เขตผู้ว่าการคอฟโน
เขตผู้ว่าการคอฟโน (รัสเซีย: Ковенская губеpния, อักษรโรมัน: Kovenskaya guberniya; ลิทัวเนีย: Kauno gubernija) หรือ เขตผู้ว่าการเกานัส เป็นเขตผู้ว่าการ (guberniya) ของจักรวรรดิรัสเซีย โดยมีเมืองหลวงคือเคานัส (คอฟโนในภาษารัสเซีย) เขตผู้ว่าการถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1842 โดยจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย[1] จากพื้นที่ทางตะวันตกของเขตผู้ว่าการวิลนา และออกพระบรมราชโองการในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1843 เขตผู้ว่าการคอฟโนเป็นส่วนหนึ่งของเขตข้าหลวงวิลนา และดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ เขตผู้ว่าการครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของซาโมกีเตียและทางตอนเหนือของอักคช์ไทกียา ของลิทัวเนียในปัจจุบัน
เขตผู้ว่าการคอฟโน Ковенская губеpния Kovenskaya guberniya | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย | |||||||||
ค.ศ. 1843 – ค.ศ. 1915 | |||||||||
เมืองหลวง | เกานัส (คอฟโน) | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
• | 40,641 ตารางกิโลเมตร (15,692 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• | 1638374 | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• พระบรมราชโองการของจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1842 | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1843 | ||||||||
• สงครามโลกครั้งที่ 1 | ค.ศ. 1915 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เบลารุส ลัตเวีย ลิทัวเนีย |
ภูมิศาสตร์
แก้เขตผู้ว่าการคอฟโนครอบคลุมพื้นที่บริเวณหัวมุมตะวันตกเฉียงเหนือของแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียในอดีต ระหว่าง 56°25-54°49' ละติจูดเหนือ และ 38°46'-45°1' ละติจูดตะวันออก มีพรมแดนทางทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับเขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ และทิศใต้ติดกับเขตผู้ว่าการวิลนาและซูวัลกี (โดยมีแม่น้ำเมเมิล (เนมัน) แยกเขตผู้ว่าการคอฟโนออกจากเขตผู้ว่าการทั้งสอง) และทิศตะวันตกติดกับเยอรมนี และเทศมณฑลโกรบินสกี ของเขตผู้ว่าการคูร์ลันด์
พรมแดนทางบกของเขตผู้ว่าการและเยอรมนีเริ่มต้นจากบริเวณที่แม่น้ำซเวนตา (ชเวนทูจิ) กับแม่น้ำเมเมิล (เนมัน)มาบรรจบกัน แล้วผ่านไปทางใต้เมืองยูร์บูร์ก (ปัจจุบันคือเมืองยูร์บาร์กัส) ที่ระยะทาง 135 กิโลเมตร (84 ไมล์) โดยที่ 4 เวิร์สท (4.3 กิโลเมตร) แรกจะไปตามแม่น้ำซเวนตา จากนั้น 3.5 เวิร์สท (3.7 กิโลเมตร) ต่อมาจะไปตามแม่น้ำตอดชาเกริส ซึ่งเป็นแม่น้ำสายย่อยของแม่น้ำซเวนตา หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ "ป่ารอสซีเยสกี" จากเมืองยูร์บูร์กไปยังเมืองโปลันเกนา (ปัจจุบันคือเมืองปาลันกา) ในบริเวณนั้นมีชื่อเรียกว่าถนนชายแดนซึ่งผ่านเมืองเตาแร็กเกิน (เตาราเย), โนโวเยเมสต์โต (คูรีโกสเนามีส์ติส), ชเวคช์นี (ชเวคนีไอ), กอชดี (การ์กซได) และเกรติเกิน (เครตีกา) รวมเป็นระยะทาง 171 กิโลเมตร (106 ไมล์)
เขตผู้ว่าการมีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ที่ 40,641.36 กิโลเมตร (25,253.37 ไมล์) นั่นจึงทำให้เขตผู้ว่าการคอฟโนเป็นเขตผู้ว่าการที่เล็กที่สุดภายในรัสเซีย โดยมีขอบเขตที่ยาวที่สุดคือ 373 กิโลเมตร (232 ไมล์) และกว้าง 181 กิโลเมตร (112 ไมล์) ครอบคลุมไปถึงดินแดนเกือบทั้งหมดของสตาโรสต์ชมุดสกี ของแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียในอดีต และบริเวณบางส่วนของจังหวัดทรอกสกี และวิลนา ของเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
เขตการปกครอง
แก้เขตผู้ว่าการถูกแบ่งเขตการปกครองเป็น 7 เทศมณฑล ประกอบด้วย[2]: คอฟโน, โปเนเวจสกี, ชาเวลสกี และเจลเชฟสกี ซึ่งในแต่ละแห่งถูกแบ่งเขตย่อยเป็น 4 สตาน (รัสเซีย: Стан, อักษรโรมัน: Stan) แต่วีลโกมีร์สกี, รอสซีเยนสกี และโนโวอะเลคซันดรอฟสกี ถูกแบ่งเขตย่อยเป็น 5 สตาน โดยมีโวโลสต์ 144 โวโลสต์ และชุมชน 931 แห่ง โดยมีเมือง 2 เมืองที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทศมณฑลใด ๆ (เมืองพิเศษ) ได้แก่ ชาดอฟ และ วีดซึ
เทศมณฑล | เมืองเทศมณฑล | ตราอาร์ม แห่งเมืองเทศมณฑล |
พื้นที่ (กม2) |
ประชากร (ใน ค.ศ. 1897) |
ประชากร (ใน ค.ศ. 1914) |
---|---|---|---|---|---|
วีลโกมีร์ | วีลโกมีร์ | 5,866 | 229,100 | 263,600 | |
คอฟโน | คอฟโน | 4,029 | 227,500 | 301,800 | |
โนโวอะเลคซันดรอฟ | โนโวอะเลคซันดรอฟ | 5,437 | 208,500 | 242,300 | |
โปเนเวจ | โปเนเวจ | 6,215 | 222,900 | 259,700 | |
รอสซีเยนี | รอสซีเยนี | 6,485 | 235,400 | 279,200 | |
เจลชี | เจลชี | 5,306 | 183,400 | 216,000 | |
ชาเวล | ชาวี | 6,922 | 238,000 | 294,500 | |
รวม | 40,260 | 1,544,600 | 1,857,100 |
อ้างอิง
แก้- ↑ Полное собрание законов Российской империи, № 16347
- ↑ Vaitiekūnas, Stasys (2006). Lietuvos gyventojai: Per du tūkstantmečius (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius: Mokslo ir enciklopedijų leidybos institutas. pp. 86, 121. ISBN 5-420-01585-4.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- William Henry Beable (1919), "Governments or Provinces of the Former Russian Empire: Kovno", Russian Gazetteer and Guide, London: Russian Outlook – โดยทาง Open Library
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.