นิรันดร์กุล ไม่ได้รับหน้าที่พิธีกรยาวนานถึง 1 ปี 12 วัน
14 เมษายน พ.ศ. 2552 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 9 ปี 6 เดือน 14 วัน
มยุรา เศวตศิลา 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 ปี 9 เดือน 11 วัน ในเทปวันที่ 23 เมษายน 2566 มยุรากลับมาอีกครั้งในฐานะนักแสดงรับเชิญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ หนุ่ม สันติสุข
23 เมษายน 2566 (รับเชิญ)
วรัทยา นิลคูหา 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 13 กันยายน พ.ศ. 2563 6 ปี 2 เดือน 15 วัน

นักแสดงประจำรายการแก้ไข

นักแสดงหลักประจำรายการ
สมาชิก ชื่อในวงการ ช่วงปีที่ปรากฏตัว หมายเหตุ
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ เท่ง เถิดเทิง 27 สิงหาคม พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่​ 4​ มีนาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน
ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข โหน่ง ชะชะช่า 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 8 กันยายน พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
ผดุง ทรงแสง แจ๊ส ชวนชื่น 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
มงคล สะอาดบุญญพัฒน์ นาย เดอะ คอมเมเดียน
ชัชชัย จำเนียรกุล บอล เชิญยิ้ม 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
อดีตนักแสดงหลักประจำรายการ
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา หม่ำ จ๊กมก 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ พร้อมทั้งดู​แล​ค่ายยุ้งข้าว​เรคคอร์ด ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาร และได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบพิเศษ ชิงร้อยชิงล้าน เดอะบิ๊ก (THE BIG) ซึ่งกลับมาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
วันชาติ พึ่งฉ่ำ หนู เชิญยิ้ม
หนู คลองเตย
4 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2541 เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 4 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2541
เป็น 1 ในสมาชิกแก๊งสามช่ารุ่นบุกเบิก และอยู่กับชิงร้อยชิงล้านในระยะสั้นที่สุดเพียง 3 สัปดาห์ เนื่องจากมีปัญหาบางประการ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548
ศิวดล จันทนเสวี ท็อฟฟี่ สามบาทห้าสิบ 12 มีนาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ กลางปี - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 แต่ยังปรากฏตัวในช่วง มาม่า ฮาหลังฉาก
บุญญาวัลย์ พงษ์สุวรรณ ส้มเช้ง สามช่า 7 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 9 มกราคม พ.ศ. 2545 - 31 กรกฎาคม​ ​2565
สุดารัตน์ บุตรพรม ตุ๊กกี้ ชิงร้อยฯ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ภาณุพันธ์ ครุฑโต พัน พลุแตก พ.ศ. 2549 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - 31 กรกฎาคม​ 2565
นักแสดงสมทบ
ชลกฤษ วิถีวานิช บอล บุฟเฟต์ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน
อดีตนักแสดงสมทบ
ธีรชัย รักเบิกบาน บอย ชิงร้อยฯ
บอย เบิกบาน
23 มกราคม พ.ศ. 2551 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เกียรติศักดิ์ รามวงษ์ กบ ชิงร้อยฯ 9 เมษายน พ.ศ. 2551 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปัจจุบันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561
อนุวัฒน์ ทาระพันธ์ แจ้ง เกิดแล้ว 19 มีนาคม - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
บริบูรณ์ จันทร์เรือง ตั๊ก บริบูรณ์ 23 มิถุนายน 2552
18 พฤษภาคม 2553
3 พฤษภาคม 2554
8 มกราคม 2555
8 มิถุนายน 2560 - 3 พฤษภาคม 2563
18 กันยายน​ 2565
30 ตุลาคม 2565
ภาณุพรรณ จันทนะวงษ์ เจแปน บุฟเฟต์
เจแปน หกฉากฯ
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 26 เมษายน พ.ศ. 2563
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา อุล 6 ฉาก 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ด.ช.กรขจิณ กลิ่นขจร เฮอร์ริเคน ชิงร้อยฯ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รูปแบบรายการแก้ไข

รูปแบบของรายการในยุค THE STORY จะนำเรื่องราวของแขกรับเชิญในแต่ละสัปดาห์มาถ่ายทอดในรูปแบบของ "ละคร 3 ช่า" ที่นำโดย "แก๊งสามช่า" สลับกับการพูดคุยกับแขกรับเชิญโดยพิธีกร คือ ซี - ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ โดยรูปแบบนี้ได้นำมาใช้ต่อจากรูปแบบพิเศษ "ชิงร้อยชิงล้าน THE BIG" ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีในช่วงที่ออกอากาศ โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีเรื่องราวแตกต่างกัน ดังนี้

ลำดับ วันที่ออกอากาศ แขกรับเชิญ ชื่อเรื่อง หมายเหตุ

"ชิงร้อยชิงล้าน THE BIG"

1 21 ธันวาคม 2565 คาราบาว ละคร 3 ช่า ในจังหวะคาราบาว ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงคาราบาวมาร่วมแสดงด้วย คือ
  • แจ๊ส ชวนชื่น รับบทเป็น แอ๊ด คาราบาว
  • อารักษ์ อมรศุภศิริ รับบทเป็น เล็ก คาราบาว
  • ชลพิพรรธน์ ชูแสง (ฟอร์ม ไมค์ทองคำ) รับบทเป็น ลูกค้าบาร์
  • เขมจิรา โพธิ์ศรี (หมิว ไมค์ทองคำ) รับบทเป็น ลูกค้าบาร์
  • คุณโต้ง ผู้จัดการวงคาราบาว (ตัวจริง) รับบทเป็น ผู้จัดการวง และขายของที่ระลึกหน้าคอนเสิร์ต
2 28 ธันวาคม 2565 LOSO ละคร 3 ช่า ในจังหวะร็อคแอนด์โลโซ ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญมาร่วมแสดงด้วย คือ
"ชิงร้อย THE STORY"
3 5 มีนาคม 2566 โน้ต เชิญยิ้ม
เป็ด เชิญยิ้ม
"เชิญยิ้ม" ตำนานความฮาจากรุ่นสู่รุ่น
4 12 มีนาคม 2566 ไชยา มิตรชัย "ไชยา มิตรชัย" ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณไชยามาร่วมแสดงด้วย คือ
  • อาภาพร นครสวรรค์ (ฮาย) นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง รับบทเป็น หนูนา ภรรยาของ ไชยา มิตรชัย
  • ศรันฉัตร มิตรชัย (แป้ง) ลูกสาวของ ไชยา มิตรชัย
5 19 มีนาคม 2566 สมจิตร จงจอหอ "สมจิตร จงจอหอ" กว่าจะมีวันนี้ เจ็บมาเยอะ ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณสมจิตรมาร่วมแสดงด้วย คือ
  • พันตำรวจโท วิจารณ์ พลฤทธิ์ นักมวยเหรียญทองโอลิมปิกชาวไทยคนที่ 2 ซึ่ง ณ ตอนนั้น สมจิตรเป็นช่างตัดผมประจำค่าย และวิจารณ์อยู่ในช่วงเก็บตัว ขณะไปแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2543
  • เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) นักแสดงและผู้กำกับที่ชักนำคุณสมจิตรมาแสดงภาพยนตร์ โดยในขณะนั้น ซูโม่กิ๊ก รับหน้าที่ผู้กำกับ และแสดงในภาพยนตร์เรื่อง บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ โดยสมจิตร รับบทเป็น ปิงวัง ลูกน้องของ อบต รับบทโดย บุ๋มบิ๋ม สามโทน
6 26 มีนาคม 2566 ยิ่งยง ยอดบัวงาม "ยิ่งยง ยอดบัวงาม" ชีวิตที่ไม่ได้เป็นดั่งในฝัน ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณยิ่งยงมาร่วมแสดงด้วย คือ
  • ภราดร ศรีชาพันธุ์ (บอล) นักเทนนิสเจ้าของฉายา "ซูเปอร์บอล" รับบทเป็น ยิ่งยง ยอดบัวลอย โดยยิ่งยงกล่าวว่า ภราดรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ยิ่งยงรู้จักกีฬาเทนนิส และได้ดูภราดรแข่งขันเทนนิสเกือบทุกแมทช์
7 2 เมษายน 2566 ปลื้มจิตร์ ถินขาว "ปลื้มจิตต์ ถินขาว" ดาวรุ่ง ตบสนั่นโลก ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญมาร่วมแสดงด้วย คือ
8 9 เมษายน 2566 สลา คุณวุฒิ "สลา คุณวุฒิ" เขียนฝัน ไว้ข้างฝา ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณสลามาร่วมแสดงด้วย คือ
9 16 เมษายน 2566 ทาทา ยัง "ทาทา ยัง" สาวน้อยมหัศจรรย์ ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณทาทา ยัง มาร่วมแสดงด้วย คือ
  • ซอ จียอน (จียอน) รับบทเป็น ทาทา ยัง
  • เตชินท์ พลอยเพชร (DJ มะตูม) รับบทเป็น ตัวเอง โดยมะตูมกล่าวว่า ในช่วงที่ป่วยเป็นเส้นประสาทหูอักเสบที่เป็นภาวะต่อเนื่องหลังจากป่วย sinusitis มะตูม และเพื่อนในวงการบันเทิงส่งกำลังใจใาให้ทาทา และอดีตนั้น มะตูมเคยเจอทาทาสมัยที่เจ้าตัวยังไม่เข้าวงการ
10 23 เมษายน 2566 สันติสุข พรหมศิริ พระเอกเงินล้าน "สันติสุข พรหมศิริ" ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณหนุ่ม สันติสุข มาร่วมแสดงด้วย คือ
  • จิรายุ ละอองมณี (เก้า) รับบทเป็น สันติสุข พรหมศิริ
  • มยุรา เศวตศิลา (ตั๊ก) รับบทเป็น ตัวเอง โดยมยุราเผยว่า ภาพยนตร์หรือละครในแต่ละเรื่องที่จะมีการถ่ายทำนั้น ทางผู้สร้างเคยมีการวางตัวให้สันติสุขและมยุราร่วมงานกัน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ร่วมงาน ด้วยความที่คิวงานไม่ตรงกัน โดยละครเรื่องแรกที่ร่วมงานกัน คือ รักแท้แค่ขอบฟ้า เมื่อปี 2540 รับบทเป็น ลภา ส่วนสันติสุข รับบทเป็น เสก
11 30 เมษายน 2566 พชร์ อานนท์ นักปั้นมืออาชีพ "พชร์ อานนท์" ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณพชร์ อานนท์ มาร่วมแสดงและให้สัมภาษณ์ในช่วงคั่นละครด้วย คือ
  • ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร (DJ นุ้ย) (มาเป็นบทสัมภาษณ์ใน VTR) โดยพชร์ได้กล่าวในช่วงสัมภาษณ์ว่า ในภาพยนตร์เรื่อง ปล้นนะยะ 2 อั๊ยยยย่ะ นักแสดงส่วนใหญ่มีคิวงานเยอะจนเกิดปัญหา พชร์เลยแก้ปัญหาด้วยการถ่ายซีน ๆ นั้นให้ตัวละครตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น โดนระเบิด กระโดดลงจากรถแต่ตกสะพาน เป็นต้น เพื่อที่จะไปทำงานในคิวต่อไปได้ ในส่วนของ DJ นุ้ย กล่าวว่า ในเรื่องนั้น นุ้ยจะต้องใส่หมวกกันน็อคเข้าไปในรถซึ่งจะมีคนอยู่รวมประมาณ 7-8 คน อย่างที่พชร์กล่าว ส่วนสคริปต์นั้น นุ้ยต้องคิดขึ้นมาเองเพราะภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่พชร์ทำนั้นไม่มีบท
  • สิตางศุ์ บัวทอง รับบทเป็น ตัวเอง
  • บุหงาวลัย คงขวัญ (พระมหาเทวีเจ้า / หญิงลี เจ๊อย่าวีน) รับบทเป็น ตัวเอง
  • ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ (อ.ยิ่งศักดิ์) (มาเป็นบทสัมภาษณ์ใน VTR) โดยพชร์ได้กล่าวว่า ในภาพยนตร์เรื่อง หอแต๋วแตก ยิ่งศักดิ์รอคิวถ่ายงานจากพชร์จนเกิดอาการกระฟัดกระเฟียดชิงงอน และได้กล่าวว่า "จะถ่ายหรือไม่ถ่าย ถ้าไม่ถ่าย.. กูจะกลับแล้วนะ" และพชร์ก็ตอบกลับไปว่า "เออ.. ปล่อยให้กลับไป" โดยที่พชร์ไม่รู้เลยว่ายิ่งศักดิ์ยืนอยู่ด้านหลัง ในส่วนของยิ่งศักดิ์ กล่าวว่า ยิ่งศักดิ์นั้นเป็นคนพูดสไตล์กระฟัดกระเฟียดเง้างอนแบบน่ารัก ไม่มีเจตนาที่จะร้ายกับพชร์ และรู้สึกเสียใจที่พชร์พูดแบบนั้น และพอหลังจากนั้น พชร์ได้ติดต่อไปหายิ่งศักดิ์เพื่อปรับความเข้าใจและเคลียร์ปัญหากันได้ด้วยดี
12 7 พฤษภาคม 2566 สุนารี ราชสีมา ราชินีลูกทุ่ง "สุนารี ราชสีมา" ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณสุนารีมาร่วมแสดงด้วย คือ
  • ปนัดดา เรืองวุฒิ (ลูกนัท) รับบทเป็น สุนารี ราชสีมา
  • ภูมิพัชร์ อังกินันทน์ (ฮีโร่) ลูกชายคนโตของคุณสุนารี
  • ภูริพันธุ์ อังกินันทน์ (อาเธอร์) ลูกชายคนเล็กของคุณสุนารี
13 14 พฤษภาคม 2566 บ่าววี ราชันย์ปักษ์ใต้ "บ่าววี" ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณบ่าววีมาร่วมแสดงด้วย คือ
  • จรณ โสรัตน์ (ท็อป) รับบทเป็น บ่าววี
  • ภัสสร นานช้า (คุณแต๊ก) ภรรยาของคุณบ่าววี
14 21 พฤษภาคม 2566 อาภาพร นครสวรรค์ เจ้าของเพลงดัง เลิกแล้วค่ะ "ฮาย อาภาพร" ในเทปนี้ มีนักแสดงรับเชิญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณอาภาพรมาร่วมแสดงด้วย คือ
15 28 พฤษภาคม 2566 เอกราช สุวรรณภูมิ

ระยะเวลาออกอากาศแก้ไข

ระยะเวลาออกอากาศของ ชิงร้อยชิงล้าน
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ ชื่อรายการ วันออกอากาศ เวลา ช่วงระหว่าง หมายเหตุ
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ชิงร้อยชิงล้าน พุธ 22:00 - 23:00 น. 17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536
ชิงร้อยชิงล้าน ท็อป ซีเคร็ท (TOP SECRET) 22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537
ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (SUPERGAME) 22:15 - 00:10 น. 3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 22:00 - 24:00 น. 7 มกราคม - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHACHACHA) 4 มีนาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543
22:00 - 23:45 น. พ.ศ. 2543 - 2544
22:20 - 00:05 น. พ.ศ. 2544 - 2545
22:10 - 23:40 น. พ.ศ. 2545 - 2547
22:10 - 24:00 น. พ.ศ. 2547 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 22:25 - 00:20 น. 11 มกราคม พ.ศ. 2549 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551
22:30 - 00:25 น. 6 กุมภาพันธ์ - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก (20TH CENTURY TUCK) 2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 1 เมษายน พ.ศ. 2552
อังคาร 7 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ชิงร้อยชิงล้าน 22:35 - 00:25 น. 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 26 เมษายน พ.ศ. 2554
22:40 - 00:30 น. 3 พฤษภาคม - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554
22:20 - 00:10 น. 1 พฤศจิกายน - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ (SUNSHINE DAY) อาทิตย์ 15:00 - 17:00 น. 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557
14:45 - 16:45 น. 15 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557
15:00 - 17:00 น. 6 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
14:45 - 16:30 น. 7 กันยายน พ.ศ. 2557 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558
สถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว (WOW WOW WOW) 14:30 - 17:00 น. 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
14:30 - 16:40 น. 12 กรกฎาคม - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558
14:30 - 16:45 น. 10 มกราคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2559
14:45 - 17:00 น. 2559 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
21:15 - 23:30 น. 4 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ได้กลับมาออกอากาศในช่วงกลางคืนอีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้ออกอากาศในช่วงกลางคืนยาวนานถึง 6 ปี 6 เดือน
21:15 - 22:45 น. 18 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
14:45 - 17:00 น. 2 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
14:30 - 16:00 น. 7 มกราคม พ.ศ. 2561 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562
14:15 - 15:45 น. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563
14:30 - 16:00 น. 3 มกราคม พ.ศ. 2564 - 2 มกราคม พ.ศ. 2565
15:00 - 16:00 น. 9 มกราคม พ.ศ. 2565 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566

รางวัลที่ได้รับแก้ไข

ชื่องานที่มอบรางวัล ประเภทรางวัล ผู้ที่ได้รับรางวัล / รายการที่ได้รับรางวัล วัน / ปีที่ได้รับรางวัล
WYNE BERG ACADEMY โล่ประกาศเกียรติคุณพิธีกรยอดเยี่ยม ปัญญา นิรันดร์กุล 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 [5]
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 10 ประจำปี 2533 รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 4 มกราคม พ.ศ. 2534 [6]
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2534 รายการประเภทเกมโชว์ดีเด่น 18 มกราคม พ.ศ. 2535
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 12 ประจำปี 2535 ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น ปัญญา นิรันดร์กุล 22 มกราคม พ.ศ. 2536
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 13 ประจำปี 2536 รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท (TOP SECRET) 21 มกราคม พ.ศ. 2537
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 14 ประจำปี 2537 ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น มยุรา เศวตศิลา 13 มกราคม พ.ศ. 2538
รางวัล VOTE AWARDS 1994 เกมโชว์ยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) 17 มกราคม พ.ศ. 2538
พิธีกรหญิงในใจผู้ฟัง มยุรา เศวตศิลา
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2537 ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น 20 มกราคม พ.ศ. 2538
รางวัล VOTE AWARDS 1995 เกมโชว์ยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) 2538
รางวัล VOTE AWARDS 1996 รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (SUPERGAME) 2539
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 16 ประจำปี 2539 รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น 17 มกราคม พ.ศ. 2540
ASIAN TELEVISION AWARDS ’ 99 HIGHLY COMMENDED รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHA CHA CHA) 2542
รางวัลเทพทอง บุคคลดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ ไม่ทราบวันที่ได้รับรางวัล
รางวัล TOP AWARDS 2000 พิธีกรหญิงยอดเยี่ยม 22 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ASIAN TELEVISION AWARDS 2002 HIGHLY COMMENDED ประเภท BEST ENTERTAINMEMT PROGRAMME 4 ธันวาคม พ.ศ. 2545
รางวัล TOP AWARDS 2004 เกมโชว์ยอดเยี่ยม 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 [6]
รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2006 รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม มยุรา เศวตศิลา 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ผลโหวตสูงสุดประเภทรายการยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHA CHA CHA)
รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2007 ผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรชายยอดนิยม ปัญญา นิรันดร์กุล 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม มยุรา เศวตศิลา
ผลโหวตสูงสุดประเภทรายการยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHA CHA CHA)
รางวัล TOP AWARDS 2008 เกมโชว์ยอดเยี่ยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 27 มกราคม พ.ศ. 2552 [7]
รางวัล TOP AWARDS 2009 22 มกราคม พ.ศ. 2553
พิธีกรยอดเยี่ยม ปัญญา นิรันดร์กุล
รางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2552 STAR ENTERTAINMENT AWARDS 2009 สาขาโทรทัศน์ รางวัลรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 9 พฤษภาคม 2553
สาขาโทรทัศน์ รางวัลพิธีกรและดำเนินรายการหญิงยอดเยี่ยม มยุรา เศวตศิลา
รางวัล TOP AWARDS 2010 ภาคบันเทิง รายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 28 มกราคม พ.ศ. 2554
รางวัล "พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ปี 2555 รางวัลพิธีกรผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น ปัญญา นิรันดร์กุล 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ASIAN TELEVISION AWARDS 2012 HIGHLY COMMENDED ประเภท BEST COMEDY PROGRAMME รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ (SUNSHINE DAY) 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 25 ประจำปี 2555 ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่นเมขลามหานิยมแห่งปี มยุรา เศวตศิลา 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 [8]
ASIAN TELEVISION AWARDS 2013 รางวัล WINNER BEST ENTERTAIANMENT PRESENTER / HOST ปัญญา นิรันดร์กุล 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
รางวัล Maya Awards 2020 (มายามหาชน ประจำปี 2563) พิธีกรชายดีเด่น ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 [9]

กระแสตอบรับของรายการแก้ไข

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น ” ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 - 21 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการชิงร้อยชิงล้าน ร้อยละ 20.3 [10]

การซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในต่างประเทศแก้ไข

ชิงร้อยชิงล้านเป็นรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในไทยและต่างประเทศ ทำให้มีการถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในแบบฉบับของประเทศนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ไป คือ เวียดนาม และ อินโดนีเซีย

ชื่อประเทศ ชื่อรายการ สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ จำนวนการออกอากาศ สถานะ
  เวียดนาม Kỳ Tài Thách Đấu Wow Wow Wow HTV7 4 ฤดูกาล ออกอากาศจบลงแล้ว
  อินโดนีเซีย Cring Cring Wow Wow Wow SCTV 1 ฤดูกาล / 4 ตอน

อ้างอิงแก้ไข

  1. ""ชิงร้อย ชิงล้าน THE BIG" ต้อนรับปีใหม่จากแก๊งสามช่า | 🎉🎉 ต้อนรับปีใหม่สุด BIG SURPRISE จากแก๊งสามช่า สนุกไม่มีพัก ฮาแบบไม่มีกั๊ก เตรียมว้าวกับแขกรับเชิญสุดพีค ใน "ชิงร้อย ชิงล้าน THE BIG" . 🚩 วันพุธที่ 21... | By ชิงร้อยชิงล้าน | Facebook". www.facebook.com.
  2. "เวิร์คพอยท์ 23 เปิดผังเด็ด ปี 2023 ชู 4 ฮีโร่คอนเทนต์ เสิร์ฟทุกกลุ่ม!". https://entertainment.trueid.net. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  3. "ชิงร้อยชิงล้าน - ชิงร้อยชิงล้าน ได้อัพเดตรูปภาพหน้าปก". www.facebook.com.
  4. "เปิดตำนานเชิญยิ้ม / "ชิงร้อย THE STORY" 5 มี.ค.นี้ | "ชิงร้อย THE STORY" พบกับละครชีวิตจริงของปรมาจารย์ตลก "เป็ด และ โน้ต เชิญยิ้ม" จากเรื่องราวตำนานเชิญยิ้มคณะตลกชื่อดังที่สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ชม... | By ชิงร้อยชิงล้าน | Facebook". www.facebook.com.
  5. "WYNE BERG ACADEMY" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
  6. 6.0 6.1 watchlakorn,ชิงร้อยชิงล้านย้อนหลัง 11 มกราคม 2554, วันที่สืบค้น 10 เมษายน 2559 จาก www.watchlakorn.in
  7. ท็อปอวอร์ด 2008
  8. ประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 25
  9. "สรุปผลรางวัล MAYA AWARDS 2020 เวทีแห่งเกียรติยศคนบันเทิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
  10. "โจ๋กรุงเทใจ "ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด" สุดยอดความนิยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-31.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข