เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ จังหวัดคูร์ลันด์[1] (Governorate of Kurland[2]รัสเซีย: Курля́ндская губерния, อักษรโรมัน: Kurlyándskaya guberniya; ลิทัวเนีย: Kurzemes guberņa; ลัตเวีย: Kuršo gubernija; เอสโตเนีย: Kuramaa kubermang) และ รัฐบาลคูร์ลันด์ (เยอรมัน: Kurländisches Gouvernement) เป็นส่วนหนึ่งของ เขตผู้ว่าการบอลติกของจักรวรรดิรัสเซีย พื้นที่ของเขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ในอดีตปัจจุบันปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลัตเวีย
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ Kurländisches Gouvernement Курля́ндская губе́рния | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย | |||||||||
ค.ศ. 1795 – ค.ศ. 1918 | |||||||||
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ในจักรวรรดิรัสเซีย | |||||||||
เมืองหลวง | มีเตา | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• (ค.ศ. 1897) | 674,034 | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การแบ่งโปแลนด์ | 28 มีนาคม ค.ศ. 1795 | ||||||||
ค.ศ. 1918 | |||||||||
• สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ | ค.ศ. 1918 | ||||||||
เขตการปกครอง หรือ ยอูสด์ ของเขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ | |||||||||
หน่วยย่อยทางการเมือง | 9 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ลัตเวีย ลิทัวเนีย |
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1795 โดยได้ดินแดนส่วนหนึ่งจาก ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย ซึ่งผนวกเข้ากับจักรวรรดิรัสเซีย โดยได้รวมเป็นจังหวัดคูร์ลันด์ซึ่งมีเมืองหลักที่ เยลกาวา (หรือ มีเตาในอดีต) ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื้องจากการแบ่งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียครั้งที่สาม จนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขตผู้ว่าการไม่เคยถูกจักรวรรดิรัสเซียปกครองเต็ม แต่เป็นการปกครองแบบกึ่งอิสระโดยกลุ่มชาวเยอรมันบอลติกภายใต้สภาประจำภูมิภาค (เยอรมัน: Landtag)[3]
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์มีเขตชายแดนทางทิศเหนือติดกับ ทะเลบอลติก, อ่าวริกา และเขตผู้ว่าการลิโวเนีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกติดกับอ่าวริกา, เขตผู้ว่าการลิโวเนีย และวีเจบสค์; ทางใต้ติดกับเขตผู้ว่าการวิลนาและคอฟโน และ ปรัสเซียตะวันออก และทางตะวันตกติดกับทะเลบอลติก โดยที่จำนวนประชากรของเขตผู้ว่าการนี้อยู่ที่ 553,300 ในปี 1846[1]
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์สิ้นสภาพลงในช่วง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากที่ จักรวรรดิเยอรมัน เข้าปกครองภูมิภาคในปี 1915 และรัสเซียยอมจำนนและยกดินแดนตาม สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ในวันที่ 3 มีนาคม 1918
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 The English Cyclopaedia By Charles Knigh
- ↑ The Baltic States from 1914 to 1923 By LtCol Andrew Parrott เก็บถาวร 19 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Smith, David James (2005). The Baltic States and Their Region. Rodopi. ISBN 978-90-420-1666-8.