การแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับเวียดนาม

การแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับเวียดนาม เป็นการแข่งขันฟุตบอลชายระหว่างฟุตบอลทีมชาติไทยกับฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม ถือเป็นการแข่งขันกีฬารายการสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มเป็นคู่แข่งกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499[1][2] โดยสถิติในการพบกันตั้งแต่นัดแรก ไทยกับเวียดนามแข่งมาแล้ว 58 นัด เวียดนาม (รวมเวียดนามใต้) ชนะ 23 นัด ไทยชนะ 22 นัด เสมอกัน 13 นัด และในการพบกันของทั้งสองทีมในแต่ละครั้ง มักจะได้รับการพูดถึงจากแฟนบอลและสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "เอลกลาซิโกแห่งอาเซียน"[4][5][6][7]

คู่แข่งฟุตบอล
ไทย–เวียดนาม
ที่ตั้งเอเชีย (AFC)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AFF)
ทีมไทย ไทย
เวียดนาม เวียดนาม
ในอดีต
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
พบกันครั้งแรกในนามเวียดนามใต้
เวียดนามใต้ 2–1 ไทย
(กระชับมิตร)
(ไซ่ง่อน, เวียดนามใต้; พ.ศ. 2499)

ในนามเวียดนาม
ไทย 3–1 เวียดนาม
(ซีเกมส์ 1995 รอบแบ่งกลุ่ม)
(เชียงใหม่, ไทย; 10 ธันวาคม พ.ศ. 2538)
พบกันครั้งล่าสุดเวียดนาม 1–2 ไทย
(แอลพีแบงก์ คัพ 2024)
(ฮานอย, เวียดนาม; 10 กันยายน พ.ศ. 2567)
สนามราชมังคลากีฬาสถาน (ไทย)
หมีดิ่ญ (เวียดนาม)
สถิติ
การพบกันทั้งหมด58
ชนะสูงสุดเวียดนาม เวียดนาม (23)
ทำคะแนนสูงสุดไทย เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ (6)
สถิติรวมไทย: 22
เสมอ: 13
เวียดนาม: 23
ชัยชนะครั้งใหญ่ในนามเวียดนามใต้
ไทย 0–5 เวียดนามใต้
(กีฬาแหลมทอง 1967)
(กรุงเทพ, ไทย; 14 ธันวาคม พ.ศ. 2510)

ในนามเวียดนาม
ไทย 4–0 เวียดนาม
(ซีเกมส์ 1995 รอบชิงชนะเลิศ)
(เชียงใหม่, ไทย; 16 ธันวาคม พ.ศ. 2538)
ไทย 4–0 เวียดนาม
(ไทเกอร์คัพ 2002 รอบรองชนะเลิศ)
(จาการ์ตา, อินโดนีเซีย; 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545)
ทำประตูมากที่สุดในนามเวียดนามใต้
เวียดนามใต้ 5–2 ไทย
(เมอร์เดกาคัพ 1967 รอบแบ่งกลุ่ม)
(อีโปะฮ์, มาเลเซีย; 19 สิงหาคม พ.ศ. 2510)
ไทย 0–5 เวียดนามใต้
(กีฬาแหลมทอง 1967 รอบรองชนะเลิศ)
(กรุงเทพฯ, ไทย; 14 ธันวาคม พ.ศ. 2510))

ในนามเวียดนาม
ไทย 4–0 เวียดนาม
(ซีเกมส์ 1995 รอบชิงชนะเลิศ)
(เชียงใหม่, ไทย; 16 ธันวาคม พ.ศ. 2538)
ไทย 4–2 เวียดนาม
(ไทเกอร์คัพ 1996 รอบรองชนะเลิศ)
(กัลลัง, สิงคโปร์; 13 กันยายน พ.ศ. 2539)
ไทย 4–0 เวียดนาม
(ไทเกอร์คัพ 2002 รอบรองชนะเลิศ)
(จาการ์ตา, อินโดนีเซีย; 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545)
การแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับเวียดนามตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไทย
ไทย
เวียดนาม
เวียดนาม

ภูมิหลัง

แก้

ทีมชาติไทยพบกับทีมชาติเวียดนามครั้งแรกในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นทีมชาติเวียดนามใต้ ซึ่งในช่วงแรกที่ทั้งสองทีมพบกัน เป็นทีมชาติเวียดนามใต้ที่สามารถเอาชนะไปได้ถึง 20 นัด เสมอกัน 3 นัด ในขณะที่ทีมชาติไทยชนะไปเพียง 5 นัด อย่างไรก็ตามหลังจากที่เวียดนามรวมชาติกันและกลับเข้าสู่เวทีนานาชาติอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 กลายเป็นทีมชาติไทยที่โชว์ความยิ่งใหญ่ได้อย่างน่าทึ่งด้วยการเก็บชัยชนะไปได้ถึง 17 นัด เสมอ 10 นัด ในขณะที่เวียดนามชนะได้เพียง 3 นัด โดยการพบกันครั้งล่าสุดคือการแข่งขันแอลพีแบงก์ คัพ 2024 โดยเป็นทีมชาติไทยที่ชนะไปด้วยสกอร์ 1–2[8]

ด้วยสถิติดังกล่าว เมื่อเทียบกับทีมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ทำให้ทีมชาติไทยเป็นทีมคู่ต่อสู้ที่น่าเกรงขามและเป็นที่หลงใหลของแฟนบอลเวียดนามในความทะเยอทะยานที่จะครองเจ้าแห่งฟุตบอลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[9]

ในแง่ของสถิติระดับภูมิภาค ทีมชาติไทยเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในฟุตบอลชายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนได้ทั้งหมด 7 สมัย ในขณะที่เวียดนามได้ไป 2 สมัย นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 ไทยยังได้ผ่านเข้ารอบเอเชียนคัพ มากกว่าเวียดนาม แม้ว่ารายการหลังจะมีผลงานโดยรวมที่ดีกว่าในสองรุ่นที่พวกเขาผ่านเข้ารอบได้ก็ตาม ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2007 เวียดนามกลายเป็นประเทศเจ้าภาพเพียงประเทศเดียวที่ผ่านเข้ารอบน็อกเอาต์ ขณะที่ไทย รวมถึงอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่ม รวมถึงในเอเชียนคัพ 2019 เวียดนามเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ขณะที่ไทยตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย[3][10]

ในมุมมองทางสังคม สื่อมวลชนมักจะเรียกว่าการแข่งขันระหว่างไทยกับเวียดนามว่าเป็น "คู่อริ" (rivalry) ซึ่งมาจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การทหาร สงคราม และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศ[11] ด้วยผลงานของทีมชาติไทยที่เป็นที่ประจักษ์ในเอเชียทำให้ทีมชาติไทยกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของทีมชาติเวียดนาม[12] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 การแข่งขันส่วนใหญ่มักจะได้รับความนิยมจากแฟนบอลไทย สวนทางกับแฟนบอลเวียดนามที่ไม่พอใจเป็นครั้งคราวจากผลงานของทีม แต่ความนิยมและความเข้มข้นของการแข่งขันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากฝั่งเวียดนามที่มีการประโคมข่าวจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับความแข็งเกร่งของทีมชาติไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการชนะในบ้านเวียดนามทำให้แฟนบอลเวียดนามเกิดความไม่สบายใจ จนเกิดวลีเกี่ยวกับทีมชาติว่า "แพ้ใครก็ได้ ยกเว้นแพ้ไทย" (เวียดนาม: Thua bất cứ ai ngoại trừ Thái Lan)[13] ด้วยผลงานที่ทีมเวียดนามมักจะแพ้ทีมชาติไทย ทำให้มีแฟนบอลเวียดนามหลายคนมักจะเอาผลงานของทีมชาติเวียดนามและทีมชาติไทยในหลาย ๆ รายการมาเปรียบเทียบกันทั้งในเกมอุ่นเครื่อง[14] รุ่นเยาวชน รายการระดับภูมิภาค รายการคัดเลือกใหญ่ ๆ (ฟุตบอลโลก, เอเชียนคัพ)[15][16] รวมถึงการเทียบอันดับโลกฟีฟ่า[17][18] และลุกลามไปถึงทีมฟุตบอลหญิง[19] ทีมฟุตซอล[20] และกีฬาประเภทอื่น

หลาย ๆ นัดยังคงอยู่ในความทรงจำของแฟนบอลทั้งสองฝั่ง เช่นในการแข่งขันเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 รอบชิงชนะเลิศนัดแรก ที่ทีมชาติเวียดนามเอาชนะทีมชาติไทยไป 1–2 หรือในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ที่ทีมชาติไทยเอาชนะทีมชาติเวียดนามด้วยสกอร์ 0–3

รายชื่อการแข่งขัน

แก้

ไทย กับ เวียดนามใต้

แก้
# วันที่ ทีมเหย้า ผล ทีมเยือน สถานที่แข่ง รายการ
1 2499 เวียดนามใต้ 2–1 ไทย   ไซ่ง่อน เกมกระชับมิตร
2 2499 เวียดนามใต้ 3–1 ไทย
3 13 ธันวาคม 2502 ไทย 0–4 เวียดนามใต้   กรุงเทพ กีฬาแหลมทอง 1959 (รอบแบ่งกลุ่ม)
4 17 ธันวาคม 2502 ไทย 1–3 เวียดนามใต้ กีฬาแหลมทอง 1959 (รอบชิงเหรียญทอง)
5 16 สิงหาคม 2504 เวียดนามใต้ 2–1 ไทย   สิงคโปร์ เกมกระชับมิตร
6 11 ธันวาคม 2504 ไทย 0–0 เวียดนามใต้   ย่างกุ้ง กีฬาแหลมทอง 1961 (รอบแบ่งกลุ่ม)
7 16 ธันวาคม 2504 ไทย 1–1 เวียดนามใต้ กีฬาแหลมทอง 1961 (รอบชิงเหรียญทองแดง)
8 28 ตุลาคม 2505 เวียดนามใต้ 0–1 ไทย   ไซ่ง่อน ฟุตบอลฉลองเอกราชเวียดนามใต้ 1962 (รอบแบ่งกลุ่ม)
9 17 สิงหาคม 2506 เวียดนามใต้ 3–2 ไทย   กัวลาลัมเปอร์ ฟุตบอลเมอร์เดก้า 1963
10 14 ธันวาคม 2506 เวียดนามใต้ 3–0 ไทย   ไซ่ง่อน เอเชียนคัพ 1964 รอบคัดเลือก
11 13 พฤศจิกายน 2507 เวียดนามใต้ 4–0 ไทย ฟุตบอลฉลองเอกราชเวียดนามใต้ 1965
12 15 ธันวาคม 2507 ไทย 2–1 เวียดนามใต้   กัวลาลัมเปอร์ กีฬาแหลมทอง 1965 (รอบแบ่งกลุ่ม)
13 18 ธันวาคม 2507 ไทย 2–0 เวียดนามใต้ กีฬาแหลมทอง 1965 (รอบรองชนะเลิศ)
14 5 พฤศจิกายน 2508 เวียดนามใต้ 4–1 ไทย   ไซ่ง่อน ฟุตบอลฉลองเอกราชเวียดนามใต้ 1966
15 24 มีนาคม 2510 ไทย 0–1 เวียดนามใต้   ฮ่องกง เอเชียนคัพ 1968 รอบคัดเลือก
16 19 สิงหาคม 2510 เวียดนามใต้ 5–2 ไทย   อีโปะฮ์ ฟุตบอลเมอร์เดก้า 1967
17 14 ธันวาคม 2510 ไทย 0–5 เวียดนามใต้   กรุงเทพ กีฬาแหลมทอง 1967 (รอบรองชนะเลิศ)
18 15 สิงหาคม 2511 ไทย 2–3 เวียดนามใต้   อีโปะฮ์ ฟุตบอลเมอร์เดก้า 1968
19 1 พฤศจิกายน 2513 เวียดนามใต้ 1–0 ไทย   ไซ่ง่อน ฟุตบอลฉลองเอกราชเวียดนามใต้ 1970 (รอบชิงชนะเลิศ)
20 13 ธันวาคม 2513 ไทย 1–0 เวียดนามใต้   กรุงเทพ เอเชียนเกมส์ 1970 (รอบแบ่งกลุ่ม)
21 10 สิงหาคม 2514 เวียดนามใต้ 4–2 ไทย   กัวลาลัมเปอร์ ฟุตบอลเมอร์เดก้า 1971 (รอบแบ่งกลุ่ม)
22 26 สิงหาคม 2514 เวียดนามใต้ 2–1 ไทย   สิงคโปร์ เกมกระชับมิตร
23 30 ตุลาคม 2514 เวียดนามใต้ 3–0 ไทย   ไซ่ง่อน ฟุตบอลฉลองเอกราชเวียดนามใต้ 1971 (รอบรองชนะเลิศ)
24 11 พฤศจิกายน 2514 ไทย 0–1 เวียดนามใต้   กรุงเทพ ฟุตบอลคิงส์คัพ 1971 (รอบแบ่งกลุ่ม)
25 18 ธันวาคม 2514 ไทย 0–0 เวียดนามใต้   กัวลาลัมเปอร์ กีฬาแหลมทอง 1971 (รอบชิงเหรียญทองแดง)
26 16 พฤษภาคม 2516 เวียดนามใต้ 1–0 ไทย   โซล ฟุตบอลโลก 1974 รอบคัดเลือก
27 9 พฤศจิกายน 2517 เวียดนามใต้ 3–2 ไทย   ไซ่ง่อน ฟุตบอลฉลองเอกราชเวียดนามใต้ 1974
28 21 มีนาคม 2518 ไทย 4–0 เวียดนามใต้   กรุงเทพ เอเชียนคัพ 1976 รอบคัดเลือก

ไทย กับ เวียดนาม

แก้
# วันที่ ทีมเหย้า ผล ทีมเยือน สถานที่แข่ง รายการ
29 10 ธันวาคม 2538 ไทย 3–1 เวียดนาม   เชียงใหม่ ซีเกมส์ 1995 (รอบแบ่งกลุ่ม)
30 16 ธันวาคม 2538 ไทย 4–0 เวียดนาม ซีเกมส์ 1995 (รอบชิงเหรียญทอง)
31 13 กันยายน 2539 ไทย 4–2 เวียดนาม   กัลลัง ไทเกอร์คัพ 1996 (รอบรองชนะเลิศ)
32 16 ตุลาคม 2540 ไทย 2–1 เวียดนาม   จาการ์ตา ซีเกมส์ 1997 (รอบรองชนะเลิศ)
33 3 กันยายน 2541 เวียดนาม 3–0 ไทย   ฮานอย ไทเกอร์คัพ 1998 (รอบรองชนะเลิศ)
34 5 สิงหาคม 2542 เวียดนาม 0–0 ไทย   บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ซีเกมส์ 1999 (รอบแบ่งกลุ่ม)
35 14 สิงหาคม 2542 ไทย 2–0 เวียดนาม ซีเกมส์ 1999 (รอบชิงเหรียญทอง)
36 8 ธันวาคม 2545 ไทย 2–1 เวียดนาม   กรุงเทพ เกมกระชับมิตร
37 27 ธันวาคม 2545 ไทย 4–0 เวียดนาม   จาการ์ตา ไทเกอร์คัพ 2002 (รอบรองชนะเลิศ)
38 29 ตุลาคม 2549 เวียดนาม 2–2 ไทย   ฮานอย อกริแบงค์ คัพ 2006
39 24 ธันวาคม 2549 ไทย 2–1 เวียดนาม   กรุงเทพ ฟุตบอลคิงส์คัพ 2006 (รอบแบ่งกลุ่ม)
40 30 ธันวาคม 2549 ไทย 3–1 เวียดนาม ฟุตบอลคิงส์คัพ 2006 (รอบชิงชนะเลิศ)
41 24 มกราคม 2550 เวียดนาม 0–2 ไทย   ฮานอย อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007 (รอบรองชนะเลิศ นัดที่หนึ่ง)
42 28 มกราคม 2550 ไทย 0–0 เวียดนาม   กรุงเทพ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007 (รอบรองชนะเลิศ นัดที่สอง)
43 16 พฤศจิกายน 2551 เวียดนาม 2–2 ไทย   ฮานอย ทีแอนด์ทีคัพ 2008
44 6 ธันวาคม 2551 ไทย 2–0 เวียดนาม   ภูเก็ต เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 (รอบแบ่งกลุ่ม)
45 24 ธันวาคม 2551 ไทย 1–2 เวียดนาม   กรุงเทพ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 (รอบชิงชนะเลิศ นัดที่หนึ่ง)
46 28 ธันวาคม 2551 เวียดนาม 1–1 ไทย   ฮานอย เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 (รอบชิงชนะเลิศ นัดที่สอง)
47 30 พฤศจิกายน 2552 เวียดนาม 0–0 ไทย วีเอฟเอฟ สมาร์ทดอร์คัพ 2009
48 30 พฤศจิกายน 2555 ไทย 3–1 เวียดนาม   กรุงเทพ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 (รอบแบ่งกลุ่ม)
49 24 พฤษภาคม 2558 ไทย 1–0 เวียดนาม ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก
50 13 ตุลาคม 2558 เวียดนาม 0–3 ไทย   ฮานอย
51 5 มิถุนายน 2562 ไทย 0–1 เวียดนาม   บุรีรัมย์ ฟุตบอลคิงส์คัพ 2019 (รอบรองชนะเลิศ)
52 5 กันยายน 2562 ไทย 0–0 เวียดนาม   ปทุมธานี ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
53 19 พฤศจิกายน 2562 เวียดนาม 0–0 ไทย   ฮานอย
54 23 ธันวาคม 2564 เวียดนาม 0–2 ไทย   สิงคโปร์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 (รอบรองชนะเลิศ นัดที่หนึ่ง)
55 26 ธันวาคม 2564 ไทย 0–0 เวียดนาม เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 (รอบรองชนะเลิศ นัดที่สอง)
56 13 มกราคม 2566 เวียดนาม 2–2 ไทย   ฮานอย เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ 2022 (รอบชิงชนะเลิศ นัดที่หนึ่ง)
57 16 มกราคม 2566 ไทย 1–0 เวียดนาม   ปทุมธานี เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ 2022 (รอบชิงชนะเลิศ นัดที่สอง)
58 10 กันยายน 2567 เวียดนาม 1–2 ไทย   ฮานอย แอลพีแบงก์ คัพ 2024
59 2 มกราคม 2568 เวียดนาม ไทย   เหวียตจี่ อาเซียน มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ 2024 (รอบชิงชนะเลิศ นัดที่หนึ่ง)
60 5 มกราคม 2568 ไทย เวียดนาม   กรุงเทพ อาเซียน มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ 2024 (รอบชิงชนะเลิศ นัดที่สอง)

สถิติ

แก้
ผลงานที่ดีที่สุด
รายการ   ไทย   เวียดนาม
ผลงานที่ดีที่สุด จำนวนครั้ง ปี ผลงานที่ดีที่สุด จำนวนครั้ง ปี
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ชนะเลิศ 7 1996, 2000, 2002, 2014, 2016, 2020, 2022 ชนะเลิศ 2 2008, 2018
ซีเกมส์ (1959–1999) เหรียญทอง 9 1965, 1975, 1981, 1983, 1985, 1993, 1995, 1997, 1999 เหรียญทอง 1 1959
เอเชียนคัพ อันดับ 3 1 1972 อันดับ 4 2 1956, 1960
เอเชียนเกมส์ (1951–1998) อันดับ 4 2 1990, 1998 อันดับ 4 1 1962
โอลิมปิก (1900–1988) รอบแรก 1 1956 ไม่ผ่านการคัดเลือก
รอบแบ่งกลุ่ม 1 1968
ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่สอง 1 2002 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่สาม 1 2022
รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่สาม 2 2010, 2018
สถิติเฮดทูเฮด
รายการ จำนวนนัดที่ทำการแข่งขัน ผล ประตู
  ไทยชนะ เสมอ   เวียดนามชนะ   ไทย   เวียดนาม
เอเชียนเกมส์ (1951–1998) 1 1 1 0
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 13 7 3 2 22 11
ซีเกมส์ (1959–1999) 13 6 4 3 17 16
ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 5 2 2 1 4 1
เอเชียนคัพ รอบคัดเลือก 3 1 2 4 4
เกมกระชับมิตร 23 5 3 15 29 49
รวม 58 22 12 23 77 81

ผู้ทำประตูสูงสุด

แก้

ตัวหนา คือนักเตะที่ยังเล่นให้กับทีมชาติในปัจจุบัน

อันดับ นักเตะ ประตู
1   เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ 6
2   เล กง วิญ 4
3   ตะวัน ศรีปาน 3
  เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
  ดัสกร ทองเหลา
6   Cù Sinh 2
  เหงียน ฮง เซิน
  หวอ ฮอง บูว
  ฟาน ธาน บิญ
  วรวุธ ศรีมะฆะ
  สุธี สุขสมกิจ
  พิพัฒน์ ต้นกันยา
  สุเชาว์ นุชนุ่ม
  ธีรศิลป์ แดงดา
  ธัชกร เขียวสมบัติ
  ชนาธิป สรงกระสินธ์
  ธีราทร บุญมาทัน
  เหงียน เตี๋ยน ลิญ
20   เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ 1
  ปกเกล้า อนันต์
  ดุสิต เฉลิมแสน
  ศรายุทธ ชัยคำดี
  ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล
  เหงียน วัน เกวี๊ยต
  เหงียน อันห์ ดุ๊ก
  เหงียน เวียต ตัง
  เหงียน มิญ ฟอง
  สารัช อยู่เย็น
  ปรเมศย์ อาจวิไล
  ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์
  ธนา ชะนะบุตร
  ณรงค์ชัย วชิรบาล
  มานิตย์ น้อยเวช
  ศักดา เจิมดี
  พิศณุ เข็ตขาม
  สุทธา สุดสะอาด
  เหงียน ฮู ดั่ก
  ทรอง เวียต ฮอง
  วัน ไซ ฮุง
  ฟัง วัน เนิน
  ฟาน วัน ไท เอ็ม
  หวู วัน ทัญ
  Đỗ Thới Vinh
  Đỗ Quang Thách
  Lê Văn Tỉ
  Võ Bá Hùng
  Trần Văn Kính
  ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
  พาตริก กุสตาฟส์สัน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Cháy vé trận Thái Lan đấu Việt Nam tại vòng loại World Cup". OXII.
  2. "Trận Việt Nam vs Thái Lan "cháy vé" chỉ sau 1 phút". Thời Đại. October 13, 2019.
  3. 3.0 3.1 "Soccer wars in Southeast Asia". New Mandala (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 16 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2022-11-28.
  4. "Cháy vé trận Thái Lan đấu Việt Nam tại vòng loại World Cup". OXII.
  5. "Trận Việt Nam vs Thái Lan "cháy vé" chỉ sau 1 phút". Thời Đại. ngày 13 tháng 10 năm 2019. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "Vé chung kết lượt về Thái Lan - Việt Nam bán hết sau 5 phút". VnExpress. 12 tháng 1 năm 2023. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "CĐV Thái Lan xếp dép cho vé chung kết AFF Cup 2022". VnExpress. 16 tháng 1 năm 2023. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "ไทย บุกชนะ เวียดนาม 2-1 ประตู ฟุตบอลอุ่นเครื่องฟีฟ่าเดย์". Thaipbs. 10 กันยายน 2567.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". VNN2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-10-16. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày lưu trữ= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày truy cập= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tác giả= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |url lưu trữ= ถูกละเว้น (help)
  10. "Thailand fall to China at Asian Cup". Bangkok Post.
  11. "Giữa Việt Nam với Thái Lan, chuyện bóng đá chỉ là "muỗi"". thethaovanhoa. 11 September 2015.
  12. toquoc.vn. "Thống kê lịch sử đối đầu của Đội tuyển Việt Nam và Đội tuyển Thái Lan". toquoc.vn. สืบค้นเมื่อ 5 Tháng sáu 2021. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. ""ĐT Thái Lan có thể thua bất cứ đội nào nhưng trừ Việt Nam"". Dân Việt. 29 tháng 3 năm 2019. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. baonghean.vn https://baonghean.vn/dt-viet-nam-hay-hon-thai-lan-u23-trung-quoc-thua-dam-u23-thai-lan-xep-cuoi-304503.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. Báo điện tử VnExpress https://vnexpress.net/viet-nam-da-the-nao-o-vong-loai-world-cup-2022-4445381.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. Thanh niên https://thanhnien.vn/hanh-trinh-vong-loai-world-cup-cua-viet-nam-thuyet-phuc-hon-thai-lan-post1443688.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. baogiaothong.vn https://www.baogiaothong.vn/bi-tru-diem-doi-tuyen-viet-nam-van-cho-thai-lan-hit-khoi-tren-bxh-fifa-d547466.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. Tiền phong https://tienphong.vn/vo-dich-aff-cup-thai-lan-van-bi-viet-nam-bo-xa-tren-bxh-fifa-post1407099.tpo. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. Dân trí https://dantri.com.vn/the-thao/doi-tuyen-nu-viet-nam-tiep-tuc-bo-xa-thai-lan-tren-bang-xep-hang-fifa-20220325232828555.htm. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. VnExpress https://vnexpress.net/futsal-viet-nam-va-quyet-tam-lat-do-thai-lan-4437068.html. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ngày= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |tựa đề= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)