Taweetham
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 |
พ.ศ. 2567 - Year 2024
แก้บทความคัดสรรเดือนกุมภาพันธ์
แก้ในตอนนี้บทความอะเลคซันดร์ คอลชัค ได้รับการขึ้นเป็น FA แล้ว อยากทราบว่าผมสามารถเสนอบทความนี้เป็นบทความคัดสรรประจำเดือนกุมภาพันธ์ได้เลยหรือไม่ อย่างไรครับ --Supakit prem (คุย) 12:31, 22 มกราคม 2567 (+07)
@Supakit prem: เนื่องจากเวลากระชั้นชิดและเดือนกุมภาพันธ์มีผู้เสนอไปแล้วครับ ผมคิดว่าขยับไปเดือนที่ใกล้ที่สุดที่มีผุ้เสนอแต่ยังไม่มีผู้สนับสนุนคือเมษายนครับ ซึ่งตรงนี้ผมสามารถถอนชื่อมาลาเรียออกได้เลย ยังไม่กระทบกับใคร แต่ถ้าอยากได้เดือนที่สัมพันธ์กับบทความคือพฤศจิกายนก็เสนอได้เลยเหมือนกันครับ และระหว่างนี้ก็พยายามเขียนบทความคัดสรรเพิ่มเติมเพื่อแทรกเข้ามาในเดือนที่มาถึงก่อนพฤศจิกายนได้ครับ --Taweethaも (คุย) 13:22, 22 มกราคม 2567 (+07)
@Supakit prem: จะพยายามดู เจ้าชายอัลเฟรดแห่งบริเตนใหญ่ให้นะครับ เป็นบทความแปลที่ไม่ยาวนัก ผมเช็คโครงสร้างเบื้องต้นตรงกับต้นฉบับ ยังไม่ได้อ่านในเนื้อหา --Taweethaも (คุย) 12:11, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
Thank you for being a medical contributors!
แก้The 2023 Cure Award | |
In 2023 you were one of the top medical editors in your language. Thank you from Wiki Project Med for helping bring free, complete, accurate, up-to-date health information to the public. We really appreciate you and the vital work you do!
Wiki Project Med Foundation is a thematic organization whose mission is to improve our health content. Consider joining for 2024, there are no associated costs. Additionally one of our primary efforts revolves around translation of health content. We invite you to try our new workflow if you have not already. Our dashboard automatically collects statistics of your efforts and we are working on tools to automatically improve formating. |
Thanks again :-) -- Doc James along with the rest of the team at Wiki Project Med Foundation 05:25, 4 กุมภาพันธ์ 2567 (+07)
- สำเร็จ Many thanks! --Taweethaも (คุย) 12:13, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
ตรวจสอบบทความ
แก้ช่วยตรวจสอบบทความ อวตาร (ภาพยนตร์) ในส่วน นักแสดง หน่อยครับ ถ้าไวยากรณ์ผิดพลาดแก้ได้เลยครับ Gøød198 (คุย) 17:48, 22 เมษายน 2567 (+07)
- @วรุฒ หิ่มสาใจ, PiggyAB, และ Gøød198: ผมยังไม่มีเวลาเข้าไปดูในรายละเอียดตอนนี้ ขอเชิญขวนท่านที่แก้ไขบทความร่วมกันเข้าไปดูก่อนนะครับ --Taweethaも (คุย) 18:41, 22 เมษายน 2567 (+07)
- ใช้ได้แล้วครับ วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย) 20:31, 22 เมษายน 2567 (+07)
- สำเร็จ --Taweethaも (คุย) 12:12, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
เตือนให้ลงคะแนนตอนนี้เพื่อเลือกสมาชิกของคณะกรรมการประสานงานหลักจรรยาบรรณสากลกลุ่มแรก
แก้ถึงชาววิกิมีเดีย
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเคยเข้าร่วมในกระบวนการหลักจรรยาบรรณสากลมาก่อน
นี่เป็นการเตือนว่าระยะเวลาการลงคะแนนเสียงสำหรับคณะกรรมการประสานงานหลักปฏิบัติสากล (U4C) จะสิ้นสุดในวันที่ จะสิ้นสุดในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 อ่านข้อมูลใน หน้าการลงคะแนนเสียงในเมทาวิกิ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงและสิทธิ์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
คณะกรรมการประสานงานหลักปฏิบัติสากล(U4C) เป็นกลุ่มระดับโลกที่อุทิศตนเพื่อให้การดำเนินงานหลักจรรยาบรรณสากล เป็นไปอย่างเท่าเทียมกันและสม่ำเสมอ สมาชิกชุมชนได้รับเชิญให้ส่งใบสมัครสำหรับคณะกรรมการประสานงานหลักปฏิบัติสากล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและความรับผิดชอบของคณะกรรมการประสานงานหลักปฏิบัติสากล โปรดไปที่ หลักจรรยาบรรณสากล/คณะกรรมการประสานงาน/กฎบัตร
กรุณาแบ่งปันข้อความนี้กับสมาชิกในชุมชนของคุณ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมได้เช่นกัน
ในนามของทีมโครงการหลักจรรยาบรรณสากล
RamzyM (WMF) 05:54, 3 พฤษภาคม 2567 (+07)
- สำเร็จ --Taweethaも (คุย) 12:12, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
สงสัยเรื่องตัวกรองที่ตรงกัน: ป้องกันข้อความด่า/หยาบคายทั่วไป
แก้สวัสดีครับ ผมมี 2 บทความที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ ซึ่งเนื้อหาลองตรวจแล้วตรวจอีกก็ไม่เจอว่ามีคำหยาบคายตรงไหน รวมถึงพยายามหาแล้วว่า ตัวกรองที่ป้องกันเรื่องนี้ ต้องการอะไร อยากให้แก้ตรงไหน แต่ไม่สามารถจริง ๆ เลยอยากทราบว่าตัวกรองมันกรองอะไรบ้างจะได้แก้ถูกจุดครับ เพราะที่แปลมาไม่มีคำหยาบแต่ตัวกรองไม่ยอมให้ผ่านเลยจริง ๆ ครับ Kittipan.w (คุย) 21:00, 21 กรกฎาคม 2567 (+07)
@Kittipan.w: ขอบคุณสำหรับคำถามครับ ผมพยายามจะตรวจสอบให้ แต่ว่าจะต้องมีรายละเอียดให้แน่ชัดว่า "การแผยแพร่" ที่คุณกล่าวถึงหมายถึงการบันทึกหน้าหรือการย้ายหน้า
- ผมทดลองย้ายหน้า อิลลูมินาตี - ไม่สามารถย้ายได้เพราะว่ามีหน้านั้นอยู่แล้ว
- note ท้ายบทความ อาจจะเรียกว่า เชิงอรรถ/หมายเหตุ หรือเปล่านะครับ ลองดูอีกที
- ขอให้ทยอดย้ายเนื้อหาเข้าหน้าที่แผยแพร่อยู่แล้วทีละน้อย ส่วนไหนมีปัญหาโปรดแจ้งอีกทีครับ
- รัฐธรรมนูญแห่งปรัสเซีย (พ.ศ. 2463) หรือ สมัยวิกตอเรีย เข้าใจว่าบันทึกได้โดยตรงไปแล้ว
- ผมเข้าใจว่าแจ้งได้ถูกที่แล้วนะครับ ช่องทางอื่นที่อาจจะแจ้งได้คือ WP:AN และใช้การส่งอีเมล (ซ้ายมือที่หน้าของผู้ใช้แต่ละท่านมี tools -> Email this user หากเขาได้ตั้งเปิดรับอีเมลเอาไว้) ตรงนี้จะมีประโยชน์มากถ้าบันทึกข้อความลงวิกิพีเดียไม่ได้เลย
- ฝากเสนอบทความที่พร้อมแล้วเข้า WP:DYK ได้เลข และแจ้งโครงการในหน้าอภิปรายของบทความด้วยครับ ผมจะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง (สามารถเปลี่ยนจากโครงเป็นพอใช้หรือดีได้เลย)
--Taweethaも (คุย) 07:26, 22 กรกฎาคม 2567 (+07)
- @Taweetham เข้าใจถูกแล้วครับ
- 1. ผมต้องการบันทึกหน้าครับ ได้ลองทยอยเพิ่มดู โดนตั้งแต่ย่อหน้าที่ 2 ของ ส่วนประวัติความเป็นมา/ต้นกำเนิด เลยครับ ที่ว่า ตัวกรองเฉพาะกิจ 3 ลองเปลี่ยนคำว่าเกียจคร้านออกก็ยังโดนอยู่ เลยไม่แน่ใจว่าโดนคำไหนครับ
- 2. ถูกต้องครับ 2 บทความนั้น ทำเสร็จไปแล้วครับ
- 3. เพิ่งทราบเมื่อคืนว่าน่าจะแจ้งทางนั้นด้วยเหมือนกัน เดี๋ยวจะลองดู ยังไงขอบคุณมากครับ
- 4. ได้ครับ รับทราบครับผม
- --Kittipan.w (คุย) 13:33, 22 กรกฎาคม 2567 (+07)
@Kittipan.w: ขอขอบคุณที่ยังอดทนต่อไปต่อปัญหาและอุปสรรคทางเทคนิคนะครับ ผมจะแตกย่อยข้อ 1 ออกมาสองประเด็น
- ถ้าบันทึกไม่ได้เลยไม่ว่าหน้ากระบะทรายของตัวเอง หน้าพูดคุย และหน้าบทความ คงจะต้องใช้ช่องทางอื่นในการส่งให้คนอื่นช่วยตรวจครับ (อีเมลในกวิกิพีเดีย ดิสคอร์ด หรือฝากข้อความไว้ที่อื่นแล้วส่งลิงก์มาให้ก็ได้) แต่ถ้าบันทึกได้ตรงนั้น ก็แจ้งมาว่าข้อความอยู่ในหน้าดังกล่าวแล้วคนอื่นก็จะช่วยเหลือได้ต่อไปครับ
- สำหรับการตรวจหาคำด้วยตัวเองอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นข้อความไหนเป็นพิเศษครับ ใช้วิธีแบ่งครึ่งหารสองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบ (en:Binary_search) วิธีการนี้ไม่นานอย่างที่คิดนะครับ
--Taweethaも (คุย) 07:21, 23 กรกฎาคม 2567 (+07)
- ตอนนี้แก้ไขได้แล้วครับ สรุปว่าผมมีอายุการใช้งานไม่ครบเดือนดี เลยยังไม่ได้เลื่อนขั้น ทำให้เผยแพร่เนื้อหาที่มีคำบางอย่างไม่ได้
- แล้วก็เจอว่าเป็นย่อหน้าที่ 2 ของส่วนต้นกำเนิดของบทความ อิลลูมินาตี เลย น่าเสียดายที่ผมไม่ได้เป็นคนเผยแพร่เองครับ
- ยังไงขอบคุณสำหรับคำแนะนำมาก ๆ เลยนะครับ Kittipan.w (คุย) 12:32, 23 กรกฎาคม 2567 (+07)
- สำเร็จ ยินดีครับ --Taweethaも (คุย) 09:32, 24 กรกฎาคม 2567 (+07)
DYK, "ถูก" กระทำ
แก้- ขอถามครับ การเสนอหน้ารู้ไหมว่า ข้อความที่นำเสนอในหน้าการเสนอต้องนำมาจากบทความหรือเปล่าครับ หรือว่า ใช้ข้อความอื่นที่จูงให้เกิดความสนใจในบทความได้
- ขอเสนอ (หน้า) ครับ การใช้คำว่า "ถูก" ในภาษาไทย เหมือนจะไม่ได้ใช้ทั่วไปในไวยากรณ์ประเภทกรรมวาจก แต่ใช้ในอรรถ "ดูถูก" เช่น ถูกตี ถูกว่า แต่ไม่พูดว่า ถูกเชิญให้ไปสอนนักศึกษา แต่นี่เป็นคำที่ใช้ "ผิด" จากไวยากรณ์ดั้งเดิมที่ครูบาอาจารย์บางท่านไม่สนับสนุนให้ใช้ มักใช้ในบทความแปลโดยเฉพาะจากภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี (และจริง ๆ ก็ไม่ใช้ในภาษาพูด) คุณ Taweetham เหมือนจะเป็นอาจารย์ในมหาลัย ถ้ามีโอกาสรณรงค์เรื่องนี้บ้างโดยเฉพาะในข้อความเกี่ยวกับโครงการ เช่น "รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ" ก็อาจจะได้ความที่เข้ากับภาษาไทย "ทั่วไป" ได้ดีกว่าครับ --Tikmok (คุย) 14:36, 5 สิงหาคม 2567 (+07)
@Tikmok: ขอบคุณที่ทักเข้ามาในสองประเด็นครับ ขอตอบชี้แจงไปทีละข้อดังนี้
- ไม่จำเป็นต้องคัดลอกมาตรงตัวจากในบทความ แต่ผมคิดว่าถ้าเห็นใจคนตรวจ อยากให้ตรวจผ่านได้เร็ว (หรือในกรณีที่ผมเป็นคนเสนอโดยไม่ได้เขียนเอง) ก็อยากจะให้คัดลอกขึ้นมาจากส่วนที่มีการอ้างอิง แล้วย่นย่อลงให้เป็นข้อความที่นำไปใช้ได้ต่อไป (กระบวนการ DYK ในวิกิพีเดียภาษาไทยก็ยืมเอามาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ แต่ในทางปฏิบัติมีข้อแตกต่างกันทั้งเนื้อหาและการจัดการ ผมเข้าใจว่าแต่ละยุคสมัยมีเหตุผลของตัวเอง [ซึ่งก็อาจจะตามคนที่เป็นผู้ดูแลระบบหรือคอยดูแลโครงการอยู่ในตอนนั้น] ผมจะไม่เข้าไปต้านวิธีการที่ท่านทั้งหลายเลือกทำ แต่จะเข้าไปสนับสนุนให้งานดำเนินไปได้ในทางที่จะมีคนเข้าร่วมกันเขียนมากขึ้นโดยไม่ลดทอนคุณภาพจนเกินไป [คุณภาพคืออะไรเราก็อาจยังนิยามได้ไม่ชัดด้วยซ้ำไป] ดูเพิ่มได้ที่ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ (Diff))
- แยกเป็นส่วนครับ
- โดยหลักภาษาแล้วเห็นด้วยในหลักการอย่างยิ่งและ
- ได้ดำเนินการไปแล้วสำหรับ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอนะครับ (แค่เปลี่ยนชื่อหน้า แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนลิงก์ที่เข้ามาจากในทุกทาง อาจจะใช้หรือไม่ใช่บอตต้องดูจำนวนหน้าและบริบทต่อไป รวมถึงรอฟังดูสัก 7-14 วันว่ามีเสียงค้านหรือไม่)
- ส่วนในทางดำเนินการนั้น ตอนที่ผมตรวจบทความคัดสรรจะเห็นว่าผมอาจจะพยายามผ่อนปรนในลักษณะที่นับจำนวนแห่งด้วยการกดค้นหาแล้วแจ้งให้ผู้เขียนลองพิจารณาลดลง ตรงไหนคิดว่าจำเป็นก็คงค้างไว้ตามสมควร ไม่ใช่เพียงเรื่องกรรมวาจก แต่การใช้ไม้ยมก การเขียน พ.ศ. ค.ศ. นำหน้าปี (แทนการใช้คำว่าปี) ฯลฯ ส่วนนี้ความเห้นผมเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่เริ่มเข้ามาวิกิพีเดีย จากเดิมอยู่ฝั่งซ้ายสุดของสามคำนี้ Absolutism-Relativism-Pluralism ตอนนี้ย้ายไปอยู่ฝั่งข้างขวาสุดเลย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มขยายผลของงานที่ทำได้มากขึ้นครับ (เข้ามาตอนแรกผมยังทันเห็นอาสาสมัครที่เขียนประโยคภาษาไทยมีจุดท้ายประโยคอยู่เลย)
- เชิญชวนดูว่าสามคำดังกล่าวมีบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาไทยหรือยังนะครับอยากให้มีเพื่อเอามาอ้างอิงกล่าวถึงกันต่อไปได้ ป.ล. ความเชื่อในสามคำนี้เป็นความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจ มิได้หมายความว่าจะประสงค์จะใช้เพื่อ PC-ความถูกต้องทางการเมือง
- โดยหลักภาษาแล้วเห็นด้วยในหลักการอย่างยิ่งและ
- (สองข้อบนรวมกัน) ถ้าเห็นข้อความส่วนอื่นที่ควรแก้ไขอีกไม่ว่าจะเป็นกรรมวาจกหรือประเด็นไวยากรณ์อื่น ทักมาได้เลยครับ ผมจะพยายามช่วยผลักดัน ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ ได้รับความสนใจ/การให้ความสำคัญจากชุมชนหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องของอนาคตที่ต้องไปลุ้นเอาอีกที อย่างไรก็ดี รากฐานที่พยายามวางไว้คือชวนกันเขียนงานให้มีคุณภาพผ่าน DYK - มีช่องทางสื่อสารผ่านหน้าประกาศที่จะแสดงข้อความตลอดเวลาสำหรับผู้ใช้ลงทะเบียน น่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ระดับหนึ่ง
--Taweethaも (คุย) 07:31, 6 สิงหาคม 2567 (+07)
- สาธุ ครับ ขอบคุณครับที่เป็นผู้สนับสนุนให้ได้บทความที่ดี ๆ ครับ --Tikmok (คุย) 09:09, 6 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Tikmok: เพิ่งเวลามาค้นครับ ยังไม่มีบทความภาษาไทยทั้งสามสิ่งเลย en:Moral absolutism - en:Moral relativism - en:Value pluralism (สองบทความแรกติดป้ายอาจไม่เหมาะแก่การแปลในตอนนี้ กลายเป็นว่าผมสนับสนุนให้แปลอย่างสุดท้ายไปเลย) ส่วนหน้าที่เปลี่ยนชื่อไปแล้วรอ 14 วันผมจะไปตามกวาดหน้าอื่นที่ลิงก์มาตามที่แจ้งไว้ในหน้าอภิปราย คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า#เปลี่ยนชื่อ (จาก หัวข้อที่ถูกเสนอ เป็น เสนอรู้ไหมว่า) นะครับ --Taweethaも (คุย) 09:15, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
- แก้ลิงก์ไปบทความหลังที่เสนอนะครับ 555 เสนอให้แปลบทความประเภทยากสุดเลยครับ เพราะเราเองไม่มีศัพท์ด้วย เรื่องละเอียดด้วย แต่ดู ๆ แล้วแค่ขยายย่อหน้าแรกให้ได้ความกว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะพอรู้เรื่องได้ absolutism (black and white), relativism (depending on the contexts), pluralism (multiple correct but conflicting positions with no objective order of importance). --Tikmok (คุย) 14:24, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
- สำเร็จ ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวนำไปใส่ วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ ต่อไป --Taweethaも (คุย) 16:25, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
- แก้ลิงก์ไปบทความหลังที่เสนอนะครับ 555 เสนอให้แปลบทความประเภทยากสุดเลยครับ เพราะเราเองไม่มีศัพท์ด้วย เรื่องละเอียดด้วย แต่ดู ๆ แล้วแค่ขยายย่อหน้าแรกให้ได้ความกว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะพอรู้เรื่องได้ absolutism (black and white), relativism (depending on the contexts), pluralism (multiple correct but conflicting positions with no objective order of importance). --Tikmok (คุย) 14:24, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Tikmok: เพิ่งเวลามาค้นครับ ยังไม่มีบทความภาษาไทยทั้งสามสิ่งเลย en:Moral absolutism - en:Moral relativism - en:Value pluralism (สองบทความแรกติดป้ายอาจไม่เหมาะแก่การแปลในตอนนี้ กลายเป็นว่าผมสนับสนุนให้แปลอย่างสุดท้ายไปเลย) ส่วนหน้าที่เปลี่ยนชื่อไปแล้วรอ 14 วันผมจะไปตามกวาดหน้าอื่นที่ลิงก์มาตามที่แจ้งไว้ในหน้าอภิปราย คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า#เปลี่ยนชื่อ (จาก หัวข้อที่ถูกเสนอ เป็น เสนอรู้ไหมว่า) นะครับ --Taweethaも (คุย) 09:15, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
คำถามเกี่ยวกับวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/กิจกรรมสนับสนุน เรื่องการคิดคะแนน
แก้@Taweetham ถ้าผมสร้างบทความใหม่ ประเภทที่มีขนาดคำเกิน 1,000 ไบต์ แต่ไม่อยู่ในวิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ หรือพิเศษ:หน้าที่ต้องการ 100 อันดับแรก แต่บทความที่ผมจะสร้างเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งไม่น่าจะได้รับการจัดเป็นบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรร
แต่อาจเป็นบทความ DYK (รู้ไหมใช่ว่าที่ได้คะแนนสูงสุด) จากบทความที่มียอดการเข้าชมสูงที่สุดในบรรดากลุ่มบทความที่นำเสนอในรอบเดียวกันในช่วงที่ได้แสดงบนหน้าหลัก คะแนนจะถูกคิดอย่างไรครับ และตัวบทความจะมีผลต่อโครงการนี้เมื่อถูกสร้างตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน หรือไม่ครับ พอดีผมมีข้อสงสัยครับ ขอบคุณครับ Stirz117 (คุย) 20:27, 5 สิงหาคม 2567 (+07)
@Stirz117 และ Wutkh: วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/กิจกรรมสนับสนุน ยังอยู่ระหว่างอภิปรายไม่เป็นที่สิ้นสุดนะครับ อันนี้เป็นความเห็น อ่านตามเอกสารที่เป็นข้อเสนอในปัจจุบัน
- ผมไม่แน่ใจว่าทำไมวันเริ่มต้นต้องมี 1 กันยายนและ 1 สิงหาคมแตกต่างกัน สุดท้ายอาจจะมีวันเดียวคือ 1 สิงหาคม แต่เป็นการอนุมัติย้อนหลังไป โดยนับแต่ 14/15 สิงหาคม และเริ่มประชาสัมพันธ์ 1 กันยายน แต่วันเริ่มโครงการที่แท้จริงอาจมีวันเดียวเพื่อให้ง่ายไม่ต้องสับสน
- ตามกติการู้ไหมว่ามีมาแต่เดิมคือขั้นต่ำ 400 คำ หรือ 10,000 ไบต์ เท่านั้นครับ ถ้าไม่ถึงเกณฑ์จะไม่ได้รับการพิจารณาและไม่ได้คะแนนเลย
- คะแนนพื้นฐานได้ 10 คะแนนจากการสร้างบทความหากได้ขึ้นหน้าหลัก
- คะแนนพิเศษทุกข้อบวกรวมกันได้ แต่ในแต่ละข้อย่อยจะเลือกได้คแนนสูงสุดเพียงอย่างเดียวนั่นคือ
- วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ หรือพิเศษ:หน้าที่ต้องการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง +5
- โครงการวิกิประเทศไทย +5
- ยอดเข้าชมสูงสุด +15
- สองข้อก่อนหน้ารวมกันเป็น 35 คะแนนครับ หากมีข้อเสนอแนะทำให้การทำงานง่ายขึ้น สำหรับทั้งผู้ร่วมกิจกรรมและผู้จัดกิจกรรมยินดีรับฟังครับ ทุกกติกามีไว้เพื่อเติมสีสันและชีวิตชีวากลับไปให้แก่มุมที่ถูกทิ้งร้างของวิกิพีเดียเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าเป็นการเพิ่มภาระหรือสร้างความสับสนก็ควรปรับเปลี่ยนและถอนออกได้ครับ
--Taweethaも (คุย) 07:50, 6 สิงหาคม 2567 (+07)
- ขอบคุณครับ Stirz117 (คุย) 17:04, 6 สิงหาคม 2567 (+07)
- ขอขอบคุณคุณ @Stirz117 ที่ตั้งข้อสังเกตและคุณ @Taweetham ที่ได้ขยายความให้ชัดเจนนะครับ ขอเพิ่มเติมคำตอบในข้อ 1 นะครับ ควารมคิดแรกเริ่ม เรื่องวันที่เริ่มจริง ๆ กำหนดเป็นวันที่ 1 กันยายน ส่วน 1 สิงหาคมนั้นเป็นวันเริ่มอภิปรายกิจกรรมเบื้องต้นเพื่อฟังเสียงประชาคม เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม และเป็นวันแรกที่ผู้ตรวจคะแนนจะเรียกดูการเสนอบทความขึ้นคิวรู้ไหมว่า เพราะหลักการการจัดคิวขึ้นหน้าหลัก บทความชุดแรกที่กำหนดแสดงผลในหน้าหลักในเดือนกันยายน จะเป็นกลุ่มบทความที่ได้รับการตรวจขึ้นคิวในเดือนสิงหาคมเป็นอย่างช้าสุดครับ แต่จะได้ปรับระยะเวลาและข้อความในหน้ากิจกรรมกันอีกครั้งเพื่อลดความสับสนนะครับ --Wutkh (คุย) 01:39, 7 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Wutkh @Taweetham
- ขอแทรกออกความเห็นนะครับ แบบนี้ดีครับ ถ้าต้องรอไปถึงวันที่ 1 กันยายนถึงจะเริ่มดำเนินการทั้งหมด พอดีหมดไฟครับ เรื่องการจัดสรรคะแนนไม่เกี่ยงครับ แต่เริ่มเขียนเริ่มเสนอได้ตั้งแต่ตอนนี้ดีครับ --Tikmok (คุย) 14:10, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Wutkh และ Tikmok: เปรียบเหมือนการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขกองทุน Thai ESG ขั้นตอนสุดท้ายต้องมีกฎกระทรวง (ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้) ประกาศลงในราชกิจจาบุเบกษา บัดนี้ยังไม่มีการประกาศแต่อย่างใด แต่หากประกาศแล้วให้ผลย้อนหลังถึง 1 มกราคม 2567 ไปเลย คนซื้อกองทุนส่วนใหญ่ก็ตัดสินใจได้ในปัจจุบัน ไม่ต้องชะลอเพื่อรอดูการประกาศในราชกิจจานุเบกษา --Taweethaも (คุย) 16:23, 10 สิงหาคม 2567 (+07)
- ขอขอบคุณคุณ @Stirz117 ที่ตั้งข้อสังเกตและคุณ @Taweetham ที่ได้ขยายความให้ชัดเจนนะครับ ขอเพิ่มเติมคำตอบในข้อ 1 นะครับ ควารมคิดแรกเริ่ม เรื่องวันที่เริ่มจริง ๆ กำหนดเป็นวันที่ 1 กันยายน ส่วน 1 สิงหาคมนั้นเป็นวันเริ่มอภิปรายกิจกรรมเบื้องต้นเพื่อฟังเสียงประชาคม เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม และเป็นวันแรกที่ผู้ตรวจคะแนนจะเรียกดูการเสนอบทความขึ้นคิวรู้ไหมว่า เพราะหลักการการจัดคิวขึ้นหน้าหลัก บทความชุดแรกที่กำหนดแสดงผลในหน้าหลักในเดือนกันยายน จะเป็นกลุ่มบทความที่ได้รับการตรวจขึ้นคิวในเดือนสิงหาคมเป็นอย่างช้าสุดครับ แต่จะได้ปรับระยะเวลาและข้อความในหน้ากิจกรรมกันอีกครั้งเพื่อลดความสับสนนะครับ --Wutkh (คุย) 01:39, 7 สิงหาคม 2567 (+07)
สำเร็จ @Stirz117, Wutkh, และ Tikmok: ดำเนินการแก้ไขได้ผลสรุปเป็นสุดท้ายคือ 1 ส.ค. - 30 พ.ย. แจกรางวัลเป็นของขวัญปีใหม่ --Taweethaも (คุย) 12:06, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- ขอบคุณครับผมจะได้เผยแพร่บทความใหม่ภายในสัปดาห์หน้า Stirz117 (คุย) 12:53, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
แม่แบบโครงการต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันในหน้า Discussion
แก้ขอถามครับ ในหน้า Discussion ของบทความ ที่มีการติดป้ายโครงการต่าง ๆ พร้อมกับการประเมินระดับ ดูเหมือนว่า โครงการต่าง ๆ บางครั้งจริง ๆ ไม่ได้เป็น "พี่น้อง" กันแต่เป็น "เซ็ตย่อย" หรือบางครั้งอาจจะ "เซ็ตคาบเกี่ยว" ของกันและกัน ประเภทเซ็ตย่อยจริง ๆ แล้วติดป้ายหนึ่ง ป้ายอื่น ๆ อาจจะควรตามมาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น
- โครงการวิกิไอที
- โครงการวิกิคอมพิวเตอร์
- โครงการวิกิซอฟต์แวร์
มีคำถาม ว่า
- เข้าติดป้ายกันเข้าทุกโครงการหรือเปล่าครับ
- การประเมินระดับ เหมือนกันทุกโครงการไหมครับ --Tikmok (คุย) 05:38, 15 สิงหาคม 2567 (+07)
@Tikmok: ขอบคุณสำหรับคำถามครับ @Wutkh: เพื่อพิจารณาใช้ในหน้ากติกากิจกรรม DYK ต่อไป
- มีอีกตัวอย่างครับ {{บทความเคมี}} เป็นเซ็ตย่อยของ {{บทความวิทยาศาสตร์}}
- ทั้งนี้ยังมีคำที่แตกต่างกันระหว่าง "โครงการ" และ "สถานีย่อย" ด้วย เช่น {{บทความสถาบันอุดมศึกษาไทย}} เป็นเซ็ตย่อยของ {{บทความสถานศึกษา}}
- ถ้ายึดตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษโดยเคร่งครัด สามารถแจ้งได้มากกว่า 1 โครงการ และแต่ละโครงการสามารถมีการจัดระดับคุณภาพ (และความสำคัญ) ที่แตกต่างกันออกไปได้ ผมเข้าใจโดยส่วนตัวว่าเขาจะพยายามไม่กำหนดขอบข่ายโครงการ (ที่ยัง active อยู่) ให้ซ้ำซ้อนกัน บทความหนึ่งจึงติดซ้อนกันได้ทุกป้ายโครงการและสถานีย่อย
- วิกิพีเดียภาษาไทยอาจไม่ต้องยึดตามนั้นโดยเคร่งครัด ใช้ความยืดหยุ่นเพื่อเติบโตดีกว่า ดังนั้นจะปล่อยให้ติดป้ายได้ตามสบายตราบใดที่อยู่ในขอบเขตโครงการที่เขียนไว้อยู่เดิมก่อนเริ่มกิจกรรม DYK ไปก่อน หลังจากเสร็จกิจกรรม DYK ในระยะแรกแล้ว จะเชิญชวนผู้ติดป้ายเหล่านั้นกลับเป็นสมาชิกโครงการที่เกี่ยวข้องเพื่อสังคายนาโครงการ รวมถึงปิด (หรือยุบรวม) โครงการที่ร้าง / ถอนชื่อสมาชิกที่ไม่ได้เข้าใช้งานนานแล้ว ตรงนี้ผมยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้ว่าใช้บอตช่วย รวมถึงประเมินความจำเป็นและเหตุผลในการติดป้ายโครงการเสียใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างปัญหาความทับซ้อนของโครงการและโครงการร้างจะเห็นเด่นชัดขึ้นเมื่อปล่อยให้ใช้ใน DYK จากนั้นก็จะเชิญอาสาสมัครที่ติดป้ายนั่นแหละมาระดมสมองช่วยกันแก้ไขต่อไปครับ
--Taweethaも (คุย) 12:04, 15 สิงหาคม 2567 (+07)
- ขอบคุณข้อสังเกตและข้อเสนอแนะทั้งสองท่านนะครับ Wutkh (คุย) 22:20, 15 สิงหาคม 2567 (+07)
สำเร็จ @Wutkh และ Tikmok: ดำเนินการแก้ไขได้ผลสรุปตามหน้าโครงการนั่นคือใส่ให้ได้ทุกป้ายโครงการและสถานีย่อยไปก่อนนะครับ --Taweethaも (คุย) 12:08, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Wutkh และ Taweetham: ในข้อความบอกว่า "ในเบื้องต้นอนุญาตให้ใส่ป้ายโครงการที่อาจเป็นเซตย่อยกันได้" ซึ่งอาจแปลความหมายได้ว่า ได้คะแนนทั้งสำหรับโครงการเซตย่อยเซตรวม แต่ในตารางให้ตะแนนเหมือนจะบอกว่า ให้เลือกเอาเซตย่อยที่ตรงที่สุดเท่านั้น คือได้คะแนนสำหรับเซตย่อยสุดเท่านั้น เหมือนจะกำกวมอยู่นะครับ --Tikmok (คุย) 15:03, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Tikmok กำลังสรุปเป็นตารางครับ ตอนนี้อิงตามที่เป็นร้อยแก้วไปก่อนนะครับ --Wutkh (คุย) 15:39, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Wutkh และ Taweetham: ในข้อความบอกว่า "ในเบื้องต้นอนุญาตให้ใส่ป้ายโครงการที่อาจเป็นเซตย่อยกันได้" ซึ่งอาจแปลความหมายได้ว่า ได้คะแนนทั้งสำหรับโครงการเซตย่อยเซตรวม แต่ในตารางให้ตะแนนเหมือนจะบอกว่า ให้เลือกเอาเซตย่อยที่ตรงที่สุดเท่านั้น คือได้คะแนนสำหรับเซตย่อยสุดเท่านั้น เหมือนจะกำกวมอยู่นะครับ --Tikmok (คุย) 15:03, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
จะเสนอหน้าความกว้างคงที่ เข้า WP:DYK จะต้องทำอย่างไรบ้างครับ
แก้เป็นหน้าที่เพิ่งแปลใหม่จาก en:monospaced font ครับ อยากส่งเข้า WP:DYK จะต้องทำอย่างไรบ้างครับ Jothefiredragon🐲คุย🐉สมทบ 00:59, 24 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Jothefiredragon: เชิญที่ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า ได้เลยครับ อย่าลืมใส่ {{บทความคอมพิวเตอร์}} ในหน้าอภิปรายของบทความด้วยครับ --Taweethaも (คุย) 07:33, 24 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Jothefiredragon: ใส่ป้ายในหน้าพูดคุยให้แล้วครับ / เปลี่ยนชื่อบทความได้เลย / รอดูข้อเสนอในหน้า วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า อยู่นะครับ --Taweethaも (คุย) 07:33, 27 สิงหาคม 2567 (+07)
สำเร็จ @Jothefiredragon: --Taweethaも (คุย) 07:29, 1 กันยายน 2567 (+07)
@Taweetham ผมขอถามหน่อยครับ
ผมเสนอบทความไป5บทความซึ่งในปัจจุบันรอในคิว WP:DYK 2 บทความ ผมถอนออก 1 บทความ และรอพิจารณา 2 บทความ (เสนอวันนี้) ซึ่งบทความที่ผมเสนอและได้ขึ้นคิวแล้วคือบทความวินัย โพธิ์ภิรมย์ หรือ นัยตะขาบ ซึ่งอยู่ในคิวที่ 12 โดยเป็นบทความที่ผมเขียนเอง กับบทความหนังสือบารุค ที่เขียนโดนคุณวณิพกซึ่งอยู่ในคิวที่ 14 ผมขอถามว่าผมสามารถบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมได้หรือยังครับ -- Stirz117 (คุย) 09:24, 30 สิงหาคม 2567 (+07)
- บันทึกได้ทันทีที่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในคิว ทยอยบันทึกไปทันทีที่งานเสร็จจะได้ไม่ลืม และช่วยให้คนตรวจเห็นแนวทางของผู้ร่วมกิจกรรมหรือจะทยอยตรวจไปก่อนจบงานก็ได้
- ส่วนที่ถอนไปหรือตกไปแล้วไม่ควรนำมาบันทึกจะเป็นภาระแก่คนตรวจต้องตัดคะแนนเป็น 0
- วันหมดเขตบันทึกได้ อาจจะเป็นดังนี้
- ยาวนานกว่า 30 พฤศจิกายน อีก xx วันเพื่อรอให้พิจารณาเข้าคิวให้หมด หรือ
- ผู้พิจารณาเข้าคิวจะบันทึกให้เองสำหรับข้อความที่เสนอก่อน 30 พฤศจิกายนแต่ผ่านการพิจารณาหลังจากนั้น xx วัน หรือ
- อนุญาตให้บันทึกหลัง 30 พฤศจิกายน เฉพาะข้อความที่ได้รับการพิจารณาหลังกำหนดดังกล่าวเท่านั้น โดยมีกำหนดเวลา xx วัน
- ขอให้ผู้ร่วมกิจกรรมมองภาพรวมในระยะยาว ระยะเวลาที่ใช้และการมีอาสาสมัครหลายท่านที่เป็นอิสระต่อกันร่วมกันพิจารณาข้อความจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาอาสาสมัคร และพัฒนาคุณภาพของบทความต่อไป การเร่งรัดทำงานในส่วนที่จำเป็นต้องรอผู้อื่นอาจจะลดทอนคุณค่าหรือคุณภาพส่วนนี้ได้ ทางที่ดีเราควรเร่งรัดในส่วนของตัวเองแล้วให้งานไปรออยู่ที่ผู้อื่นโดยให้เขามีเวลาเต็มที่ในการจัดการจะดีกว่า
บทความสะพานที่เสนอมานั้น ผมจะลองพิจารณาให้ดูเป็นตัวอย่างว่าควรจะกระจายคิวออกไปไม่ให้เรื่องซ้ำซ้อนกันหรือผู้เสนอคนเดียวกันอยู่ในคิวเดียวกันมากเกินไปไม่ผ่านเกณฑ์ความยาวทั้งสองบทความ- อาจลองช่วยกันพิจารณาบทความของผู้อื่นก่อน แล้วค่อยลองเสนอด้วยตนเองก็ได้ เป็นวิธีการเรียนรู้ได้อีกแบบหนึ่งครับ
--Taweethaも (คุย) 08:12, 1 กันยายน 2567 (+07)
- ขอบคุณครับ @Taweetham ส่วน 5.ผมเห็นด้วยให้แสดงเป็นตัวอย่างว่าว่าควรจะกระจายคิวออกไปไม่ให้เรื่องซ้ำซ้อนกันหรือผู้เสนอคนเดียวกันอยู่ในคิวเดียวกันมากเกินไป เพราะไม่งั้นเรานะเจอแต่หมวดเดียวกันเช่นสิ่งก่อสร้างในย่านเดียวกันหรือผู้เสนอแบบไม่กี่คน Stirz117 (คุย) 08:22, 2 กันยายน 2567 (+07)
- สำเร็จ --Taweethaも (คุย) 08:24, 2 กันยายน 2567 (+07)
บทความที่ท่านเขียนจะได้แสดงผลในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทยตามวันที่ระบุไว้ในแม่แบบ {{รู้ไหมว่า}} ข้างต้น ขอขอบคุณที่ท่านร่วมกันแบ่งปันความรู้และหวังว่าท่านจะเป็นส่วนสำคัญในโครงการ WP:DYK อย่างต่อเนื่องสืบไป --Wutkh (คุย) 01:14, 1 ตุลาคม 2567 (+07)
ขอบ่น / หลักภาษาไทย
แก้ขอบ่น กับขอถามครับ
- เรื่องต้องระบุอักษรอังกฤษเป็นอักษรไทย ขอบ่น (เล่น ๆ ไม่ซีเรียส) ว่า ถ้าเราเริ่มการใช้อักษรไทยระบุคำอังกฤษแบบไม่ตรงกับการอ่านในภาษาอังกฤษ บางครั้งมีผลเป็นการออกเสียงที่ผิดไปจากภาษาอังกฤษ "ดั้งเดิม" ในระยะยาว เช่น ลินุกซ์/ลินิกซ์ คำนี้ en:Guaiacol (/ˈɡwaɪəkɒl/) น่าจะเขียนว่า ไกวอะคอล และกัวก็บอกไม่ได้ด้วยว่าเป็นคำเพี้ยนจากอังกฤษ เพราะ "สระ" อัว ก็มีในภาษาอังกฤษ ผมไม่ได้บอกว่าอาจารย์ผิดนะครับ แต่ผมเองเห็นว่า บางครั้งทิ้งคำเดิมไว้ ในบางเรื่องอาจจะดีกว่า
- น.พ. ชาวฝรั่งเศส ลิปีน กับ ลิปีน แพทย์ฝรั่งเศส – สำนวนแรกเขาไม่ใช้กัน / มีหลักภาษาชัดเจน / หลักคำขยาย (คุณศัพท์เป็นต้น) ควรไว้ข้างหลัง / อันหลังคุ้นหูกว่า ไม่ทราบว่าใช้หลักไหนแก้ครับ (ไม่ได้ถามกวน...นะครับ) --Tikmok (คุย) 13:04, 15 พฤศจิกายน 2567 (+07)
@Tikmok: ขอบคุณที่ทักมาครับ วันนี้ยุ่งและรีบหลายอย่าง อาจจะทำงานลนไปครับ
- เห็นด้วยเรื่องการออกเสียง สามารถเปลี่ยนแปลงตามทีคุณ Tikmok เห็นสมควรได้เลย ส่วนเรื่องตัวสะกดปกติผมจะไม่เขียนเอง จะต้องดูตัวแบบหรือขอความช่วยเหลือจากคุณ Potapt ครับ ในกรณีดังกล่าว หาอย่างรวดเร็วได้เว็บเชียงใหม่ก็รีบนำมาใส่ไปก่อนให้เสร็จสิ้นในประเด็นของบทความครับ ในอนาคตศัพท์ที่ได้รับการยอมรับเปลี่ยนแปลงไปเสมอครับ แต่วันนี้ถ้าเกณฑ์ต้องการให้เอาคำไทยใส่ก็ต้องเลือกใส่สักอย่างไปก่อน (แต่เมื่อใส่ไปแล้วก็ดันไม่ได้ไปต่อในข้อเสนอรู้ไหมว่าก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ)
- ของเดิมคือ "น.พ. ชาวฝรั่งเศส ลีปีน ในปี 1855 ได้ศึกษาเทอร์พินไฮเดรตทางสรีรวิทยาเป็นครั้งแรก" ผมแก้ไขเป็น "ลีปีน แพทย์ชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาเทอร์พินไฮเดรตทางสรีรวิทยาเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1885" (ที่พิมพ์ชาวซ้ำได้นำออกให้เมื่อครู่) ถ้าอยากเรียงสลับลำดับเป็นแบบอื่นใดผมไม่ขัดข้อง แต่แบบเดิมที่เริ่มด้วย "น.พ. ชาวฝรั่งเศส" ผมคิดว่าไม่ควรย่อว่า น.พ. หากไม่ใช่คำนำหน้าชื่อ (หรือชื่อสกุล) เท่านั้นเอง (และถ้าไม่จำเป็นอาจไม่ควรเขียนย่อทั้งหมดเลยก็ได้ครับ) ส่วนจะเป็นนายแพทย์หรือแพทย์อย่างเดียวก็ไม่ได้ติดขัด พักหลังมีประเด็นสมัยใหม่เกี่ยวกับเพศเข้ามาก็เลยคิดว่าเขียนแพทย์อย่างเดียวก็กลางไปอีกแบบ จากนามสกุลเพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจเดาเพศได้ต้องกดตามไปดูในบทความ (ยกเว้นภาษารัสเซียที่เห็นนามสกุลแล้วเดาเพศได้)
--Taweethaも (คุย) 16:06, 15 พฤศจิกายน 2567 (+07)
- ขอบคุณที่อธิบายอย่างละเอียดครับ --Tikmok (คุย) 16:28, 15 พฤศจิกายน 2567 (+07)