คณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนา
คณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนา (เยอรมัน: Wiener Sängerknaben, อังกฤษ: Vienna Boys' Choir, Vienna Choir Boys, ตัวย่อ VBC) เป็นคณะประสานเสียงของเด็กชายที่มีเสียงระดับโซปราโนและแอลโตแห่งนครเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นคณะประสานเสียงเด็กชายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคณะหนึ่งในโลก เด็กส่วนใหญ่มาจากออสเตรีย แต่ก็มีที่มาจากประเทศอื่น รวมทั้งประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์[1] มาเลเซีย[2] อินเดีย และไต้หวัน[3] คณะประสานเสียงเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร มีเด็กนักร้องประมาณ 100 คนอายุระหว่าง 10-14 ปี โดยแบ่งออกเป็น 4 คณะที่ออกเดินทาง ตั้งชื่อมุ่งใช้ภายในสถาบันตามผู้ประพันธ์ดนตรีชาวออสเตรียที่ใกล้ชิดกับคณะ คือ บรุกเนอร์ ไฮเดิน โมทซาร์ท และชูเบิร์ท[4] แต่ละคณะแยกเรียนต่างหากและออกเดินทางประมาณปีละ 11 อาทิตย์[5]
คณะประสานเสียงได้รับค่าเล่าเรียนและเงินสนับสนุนจากการออกคอนเสิร์ตและการขายเสียงอัด นอกจากการร้องเพลงเพื่อพิธีมิสซาทุกวันอาทิตย์ ในโบสถ์ที่พระราชวังฮอฟบูร์กแล้ว คณะจะออกเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้อุปถัมภ์ จากเทศบาลนครเวียนนา และจากรัฐบาลประเทศออสเตรีย ปกติจะเดินทางไปยังสหรัฐและญี่ปุ่นทุกปี ซึ่งเป็นที่ที่คณะได้รับความนิยมมาก คณะยังเดินทางไปประเทศจีน ไต้หวัน สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ เขตตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ และประเทศยุโรปอื่น ๆ เป็นประจำ คณะพิจารณาว่าเป็นองค์การทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดองค์การหนึ่งของประเทศ โดยนักการเมืองมักเรียกพวกเด็ก ๆ ว่าเป็น "ทูตที่อายุน้อยที่สุดในออสเตรีย"
องค์การ/สมาคม
แก้ตามกฎหมายแล้ว VBC เป็นสมาคมเอกชนจัดตั้งโดยไม่หวังผลกำไรและมีสมาชิกประมาณ 100 คน โดยสมาชิกต้องเป็นอดีตเด็กนักร้องของคณะเท่านั้น สมาชิกจะจัดเลือกทั้งคณะกรรมการบริหารและประธานองค์กร โดยมีนาย เจอรัลด์ เวิร์ธ เป็นประธานบริหารองค์กรตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556[6][7] ประธานสมาคมกับรองประธานสองคนทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสมาคม ในกิจทั้งภายในภายนอก
ต่อลำดับจากประธานและรองประธาน ยังมีผู้อำนวยการบริหาร ผู้อำนวยการศิลป์ (ปัจจุบันคือนาย เจอรัลด์ เวิร์ธ[7] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544) ผู้นำคณะประสานเสียงหลายคน ผู้อำนวยการศึกษา ซึ่งเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนประถมปลาย-มัธยมปลาย (realgymnasium) ด้วย โดยยังมีผู้บริหารเรื่องหอพักและอาหาร และผู้อำนวยการโรงเรียนประถมต้น (Grundschul) อีกด้วย
อาคาร
แก้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 คณะได้ใช้พระราชวังเก่า คือ Palais Augarten ซึ่งเป็นที่ล่าสัตว์ส่วนพระองค์ของเชื่อพระวงค์ในราชวงศ์ฮับส์บูร์กซึ่งสร้างขึ่นในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาคารนี้ ประกอบด้วยโรงเรียนระดับ Realgymnasium (ป. 5 - ม. 7) ที่ฝึกซ้อมดนตรี หอพักและห้องพักผ่อนหย่อนใจของเด็ก สำนักงานบริหารและอำนวยการศิลป์ก็อยู่ในอาคารนี้ด้วย บวกกับที่ตัดเย็บเครื่องแต่งกายและเครื่องแบบ ส่วนกลางของอาคารมีห้องนิทรรศการศิลปะ (Salon) เพื่อจัดคอนเสิร์ตในโรงเรียน โดยมีสถานที่หลายแห่งรวมทั้งบันไดที่สวยงดงาม ที่รู้จักอย่างแพร่หลายเนื่องจากภาพถ่ายและภาพยนตร์
ติดกับอาคารเป็นอาคารใหม่ซึ่งมีทางเชื่อมกับพระราชวังเก่า เป็นห้องส่วนตัวและห้องส่วนรวมของเด็ก ๆ รวมทั้งที่ทำ/รับประทานอาหารและที่เล่นกีฬาต่าง ๆ ต่อจากอาคารมีสวนขนาดใหญ่ สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามบาสเกตบอล และโรงยิมเนเซียม ส่วนโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมต้นอยู่ในตึกอื่น ๆ ข้าง ๆ สวน
ในเขต Augartenspitz ที่อยู่ติดกับสวนของ VBC มีหอดนตรี-ละครใหม่ชื่อว่าหอ "MuTh" (จากคำว่า music และ theater) โดยสามารถบรรจุคนได้ 400 ที่นั่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นที่ฝึกซ้อมหรือที่แสดงสำหรับเด็ก ๆ เป็นหอที่พึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2555 ที่คณะได้ร่วมจัดคอนเสิร์ตกับวงศ์ดุริยางค์ Vienna Philharmonic หอนี้เคยได้สร้างความขัดแย้งกับผู้ไม่เห็นด้วยโดยมีการประท้วงยับยั้งการก่อสร้างเป็นเดือน ๆ เนื่องจากว่าสวนสาธารณะในเขตนี้เป็นสวนยุคบารอกที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป เป็นสวนผ่อนใจที่ใหญ่ที่สุดในเวียนนา และผู้ประท้วงเกรงว่า VBC จะยึดสถานที่ที่เป็นสมบัติของชาตินี้ไปใช้ในการส่วนตัวเพิ่มขึ้น เพราะว่าส่วนอื่น ๆ ที่ VBC เช่าจากประเทศไม่เปิดให้ใช้สอยได้โดยสาธารณะ
รายละเอียดอื่น ๆ
แก้โดยไม่เหมือนคณะประสานเสียงชายอื่น ๆ VBC เป็นคณะที่มีแต่เด็กชายเสียงระดับโซปราโนและแอลโตเท่านั้น โดยมีคณะประสานเสียง Chorus Viennensis ของโบสถ์ในพระราชวังฮอฟบูร์กที่สมาชิกเป็นอดีตสมาชิก VBC ล้วน ๆ (จัดตั้ง พ.ศ. 2495) เป็นผู้ให้เสียงระดับเท็นเนอร์และเบสในงานคอนเสิร์ตและการอัดเสียงต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว ในปี 2553 องค์กรยังได้จัดตั้งคณะประสานเสียงประจำโรงเรียนแบบมีเสียงทุกระดับคือ Chorus Juventus ขึ้นอีกด้วย
องค์กรบริหารโรงเรียนระดับต่าง ๆ ที่เน้นการศึกษาเรื่องดนตรี นอกจาก รร. ระดับตอนกลาง (อายุ 10-14 ปี ป. 5 - ม. 2) ที่ให้นักร้องเรียนได้เท่านั้นแล้ว[8] องค์กรยังดำเนินการโรงเรียนระดับอนุบาล โรงเรียนระดับประถมต้น (ป. 1 - ป. 4 ระดับ Grundschul) โรงเรียนระดับมัธยมปลาย (Oberstufenrealgymnasiums ระดับ ม. 3 เป็นต้น) ที่รับทั้งเด็กชายเด็กหญิงโดยทั่วไปอีกด้วย[9] โดยปีละสองครั้ง คณะจะจัดทดสอบการแสดงสำหรับเด็กชายที่มีพรสวรรค์ทางเสียงหรือทางดนตรีเพื่อเข้าโรงเรียนเตรียมตัวพิเศษเป็นเวลา 2 ปี (โดยปกติปีเดียวหรือน้อยกว่านั้นถ้าเก่งเป็นพิเศษ) ซึ่งเด็กจะได้รับการศึกษาอย่างเข้มงวดโดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการร้องเพลง และฝึกหัดเล่นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
เมื่อถึงอายุประมาณ 9 ขวบ (ประมาณ ป. 4) เด็กจะต้องสอบไล่เข้าคณะประสานเสียง ซึ่งความสามารถทางด้านดนตรีล้วน ๆ จะเป็นเครื่องตัดสิน และถ้าผ่านก็จะได้รับเข้าคณะ หรือถ้าไม่ผ่านก็จะต้องออกจากโรงเรียน หลังจากสอบเข้าได้ (เป็นนักเรียน ป. 5 คือสอบเข้าคณะประสานเสียงได้) เด็กจะได้รับเครื่องแบบเป็นทางการชุดแรกและเข้าร่วมเรียนกับเด็กอีกประมาณ 100 คนในคณะ โดยค่าใช้จ่ายทุกอย่าง คือ ที่อยู่ อาหาร และค่าเทอร์ม คณะจะเป็นผู้ออกให้ โดยได้รายได้มาจากการออกทัวร์ การอัดเสียง รายการทีวี และภาพยนตร์ (เด็กเคยแสดงในภาพยนตร์แล้ว 5 เรื่องโดยปี 2534 รวมทั้ง Almost Angels)[10] และได้การสนับสนุนอื่น ๆ จากผู้มีอุปการะ นครเวียนนา และรัฐบาลประเทศออสเตรีย
นักเรียนจะได้รับการศึกษาในระดับ ป. 5 - ม. 2 โดยสามารถเลือกภาษาละตินเป็นวิชาเลือก (ซึ่งจำเป็นในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแพทย์) ในช่วงออกเดินทาง เด็ก ๆ จะมีผู้ควบคุมดนตรีคนหนึ่ง ครู/พี่เลี้ยงอีก 2 ท่าน และผู้จัดการทัวร์ติดตามไปด้วย และจะไม่ใช้ตารางเรียนปกติ แต่จะฝึกร้องเพลงวันละ 2 ชม. ทุกวัน และได้การสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ดังนั้น เด็ก VBC จะได้รับการศึกษาทางดนตรีอย่างดีตั้งแต่อายุน้อย ๆ โดยบางคนอาจอยู่ในสถาบันตั้งแต่อนุบาลจนจบมัธยมปลาย
โดยทั่วไปแล้ว หลักสูตรของ Realgymnasium จะต่างไปตามโรงเรียน แต่ปกติจะรวมภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หน้าที่พลเมือง สังคมศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ สำหรับเด็กในชั้นต้น ๆ หลักสูตรจะเป็นแบบบังคับทั้งหมด ส่วนในชั้นปลาย ๆ จะมีวิชาให้เลือก นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจบังคับให้เรียนวิชาพละและจริยธรรม/ศาสนาอีกด้วย
เด็กจะเรียนวิชาต่าง ๆ เป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยมีหลักสูตรเสริมรวมทั้ง เบสบอล ยูโด ฟุตบอล โรลเลอร์เบลด ว่ายน้ำ มีโอกาสศึกษาผ่อนคลายโดยไปชมคอนเสิร์ตเพลงป็อป อุปรากร เล่นเกม ดูภาพยนตร์ สร้างผลงานตนเองโดยเป็นการเขียน การแสดง เกี่ยวกับชีวิตในคณะ ในระหว่างปิดภาคเรียน คณะอาจเชิญเด็กอายุระหว่าง 4-14 ปีจากโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อมาร่วมร้องเพลงกับเด็ก ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก เป็นวิธีสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ รักเรียนดนตรี และเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านดนตรีของพวกเขาอย่างเต็มที่
เวลา | กิจกรรม |
---|---|
06.45 | ตื่นนอน |
07.00 | อาหารเช้า |
07.30 | วิชาทั่วไป |
10.30 | อาหารว่าง |
11.00 | ฝึกร้องประสานเสียง |
13.00 | อาหารกลางวัน+เวลาว่าง |
14.30 | วิชาทั่วไป+ฝึกซ้อมแสดงบนเวที |
16.05 | เวลาน้ำชา |
16.25 | วิชาทั่วไป+การใช้เครื่องดนตรี+การฝึกร้อง |
18.00 | อาหารเย็น+เวลาว่าง |
21.00 | นอน |
เด็กที่ยังอยู่ในคณะประสานเสียงจะอยู่กินนอนที่โรงเรียนแม้ว่าบ้านอาจจะอยู่ในนครเวียนนาเอง คณะปีหนึ่งจะใช้เวลา 4 อาทิตย์ในภาคฤดูร้อนที่บ้านพักร้อนในรัฐคารินเทียใกล้ทะเลสาบโวทเฮอร์ซี (Wörthersee) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งในประเทศ
เครื่องแบบ
แก้คณะปัจจุบันมีเครื่องแบบกะลาสี 2 ชุด ชุดแรกเป็นสีน้ำเงินเข้มใช้เป็น "ชุดเดินทาง" (travelling) สำหรับการออกข่าวอย่างเป็นทางการ และการปรากฏตัวในงานทางศาสนาต่าง ๆ ชุดที่สองมีสีขาวใช้เป็น "ชุดทางการ" (dress) สำหรับงานคอนเสิร์ตอื่น ๆ โดยทั้งสองมีตราประจำชาติของประเทศออสเตรียอยู่บนหน้าอกข้างซ้าย เป็นรูปนกอินทรีสีดำประกอบกับโล่สีแดง-ขาว-แดงบนพื้นขาว เป็นเครื่องแบบที่จัดวัดตัดเย็บภายในโรงเรียน โดยได้หมวกจากโรงงานที่จะเติมแถบคาดและริบบิ้นหมวกเมื่อจัดร่วมกับเครื่องแบบ นอกจากนั้นแล้ว ในเดือนตุลาคม 2558 คณะยังได้แสดงตัวเป็นครั้งแรกในเครื่องแบบนักเรียนทหารมหาดเล็กสีน้ำเงินเข้มตามรูปแบบในประวัติหลังจากไม่ได้ใช้เป็นเวลานานถึง 97 ปี
ประวัติ
แก้คณะสืบประวัติมาจากคณะประสานเสียงเด็กชายในพระราชวังของจักรพรรดิออสเตรีย เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกลาง โดยจัดตั้งขึ้นตามพระราชเลขาของจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2041 เมื่อทรงย้ายพระราชวังจากเมืองอินส์บรุคไปยังเวียนนา โดยมีพระราชบัญชาให้ว่าจ้างผู้ควบคุมนักร้อง 1 คน นักร้องชายเสียงเบส (เสี่ยงต่ำสุดของชาย) 2 คน และเด็กชายอีก 6 คน (โดยภายหลังเพิ่มเป็น 14-20 คน) โดยมี Jurij Slatkonja (ต่อมาเป็นบิชอปแห่งเวียนนา) เป็นผู้อำนวยการคนแรกของคณะ บทบาทของคณะที่มีจำนวนระหว่าง 24-26 คน ก็เพื่อให้เสียงร้องร่วมสำหรับพิธีมิสซาในโบสถ์ นอกจากนั้นแล้ว พี่น้องเด็กชายตระกูลไฮเดิ้น ยังเป็นสมาชิกของคณะประสานเสียงแห่งมหาวิหารเซนต์สตีเฟนซึ่งในช่วงเวลานั้นผู้อำนวยการของคณะมหาวิหารคือ เกออร์ก ร็อยท์เทอร์ (Georg Reutter II) ได้อาศัยคณะนี้เพื่องานดนตรีของเขาในพระราชวัง ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีนักร้องเด็กชายเอง ในศตวรรษต่อ ๆ มา คณะนี้ได้ร่วมงานกับนักประพันธ์ดนตรีผู้มีชื่อเสียงมากมายรวมทั้ง Heinrich Isaac, Paul Hofhaimer, Heinrich Ignaz Biber, Johann Fux, Antonio Caldara, คริสท็อฟ วิลลีบัลท์ กลุค, อันโตนีโอ ซาลีเอรี, ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท, ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท (ผู้เป็นอดีตนักร้อง), และ Anton Bruckner[6]
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2461 วงศ์ดุริยางค์ของพระราชวังรวมทั้งคณะประสานเสียง ได้เล่นดนตรีเพื่อกิจในพระราชวัง ในพิธีมิสซา ในงานสังสรรค์ส่วนบุคคล และในกิจราชการเพียงเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2463 ตามการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย วงดนตรีแห่งพระราชวังก็ได้สลายตัว แต่ว่า พระอธิการของโบสถ์แห่งพระราชวัง Josef Schnitt ในเวลานั้นต้องการดำรงประเพณีสืบต่อไป ในปี พ.ศ. 2467 คณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนาจึงได้ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยได้ทุนเริ่มต้นจากเงินส่วนตัวของพระอธิการ จนได้กลายมาเป็นคณะดนตรีมืออาชีพ (เนื่องจากเงินบริจาคเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการดูแลเด็ก ๆ) ที่ออกแสดงในสถานที่ต่าง ๆ คณะได้เริ่มใช้เครื่องแบบกะลาสีสีขาว-น้ำเงินที่ปัจจุบันรู้จักกันดี โดยเป็นเครื่องแบบวัดตัดเย็บในโรงเรียน ทดแทนเครื่องแบบนักเรียนทหารมหาดเล็กที่มีดาบพกด้วย[11] ที่ใช้เครื่องแบบนี้ก็เพราะในเวลานั้น ครอบครัวคนชั้นกลางมักแต่งตัวเด็กชายในชุดกะลาสี นักแต่งเพลงทรงอิทธิพล HK Gruber เป็นนักเรียนเก่าของคณะที่ปฏิรูปแล้วนี้คนหนึ่ง[12]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 คณะได้ใช้พระราชวังเก่า คือ Palais Augarten เป็นที่ฝึกซ้อมและโรงเรียนกินนอน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยม 2 (ปัจจุบันถึงมัธยมปลาย) ในปี พ.ศ. 2504 บริษัทวอลต์ดิสนีย์ได้สร้างหนังเรื่อง Almost Angels เป็นภาพยนตร์นิยายเกี่ยวกับและแสดงโดยคณะเด็กชาย และถ่ายทำที่พระราชวังที่เป็นโรงเรียน เพื่อรมณีย์ยภาพแห่งภาพยนตร์ ตัวนายดิสนีย์เอง จึงได้เกลี้ยกล่อมรัฐบาลประเทศออสเตรียเพื่ออนุญาตให้เด็กใส่เครื่องแบบที่มีเครื่องหมายประจำชาติบนหน้าอกด้านซ้ายอย่างถูกกฎหมายได้ ซึ่งเป็นประเพณีที่ยังสืบมาจนถึงทุกวันนี้
นาย เจอรัลด์ เวิร์ธ (อดีตเด็กนักร้อง) ได้เป็นผู้อำนวยการทางศิลป์ (artistic director) ของคณะตั้งแต่ปี 2544 ตั้งแต่นั้น คณะได้ตกอยู่ใต้แรงกดดันที่จะพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น และได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องมาตรฐานทางดนตรี ซึ่งทำให้คณะได้แยกตัวออกจากคณะอุปรากร Vienna State Opera และเป็นครั้งแรกที่คณะต้องโฆษณาหานักร้องใหม่ หลังจากที่ผู้อำนวยการของคณะอุปรากรได้จัดตั้งโรงเรียนคณะประสานเสียงอีกที่หนึ่งโดยเป็นคู่แข่ง เพราะเขาได้บ่นถึงทั้งมาตรฐานที่แย่ลงและการประสานงานที่ไม่ดีของคณะ คือ เขาบอกว่า บางครั้งคณะอุปรากรได้ฝึกเด็กเพื่อบทบาทในอุปรากรโดยเฉพาะ แต่พบว่า พอถึงวันแสดง เด็กกลับไม่อยู่เนื่องจากได้ออกเดินทางไปกับคณะ โดยมีเด็กบางคนชอบโรงเรียนคู่แข่งมากกว่า เพราะมีบรรยากาศที่สบาย ๆ กว่า และจ่ายค่าแสดงให้กับนักเรียนโดยตรง[13]
VBC ได้พยายามปรับปรุงภาพพจน์ของตน โดยอัดเสียงเพลงป็อป แล้วสร้างเครื่องแบบทางเลือกนอกเหนือไปจากชุดกะลาสีที่ใช้ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1920 ซึ่งช่วยให้เด็กสามารถเต้นรำไปด้วยเมื่อร้องเพลง[14] และตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 นาย เจอรัลด์ เวิร์ธ ก็ได้รับตำแหน่งเป็นประธานบริหารขององค์กรเพิ่มขึ้นอีกด้วย[6][7]
ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากเกิดการแจ้งเหตุทารุณกรรมทางเพศโดยอดีตนักร้อง 2 คนที่เกิดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และต้น 1980 คณะได้เปิดโทรศัพท์และอีเมลสายตรงเพื่อให้โอกาสคนอื่นแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดกับตน โดยผู้ดำเนินการเป็นมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญอิสระนอกโรงเรียน และได้มีอดีตนักร้องที่อาจเป็นผู้รับเคราะห์ 8 คนที่แจ้งว่าได้ถูกทารุณโดยเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่หรือสมาชิกเด็กคนอื่น ๆ[15] ซึ่งต่อมาคณะสรุปว่ามีผู้แจ้งเหตุรวมทั้งหมด 11 รายที่โดยมากแจ้งบ่นเรื่องระบบการศึกษาที่เข้มงวดเกินไป โดยมีแค่ 2-3 กรณีที่เป็นทารุณกรรมทางกายหรือทางเพศจริง ๆ
ในปีเดียวกัน โรงเรียนได้จัดตั้งคณะประสานเสียงประจำโรงเรียนที่รวมนักเรียนชายหญิงในระดับมัธยมทั้งหมด (นอกเหนือไปจากเด็กชายที่ยังอยู่ในคณะประสานเสียง) โดยตั้งชื่อว่า Chorus Juventus (จัดตั้งในปี พ.ศ. 2553) ซึ่งรวมเสียงชายหญิงทุกระดับ (จากโซปราโนจนถึงเบส) โดยฝึกร้องเพลงในห้องเรียน และต่างจากคณะประสานเสียงประจำโรงเรียนอื่น ๆ เพราะมีการฝึก 3 ครั้งต่ออาทิตย์ครั้งละ 2 ชม. มีงานคอนเสิร์ตที่แสดงแก่สาธารณชน และการแสดงเดี่ยว
รายชื่อผลงานบางส่วน
แก้คริสต์มาส
แก้- Frohe Weihnachten (2015)
- Wiener Sängerknaben Goes Christmas (2003)
- Frohe Weihnacht (Merry Christmas) (1999)
- Christmas in Vienna / Heiligste Nacht (1990)
- Merry Christmas from the Vienna Choir Boys (1982)
- Christmas with the Vienna Choir Boys (with Hermann Prey)
- Christmas with the Vienna Boys' Choir, London Symphony Orchestra (1990)
- Weihnacht mit den Wiener Sängerknaben (Hans Gillesberger 1980)
- The Little Drummer Boy (TV 1968)
- Die Wiener Sängerknaben und ihre Schönsten ... (1967)
- Frohe Weihnacht (1960)
- Christmas Angels (RCA Gold Seal)
- Silent Night
ดนตรีป็อป
แก้- I Am from Austria (2006)
- Wiener Sängerknaben Goes Pop (2002)
อื่น ๆ
แก้- คาร์ล ออร์ฟ - คาร์มินา บูรานา กับนักเปียโนชาวอเมริกัน-เยอรมัน André Previn และวงดุริยางค์ Vienna Philharmonic (1994)
- Silk Road: Songs Along the Road and Time (เพลงประกอบภาพยนตร์) กับนักร้อง-ดารา Yulduz Usmanova และ Nursultan Saroy (2008)
- VBC เป็นผู้ร้องเพลง "The Little Drummer Boy" ในรายการทีวีพิเศษที่มีชื่อเดียวกัน
ผู้ประพันธ์เพลงที่ร้อง
แก้- โยฮัน เซบัสทีอัน บัค
- ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน
- Heinrich Ignaz Franz Biber
- Benjamin Britten
- Anton Bruckner
- Antonio Caldara
- Jacobus Gallus
- จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล
- โยเซ็ฟ ไฮเดิน
- ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท
- ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท
- Salomon Sulzer
ผลงานย่อยอื่น ๆ
แก้- Anton Bruckner, Christus factus est
- Anton Bruckner, Locus iste
- Anton Bruckner, Os justi
- Anton Bruckner, Virga Jesse
- Joseph Leopold Eybler, Omnes de Saba venient
- Gabriel Fauré, Pie Jesu
- Jacobus Gallus, Natus est nobis
- Jacobus Gallus, Pueri concinite
- Jacobus Gallus, Repleti sunt
- จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล, Zadok the Priest
- โยเซ็ฟ ไฮเดิน, Du bist's, dem Ruhm und Ehre gebühret
- โยเซ็ฟ ไฮเดิน, Insanae et vanae curae
- Michael Haydn, Lauft, ihr Hirten allzugleich
- Jacbus de Kerle, Sanctus - Hosanna - Benedictus
- ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท, Kyrie Es-Dur KV 322
- ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท, Kyrie d-moll KV 341
- ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท, Misericordias Domini KV 222
- ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท, Sub tuum praesidium
- Giovanni Nascus, Incipit lamentatio
- โจวันนี ปีแอร์ลุยจี ดา ปาเลสตรีนา, Hodie Christus natus est
- Michael Praetorius, In natali Domini
- ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท, Salve Regina D 386
- ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท, Tantum ergo D 962
- ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท, Totus in corde langueo D 136
- จูเซปเป แวร์ดี, Laudi alla Vergine Maria
- จูเซปเป แวร์ดี, Pater noster
- Tomás Luis de Victoria, O regem coeli
- Tomás Luis de Victoria, Una hora
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ "Home > About Us > Choirs > Bruckner". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ "Home > About Us > Choirs > Haydn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ "Home > About Us > Choirs > Mozart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ "Home > About Us > Choirs: The Four Choir". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-01. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ "Home > Education". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-28. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "History from the Official web-site of the Choir". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Notification of the election of new president" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
- ↑ "Realgymnasium" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ "Schulen der Wiener Sängerknaben" [Schools of the Vienna Boys' Choir] (ภาษาเยอรมัน). Wiener Sängerknaben. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-12. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ Rooney, Irene (1991-03). "Inside the Vienna Boys Choir". WorldAndISchool.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Loof, Susanna (2002-12-08). "Busy, intense life in the choir is a whole lot of fun, students say". The Register-Guard.
- ↑ Norris, Geoffrey (2009-02-11). "HK Gruber: a composer who refuses to be bound by rules". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
- ↑ Chapman, Clare (2003-03-02). "The Vienna Boys' Choir seeks new recruits for the first time". The Daily Telegraph.
- ↑ Leidig, Michael (2004-07-04). "Chorus of disapproval as Vienna Boys' Choir dons 'Star Trek' suits". The Sunday Telegraph.
- ↑ Homola, Victor (2010-03-17). "Austria: Choir Faces Abuse Allegations". The New York Times.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official website - in German and English เก็บถาวร 2008-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- School's official website เก็บถาวร 2016-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - in German
- [1] อัลบั้มเพลงที่ sanook! music JOOX
- Concerts in Vienna
- Discography- in English
- National Museum of Australia