อวตาร (ภาพยนตร์)
อวตาร (/อะวะตาน/[a]; อังกฤษ: Avatar) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2009[6][7] กำกับ, เขียนบท, อำนวยการสร้างและร่วมตัดต่อโดย เจมส์ คาเมรอน แสดงนำโดย แซม เวิร์ธธิงตัน, โซอี ซัลดานา, สตีเฟน แลง, จิโอวานนี่ ริบิซี่, มิเชลล์ ราดรีเกซ และ ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ ภาพยนตร์มีฉากหลังเป็นช่วงกลางศตวรรษที่ 22 เมื่อมนุษย์กำลังล่าอาณานิคมดาวแพนดอรา ดวงจันทร์ที่อุดมสมบูรณ์และสามารถอาศัยอยู่ได้ของดาวก๊าซยักษ์ในระบบดาวแอลฟาคนครึ่งม้า เพื่อทำการขุดแร่ อันออบเทเนียม (Unobtanium)[8][9] แร่ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิห้อง[10] การขยายตัวของอาณานิคมเหมืองแร่คุกคามการดำรงชีพของ นาวี (Na'vi) เผ่าพันธุ์คล้ายมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนดาวแพนดอราอย่างต่อเนื่อง ชื่อเรื่องของภาพยนตร์ยังอ้างถึง การนำร่างกายของ นาวี ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้วถูกควบคุมจากสมองของมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลซึ่งใช้ในการโต้ตอบกับชาวพื้นเมืองของแพนดอรา[11]
อวตาร | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | เจมส์ แคเมอรอน |
เขียนบท | เจมส์ แคเมอรอน |
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | เมาโร ฟิโอเร |
ตัดต่อ |
|
ดนตรีประกอบ | เจมส์ ฮอร์เนอร์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์[2] |
วันฉาย |
|
ความยาว | 162 นาที[3] |
ประเทศ | |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
ทำเงิน | 2.923 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] |
การพัฒนาของ อวตาร เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 เมื่อคาเมรอนเขียนโครงร่าง 80 หน้า[12][13] การถ่ายทำควรจะเกิดขึ้นหลังจากถ่ายทำภาพยนตร์ ไททานิค ของคาเมรอนเมื่อปี ค.ศ. 1997 เสร็จและวางแผนที่จะฉายในปี ค.ศ. 1999[14] แต่คาเมรอนกล่าวว่ายังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของเขาต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ได้[15] งานเกี่ยวกับภาษาของสิ่งมีชีวิตนอกโลกของภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2005 และคาเมรอนเริ่มพัฒนาบทและจักรวาลสมมติของภาพยนตร์เมื่อต้นปี ค.ศ. 2006[16][17] อวตาร ถูกตั้งงบประมาณอย่างทางการไว้ที่ 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] การประมาณการจากสื่ออื่น ประมาณการไว้ระหว่าง 280–310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และที่ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการประชาสัมพันธ์[18][19][20] ภาพยนตร์ใช้เทคนิคการถ่ายทำแบบจับการเคลื่อนไหวเกือบทั้งเรื่อง ภาพยนตร์ฉายในรูปแบบปกติ, สามมิติ (ในรูปแบบ RealD 3D, Dolby 3D, XpanD 3D, และ IMAX 3D) และสี่มิติในโรงภาพยนตร์บางแห่งในเกาหลีใต้[21] การถ่ายทำภาพยนตร์สามมิติได้รับการขนานนามว่าเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของภาพยนตร์[22]
อวตาร ฉายครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2009 และที่สหรัฐเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก โดยนักวิจารณ์ชื่นชมเทคนิคพิเศษที่ก้าวล้ำ[23][24][25] ระหว่างฉายอยู่นั้น ภาพยนตร์ได้ทำลายสถิติในบ๊อกซ์ออฟฟิศมากมายและกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดทั่วโลก เช่นเดียวกับในสหรัฐและแคนาดา[26] แซง ไททานิก ของคาเมรอนซึ่งครองสถิติมาเป็นเวลาสิบสองปี[27] อวตาร เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเกือบสิบปี ก่อนจะถูกแซงโดย อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก เมื่อปี ค.ศ. 2019 และในช่วงการฉายใหม่ในประเทศจีน อวตาร กลับมาครองตำแหน่งเดิมอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021[28] อวตาร เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[29] และเป็นภาพยนตร์ที่ขายดีที่สุดในสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 2010 อวตาร ถูกเสนอชื่อใน งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[30]และชนะเลิศ สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม และ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
หลังจากภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ คาเมรอนเซ็นสัญญากับ ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ เพื่อสร้างภาคต่ออีกสี่เรื่อง โดย อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นและทำลายสถิติจากการฉายมากมาย โดยทำรายได้ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในอันดับที่ 1 ของปี 2022 เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับที่ 3 และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ถึงหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐไวเป็นอันดับ 6 ตลอดกาลด้วยเวลาเพียง 14 วัน แทนที่ภาพยนตร์ภาคแรกที่ใช้เวลา 19 วัน เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 เป็นอันดับ 4 (ตามหลัง สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม, ท็อปกัน: มาเวอริค และ จูราสสิค เวิลด์ ทวงคืนอาณาจักร) เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินมากกว่า 2 พันล้านเหรียญเป็นอันดับที่ 6 ของโลก เป็นเรื่องที่สองที่ทำเงินถึงภายในเวลาไม่ถึง 40 วัน และ อวตาร 3 ได้ถ่ายทำเสร็จแล้ว มีกำหนดฉายในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2022 และ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ตามลำดับ ภาคต่อที่เหลือมีกำหนดฉายในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2026 และ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2028[31] นักแสดงหลายคนกลับมารับบทเดิม เวิร์ธธิงตัน, ซาลดานา, แลง ริบิชี และวีเวอร์[32][33]
โครงเรื่อง
แก้ในปี ค.ศ. 2154 มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไปจนหมดสิ้น นำไปสู่วิกฤตพลังงานที่รุนแรง Resources Development Administration หรือ RDA ได้สร้างเหมืองแร่บนดาวแพนดอรา ดวงจันทร์ที่อาศัยอยู่ได้ที่มีป่าไม้หนาแน่น โคจรรอบดาวโพลีพลีมัส ดาวแก๊สยักษ์สมมติในระบบดาวแอลฟาคนครึ่งม้า เพื่อขุดแร่ที่มีค่าชื่อว่า อันออบเทเนียม (unobtanium)[9] บรรยากาศของดาวแพนดอรานั้นเป็นพิษต่อมนุษย์ มีเผ่าพันธุ์ที่คล้ายมนุษย์อาศัยอยู่ เรียกว่าชาวนาวี มีลักษณะสูง 10 ฟุต (3 เมตร) และมีผิวเป็นสีฟ้า[34] อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติและเคารพบูชาพระแม่เอวา
เพื่อสำรวจบรรยากาศของดาวแพนดอรา นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ร่างกายของนาวีมาตัดต่อพันธุกรรมร่วมกับมนุษย์ จนสามารถควบคุมร่างกายของนาวีได้โดยการใช้พันธุกรรมที่ตรงกับมนุษย์ เรียกว่า "อวตาร" เจค ซัลลี อดีตนาวิกโยธินซึ่งเป็นโรคอัมพาตขา มาควบคุมร่างกายของนาวีแทนพี่ชายฝาแฝดของเขาที่เสียชีวิต ดร. เกรซ ออกัสติน หัวหน้าโครงการอวตาร ไม่เห็นด้วยกับการที่ซัลลีมาแทนพี่ชายของเขา แต่ก็ยอมมอบหมายให้เขาเป็นผู้คุ้มกัน ขณะที่กำลังพาอวตารของเกรซและดร. นอร์ม สเปลแมน เพื่อนนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง อวตารของเจคถูกโจมตีโดย ธานาเทอร์ เจคหนีเข้าไปในป่าและได้รับการช่วยเหลือจาก เนย์ทีรี นาวีเพศหญิง เธอได้พาเจคไปที่ชุมชนของชาวนาวี โมแอท แม่ของเนย์ทีรี ผู้นำจิตวิญญาณของนาวี สั่งให้ลูกสาวของเธอสอนวิถีชีวิตของชาวนาวี่ให้แก่เจค
พันเอก ไมล์ ควอริทช์ หัวหน้ากองกำลังรักษาความปลอดภัยส่วนตัวของ RDA ได้สัญญากับเจคว่าจะช่วยรักษาขาของเขา ถ้าหากเขารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาวนาวีและสถานที่ชุมนุมที่เรียกว่า โฮมทรี[35] ซึ่งตั้งอยู่เหนือพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่อันออบเทเนียมที่มากที่สุด เมื่อเกรซรู้เรื่องนี้ เธอจึงย้ายตัวเอง, เจคและนอร์มไปยังด่านหน้า ตลอดสามเดือนที่ผ่านมา เจคและเนย์ทีรี ต่างตกหลุมรักกัน ขณะที่เจคก็เริ่มมีความเห็นอกเห็นใจกับชาวพื้นเมือง หลังจากเจคได้รับการยอมรับให้เข้าสู่เผ่านาวีแล้ว เขากับเนย์ทีรี ต่างเลือกที่จะเป็นคู่รักต่อกัน หลังจากนั้นไม่นาน เจคเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความจงรักภักดีของเขา เมื่อเขาพยายามปิดการใช้งานของรถปราบดิน ที่ขู่จะทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวนาวี เมื่อควอริทช์แสดงวิดีโอหลักฐานที่เจคกำลังทำลายรถปราบดินแก่ ปาร์คเกอร์ เซลฟริดจ์ ผู้ดูแลของ RDA หัวหน้าของเขาที่มองด้วยความหวาดกลัวและได้รับการกระตุ้นจากควอริทช์[36] และเมื่อเจคยอมรับว่าชาวนาวีจะไม่ย้ายออกจากโฮมทรี เซลฟริดจ์จึงสั่งให้ทำลายโฮมทรีทิ้งเสีย
ถึงแม้ว่าเกรซจะโต้แย้งว่าการทำลายโฮมทรีอาจทำความเสียหายแก่โครงข่ายประสาทชีวภาพของดาวแพนดอรา เซลฟริดจ์ให้เวลาเจคกับเกรซหนึ่งชั่วโมงเพื่อโน้มน้าวชาวนาวีให้อพยพออกจากโฮมทรีก่อนที่จะเริ่มการโจมตี เจคสารภาพกับชาวนาวีว่าเขาเป็นสายลับ ทำให้เขากับเกรซถูกจับตัวไว้ คนของควอริตช์ได้ทำการทำลายโฮมทรี ทำให้พ่อของเนย์ทีรี (หัวหน้าเผ่า) และชาวนาวีหลายคนต้องเสียชีวิต โมแอตปล่อยเจคกับเกรซเป็นอิสระ แต่พวกเขาถูกบังคบให้ถอดออกจากร่างอวตารและถูกขังโดยกองกำลังของควอริตช์ นักบิน ทรูดี ชาร์คอน ไม่ชอบความโหดเหี้ยมของควอริตช์ จึงได้ปล่อยเจค, เกรซและนอร์ม และขับเครื่องบินไปส่งทั้งสามคนที่ด่านหน้าของเกรซ แต่ระหว่างหลบหนีนั้นเกรซถูกยิงโดยควอริทช์
เจคเชื่อมต่อกับโทรุก สัตว์นักล่าคล้ายมังกรซึ่งเป็นที่เกรงกลัวและเคารพของชาวนาวี เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจของชาวนาวีอีกครั้ง เจคพบชาวนาวีที่ลี้ภัยมาอยู่ที่ต้นไม้แห่งวิญญาณ และขอร้องให้โมแอทช่วยรักษาเกรซ ชาวนาวีพยายามช่วยเหลือโดยการย้ายเกรซจากร่างมนุษย์ไปยังร่างอวตารผ่านต้นไม้แห่งวิญญาณ แต่เธอเสียชีวิตก่อนที่กระบวนการจะเสร็จสมบูรณ์ เจครวมเผ่านาวีให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จากการสนับสนุนของ ซูเทย์ หัวหน้าเผ่าคนใหม่ และบอกให้พวกเขารวบรวมเผ่าอื่น ๆ เพื่อมาร่วมต่อสู้ RDA ควอริทช์วางแผนโจมตีล่วงหน้าต่อต้นไม้แห่งวิญญาณ เชื่อว่าการทำลายล้างของมันจะทำลายล้างชาวพื้นเมือง ในวันก่อนสู้รบ เจคได้ขอร้องต่อเอวา ผ่านการเชื่อมต่อประสาทกับต้นไม้แห่งวิญญาณ เพื่อให้ช่วยเหลือชาวนาวี ในขณะที่ปาร์คเกอร์ได้ถ่ายโอนความทรงจำและดีเอ็นเอผสมให้กับควอริทช์ และเกิดแตกคอกันหลังปาร์คเกอร์พยายามห้ามไม่ให้ควอริทช์นำกองทัพและอาวุธไปถล่มชาวนาวี จนโดนควอริทช์ข่มขู่และต้องยอมยินยอมให้ควอริทช์ไปโดยไม่สามารถควบคุมอะไรได้
ในระหว่างสงครามนั้น ชาวนาวีได้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงซูเทย์และทรูดี แต่แล้วสัตว์ป่าในแพนดอราได้เข้ารวมสงครามและเข้ามาช่วยเหลือชาวนาวีอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งเนย์ทีรีตีความว่าเอวาได้ตอบรับคำขอของเจค เจคได้ทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดก่อนจะถึงต้นไม้แห่งวิญญาณ ควอริทช์สวมชุด AMP หนีออกจากเครื่องบินลำดังกล่าวและพยายามทำลายเครื่องเชื่อมโยงอวตารที่มีร่างมนุษย์ของเจค เพื่อให้สัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นพิษของแพนดอรา ควอริทช์เตรียมที่เชือดคอร่างอวตารของเจค แต่เนย์ทีรีได้ฆ่าควอริทช์และช่วยเจคจากการขาดอากาศหายใจ และเมื่อเธอได้เห็นร่างมนุษย์ของเจคครั้งแรก เธอก็ละทิ้งอคติเกี่ยวกับมนุษย์และยอมรับเจคเป็นสามี หลังจากนั้น RDA ทุกคนถูกชาวนาวี่ยกทัพโจมตี เซลฟริดจ์ยอมแพ้แต่โดยดี เจค ดร.นอร์ม และมนุษย์บางคนที่ได้รับเลือกให้อยู่ต่อ ถูกขับไล่ออกจากดาวแพนดอราและส่งกลับไปยังโลก โดยเซลฟริดจ์ได้เตือนเจคว่ามนุษย์จะไม่รามือจากดาวดวงนี้ง่าย ๆ ก่อนจะขึ้นยานอวกาศกลับโลก เจคได้ย้ายตัวตนจากร่างมนุษย์ไปร่างอวตารผ่านต้นไม้แห่งวิญญาณ อวตารเป็นชาวนาวีอย่างสมบูรณ์
นักแสดง
แก้ชาวมนุษย์
แก้- แซม เวิร์ธธิงตัน เป็น เจค ซัลลี, อดีตนาวิกโยธินพิการ กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอวตารหลังพี่ชายฝาแฝดของเขาที่ถูกฆ่าตาย ภูมิหลังทางทหารของเขาช่วยนักรบชาวนาวีเชื่อมสัมพันธ์กับเขา คาเมรอนคัดเลือกนักแสดงชาวออสเตรเลียหลังจากการค้นหาทั่วโลกเพื่อหานักแสดงอายุน้อยที่ดูมีอนาคตและเลือกนักแสดงที่ไม่รู้จักเพื่อลดทุนสร้าง[37] เวิร์ธธิงตัน ซึ่งในเวลานั้นอาศัยอยู่รถของเขา[38] ผ่านการออดิชันสองครั้งช่วงเริ่มต้นการพัฒนา[39]และเขาได้เซ็นสัญญาสำหรับภาคต่อถ้ามีการสร้าง[40] คาเมรอนรู้สึกว่าเพราะเวิร์ธธิงตันยังไม่เคยเล่นภาพยนตร์ใหญ่ ๆ มาก่อน ทำให้เขาสามารถทำให้ตัวละคร "มีลักษณะเป็นคนจริง ๆ" คาเมรอนยังพูดว่าเขา "มีลักษณะเป็นผู้ชายที่คุณต้องการดื่มเบียร์ด้วยและในที่สุดเขาก็กลายเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงโลก"[41]
- แซม เวิร์ธธิงตัน ยังแสดงเป็น ทอมมี พี่ชายฝาแฝดนักวิทยาศาสตร์ที่เสียชีวิตแล้วของเขา
- สตีเฟน แลง เป็น พันเอก ไมลส์ ควอริทช์ หัวหน้ารักษาความปลอดภัยของเหมืองแร่ เขาไม่มีความใส่ใจอย่างลึกซึ้งต่อผู้อยู่อาศัยของดาวแพนดอรา นอกจากปาร์คเกอร์ ผู้เป็นหัวหน้าผู้สั่งการงานยึดครองแพนดอรา โดยเห็นได้ชัดจากการกระทำและภาษาของเขา เขาเพิกเฉยต่อชีวิตใด ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์ แลงไม่ผ่านการคัดเลือกบทบาทในภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) ของคาเมรอน แต่คาเมรอนจำเขาได้ คาเมรอนจึงไปหาเขาเพื่อให้เขาแสดงใน อวตาร[42] ไมเคิล บีห์น ผู้ที่เคยร่วมงานกับคาเมรอนใน เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก, ฅนเหล็ก 2029 และ ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 ได้รับการพิจารณาสำหรับบทบาทอยู่ช่วงหนึ่ง เขาได้อ่านบทและดูภาพบางส่วนที่เป็นสามมิติร่วมกับคาเมรอน[43] แต่สุดท้ายแล้วเขาไม่ได้รับคัดเลือกให้แสดง
- โจวานนี รีบีซี เป็น ปาร์คเกอร์ เซลฟริดจ์ ผู้บริหารดูแลการทำเหมืองแร่ขององค์กร RDA[44] ในขณะที่เขาเป็นคนแรกที่เต็มใจจะทำลายอารยธรรมนาวีเพื่อรักษาผลลัพธ์ทางการเงินของบริษัท เขาก็ยังลังเลที่จะอนุญาตการโจมตีต่อชาวนาวีที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของเขามัวหมอง แต่หลังจากการตายโดยคนของ RDA และควอริทช์ มือขวาคนสนิทและผู้ใต้บังคับบัญชาโน้มน้าวให้เขารู้ว่ามันจำเป็นและการโจมตีจะมีมนุษยธรรม เขาจึงตัดสินใจอนุญาตการโจมตีและทำให้ต้นไม้แห่งวิญญาณล้ม ขณะที่ภาพการโจมตีนั้นเผยแพร่มายังฐาน เซลฟริดจ์รู้สึกไม่สบายใจต่อความรุนแรงและหวาดกลัวในตัวควอริทช์ และพยายามจะยับยั้งควอริทช์เท่าที่จะทำได้
- ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ เป็น ดร. เกรซ ออกัสติน นักชีววิทยาอวกาศและหัวหน้าโครงการอวตาร เธอยังเป็นผู้ชื้แนะของซัลลีและผู้สนับสนุนสันติไมตรีต่อชาวนาวี ด้วยการสร้างโรงเรียนเพื่อภาษาอังกฤษให้แก่พวกเขา[45]
- มิเชลล์ ราดรีเกซ เป็น ทรูดี ชาร์คอน นักบินที่ได้รับมอบหมายให้มาช่วยเหลือในโครงการอวตาร เป็นผู้เห็นอกเห็นใจต่อชาวนาวี คาเมรอนต้องการที่จะทำงานร่วมกับราดรีเกซตั้งแต่เห็นเธอในภาพยนตร์ เกิรล์ไฟท์[42]
- โจเอล เดวิด มัวร์ เป็น ดร. นอร์ม สเปลแมน นักมานุษยวิทยาต่างดาว[46] ผู้ศึกษาพืชและชีวิตสัตว์เป็นส่วนหนึ่งโครงการอวตาร[47] เขาเดินทางมาถึงดาวแพนดอราในช่วงเวลาเดียวกับซัลลีและเป็นคนควบคุมร่างอวตาร แม้ว่าเขาจะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำการติดต่อทางการทูตกับชาวนาวี แต่ปรากฏว่าเจคมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกว่าที่จะได้รับความเคารพของชาวพื้นเมือง
- ไดลีป เรา เป็น ดร. แมกซ์ พาเทล นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานในโครงการอวตารและช่วยเหลือการก่อกบฏของเจคต่อ RDA[48]
ชาวนาวี
แก้- โซอี ซัลดานา เป็น เนย์ทีรี ลูกสาวของหัวหน้าเผ่าโอมาติกายา (เผ่านาวีที่เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่องภายในป่า) เธอหลงเสน่ห์ของเจคเพราะความกล้าหาญของเขา แม้ว่าเธอจะหงุดหงิดในความไร้เดียงสาและโง่เขลาของเขา เธอเป็นคนรักของเจค[49] ตัวละครถูกสร้างโดยการจับการเคลื่อนไหวของนักแสดงและในด้านภาพถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่นเดียวกับตัวละครชาวนาวีทุกคน[50] ซัลดานายังได้เซ็นสัญญาสำหรับภาคต่อในอนาคต[51]
- ซีซีเอช พาวเดอร์ เป็น โมแอต ผู้นำจิตวิญญาณของเผ่าโอมาติกายา แม่ของเนย์ทีรี และภรรยาของหัวหน้าเผ่า เอย์ตูคาน[52]
- เวส สตูดี เป็น เอย์ตูคาน หัวหน้าเผ่าโอมาติกายา พ่อของเนย์ทีรีและสามีของโมแอต
- ลาซ อลอนโซ เป็น ทซูเทย์ นักรบที่เก่งกาจของเผ่าโอมาติกายา เขาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่า ในตอนแรกนั้น เขาเป็นคู่หมั้นของเนย์ทีรี
งานสร้าง
แก้จุดกำเนิด
แก้เมื่อปี ค.ศ. 1994[13] ผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน เขียนโครงร่างของ อวตาร จำนวน 80 หน้า โดยได้รับแรงบัลดาลใจจาก หนังสือบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ทุกเล่ม ที่เขาเคยอ่านในวัยเด็กและนวนิยายผจญภัยโดย เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์ส และ เอช. ไรเดอร์ แฮกเกริด[12] เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1996 หลังคาเมรอนถ่ายทำ ไททานิก เสร็จ เขาประกาศว่าจะถ่ายทำ อวตาร โดยจะใช้ประโยชน์จากนักแสดงที่มาจากการสังเคราะห์หรือใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์[15] โครงการจะมีมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีนักแสดงอย่างน้อยหกคนในบทบาทนักแสดงนำ ที่ดูเหมือนจะมีจริง แต่ไม่มีอยู่จริงในโลกทางกายภาพ[53] ดิจิตอล โดเมน บริษัทสร้างเทคนิคพิเศษซึ่งคาเมรอนเป็นหุ้นส่วนได้เข้าร่วมโครงการนี้ งานสร้างควรจะเริ่มต้นช่วงกลางปี ค.ศ. 1997 และกำหนดฉาย ค.ศ. 1999[14] อย่างไรก็ตามคาเมรอนรู้สึกว่าเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับเรื่องราวและวิสัยทัศน์ที่เขาตั้งใจจะเล่า เขาตัดสินใจที่จะให้ความสนใจกับการทำสารคดีและปรับแต่งเทคโนโลยีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มีการเปิดเผยใน บูมเบิร์กบีสนิสวีก ว่า ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ได้ให้เงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่คาเมรอนให้ถ่ายทำวิดีโอสั้นเป็นหลักฐานแนวคิดของ อวตาร ซึ่งเขาได้ฉายให้ผู้บริหารของฟอกซ์ดูเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005[54]
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 คาเมรอนเปิดเผยว่า Project 880 คือ "เวอร์ชันก่อนที่จะเป็น อวตาร" ภาพยนตร์ที่เขาพยายามจะสร้างเมื่อหลายปีก่อน[55] อ้างถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการสร้างตัวละครที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เช่น กอลลัม, คิงคอง และ เดวี โจนส์[12] คาเมรอนเลือก อวตาร เหนือโครงการ แบทเทิล แองเจิ้ล ของเขา หลังจากทดสอบกล้องเป็นเวลาห้าวันเมื่อปีก่อน[56]
จากบทสัมภาษณ์ของนักแสดงชาวอินเดีย โควินทา เปิดเผยว่า เจมส์ คาเมรอน ได้ติดต่อเขาเพื่อยื่นข้อเสนอให้เขาสวมบทบาทเป็น เจ็ค ซัลลี ซึ่งเขาปฏิเสธโดยไม่เห็นด้วยกับการใช้สีทาร่างกายเช่นเดียวกับแผนการถ่ายทำที่มีระยะเวลายาวนาน[57] เขาอ้างว่าชื่อของภาพยนตร์เรื่องนี้แนะนำโดยเขาให้กับคาเมรอนหลังจากมั่นใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะประสบความสำเร็จมาก สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้หลายคนล้อเลียนเขาในสื่อสังคม[58][59] ในการให้สัมภาษณ์ของเขาในภายหลังเรียกปฏิกิริยาของผู้ใช้สื่อสังคมว่าเป็น 'พฤติกรรมที่มีอคติ'[60][61]
การพัฒนา
แก้คาเมรอนเริ่มเขียนบทและพัฒนาวัฒนธรรมของนาวี เอเลี่ยนในภาพยนตร์ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ค.ศ. 2006 โดยภาษานาวีนั้นถูกสร้างโดน ดร. พอล ฟรอมเมอร์ นักภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย[12] โดยภาษานาวีนั้นมีพจนานุกรมคำศัพท์ประมาณ 1000 คำ เพิ่มโดยคาเมรอนอีก 30 คำ หน่วยเสียงของลิ้นประกอบด้วย พยัญชนะเสียงกักเส้นเสียงลมออก (เช่น "kx" ใน "skxawng") พบในภาษาอัมฮาริคในเอธิโอเปีย, และคำที่ขึ้นต้นด้วย "ng" คาดว่าคาเมรอนนำมาจากภาษามาวรีของนิวซีแลนด์[17] นักแสดงหญิง ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ และ นักออกแบบฉาก ได้พบกับ จอดี เอส. ฮอล์ต ศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยาของพืชที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ริเวอร์ไซด์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการที่นักพฤกษศาสตร์ใช้ในการศึกษาและเก็บตัวอย่างพืชและหารือเกี่ยวกับวิธีการอธิบายการสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตของแพนดอราที่ปรากฏในภาพยนตร์[62]
คาเมรอนทำงานร่วมกับนักออกแบบจำนวนหนึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2005–2007 รวมถึงนักวาดภาพแฟนตาซีที่มีชื่อเสียงอย่าง เวย์น บาร์โลว์ และศิลปินแนวคิดที่มีชื่อเสียง จอร์ดู เชลล์ เพื่อออกแบบรูปร่างของ นาวี ด้วยภาพวาดและประติมากรรมทางกายภาพ เมื่อคาเมรอนรู้สึกว่าการเรนเดอร์แบบ 3 มิติไม่ตรงกับวิสัยทัศน์ของเขา[63] โดยทำงานด้วยกันในห้องครัวที่บ้านของคาเมรอนที่ มาลิบู[64] เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 คาเรมอนประกาศว่าเขาจะถ่ายทำ อวตาร เพื่อให้ฉายในช่วงกลางปี ค.ศ. 2008 โดยวางแผนเริ่มต้นการถ่ายทำร่วมกับนักแสดงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007[65] ต่อมาในเดือนสิงหาคม บริษัทสร้างเทคนิคพิเศษ เวตา ดิจิตอล ได้เซ็นสัญญาในการช่วยคาเมรอนผลิต อวตาร[66] สแตน วินสตัน ผู้เคยร่วมงานกับคาเมรอนในอดีต เข้ามาช่วยเหลือในการออกแบบภาพยนตร์ อวตาร[67] การออกแบบงานสร้างของภาพยนตร์ใช้เวลาหลายปี ภาพยนตร์เรื่องนี้มีนักออกแบบการผลิตที่แตกต่างกันสองคนและแผนกศิลปะสองแห่งแยกกัน โดยที่หนึ่งในนั้นมุ่งเน้นไปที่พืชและสัตว์ของแพนดอราและอีกที่หนึ่งมุ่งเน้นในการสร้างเครื่องจักรมนุษย์และปัจจัยมนุษย์[68] เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 คาเมรอนประกาศว่าเขาจะใช้ระบบกล้องเสมือนจริงของเขาถ่ายทำแบบสามมิติ โดยระบบจะใช้กล้องความละเอียดสูงสองตัวในตัวกล้องเดียวเพื่อสร้างการรับรู้เชิงลึก[69]
ขณะที่การเตรียมการยังดำเนินการอยู่ ฟอกซ์ยังคงลังเลที่อนุมัติการสร้าง อวตาร เพราะเคยมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดกับค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปและความล่าช้าของ ไททานิก ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ของคาเมรอน ถึงแม้ว่าคาเมรอนจะเขียนบทใหม่เพื่อให้ตัวละครหลาย ๆ ตัวมารวมกัน และเสนอลดค่าตัวของเขาในกรณีที่ภาพยนตร์ล้มเหลว[54] คาเมรอนติดตั้งไฟจราจรโดยเปิดสัญญาณไฟสีเหลืองที่ด้านนอกห้องของ จอน แลนเดา เพื่อแสดงถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของภาพยนตร์เรื่องนี้[54] กลางปี ค.ศ. 2006 ฟอกซ์บอกคาเมรอนว่า "พูดตรง ๆ ว่าพวกเขาไม่อนุมัติภาพยนตร์เรื่องนี้," ดังนั้นเขาจึงเริ่มเสนอขายภาพยนตร์นี้ให้กับสตูดิโออื่นและเข้าหา วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ โดยแสดงหลักฐานแนวคิดของเขาให้กับ ดิก คุก ประธานบริษัทดู[54] อย่างไรก็ตาม, เมื่อ ดิสนีย์ พยายามจะซื้อภาพยนตร์นี้, ฟอกซ์ใช้ สิทธิที่จะปฏิเสธก่อน[54] เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 ในที่สุดฟอกซ์ก็อนุมัติการสร้าง อวตาร หลังอินจิเนียสมีเดียตกลงที่จะสนับสนุนภาพยนตร์นี้ ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินของฟอกซ์ลดลงเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากทุนสร้างอย่างเป็นทางการ 237 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ[54] มีผู้บริหารคนหนึ่งของฟอกซ์ที่ไม่เชื่อแล้วก็ส่ายหัวบอกกับคาเมรอนและแลนเดาว่า "ผมไม่รู้ว่าเราบ้ากว่าหรือเปล่าที่ปล่อยให้คุณทำสิ่งนี้, หรือคุณบ้ากว่าเพราะคิดว่าคุณ สามารถ ทำได้ ..."[70]
เสียงจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
เอฟ. เอ็กซ์. ฟีนีย์สัมภาษณ์เจมส์ คาเมรอนเกี่ยวกับการเขียนอวตาร | |
สัมภาษณ์[71] |
เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 คาเมรอนอธิบาย อวตาร ว่า "เรื่องราวในอนาคตตั้งอยู่บนดาวเคราะห์ 200 ปีต่อจากนี้ ... การผจญภัยในป่าที่ล้าสมัยพร้อมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม [ที่] มุ่งสู่การเล่าเรื่องในระดับเทพนิยาย"[72] เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ในงานแถลงข่าวได้อธิบายภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น "การเดินทางของการไถ่บาปและการปฏิวัติที่สะเทือนอารมณ์" และยังบอกอีกว่า "อดีตนาวิกโยธินที่บาดเจ็บได้รับการผลักดันอย่างไม่เต็มใจไปสู่ความพยายามที่จะสร้างและใช้ประโยชน์จากดาวเคราะห์แปลกใหม่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งในที่สุดก็ข้ามไปยังเผ่าพันธุ์ชนพื้นเมืองในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด" เรื่องราวจะเป็นของโลกทั้งใบที่เต็มไปด้วยระบบนิเวศของพืชและสิ่งมีชีวิตแบบเพ้อฝันและคนพื้นเมืองที่มีวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย[51]
มีการประมาณการว่าต้นทุนของภาพยนตร์อยู่ที่ประมาณ 280–310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการสร้างภาพยนตร์, ประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการตลาด และประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ในเครดิตภาษีที่จะช่วยลดผลกระทบทางการเงินต่อสตูดิโอและผู้ออกทุนสร้าง[18][19][20] โฆษกของสตูดิโอกล่าวว่าทุนสร้างนั้น "237 ล้านดอลลาร์สหรัฐบวกกับอีก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการโปรโมต, จบข่าว"[4]
แก่นเรื่องและแรงบันดาลใจ
แก้เจมส์ คาเมรอนกล่าวว่า ฉากดาวแพนโดรานั้น ได้รับอิทธิพลมาจากทิวทัศน์ของของเทือกเขาสูงในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะเขาหวงซาน ทางตอนใต้ของมณฑลอันฮุย [73] และอุทยานแห่งชาติอู่หลิงยฺเหวียน เมืองจางเจียเจีย มณฑลหูหนาน
ภาพยนตร์ถ่ายทำนักแสดงด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "โมชั่นแคปเจอร์" โดยใช้กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษติดตั้งที่ศีรษะของนักแสดง เพื่อถ่ายภาพความเคลื่อนไหวของดวงตา ลักษณะสีหน้า และการแสดงอารมณ์ มีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นจึงนำไปประมวลผลเป็นแอนิเมชันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [74] ภาพทั้งหมดจะไปปรากฏที่กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ เรียกว่า "virtual camera" มีลักษณะเป็นจอคอมพิวเตอร์มือถือ ใช้งานโดยแคเมรอน เพื่อจำลองภาพที่จะเกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างอิสระรอบทิศทาง ขณะนักแสดงกำลังแสดงบทบาทตัวละคร
งานเทคนิคคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัท Weta Digital ที่เมืองเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ โดยใช้พนักงานกว่า 900 คน [75] ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ฮิวเลตต์-แพคการ์ด 4,000 เครื่อง จำนวน 35,000 ซีพียู [76] ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของยานพาหนะต่างๆ ในเรื่อง และฉากการต่อสู้ รับผิดชอบโดยอินดัสเตรียลไลต์แอนด์แมจิก (ILM) บริษัทย่อยของลูคัสฟิล์ม [77]
รางวัล
แก้อวตาร ได้รับรางวัลจากสมาคมทางภาพยนตร์จำนวนมาก แต่รางวัลที่มีชื่อเสียง ได้แก่
- รางวัลออสการ์ ชนะเลิศ 3 รางวัล
- สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม
- สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
- สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
- รางวัลลูกโลกทองคำ ชนะเลิศ 2 รางวัล
- สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามา
- สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ภาคต่อ
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ คำภาษาอังกฤษ "avatar" (อ่าน "แอวาทาร์" /ˈævəˌtɑr/) มาจากคำในภาษาสันสกฤต "อวตาร" (อักษรเทวนาครี: अवतार, อ่าน อะวะตาระ) ซึ่งในภาษาไทยมีคำใช้อยู่แล้ว คือ "อวตาร" (อ่าน อะวะตาน) ดังนั้น คำและชื่อภาพยนตร์ "อวตาร" ไม่อ่านว่า "อะวะทาร์" เพราะมิใช่คำทับศัพท์ (ดู ดิกเชินแนรีดอตคอม)
อ้างอิง
แก้- ↑ LaFraniere, Sharon (January 29, 2010). "China's Zeal for 'Avatar' Crowds Out 'Confucius'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 18, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Avatar (2009)". AFI Catalog of Feature Films. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2018. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
- ↑ "AVATAR [2D] version". British Board of Film Classification. December 8, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Patten, D. (December 3, 2009). "'Avatar's' True Cost – and Consequences". The Wrap. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2009. สืบค้นเมื่อ December 12, 2009.
- ↑ "Avatar". Box Office Mojo. IMDb. สืบค้นเมื่อ October 2, 2022.
- ↑ French, Philip (March 14, 2010). "Avatar was the year's real milestone, never mind the results". The Observer. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2010. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
- ↑ Johnston, Rich (December 11, 2009). "Review: AVATAR – The Most Expensive American Film Ever ... And Possibly The Most Anti-American One Too". Bleeding Cool. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
- ↑ Choi, Charles Q. (December 28, 2009). "Moons like Avatar's Pandora could be found". MSNBC. สืบค้นเมื่อ February 27, 2010.
- ↑ 9.0 9.1 Horwitz, Jane (December 24, 2009). "Family Filmgoer". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ January 9, 2010.
- ↑ This property of Unobtanium is stated in movie guides, rather than in the film. Wilhelm, Maria; Dirk Mathison (November 2009). James Cameron's Avatar: A Confidential Report on the Biological and Social History of Pandora. HarperCollins. p. 4. ISBN 978-0-06-189675-0.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTime
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Jeff Jensen (January 10, 2007). "Great Expectations". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2007. สืบค้นเมื่อ January 28, 2007.
- ↑ 13.0 13.1 Alexander Marquardt (January 14, 2010). "Did Avatar Borrow from Soviet Sci-Fi Novels?". ABC News. สืบค้นเมื่อ March 8, 2012.
- ↑ 14.0 14.1 "Synthetic actors to star in Avatar". St. Petersburg Times. August 12, 1996. สืบค้นเมื่อ February 1, 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 15.0 15.1 Judy Hevrdejs; Mike Conklin (August 9, 1996). "Channel 2 has Monday morning team in place". Chicago Tribune.
- ↑ "Crafting an Alien Language, Hollywood-Style: Professor's Work to Hit the Big Screen in Upcoming Blockbuster Avatar". USC Marshall. University of Southern California Marshall School of Business. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2011. สืบค้นเมื่อ May 31, 2011.
- ↑ 17.0 17.1 "Avatar Language". Nine to Noon. December 15, 2009.
- ↑ 18.0 18.1 Barnes, Brooks (December 20, 2009). "'Avatar' Is No. 1 but Without a Record". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2011. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ 19.0 19.1 Fritz, Ben (December 20, 2009). "Could 'Avatar' hit $1 billion?". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2009. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ 20.0 20.1 Keegan, R. (December 3, 2009). "How Much Did Avatar Really Cost?". Vanity Fair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ4-D
- ↑ "James Cameron's 'Avatar' Film to Feature Vocals From Singer Lisbeth Scott" (Press release). Los Angeles: PRNewswire. October 29, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2009. สืบค้นเมื่อ December 6, 2009 – โดยทาง Newsblaze.
- ↑ D'Alessandro, Anthony (December 19, 2009). "'Avatar' takes $27 million in its first day". Variety. สืบค้นเมื่อ January 11, 2010.
- ↑ Douglas, Edward (December 21, 2009). "Avatar Soars Despite Heavy Snowstorms". ComingSoon.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2009. สืบค้นเมื่อ December 21, 2009.
- ↑ Reporting by Dean Goodman; editing by Anthony Boadle (December 20, 2009). ""Avatar" leads box office, despite blizzard". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2010. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแคนาดาและสหรัฐ#ไม่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแคนาดาและสหรัฐ#ปรับตามอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว
- ↑ "All Time Worldwide Box Office Grosses". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2010. สืบค้นเมื่อ January 27, 2010.
- ↑ Tartaglione, Nancy (March 13, 2021). "'Avatar' Overtakes 'Avengers: Endgame' As All-Time Highest-Grossing Film Worldwide; Rises To $2.8B Amid China Reissue – Update". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ March 13, 2021.
- ↑ "'Avatar' Wins Box Office, Nears Domestic Record". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2010. สืบค้นเมื่อ February 2, 2010.
- ↑ "List of Academy Award nominations". CNN. February 2, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2010. สืบค้นเมื่อ February 2, 2010.
- ↑ Galuppo, Mia (2019-05-07). "Three New 'Star Wars' Films Get Release Dates in Disney Schedule Reset". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07.
- ↑ Anthony D'Alessandro (August 7, 2017). "Matt Gerald Returning To James Cameron's 'Avatar' World; Boards Crackle's 'The Oath'". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
- ↑ "Avatar 2 Filming Starts This Week!". SuperHeroHype. September 25, 2017. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
- ↑ Rottenberg, Josh. "James Cameron Talks Avatar: Brave Blue World," Entertainment Weekly No. 1081 (December 18, 2009): 48.
- ↑ Cameron, James. "Avatar" (PDF). Avatar Screenings. Fox and its Related Entities. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ February 9, 2010.
- ↑ Cameron, James. "Avatar" (PDF). Avatar Screenings. Fox and its Related Entities. pp. 8 and 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ February 9, 2010.
- ↑ Conan O'Brien (December 18, 2009). "The Tonight Show with Conan O'Brien". The Tonight Show with Conan O'Brien. ฤดูกาล 1. ตอน 128. NBC.
I was cheap
- ↑ Kevin Williamson. "Paraplegic role helps Worthington find his feet". lfpress.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2010. สืบค้นเมื่อ January 1, 2010.
- ↑ Jeff Jensen (January 10, 2007). "Great Expectations (page 2)". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ January 17, 2010.
- ↑ "This week's cover: James Cameron reveals plans for an 'Avatar' sequel". Entertainment Weekly. January 14, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2010. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.
- ↑ John Horn. "Faces to watch 2009: film, TV, music and Web". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2008. สืบค้นเมื่อ December 28, 2008.
- ↑ 42.0 42.1 Anne Thompson (August 2, 2007). "Lang, Rodriguez armed for 'Avatar'". Variety. สืบค้นเมื่อ August 3, 2007.
- ↑ Barnes, Jessica (March 26, 2007). "Michael Biehn Talks 'Avatar' – Cameron Not Using Cameras?". Cinematical. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2010.
- ↑ Leslie Simmons (September 21, 2007). "'Avatar' has new player with Ribisi". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2007. สืบค้นเมื่อ September 21, 2007.
- ↑ Clint Morris (August 2, 2007). "Sigouney Weaver talks Avatar". Moviehole.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2007. สืบค้นเมื่อ August 2, 2007.
- ↑ Cameron, James (2007). "Avatar" (PDF). Avatar Screenings. Fox and its Related Entities. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ May 6, 2010. Archived version May 6, 2010
- ↑ Lux, Rachel (December 14, 2009). "Close-Up: Joel David Moore". Alternative Press. Alternative Press Magazine, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2010. สืบค้นเมื่อ May 6, 2010. Archived version May 6, 2010
- ↑ Lewis Bazley (May 25, 2009). "Drag Me to Hell Review". inthenews.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2009. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
- ↑ Brennan, David (February 11, 2007). "Avatar Scriptment: Summary, Review, and Analysis". James Cameron's Movies & Creations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2009. สืบค้นเมื่อ April 29, 2010.
- ↑ Thompson, Anne (January 9, 2007). ""Titanic" director sets sci-fi epic for '09". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2010. สืบค้นเมื่อ December 26, 2009.
- ↑ 51.0 51.1 20th Century Fox (January 9, 2007). "Cameron's Avatar Starts Filming in April". ComingSoon.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2008. สืบค้นเมื่อ October 10, 2009.
- ↑ "Pounder Talks Avatar". April 30, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2009.
- ↑ ""Avatar": James Cameron's New SciFi Thriller -The Official Trailer (VIDEO)". The Daily Galaxy --Great Discoveries Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2017. สืบค้นเมื่อ October 14, 2017.
- ↑ 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 54.5 Grover, R; Lowry, T.; White, M. (January 21, 2010). "King of the World (Again)". Bloomberg BusinessWeek. Bloomberg. pp. 1–4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2010. สืบค้นเมื่อ January 26, 2010.
- ↑ Harry Knowles (February 28, 2006). "Harry talks to James Cameron, Cracks PROJECT 880, the BATTLE ANGEL trilogy & Cameron's live shoot on Mars!!!". Ain't It Cool News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2006. สืบค้นเมื่อ October 18, 2006.
- ↑ John Horn (January 8, 2007). "Director Cameron to shoot again". Los Angeles Times.
- ↑ [1] Govinda Reveals He Suggested Avatar Title To Director James Cameron’s Film
- ↑ [2] Govinda says he turned down Avatar by James Cameron. So Internet made the best jokes and memes
- ↑ [3] Govinda's Rather Tall Avatar Claim Has Been Turned Into Rude But ROFL Memes On Twitter
- ↑ [4] Govinda: I am fine with people wondering how someone like Govinda could refuse a James Cameron film
- ↑ [5]
- ↑ Kozlowski, Lori (January 2, 2010). "'Avatar' team brought in UC Riverside professor to dig in the dirt of Pandora". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2010. สืบค้นเมื่อ January 3, 2010.
- ↑ "Avatar Concept Designer Reveals the Secrets of the Na'vi". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ April 20, 2010.
- ↑ Kendricks, Neil (March 7, 2010). "Cameron, the Science Geek Who Became a Movie Titan for the Ages". U-T San Diego. สืบค้นเมื่อ April 20, 2010.
- ↑ Crabtree, Sheigh (July 7, 2006). "Cameron comes back with CG extravaganza". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2006. สืบค้นเมื่อ October 18, 2006.
- ↑ Smith, Lynn (August 4, 2006). "Special-Effects Giant Signs on for 'Avatar'". Los Angeles Times.
- ↑ Duncan, Jody; James Cameron (October 2006). The Winston Effect. Titan Books. ISBN 1-84576-150-2.
- ↑ "Avatar Started As A Four-Month, Late-Night Jam Session At James Cameron's House". December 10, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-26. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.
- ↑ Waters, Jen (September 28, 2006). "Technology adds more in-depth feeling to the movie experience". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ December 22, 2006.
- ↑ Duncan, Jody; Lisa Fitzpatrick (2010). The Making of Avatar. United States: Abrams Books. p. 52. ISBN 978-0-8109-9706-6.
- ↑ "Written By homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2010. สืบค้นเมื่อ November 20, 2010.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อking
- ↑ "Stunning Avatar". Global Times. 24 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 24 January 2010.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-02-15.
- ↑ Philip Wakefield (December 19, 2009). "Close encounters of the 3D kind". The Listener. สืบค้นเมื่อ February 4, 2010.
- ↑ Jim Ericson (December 21, 2009). "Processing AVATAR". SourceMedia. Information Management magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-25. สืบค้นเมื่อ February 2, 2010.
- ↑ by Daniel Terdiman (December 19, 2009). "ILM steps in to help finish 'Avatar' visual effects". CNet.