ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Phaisit16207 สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Phaisit16207! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 17:06, 28 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

เว้นช่องไฟ

แก้

สอบถามหน่อยสิครับ เหตุใดถึงไม่เว้นช่องไฟระหว่าง ค.ศ. หรือ พ.ศ. กับคำข้างหน้า และ พ.ศ. กับ ค.ศ. กับตัวเลขที่ตามหลัง อันนี้สงสัยเฉย ๆ Horus (พูดคุย) 21:29, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แนะนำผู้ใช้ใหม่ (1) โดย NP-chaonay

แก้

สวัสดีครับ จากการสำรวจการมีส่วนร่วมของคุณ (ในการสอบถามที่เกิดขึ้นใน Discord ภาษาไทย ชุมชนวิกิมีเดีย) พบว่ามีความเสี่ยงให้เกิดการแก้ไขไม่ถูกต้องโดยไม่ได้ตั้งใจ (WP:การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ)

ผมจึงขอเสนอแนวทางของผมให้ลองพิจารณาดูครับ (แนวทางนี้เป็นการอิงจากประสบการณ์ของผม และในหลาย ๆ ส่วนของข้อความจะไม่ใช่แนวปฏิบัติจริง และอาจไม่เหมาะสมกับกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น ผู้มากประสบการณ์ เป็นต้น และแนวทางนี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นกับการใช้งาน/การมีส่วนร่วมของผู้ใช้)

  • ถามผู้ใช้ที่สะดวกตอบคำถาม (เช่นผม ถ้าผมยังสะดวกอยู่นะครับ) ในสถานที่ที่เหมาะสม (เช่นหากสนทนาในเว็บแบบวิกิแล้วไม่สะดวกก็ใช้ดิสคอร์ดได้ เป็นต้น)
  • ถามคำถามในลักษณะแบบหลาย ๆ ข้อ นาน ๆ ที เกี่ยวกับการใช้งาน/การมีส่วนร่วม ลงในหน้า WP:แผนกช่วยเหลือ หรือหน้าที่เกี่ยวข้อง เพราะการถามหลายครั้งจะเป็นการรบกวนได้
  • พยายามศึกษาด้วยตนเองให้เป็น เช่น ผ่านการอ่านนโยบายและแนวปฏิบัติอย่างรอบคอบและครบถ้วนเท่าที่สะดวกจะทำได้ตามความเหมาะสม
  • อย่าเพิ่งลงมือแก้ไขหากยังไม่มั่นใจว่าถูกจริง มันไม่ใช่การเสี่ยงดวงว่าถูกหรือผิด เพราะหากทำผิดหลายครั้งจนรบกวน/สร้างภาระ ก็อาจถูกบล็อคชั่วคราวจากการแก้ไขได้ คิดเสมือนว่าหากทำข้อสอบผิดหนึ่งข้อจะโดนลบคะแนนไปด้วย
  • พึงระลึกไว้ว่า สามัญสำนึก กับ แนวปฏิบัติ อาจไม่ไปทางเดียวกัน/ไปด้วยกัน ในกรณีนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบ่อย ควรศึกษาอย่างระวังไว้ด้วย

ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี และส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ถูกต้องครับ --NP-chaonay (คุย) 11:49, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@NP-chaonay: แนะนำให้ส่งข้อความส่วนตัว (PM) บอกทางผู้ใช้ในดิสคอร์ดให้มาเช็คหน้านี้ด้วยครับ จากที่เห็นในภาพจับหน้าจอในช่องทั่วไปของดิสคอร์ดชุมชนวิกิมีเดีย ผู้ใช้น่าจะยังไม่รู้จักวิธีเช็คหน้าพูดคุย และกระดิ่งแจ้งเตือน --ชาวไทย (คุย) 13:44, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แนะนำผู้ใชใหม่ (2) โดย NP-chaonay

แก้

(สำหรับผู้ใช้ท่านอื่นที่ติดตามผู้ใช้นี้นะครับ) ได้ DM ไปหาเขาแล้วครับผ่าน Discord แต่ไม่มีความจำเป็นที่ผมต้องไปทักเขาใน Discord Server ภาษาไทย-ชุมชนวิกิมีเดีย ครับ

สิ่งที่ผมบอกไป อาจจะช่วยให้คุณหรือใครหลาย ๆ คนมีประสบการณ์ที่ดีขึ้นครับ (ไม่ได้ประชดนะครับ แต่จะดีกว่าผมแน่นอน (ในบางเรื่อง/จุด))

ประวัติการมีส่วนร่วมของผม และประสบการณ์ตามช่วงเวลา
  • อิงประวัติการแก้ไขของผมตามนี้ครับ
  • ตอนผมแก้ไขวิกิพีเดียครั้งแรกตอน ม.1-3 ซึ่งก็แก้ไขเช่น แปลคำ ย้อนการก่อกวน เป็นต้น ตอนนั้ยังไม่รู้เลยว่าที่วิกิพีเดียมีนโยบายแนวปฏิบัติอะไรบ้าง ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีโครงการพี่น้อง มีระบบชุนชมส่วนกลาง ไม่รู้จัก Wikimedia/Meta และอีกหลาย ๆ อย่างด้วยซ้ำ
  • พอ ม.4 ผมก็เริ่มตั้งใจศึกษาการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เพราะตอนนั้นเพิ่งนึกได้ว่ามีงานบันทึกงานจิตอาสาของโรงเรียนสมัยมัธยมอยู่ และคิดว่าการมาทำจิตอาสาที่วิกิพีเดียน่าจะช่วยได้ บวกกับรู้สึกสนุกแปลก ๆ เมื่อมาทำงานจิตอาสาที่วิกิพีเดีย
  • ก่อนหน้านั้นผมเข้าไปแก้ไขบทความอันหนึ่ง เป็นบทความโรงเรียนสมัยก่อนมัธยมของผม แต่พอแก้ไม่นานก็ถูกลบออก (น่าจะเพราะ นโยบายความโดดเด่น) และตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาอะไรเลย
  • การศึกษาครั้งแรกของผม คือการใช้ "The Wikipedia Adventure" เพื่อศึกษา 555
  • บทความแรกที่แก้ไขจริงจังคือ บทความเกี่ยวกับเลนส์ โดยเป็นการแก้ไขเชิงการจัดรูปแบบ ตอนนั้นเริ่มมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดรูปแบบบทความพอสมควร และน่าจะเริ่มศึกษานโยบายแนวปฏิบัติแล้วช่วงนั้น
  • ถ้าสังเกตดี ๆ พอหลังการแก้ไขข้อข้างบนแล้ว พอก่อน ม.5 เหมือนผมพยายามศึกษามากขึ้นอีก แบบมากเป็นพิเศษกว่าแต่ก่อน (เพราะเริ่มติดวิกิพีเดียแล้ว) และศึกษาตัวชุมชนและผู้ใช้ที่เป็นที่รู้จักหรือโดดเด่นด้วย เริ่มมีประบสบการณ์การแก้ไขบทความและชุมชนวิกิพีเดียตอนช่วงนี้
  • จากการแก้ไขนี้ พบว่าเริ่มรู้จัก โครงการพี่น้อง/Wikimedia/Meta แล้ว (ส่วน ระบบชุนชนส่วนกลาง น่าจะรู้จักทีหลัง)
  • และหลังจากนั้นผมก็ติดวิกิพีเดียและหลาย ๆ สิ่งที่เกี่ยวกับวิกิมีเดียไปเลย และการแก้ไขตั้งแต่จุดนี้จะมีมาก จึงจำเป็นต้องย่อครับ
  • ผมแก้ไขอย่างมากช่วงกลางปี 2562 ครับ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ประบสบการณ์การแก้ไขบทความและชุมชนวิกิพีเดีย รวมไปถึงในโครงการพี่น้องและชุมชนส่วนกลางและสิ่งที่เกี่ยวกับ Wikimedia/Meta เพิ่มขึ้นอย่างพอสมควรและรวดเร็ว
  • แต่ขอบอกว่า ประสบการณ์ที่ผมบอกว่ามากพอสมควร ไม่ได้หมายความว่าผมมีประสบการณ์อะไรขนาดนั้น เพราะหากเป็นเรื่องที่ละเอียดหรือยากเกินไปหลาย ๆ อย่าง (เช่นบางอย่างเกี่ยวกับ ความโดดเด่น, ภาษา) ผมก็ไม่สามารถทำได้อย่างถูกต้องนะครับ บางทีก็ได้แค่อภิปรายสอบถาม หรืองดการอภิปรายก็มี แต่ก็ถือว่ามากพอสำหรับการเป็นอาสาสมัครขาประจำแล้วครับ
  • พอหลังจากช่วงนั้นไป ก็ศึกษาน้อยลงไปบ้าง แต่ก็ยังให้ความสนใจกับหลาย ๆ สิ่งในวิกิมีเดียอยู่ไม่น้อยลง (โดยเฉพาะตอนที่ Discord ภาษาไทยของชุมชนวิกิมีเดียเปิดตัวมา ผมก็สนใจเป็นพิเศษครับ) จนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่แนะนำให้ทำเพื่อบรรลุการเป็นอาสาสมัครที่ดีของโครงการและโครงการพี่น้อง และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับวิกิมีเดีย
  • หมายเหตุ: อาจปรับใช้กับทุกคนไม่ได้หมด หรืออาจนำเสนอมุมมองบางอย่างที่คลาดเคลื่อนกับผู้ใช้ท่านอื่นแนะนำมา ขอให้พิจารณาก่อนนำไปปรับใช้ครับ
  • อ่านข้อความต้อนรับในหน้าคุยผู้ใช้ของคุณ พยายามอ่านให้ลงลึก/มาก/เข้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่ว่างมากนัก ขอให้ทยอยอ่านครับ ผมทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นงานอาสาสมัคร การที่ผมมีประสบการณ์ระดับหนึ่งได้ก็ต้องใช้เวลา เพราะแต่ละคนมี LEARNING CURVE หรือความสามารถในการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ทั้งการมีครูสอนหรือศึกษาด้วยตนเองครับ
  • หากมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อความต้อนรับในหน้าคุยผู้ใช้ของคุณ สามารถอภิปรายได้ที่หน้าคุยของผมทั้งในส่วนกลาง (Meta-Wiki ในหน้าของผมที่ออกแบบเป็นภาษาไทย) หรือที่วิกิพีเดียไทยที่นี่ครับ เพราะผมไม่ต้องการให้ความยุ่งยากเกิดขึ้นกับผู้ใช้มากเกินไป
  • ค่อย ๆ ศึกษา ค่อย ๆ ทำ ไม่ต้องรีบ เพราะมีอาสาสมัครขาประจำค่อยแบกรับภาระอยู่แล้ว การรีบศึกษารีบทำอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า หากประสงค์พัฒนาโครงการ ผมจึงแนะนำให้เรียนรู้ให้เต็มความสามารถแต่ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป จะมีผลดีกว่า
  • บทบาทในวิกิพีเดียของผมจะอยู่กับการดูแลสมาซิกและอภิปรายชุมชนสักส่วนใหญ่ (อิงจาก 16:25, 13 พฤษภาคม 2564 (+07))
  • เพราะฉะนั้น หากคุณยังกำหนดบทบาทหลักไม่ได้ชัดเจน ลองค่อย ๆ ศึกษา แล้วค่อย ๆ ทำสิ่งเล็กน้อย ๆ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยต่อคุณเองและโครงการ คล้าย ๆ กับการค้นหาค้นพบตัวเอง เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง/วันนั้นแล้ว คุณจะรู้เองว่าคุณเหมาะสมกับงานอาสาสมัครแห่งนี้ไหม หรือหากเหมาะสม คุณก็จะเริ่มรู้บทบาทของคุณ (เช่นของผมช่วงแรก ก็แก้ไขบทความเล็กน้อยเหมือนคุณ แต่สุดท้ายก็ไม่ค่อยได้แก้ไขบทความแล้ว เพราะตระหนักว่าผมสามารถประนีประนอมผู้ใช้ได้ดี และแลเห็นปัญหาด้านประสบการณ์ผู้ใช้ได้ดีเท่าที่ควร บทบาทตอนเริ่มต้น ตอนกลาง และปัจจุบันเลยไม่เหมือนกัน)
  • หรือหากรู้บทบาทของตนเองแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อคือศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับบทบาทของตนเอง
  • เช่น ผมมีบทบาทด้านการดูแลสมาชิก ดังนั้นผมควรต้องศึกษานโยบาย/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ block/ban/lock หรือนโยบาย/แนวปฏิบัติต่าง ๆเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์/จัดการกับผู้ใช้เป็นต้น และรักษามารยาททางสังคม พยายามประนีประนอมในขณะเดียวกันก็ไม่อ่อนต่อนโยบาย/แนวปฏิบัติเกินไป และที่สำคัญคือต้องศึกษากรณีศึกษา/ตัวอย่างด้วยครับ เช่นผู้ใช้ก่อนหน้าเคยมีเหตุการณ์อะไรบ้างแล้วผู้ใช้แตละคนจัดการอย่างไร ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของการแก้ไขบทความ กรณีศึกษาก็คือบทความทั้งที่มีคุณภาพมาก/กลาง/น้อย หรือแม้แต่ฉบับร่างครับ
  • กล้าแก้ไข ต้องมาพร้อมกับ ไม่ประมาท: คือถ้าไม่แน่ใจ ศึกษา/ถามให้แน่ใจจนเป็นประสบการณ์ที่แน่ใจครับ ของแบบนี้ต้องใช้สามัญสำนึกด้วยครับ แต่สามัญสำนึกก็ไม่เพียงพอ เพราะแต่ละคนมีสามัญสำนึกไม่เหมือนกัน เอาเป็นว่าใช้วิจารณญาณและความเหมาะสมเป็นเหตุผลของการมีส่วนร่วมในแต่ละอย่างอย่างรอบคอบนะครับ
  • ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มากได้ เกิดจากการศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ และชักถามเมื่อถึงทางต้นจริง ๆ แต่ก็พยายามเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถด้วย บนพื้นฐานของความไม่ประมาทและมีสติ/วิจารณญาณ/ความเหมาะสมเป็นเหตุผลของการมีส่วนร่วมอย่างรอบคอบครับ
  • ทักษะสำคัญ: รอบคอบ, ช่างสังเกต, มีความคิดเชิงวิจารณ์ (Critical Thinking), ฯลฯ และขาดไม่ได้เลย การทำงานร่วมกันครับ
  • ย้ำอีกครั้ง มีสติ/วิจารณญาณ/ความเหมาะสมเป็นเหตุผลของการมีส่วนร่วมอย่างรอบคอบครับ สำหรับเรื่องราวเพิ่มเติมของผมเกี่ยวกับวิกิพีเดีย เชิญศึกษาที่หน้าผู้ใช้ผมครับ หรือหน้าผู้ใช้ Meta-Wiki ของผมสำหรับเรื่องราวของผมบนวิกิมีเดียครับ

ปล: ย่อแบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะ โล่งตาดี :) --NP-chaonay (คุย) 16:25, 13 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

RE:การเติมตราแผ่นดินและธงชาติในบทความประเทศ

แก้

@Phaisit16207: เห็นถามในดิสคอร์ดชุมชนวิกิมีเดียว่าจำเป็นต้องใส่ธงกับตราแผ่นดินในบทความประเทศไหม

ขอตอบว่า แล้วแต่กรณี ครับ ขึ้นอยู่กับว่ามีหลักฐานว่าประเทศนั้นมีการใช้ธงหรือตราสัญลักษณ์รึเปล่า ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่

--ชาวไทย (คุย) 22:47, 15 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

Re:การแปลชื่อต่างประเทศ

แก้

เห็นถามในดิสคอร์ด (อีกแล้ว) เลยมาให้คำตอบ (อีกรอบ)

ถ้าคุณทับศัพท์ภาษานั้นไม่ได้ แต่ตรงนั้นเป็นส่วนสำคัญของเนื้อหา (ขาดชื่อคนนี้ไปเนื้อความจะอ่านไม่รู้เรื่อง) ให้ทำการ ทับศัพท์ชั่วคราว ไปก่อน มีวิธีทำดังนี้

[[ชื่อในภาษาเดิม|ชื่อทับศัพท์ชั่วคราว]]

ตัวอย่าง

[[Carl von Rabenhaupt|คาร์ล ฟ็อน ราเบนแฮ็ปพ์]]

--ชาวไทย (คุย) 16:54, 16 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แต่ผมนั้นไม่รู้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษคับ
Phaisit16207 (คุย) 20:05, 16 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
แก้ลายเซนด์ พอดีลืมคับ
--Phaisit16207 (คุย) 20:06, 16 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
@Phaisit16207: นี้เป็นแค่การทับศัพท์ ชั่วคราว ครับ คุณใส่ชื่อในภาษาเดิมที่แปลมาเอาไว้ แล้วอาจจะลองหาวิธีอ่านจากที่อื่นมาเขียนเป็นภาษาไทย (ผิดถูกไม่เป็นไร) --ชาวไทย (คุย) 21:31, 16 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ว่าด้วยคำแปล

แก้

@Phaisit16207: อยากให้ตรวจสอบความถูกต้องของคำแปลก่อนย้ายบทความด้วยครับ ลองเอาความเป็นไปได้มาคิดด้วย แปลเรื่องสงคราม แล้วโรงละครมาจากไหน เคยบอกหลายรอบแล้วเรื่องคำที่เขียนเหมือนกันแต่แปลได้หลายความหมาย อย่าง "Theater" สามารถแปลออกมาได้ทั้ง "โรงละคร โรงภาพยนตร์" "ห้องบรรยาย" "เขตสงคราม" แปลภาษามันต้องใช้เวลาครับ เคยเตือนไปแล้วเรื่องความใจร้อน แปลให้เสร็จทั้งบทความไปเลยก็ได้ถ้ามีความสามารถพอ ไม่รู้จะรีบสร้างบทความไปไหน --ชาวไทย (คุย) 20:06, 18 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมจะแก้ภายหลังคับ
--Phaisit16207 (คุย) 20:10, 18 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
จริงๆ แล้วมันตรวจได้ตั้งแต่ก่อนย้ายด้วยซ้ำและควรจะทำ ก่อนจะย้ายด้วยครับ อย่าเอาแต่รับปากให้มันพัน ๆ ตัวสิครับ นำคำติเตียนไปปรับปรุงด้วย --ชาวไทย (คุย) 20:18, 18 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
แต่ในวิกิไม่มีเครื่องตรวจทานภาษาด้วยซ้ำคับ Phaisit16207 (คุย) 20:20, 18 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
แนะนำให้อ่านทวนดูซักรอบนะครับ คำไหนไม่เข้าใจก็ไปเปิดพจนานุกรมก่อน (สมัยนี้มีพจนานุกรมออน์ไลน์ให้เลือกใช้หลายเว็บนะครับ เช่น Sanook, Longdo ลองเลือกใช้ดูครับ) แล้วอ่านทวนอีกที ถ้าคุณยังอ่านไม่รู้เรื่องจะนับภาษาอะไรกับคนอ่าน จริงไหมครับ --ชาวไทย (คุย) 21:10, 18 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
เรื่องคำแปลขอให้ทำตามคำแนะนำคุณชาวไทยครับ และมีคำแนะนำอีกอย่างคือ คอยสังเกตว่าก่อนและหลังจากที่ผู้ใช้อื่นเข้าไปแก้คำแปล มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ทำให้สามารถทราบว่าตัวเองแปลผิดไปตรงไหน จากนั้นก็นำไปปรับปรุงต่อไป -- Just Sayori OK? (have a chat) 15:52, 20 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ขออนุญาตเปลี่ยนศักราชในบทความที่คุณเริ่มเขียน

แก้

@Phaisit16207: สวัสดีครับ พอดีว่าช่วงนี้ผมกำลังไล่เพิ่มเติมข้อมูล/ตรวจทาน บทความที่คุณเริ่มเขียน เลยอยากจะมาสอบถามว่าคุณจะอนุญาตให้ผมแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ. ในบทความที่มีเนื้อหาก่อน พ.ศ. 2484 (หรือคาบเกี่ยว) ได้ไหมครับ? สาเหตุที่ผมต้องการเปลี่ยนเป็น ค.ศ. ก็เพราะ

  1. ก่อน พ.ศ. 2484 ค.ศ. จะสะดวกต่อการนับมากกว่า เพราะวันขึ้นปีใหม่ไทย (1 เมษา) ไม่ตรงกับวันขึ้นปีใหม่สากลครับ
  2. มีการตกลงเมื่อไม่นานมานี้ ว่า "เนื้อหาซึ่งกล่าวถึงอดีตที่ผ่านไปนานแล้ว ควรใช้ ค.ศ." (แนะนำให้ใช้เฉย ๆ นะครับ ไม่ได้บังคับ) ยกเว้นประวัติศาสตร์ไทย หรือสิ่งที่เกี่ยวกับไทยโดยเฉพาะ จึงจะใช้ พ.ศ. ครับ

--ชาวไทย (คุย) 18:51, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ได้ แต่ต้องดูความเหมาะสมด้วยคับ
--Phaisit16207 (คุย) 19:25, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ช่วยขยายความคำว่า "ความเหมาะสม" ด้วยครับ --ชาวไทย (คุย) 19:28, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ความเหมาะสมคือ ความเหมาะสมต่อเวลา บทความ และเนื้อความคับ
--Phaisit16207 (คุย) 19:37, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Phaisit16207: เพื่อประกอบการตัดสินใจและศึกษาการแก้ไขวิกิพีเดียเพิมเติม ผมขอแนะนำให้เข้าไปดูในอภิปรายเกี่ยวกับศักราชในหน้า โครงการวันเดือนปี ครับ ซึ่งในการอภิปรายดัวกล่าวจะมีผลกระทบต่อการแก้ไขเกี่ยวกับศักราช หากคุณแก้ไขในประเด็นนี้บ่อย ผมก็แนะนำอย่างยิ่งให้เข้าไปดูนะครับ ขอบคุณครับ NP-chaonay (คุย) 20:04, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แนะนำการใช้ช่องทางการคุยโดยมุมมองของ NP-cฯ

แก้

เผื่อเอาไว้พิจารณาครับ

  • หน้าพูดคุย ในโครงการ เช่น วิกิพีเดีย
  • อภิปรายอย่างเป็นทางการ
  • ถามปัญหาการใช้งานและวิธีการใช้และการสอบถามในหน้า WP:แผนกช่วยเหลือ (แม้จะถามในดิสคอร์ดได้ก็ตาม แต่การถามอะไรที่ต้องอธิบายมาก ๆ หน่อย หรืออธิบายหลายครั้ง ๆ อาจไม่เหมาะสม ตามมุมมองของผม)
  • อภิปรายและสอบถามกับผู้ใช้ในชุมชนหรือผู้ใช้ทั่วไปในโครงการทั่วขาจรและขาประจำ
  • เช่น การถามการแก้ไขบทความกับผู้ใช้ที่มาแก้ไขร่วมกัน, โดยถ่มที่หน้าคุยของบทความเป็นต้น
  • การคุยที่จำเป็นต้องใช้สำหรับหลักฐานบางประการ เช่น การทำจิตอาสาลงในสมุดบันทึกความดี หรือการบันทึกว่าได้มีส่วนร่วมอะไรอย่างไร เพื่อยืนยันกับชุมชนหรือชุมชนอื่น ๆ (เช่น ชุมชนส่วนกลาง และชุมชนโครงการอื่น) เป็นต้น
  • เช่น อภิปรายในสภากาแฟ เพื่อยืนยันต่อชุมชนส่วนกลางว่าชุมชนวิกิพีเดียภาคภาษาไทยจะขอให้คงไว้ซึ่งวิกิพีเดียต่อไป
  • Discord
  • คุยไม่เป็นทางการ
  • ปรึกษาเกี่ยวกับอภิปรายในหน้าเว็บโครงการ ที่กำลังอภิปรายขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ไม่ต้องการอภิปรายลงในหน้าเว็บฯ เพราะเป็นการแค่ปรึกษาและไม่เป็นทางการ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ NP-chaonay (พูดคุยหน้าที่เขียน) 20:25, 21 พฤษภาคม 2564 (ICT)
  • ข้อตวามซึ่งพิจารณาแล้วไม่ค่อยเข้าข่ายข้างบน และหากคุยในหน้าเว็บฯ จะไม่สะดวก
  • ทั้งนี้ พึ่งศึกษาด้วยว่า แต่ละช่องรับเนื้อหาอะไรได้บ้าง
  • คุยเรื่องที่กำลังคุยในช่องของเชฟเวอร์
  • สอบถามความเห็นก่อนเปิดอภิปรายในหน้าเว็บฯจริง อาจใช้ดิสคอร์ดถามได้ครับ
  • ทั้งนี้อภิปรายต่าง ๆ ในนี้ไม่เป็นทางการ จึงไม่มีผลบังคับใช้ได้
NP-chaonay (คุย) 20:20, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

RE:การสร้างหน้าที่ลบไปแล้ว

แก้

(จากในดิสคอร์ด) การสร้างหน้าที่ถูกลบไปแล้วไม่ได้ผิดอะไรครับ แต่ ควรเช็คก่อนว่ามีใครสร้างหน้าที่ว่านั้นหรือยัง (ในชื่ออื่น) ครับ

ป.ล. ผมว่าก่อนที่คุณจะสร้างหน้าใหม่ กลับไปตรวจทานของเก่าด้วยนะครับ บางบทความก็สั้นมาก หรือใช้ระดับภาษาไม่เหมาะสม (เหมือนภาษาพูด มากกว่าภาษาเขียน) ครับ --ชาวไทย (คุย) 22:59, 21 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

หน้าทดลองเขียน

แก้

ตามมาจาก Discord ครับ เท่าที่ฟังมานั้น ขอให้ยึด หน้าทดลองเขียนผู้ใช้ > ฉบับร่าง > ผ่านการประเมินแล้วย้ายเป็นบทความ ครับ ซึ่งเป็นไปตามรายละเอียดข้าวล่าง

ถึงจะไม่ใช่ไอพี หรือผู้ใช้ใหม่แล้ว ถ้าประสบการณ์ไม่มากพอ หรือต้องใช้เวลาพอสมควรในการสร้าง.ฃบทความ/โครงเค้า ก็ให้ใช้หน้าทดลองเขียนของผู้ใช้ก่อนครับ
ถ้าหากเริ่มพร้อมที่จะให้คน หลายๆ ผู้ใช้ปรับแก้และใส่ข้อมูลเพิ่ทเติมบางประการแล้ว ก็ค่อยเอาไปไว้ที่ฉบับร่างครับ แล้วเมื่อพร้อมเผยแพร่จริงๆ ผู้ใช้มากประสบการณ์จะย้ายเป็นบทความให้ครับ NP-chaonay (คุย) 18:25, 25 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

การใส่ลิงก์ภายใน

แก้

เวลาจะทับศัพท์ชั่วคราวกรุณาดูสีของลิงก์ด้วยครับ สีฟ้า คือมีหน้าบทความในภาษาไทยอยู่แล้ว ไม่ต้องไปทับภาษาไทยแค่ข้างนอกแล้วปล่อยข้างในให้เป็นภาษาอังกฤษครับ ส่วนลิงก์สีแดง คือยังไม่มีบทความในภาษาไทย (บางกรณีอาจจะมีแล้ว แต่สะกดชื่อบทความไม่ตรง) --ชาวไทย (คุย) 20:35, 12 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

แนะนำเรื่องการแปล

แก้

ถ้าความเข้าใจในภาษายังไม่ดีพอ แนะนำอย่าพึ่งไปแปลของยาก ๆ ครับ เท่าที่เห็นคือแปลจากอังกฤษมาคำต่อคำ ผมจะไม่พูดเรื่องคำที่แปลได้หลายความหมายนะครับ ถือว่าผมบอกคุณไปในดิสคอร์ดสองรอบแล้ว ที่อยากให้ปรับปรุงคือเรื่องการเรียบเรียงประโยคครับ

ต้นฉบับ:

The term "Fourth Partition" in a temporal sense can also mean the diaspora communities that played an important political role in re-establishing the Polish sovereign state after 1918.

นี้คือการแปลของคุณ:

คำว่า "การแบ่งครั้งที่ 4" ในความรู้สึกเชิงทางโลกยังสามารถหมายถึง ชุมชนพลัดถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในการสถาปนารัฐอธิปไตยขึ้นใหม่ของโปแลนด์หลัง ค.ศ. 1918

ใจความสำคัญที่แปลมายังอยู่ครบก็จริงครับ แต่สำหรับผู้ใช้ภาษาไทยแล้วประโยคที่แปลมาจะทำความเข้าใจได้ยาก (ไม่นับการแปลผิดความหมายด้วยนะครับ) เพราะในภาษาไทย (และภาษาอื่น ๆ ทั้วโลก) ต่างก็มีการเรียบเรียงเป็นของตัวเอง ฉะนั้นควรจะปรับให้เข้ากับภาษานั้น ๆ ด้วยครับ

--ชาวไทย (คุย) 18:28, 13 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

(ยาวไปไม่อ่าน+สรุป: ถ้าไม่มีความแม่นยำพอในคลังศัพท์ของคำนั้น และไม่ได้ชำนาญพอระดับหนึ่งในหัวข้อของบทความ ควรเลี่ยงการแก้ไขไปก่อน แต่หากมีอภิปรายเกี่ยวข้องอาจสามารถเข้าร่วมพูดคุยได้เพื่อเสริมประสบการณ์) ขออนุญาตแทรกการพูดคุยนะครับ ผมคิดว่าปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ว่างานยากหรือไม่ยากอย่างเดียว เพราะในมุมมองของผมถ้าไม่คิดอะไรลงลึกมากและมีคลังศัพท์และความเข้าใจในศัพท์ระดับหนึ่ง ผมก็คงแปลประมาณแบบบุคคลนี้เค้าแปลครับ ความจริงปัญหาอีกอย่างคือจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนยากหรือไม่ยาก ซึ่งสำหรับผมแล้วคงไม่เลือกแปลส่วนของบทความนี้โดยปริยาย เพราะไม่มีความรู้ภาษาที่น่าจะเหมาะสมเพียงพอ และไม่ได้สนใจและมีความรู้ในหัวข้อของบทความดังกล่าวด้วย --NP-chaonay (คุย) 17:27, 14 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
ผมว่าเรื่อง "ยาก-ไม่ยาก" การเลือกหัวข้อมันก็เป็นตัวกำหนดระดับเหมือนกันนะครับ สมมติว่าเราเลือกแปลเรื่องทางประวัติศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ ก็อาจจะเจอศัพท์เฉพาะทาง/ศัพท์หลายความหมาย มากกว่าการแปลเรื่องน้ำส้มคั่นนะครับ (ผมอาจจะยกตัวอย่างได้ไม่ดีเท่าไหร่ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ) ชาวไทย (คุย) 21:17, 14 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

การแปล (22/07/2564)

แก้

เอาอีกแล้วนะครับ บอกไปแล้วนะว่าถ้าภาษาไม่แข็งอย่าพึ่งไปแปลหัวข้อยาก ๆ ประโยค "Territorial and population losses suffered by Prussia" ในภาษาไทย ถ้าจะแปลให้มันลื่น ๆ แต่คงใจความไว้ได้ควรจะแปลเป็น "การสูญเสียดินแดนและประชากรของปรัสเซีย" ไม่ใช่ "การสูญเสียดินแดน และประชากร ที่ได้รับความเสียหายจากปรัสเซีย" เพราะในบริบทนี้ฝ่ายที่เสียคือปรัสเซีย ถ้าใช้ "จาก" จะกลายเป็นปรัสเซียไปทำให้ประเทศอื่นเสียดินแดนและประชากรแทน

ผมแนะนำให้คุณลองแปลบทความจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแบบง่ายก่อนดีกว่านะครับ ยกตัวอย่างเช่น simple:Apple juice อันนี้ไม่สั้น ไม่ยาวจนเกินไป น่าจะแปลง่ายอยู่นะ --ชาวไทย (คุย) 13:24, 22 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แบบนี้ได้ไหมคับ "น้ำแอปเปิล เป็นน้ำผลไม้จากแอปเปิล ซึ่งไม่มีแอลกอฮอล์ และมีรสหวานจากน้ำตาลผลไม้ตามธรรมชาติ หลายๆ บริษัทที่ทำน้ำแอปเปิ้ลชอบกล่าวว่า ไม่ใส่น้ำตาลลงไปในเครื่องดื่ม มีเพียงน้ำตาลธรรมชาติเท่านั้น" --Phaisit16207 (คุย) 21:27, 22 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

อย่างแรก ถ้าเป็นผมแปล "Apple juice" ผมจะแปลว่า "นำ้แอปเปิล" เฉย ๆ ไม่ใช่ "น้ำแอปเปิลคั้น" เพราะต้นฉบับไม่ได้มีคำว่า "Squeeze" ที่แปลว่าปั้นหรือคั้น ส่วนคำแปลของคุณ ผมว่ามันตรงตัวเกินไป ทีนี้มาดูของผมแปลกัน


น้ำแอปเปิ้ล เป็นน้ำผลไม้จากผลแอปเปิล นับเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ แต่มีรสหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ บริษัทผู้ผลิตน้ำแอปเปิ้ลหลายรายมักอ้างว่าพวกเขาไม่ได้เติมน้ำตาลเพิ่มลงไปในผลิตภัณฑ์ รสหวานที่ได้รับจึงมาจากน้ำตาลตามธรรมชาติเท่านั้น


รู้ครับว่าชอบประวัติศาสตร์ รู้ครับว่าเป็นเด็ก เลยอาจจะมองว่าแก้วิกิพีเดียแล้วมัน "เท่" แต่ขอย้ำว่าถ้าภาษาต่างประเทศไม่แข็งแรงแบบนี้ อย่าพึ่งลงมือทำ "งานใหญ่" ครับ ผิดพลาดมาแล้วจะกลายเป็นภาระให้คนอื่นต้องมาตามเก็บกวาด (หรือต้องมานั่งแปลใหม่ทั้งบทความ) อีก --ชาวไทย (คุย) 05:24, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
อันนี้ผมแปลตามความหมายของผมคับ แต่ยังคงเนื้อความอยู่คับ --Phaisit16207 (คุย) 13:18, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
สรุปง่าย ๆ คือคุณกำลังจะสื่อว่า คุณจะแปลในสิ่งที่อยากแปล ต่อให้มีคนทักทวงว่าสิ่งที่คุณแปล มันจะผิดไปจากต้นฉบับ หรือสร้างภาระให้คนอื่นต้องตามเก็บกวาดไม่จบไม่สิ้นใช่ไหมครับ? ผมจะได้เริ่มทำใจเสียทีว่าควรเลิกสีซอให้กระบือฟังได้แล้ว --ชาวไทย (คุย) 13:33, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ถ้าคุณแนะนำผมแบบนี้ คุณกำลังจะสื่อว่า "ให้ผมแปลอันง่ายๆไปหนักใช่ไหม หรือให้เลิกแปลไปเลยถ้าคิดว่าถ้าแปลแล้วมันจะเสียหายหรือเป็นภาระให้คนอื่นเก็บกวาดหรอคับ?" --Phaisit16207 (คุย) 13:38, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ผมกับคนอื่น ๆ เคยแนะนำคุณไปตั้งแต่ในดิสคอร์ดแล้วไงครับว่าให้ทำอะไรง่าย ๆ ไปก่อน (ซึ่งเท่าที่ดูคุณก็ไม่ได้สนใจรับฟัง เอาแต่เออออไปให้สวะมันพันตัว) ถ้าคุณทำผิดพลาด ข้อผิดพลาดนั้นก็กลายเป็นภาระ ให้ทุกคนตามแก้อีก เวลาคุณกดบันทึก ทุกคนบนโลกจะเห็นสิ่งที่คุณเขียนทันที ขอให้ใช้เวลาทำความเข้าใจกับระบบไปก่อน ขั้นตอนนี้อาจจะใช้เวลาเป็นวัน หลายเดือน หรือหลายปี ไม่ต้องรีบร้อนครับ --ชาวไทย (คุย) 14:01, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอเข้าร่วมสนทนาครับ
ถึงคุณ @Phaisit16207: ขอย้ำอีกครั้งครับเผื่อไม่ได้บอกชัดเจน อันนี้ไม่ได้จะด้อยค่าใครนะครับ การแก้ไขที่ผิดพลาดแล้วเป็นภาระงานกับผู้ใช้อื่นนั้น จะเรียกว่า การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ (รายละเอียดตามลิงก์ที่เคยแนบไว้) หากทำซ้ำจะถูกบล็อกได้ หากคุณทำการแก้ไขแล้วเป็นปัญหาในลักษณะดังกล่าวอยู่เกือบบ่อย ควรพิจารณาระงับการแก้ไขดังกล่าวครับ ทั้งนี้อย่างไรก็ดีที่ผมแปลได้บ้างใน Meta-Wiki เพราะเป็นคำเดียว ๆ หรือมีลู่ทางที่พิจารณาแล้วว่าแปลได้ครับ อย่างไรก็ดีการแปลศัพท์ซับซ้อนหรือแปลข้อความที่ใช้บริบทแปลก ๆ จำเป็นต้องมีประสบการณ์พอสมควรครับ
"ให้ผมแปลอันง่ายๆไปหนักใช่ไหม หรือให้เลิกแปลไปเลยถ้าคิดว่าถ้าแปลแล้วมันจะเสียหายหรือเป็นภาระให้คนอื่นเก็บกวาดหรอคับ?": ผมอยากให้คุณตีความว่า คุณควรทำในสิ่งที่คุณถนัดหรือพอทำได้แล้วไม่เป็นปัญหาหนัก และไม่ทำการแก้ไขผิดพลาดจนเป็นปัญหาในระยะยาวหรือรบกวนโครงการบ่อยครั้งครับ สมมุติว่าถ้าคุณแปลคำเดี่ยว ๆ ได้ แต่แปลประโยคเดี่ยว ๆ แล้วเกิดปัญหาคุณก็ไม่ควรไปต่อครับ แต่คุณจะศึกษาต่อก็ได้แค่อย่าเพิ่งทำการแก้ไขจริงครับ เพราะถ้าไม่มีประสบการณ์แล้วแก้ไขผิดพลาดต่อ จะเป็นการแก้ไขที่ทำให้เสียระบบแล้วถูกบล็อกได้หากรบกวนโครงการ
ไม่แปลกครับถ้าคุณหรือใครหลายคนคิดว่า ทำไมวิกิพีเดียมันซับซ้อนและยาก ทำอย่างอื่นดีไหม เหตุผลสองอย่างคือ ไม่มี course อบรมจริงจังเหมือนในการเรียนหนังสือมัธยม และโครงการมีแนวปฏิบัติควบคุมอยู่ครับ และอีกอย่าง ผมพอถนัดงานในที่นี้ (ถนัดบางอย่างนะครับ ถ้าจะให้แปลบทความเป็นประโยคเลยก็ไม่ได้) เลยเป็นอาสาสมัครขาประจำ ถ้าใครเก่งโปรแกรมเมอร์/ดนตรี/งานบริการ/งานสังคมประชาชน ก็อาจจะมีงานอาสาสมัครอีกแบบครับ
ทำความเข้าใจกับระบบไปก่อน ขอให้ตีความว่า ให้ศึกษาแนวปฏิบัติ และที่สำคัญคือ ประสบการณ์และการแก้ไขของผู้ใช้ท่านอื่น ๆ ก่อน โดยต้องไม่แก้ไขรบกวนโครงการด้วย
ผมหวังว่าจะกระจ่างเข้าใจนะครับ หากสงสัยสามารถถามได้ครับ ----NP-chaonay (คุย) 10:26, 25 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ


จะสรุปให้ง่าย ๆ (พยายามให้ไม่เกิน 7บรรทัดนะครับ)
  • เบาไปหาหนัก กรณีของคุณ ตามจริงแล้วผมอยากให้ งด การแปลจากภาษาใด ๆ ไปก่อน (เพราะภาษายังไม่คล่อง) และไปช่วยแก้ไขเล็กน้อยแทน (แก้ตัวสะกด ปิดวงเล็บ และอื่น ๆ) ทำแบบนี้ไปก่อน พอคล่องแล้ว วุฒิภาวะมากขึ้นแล้ว (เห็นที่ไร้สาระนุกรม คุณแสดงตัวว่าเป็นเยาวชนนะครับ) ค่อยเริ่มทำการแก้ไขระดับใหญ่กว่านี้
  • ทำความเข้าใจกับระบบไปก่อน ข้อนี้ผมหมายถึงให้เก็บประสบการณ์ (เรียกง่าย ๆ ว่า "เก็บ XP" ก็แล้วกัน คุณเคยเปรียบการแก้วิกิพีเดียเหมือน "ทำเควส" ในเกมนี้เนอะ) ยิ่งคุณเก็บ XP ได้มาก (จากการแก้ไขเล็กน้อย หรือ "ปราบมอน" ขั้นต่ำ) คุณก็จะมีความเข้าใจ ("สกิล") ที่สูงขึ้น พร้อมที่ไปปราบ "บอส" ซึ่งระหว่างทางที่เก็บ XP "ตัวละคร" (คุณ) ก็จะเก่งขึ้น (แก่ขึ้น เก่งภาษาอังกฤษกว่าเดิม แปลไทยลื่นกว่าเดิม) จน "ผู้เล่น" คนอื่น ๆ (ผู้ใช้) ยอมรับคุณเข้า "กิลด์" (ให้ความยอมรับ) ครับ --ชาวไทย (คุย) 14:38, 25 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง

แก้

สวัสดีครับ ในการสร้างหน้าเปลี่ยนทาง ควรสร้างเฉพาะชื่อที่คาดได้ว่าจะมีการทำลิงก์ไปหรือชื่อที่คาดว่าจะมีคนใช้ค้นหาก็พอครับ เช่น ตัวสะกดในภาษาที่เกี่ยวข้อง ตัวสะกดอักษรไทยที่พบบ่อย ส่วน "เซคซ์โพสโพลิตา ปอลสกา" อะไรอย่างนี้คงไม่มีใครพิมพ์ค้นหาแน่ ๆ เพราะนอกจากจะยาวแล้ว ยังถอดเสียงไม่ถูกอีกด้วย แถมชื่อภาษาไทยก็มีอยู่แล้ว --Potapt (คุย) 22:14, 9 ตุลาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

อ่อครับ --Phaisit16207 (คุย) 22:20, 9 ตุลาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ช่วยกรุณาปิดการใช้งานหมวดหมู่ในหน้าทดลองเขียนและกระบะทรายของคุณ

แก้

สวัสดีครับ ผมสังเกตว่าคุณได้มีการทำหน้าทดลองเขียนและกระบะทรายเป็นจำนวนมาก จึงใคร่ขอรบกวนขอให้คุณกรุณาปิดการใช้งานหมวดหมู่ในหน้าเหล่านั้น เพราะหน้าเหล่านี้ไปโผล่ในหน้าหมวดหมู่วิกิพีเดียหลายหมวด ผมได้ปิดการใช้งานไปบางส่วนแล้ว แต่เนื่องจากจำนวนที่มาก ผมจึงมาเรียนให้คุณทำด้วยตัวเอง เพราะผมตามทำให้ไม่ไหวครับ

ทั้งนี้ ขอชี้แจ้งให้ทราบว่า ตามปกติ หน้าหมวดหมู่มีไว้เพื่อรวบรวมบทความให้เป็นระเบียบ (เว้นกรณีหมวดหมู่ทางเทคนิค เช่นฉบับร่าง หรือนโยบายวิกิพีเดีย ที่จะรวบรวมหน้าในเนมสเปซอื่น)

โดยการปิดใช้งานหมวดหมู่ สามารถทำได้โดยการเพิ่มเครื่องหมายทวิภาค (:) ที่หน้า [[:หมวดหมู่:...]] หรือครอบหมายเหตุล่องหน <!-- --> สำหรับหมวดหมู่ที่เกิดจากการใส่แม่แบบ (มี{{ }}) ปิดหน้า-หลัง ครับ ชาวไทย (คุย) 03:14, 26 พฤศจิกายน 2564 (+07)ตอบกลับ

การส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC: เขตผู้ว่าการนิจนีนอฟโกรอด (ธันวาคม 10)

แก้
 
ฉบับร่างล่าสุดของคุณที่ส่งกับ AFC ได้รับการตรวจทานแล้ว แต่น่าเสียดายที่ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นบทความในตอนนี้ เหตุผลที่แจงไว้โดย Just Sayori คือ: คือ: กรุณาตรวจสอบที่ฉบับร่างเพื่อดูความเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ทิ้งไว้โดยผู้ตรวจทาน คุณยังสามารถปรับปรุงฉบับร่างต่อไปได้ และเมื่อแก้ไขตามข้อเสนอแนะเรียบร้อยแล้ว แล้วจึงกดส่งซ้ำอีกครั้ง
Just Sayori OK? (have a chat) 19:10, 10 ธันวาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แม่แบบ:LangWithName

แก้
  ขอขอบคุณที่ทดลองแก้ไขบทความในวิกิพีเดีย แต่การแก้ไขของคุณได้ถูกย้อนกลับหรือลบไปแล้ว
สำหรับการทดลองเขียน กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน


ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการร่วมแก้ไขในวิกิพีเดียได้ที่ การเริ่มต้นวิกิพีเดีย นโยบายวิกิพีเดีย และอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ถามเกี่ยวกับการใช้งานวิกิพีเดียได้ที่แผนกช่วยเหลือ และสำหรับคำถามอื่น ๆ สามารถถามได้ที่ปุจฉา-วิสัชนา

กรุณาอย่าสร้างบทความใหม่เพียงเพื่อถามคำถาม มีเนื้อหาสั้นไม่เกินประโยค โฆษณา หรือคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่น
และกรุณาอย่านำใส่หรือนำออกซึ่งเนื้อหาในวิกิพีเดีย โดยไม่เป็นการช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้องกับบทความ หรือเป็นเรื่องไร้สาระ

มันพังนะครับ ผมย้อนกลับไปเป็นอันก่อนที่คุณจะเข้ามาแก้ไข--Taweethaも (คุย) 14:38, 13 ธันวาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Phaisit16207: ครับก่อนจะแก้ไขแม่แบบ โดยเฉพาะอันที่ซับซ้อน ควรเชฟลงหน้าผู้ใช้ตนเองก่อน แล้วทดสอบผ่านการแก้ไขแล้วกดแสดงตัวอย่าง (ไม่ใช่กดเชฟ) แล้วดูว่าใช้ได้ไหม แต่ทางที่ดีอย่าแก่ไขแม่แบบโดยเฉพาะแม่แบบซับซ้อนดีกว่าครับ เพราะต้องดูหลาย ๆ อย่างด้วยมันจะยากและเกิดปัญหาแบบนี้เอาครับ (และอาจเข้าข่ายการแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ เป็นต้น) --NP-chaonay (คุย) 15:54, 14 ธันวาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

สอบถามเพื่อการพิจารณาฉบับร่างIPA/Latin

แก้

สวัสดีครับคือผมต้องการคำตอบเหล่านี้เพื่อพิจารณาในการตรวจฉบับร่าง บทความนี้ไม่มีชื่อเป็นภาษาไทยหรอครับกรุณาช่วยอธิบายเหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ด้วยครับ kaoavi (คุย) 21:19, 12 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

เนื่องจากคนสร้างฉบับร่าง:IPA/Northern Thai เขาใช้แบบนี้กันครับ เด๊๋ยวผมจะเปลี่ยนแปลงเป็น ฉบับร่าง:สัทอักษรสากล/ภาษาละตินครับ Phaisit16207 (คุย) 22:50, 12 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

การส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC: ภาษาละติน (มกราคม 31)

แก้
 
ฉบับร่างล่าสุดของคุณที่ส่งกับ AFC ได้รับการตรวจทานแล้ว แต่น่าเสียดายที่ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นบทความในตอนนี้ เหตุผลที่แจงไว้โดย ชาวไทย คือ: คือ: กรุณาตรวจสอบที่ฉบับร่างเพื่อดูความเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ทิ้งไว้โดยผู้ตรวจทาน คุณยังสามารถปรับปรุงฉบับร่างต่อไปได้ และเมื่อแก้ไขตามข้อเสนอแนะเรียบร้อยแล้ว แล้วจึงกดส่งซ้ำอีกครั้ง
ชาวไทย (คุย) 07:22, 31 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Phaisit16207:
  • ผมว่าในกรณีนี้ย้ายหน้ามาที่ หน้าทดลองเขียนของผู้ใช้แทนจะดีกว่าครับ ผมเห็นว่าชุมชนน่าจะรู้การมีอยู่ของหน้าดังกล่าวแล้ว ถ้าหากมีการสร้างต่อยอดจริง ๆ ก็จะใช้หน้าของคุณเป็นแนวทางครับ
  • ส่วนที่เผยแพร่เป็นหน้าจริงไม่ได้ก็ตามเหตุผลข้างบนเลย คือหน้ารากหรือหน้าแม่ของหน้าที่จะเผยแพร่ยังไม่มี
  • ในกรณีนี้คิดว่าย้ายหน้ามาที่หน้าทดลองเขียนของคุณก่อนครับ แล้วอาจจะแปะข้อความประกาศในหน้าผู้ใช้ของคุณว่า คุณสร้างหรือแปลอันนี้แล้วนะ
    • อย่างของผมเองก็มีแปลหน้าครับ แต่ไม่ได้สมบูรณ์พอจะเผยแพร่ครับ และยังไม่พร้อมจะเผยแพร่ด้วย เลยบันทึกที่หน้าผู้ใช้ตนเองก่อน
--NP-chaonay (คุย) 16:38, 31 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

การส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC: เขตผู้ว่าการนิจนีนอฟโกรอด (กุมภาพันธ์ 2)

แก้
 
ฉบับร่างล่าสุดของคุณที่ส่งกับ AFC ได้รับการตรวจทานแล้ว แต่น่าเสียดายที่ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นบทความในตอนนี้ เหตุผลที่แจงไว้โดย Kaoavi คือ: คือ: กรุณาตรวจสอบที่ฉบับร่างเพื่อดูความเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ทิ้งไว้โดยผู้ตรวจทาน คุณยังสามารถปรับปรุงฉบับร่างต่อไปได้ และเมื่อแก้ไขตามข้อเสนอแนะเรียบร้อยแล้ว แล้วจึงกดส่งซ้ำอีกครั้ง
kaoavi (คุย) 21:12, 2 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)ตอบกลับ

การส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC: หน้า เขตผู้ว่าการคอฟโน ได้รับการยอมรับแล้ว

แก้
 
ฉบับร่าง เขตผู้ว่าการคอฟโน ที่คุณได้ส่งทบทวนไว้ ได้ถูกสร้างเป็นบทความแล้ว

ยินดีด้วย และขอขอบคุณที่ช่วยเพิ่มพูนบทความให้กับวิกิพีเดีย เราหวังว่าคุณจะมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพเช่นนี้ต่อไป

บัญชีของคุณมีอายุมากกว่า 4 วัน คุณจึงสามารถสามารถสร้างบทความของคุณเองได้แล้วโดยไม่ต้องส่งคำขอใด ๆ อย่างไรก็ตาม คุณยังคงสามารถส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC ได้เช่นเดิมหากคุณต้องการ

หากมีคำถามหรือข้อสงสัย กรุณาถามที่แผนกช่วยเหลือเมื่อบัญชีของคุณมีอายุมากกว่า 4 วัน คุณจะได้รับสิทธิ์ในการสร้างบทความโดยไม่ต้องใช้ AfC

หากคุณต้องการช่วยเราปรับปรุงกระบวนการนี้ โปรดให้ข้อเสนอแนะแก่เรา

ขอขอบคุณอีกครั้ง และขอให้สนุกกับการแก้ไข!

kaoavi (คุย) 13:11, 12 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ดาวเกียรติยศแห่งประเทศยูเครน

แก้
  ดาวเกียรติยศแห่งประเทศยูเครน
ผมขอมอบดาวนี้ให้คุณ Phaisit16207 สำหรับการมีส่วนร่วมต่อบทความที่เกี่ยวข้องกับประเทศยูเครนอย่างมีนัยสำคัญครับ Слава Україні! Героям слава! --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:53, 18 เมษายน 2565 (+07)ตอบกลับ
ข้าพเจ้าขอบใจมากยิ่งนัก --Phaisit16207 (คุย) 20:50, 18 เมษายน 2565 (+07)ตอบกลับ

การส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC: หน้า เขตผู้ว่าการเคียฟ ได้รับการยอมรับแล้ว

แก้
 
ฉบับร่าง เขตผู้ว่าการเคียฟ ที่คุณได้ส่งทบทวนไว้ ได้ถูกสร้างเป็นบทความแล้ว

ยินดีด้วย และขอขอบคุณที่ช่วยเพิ่มพูนบทความให้กับวิกิพีเดีย เราหวังว่าคุณจะมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพเช่นนี้ต่อไป

บทความถูกจัดอยู่ในระดับ โครง ซึ่งถูกบันทึกไว้ในหน้าพูดคุยของบทความ ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของบทความ เป็นเรื่องปกติที่บทความมักจะเริ่มต้นจากการเป็นฉบับร่างมาก่อน และจะได้รับการพัฒนาจนบทความอยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป คุณอาจสนใจเรื่องระดับการเขียนบทความเพื่อดูว่าคุณจะช่วยปรับปรุงบทความได้อย่างไรบ้าง

บัญชีของคุณมีอายุมากกว่า 4 วัน คุณจึงสามารถสามารถสร้างบทความของคุณเองได้แล้วโดยไม่ต้องส่งคำขอใด ๆ อย่างไรก็ตาม คุณยังคงสามารถส่งฉบับร่างของคุณกับ AfC ได้เช่นเดิมหากคุณต้องการ

หากมีคำถามหรือข้อสงสัย กรุณาถามที่แผนกช่วยเหลือเมื่อบัญชีของคุณมีอายุมากกว่า 4 วัน คุณจะได้รับสิทธิ์ในการสร้างบทความโดยไม่ต้องใช้ AfC

หากคุณต้องการช่วยเราปรับปรุงกระบวนการนี้ โปรดให้ข้อเสนอแนะแก่เรา

ขอขอบคุณอีกครั้ง และขอให้สนุกกับการแก้ไข!

Timekeepertmk (คุย) 17:14, 27 เมษายน 2565 (+07)ตอบกลับ

ฉบับร่าง:สาธารณรัฐอัปเปอร์โวลตา

แก้

กรุณาแก้ไขเพื่อขยายอายุฉบับร่างด้วยครับ มิฉะนั้นจะถูกลบ —Nakare✝「T」 09:24, 3 มิถุนายน 2565 (+07)ตอบกลับ