เขตผู้ว่าการเคียฟ

เขตผู้ว่าการเคียฟ (รัสเซีย: Киевская губерния, อักษรโรมัน: Kievskaya guberniya, สัทอักษรสากล: [ˈkʲi(j)ɪfskəjə ɡʊˈbʲernʲɪjə]) เป็นเขตการปกครองของจักรวรรดิรัสเซีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1796 ถึง 1919 และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง 1925 ได้รับการก่อตั้งเป็นเขตผู้ว่าการในภูมิภาคฝั่งขวาของยูเครน หลังจากการแบ่งเขตอุปราชเคียฟ ออกเป็นเขตผู้ว่าการเคียฟ และมาโลรอสซียา โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เคียฟ โดยในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขตผู้ว่าการประกอบไปด้วย เทศมณฑล 12 เขต, นคร 12 แห่ง, เมืองขนาดเล็ก (Miasteczko) 111 แห่ง และชุมชนอื่น ๆ อีก 7344 แห่ง หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม เขตผู้ว่าการก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในเขตการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ใน ค.ศ. 1923 เขตผู้ว่าการเคียฟแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหลายเขต และในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1925 เขตผู้ว่าการเคียฟถูกยุบจากการปฏิรูปการปกครองของสหภาพโซเวียต[1][2]

เขตผู้ว่าการเคียฟ
Киевская губерния
Київська губернія
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย (ค.ศ. 1796-1919) และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ค.ศ. 1919-1925)
ค.ศ. 1796 – ค.ศ. 1925
Coat of arms of เคียฟ
ตราอาร์ม

เขตผู้ว่าการเคียฟใน ค.ศ. 1913
เมืองหลวงเคียฟ
พื้นที่ 
• 
50,957 ตารางกิโลเมตร (19,675 ตารางไมล์)
ประชากร 
4148900
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796
• สิ้นสุด
6 มิถุนายน ค.ศ. 1925
หน่วยย่อยทางการเมือง12 เทศมณฑล
ก่อนหน้า
ถัดไป
เขตอุปราชเคียฟ
จังหวัดเคียฟ
Okruhas of the Ukrainian SSR
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน

ประวัติศาสตร์ แก้

เขตผู้ว่าการเคียฟซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำนีเปอร์ ได้รับการก่อตั้งตามพระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิพอลที่ 1 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 อย่างไรก็ตาม เขตผู้ว่าการเคียฟยังไม่มีผู้ปกครองจนกระทั่ง ค.ศ. 1800 เมื่อมีการแต่งตั้งผู้ว่าการคนแรก และดินแดนเคียฟถูกปกครองโดยวาซีลี กราสโล–มีลาเชวิช อุปราชแห่งเคียฟ (ดำรงตำแหน่งภายใน ค.ศ. 1796 – 1800)

เขตอุปราชที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของยูเครนที่ยังดำรงอยู่ทั้งสามแห่งรวมตัวเป็นเขตผู้ว่าการมาโลรอสซียาอันเป็นหนึ่ง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เชียร์นีกอฟ ในขณะที่เขตผู้ว่าการเคียฟซึ่งในตอนนี้ได้รวมเอายูเครนฝั่งขวา โดยยังมีเคียฟเป็นเมืองหลวง เขตผู้ว่าการได้รวมเอาดินแดนฝั่งขวาของเขตอุปราชเคียฟในอดีต ซึ่งรวมกับดินแดนจังหวัดเคียฟ[3] และบราตสวัฟในอดีต ซึ่งจักรวรรดิรัสเซียได้ดินแดนมาจากการแบ่งเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย (โดยเป็นดินแดนของจังหวัดราชบัลลังก์โปแลนด์)[4] และพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1797 ส่งผลให้เขตผู้ว่าการเคียฟมีเทศมณฑลรวม 12 เขต[4]

ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1832 เขตผู้ว่าการเคียฟพร้อมกับเขตผู้ว่าการวอลฮีเนียและโปโดเลีย ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตข้าหลวงเคียฟ หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า ดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Krai)[5] โดยในเวลานั้น วาซีลี เลวาชอฟ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการทหารเคียฟ (Military Governor) และข้าหลวงโปโดเลียและวอลฮีเนีย โดยใน ค.ศ. 1845 เขตผู้ว่าการเคียฟมีประชากรอยู่ที่ 1,704,661 คน[4] ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เขตผู้ว่าการเคียฟมีเทศมณฑลรวมทั้งหมด 12 เขต โดยชื่อของเทศมณฑลนั้นตั้งตามเมืองศูนย์กลางของตน อันประกอบด้วย แบร์ดึชยิว, แชร์กาซือ, ชือฮือรึน, กานิว, เคียฟ, ลือปอแวตส์, ราดอมึชล์, สกวือรา, ตารัชชา, อูมัญ, วาซึลกิว และซแวนือฮอรอดกา[6]

ตามการสำมโนประชากรโดยรัสเซีย ค.ศ. 1897 พบว่ามีประชากรอาศัยในเขตผู้ว่าการอยู่ 3,559,229 คน ส่งผลทำให้เป็นเขตผู้ว่าการที่มีประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งภายในจักรวรรดิรัสเซียทั้งจักรวรรดิ[6] โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อยู่ในชนบท โดยมีประชากร 459,253 คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งรวมถึงประชากรที่อาศัยอยู่ในเคียฟประมาณ 248,000 คน การสำมะโนประชากรยังจำแนกประชากร ตามภาษาแม่ที่ผู้ตอบได้ระบุดังนี้: ชาวมาโลรอสซียา 2,819,145 คน (ซึ่งเป็นคำศัพท์โดยรัฐบาลรัสเซียเพื่อกล่าวถึงชาวยูเครน; คิดเป็นร้อยละ 79.2 ของประชากรทั้งหมด), ชาวยิว 430,489 คน (คิดเป็นร้อยละ 12.1 ของประชากรทั้งหมด), ชาวเวลีโครอสซียา 209,427 คน (ซึ่งเป็นคำศัพท์โดยรัฐบาลรัสเซียเพื่อกล่าวถึงชาวรัสเซีย; คิดเป็นร้อยละ 5.9 ของประชากรทั้งหมด) และชาวโปแลนด์ 68,791 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของประชากรทั้งหมด)[7] หากจำแนกประชากรจากศาสนา ผู้ตอบที่นับถือคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มีจำนวน 2,983,736 คน, นับถือยิว 433,728 คน และนับถือคริสตจักรโรมันคาทอลิก 106,733 คน[6][8] โดยได้มีการประเมินประชากรใน ค.ศ. 1906 อยู่ที่ 4,206,100 คน[9]

เขตผู้ว่าการเคียฟยังถือว่าเป็นหน่วยองค์ประกอบของเขตข้าหลวงเคียฟที่ใหญ่กว่า โดยมีเคียฟเป็นเมืองหลวงของทั้งสองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ใน ค.ศ. 1915 เขตข้าหลวงเคียฟถูกยุบลง ในขณะที่เขตผู้ว่าการเคียฟยังคงดำรงอยู่

อ้างอิง แก้

  1. Article from the Legal Encyclopedia. Volume 3, main editor Yuri Shemshuchenko, 2001 ISBN 966-7492-03-6 (in Ukrainian)
  2. Article เก็บถาวร 2021-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from the Great Russian Encyclopedia. Volume 13, main editor Yury Osipov, 2009 ISBN 978-5-85270-344-6 (in Russian)
  3. Despite the loss of Kiev almost three centuries earlier, Poland still designated an administrative unit centered in Zhitomir as the Kiev Voivodeship
  4. 4.0 4.1 4.2 Иван Фундуклей. "Статистическое описание Киевской Губернии", Часть I. Санкт-Петербург, 1852. (Ivan Fundukley. Statistical Description of Kyiv Governorate. St. Petersburg, 1852)
  5. "Киевское, Подольское и волынское генерал-губернаторство (Юго-Западный край) 22.01.1832–1915". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 11, 2007. สืบค้นเมื่อ April 25, 2008.
  6. 6.0 6.1 6.2 Киевская губерния and Киевская губерния (дополнение к статье) in Brockhaus and Efron Encyclopedic Dictionary
  7. The First General Census of the Russian Empire of 1897. Breakdown of population by mother tongue and districts* in 50 Governorates of the European Russia Demoscope Weekly, Institute of Demography at the National Research University "Higher School of Economics." The Russian census grouped "Little Russians" (Ukrainians), "Great Russians" (Russians) and Belarusians together for an all-"Russian" total of 3,034,961
  8. The 1897 Russian Census classified the population by the responses to the questions on religion and mother tongue. See, e.g. Маргарита Григорянц, "Первый демографический автопортрет России" เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Мир России, 1997, Т. VI, № 4, С. 45–48
  9.   Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Kiev" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 788.