การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีก 5 คน รวม 6 คน โดยได้เสนอญัตติเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563[1] และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ 4 วัน คือวันที่ 24, 25, 26 และ 27 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ก่อนปิดสมัยประชุมสามัญประจำปี[2]
เบื้องหลัง
แก้การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย
แก้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการพิเศษของพรรคเพื่อไทยได้จัดเตรียมผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไว้แล้ว 25 คน และได้ทำการจัดหมวดหมู่ แบ่งลักษณะพฤติกรรม และการกระทำที่นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐมนตรีไว้แล้ว[3] ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ภูมิธรรม เวชยชัย รองประธานกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ก็ได้เปิดเผยว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านตกลงยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 29 มกราคม โดยจะยื่นอภิปรายนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 7 คน โดยได้มอบหมายให้พรรคฝ่ายค้านแต่ละพรรคไปสรุปให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง[4] แต่เมื่อถึงกำหนด พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เลื่อนเวลายื่นญัตติไปอีก 2 วัน คือวันที่ 31 มกราคม เพื่อเตรียมข้อมูลสำคัญในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีการเสียบบัตรแทนกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้หารือร่วมกันอีกครั้งในการกำหนดประเด็นเพิ่มและบุคคลที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ[5] ในที่สุดเมื่อวันที่ 31 มกราคม สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 5 พรรค ก็ได้ยื่นญัตติขออภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 6 คน (จากพรรคพลังประชารัฐ 4 คน และอิสระอีก 2 คน) ประกอบด้วย[1]
ลำดับที่ | ชื่อ / ตำแหน่ง | ประเด็นการอภิปราย[1] |
---|---|---|
1 | พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม |
|
2 | พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี |
|
3 | วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี |
|
4 | พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
|
5 | ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ |
|
6 | ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
|
การเตรียมการ
แก้5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน และตัวแทนจากคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันถึงแนวทางการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกวันที่ 18–21 กุมภาพันธ์ แล้วลงมติในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ช่วงหลังวันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ก่อนปิดสมัยประชุมสามัญประจำปี[2] ซึ่งรัฐบาลได้เลือกช่วงหลัง และฝ่ายค้านขอเวลาในการอภิปรายมาได้ 55 ชั่วโมง โดยวันที่ 24 กุมภาพันธ์ จะเริ่มการอภิปรายในเวลา 13:30 น. เนื่องจากต้องมีการประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน และจะประชุมไปจนถึง 24:00 น. ส่วนวันที่ 25 และ 26 กุมภาพันธ์ จะประชุมตั้งแต่เวลา 09:00 น. - 24:00 น. ซึ่งหากอภิปรายไม่เสร็จก็จะประชุมต่อในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จากนั้นจะลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์[6]
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่านจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การแบ่งหน้าที่ของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ได้มีการวางตัวผู้อภิปรายและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไว้บ้างแล้ว โดยจะให้สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ปิดการอภิปราย และสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นผู้กล่าวปิดการอภิปราย โดยใช้เวลาตามความเหมาะสม
21 กุมภาพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งถือเป็นการวินิจฉัยก่อนการอภิปรายเพียง 3 วัน
24 กุมภาพันธ์ วิปฝ่ายค้านมีการปรับลดเวลาในการอภิปรายลงเหลือ 54 ชั่วโมง และระบุว่าต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 21:00 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ก่อนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติไม่ไว้วางใจในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 09:30 น.[7]
ผู้อภิปราย
แก้17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เปิดเผยถึงการเตรียมพร้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า ในเบื้องต้น วิปฝ่ายค้านได้จัดเตรียมผู้อภิปรายไว้แล้วประมาณ 30 คน และทุกคนจะเน้นการอภิปรายไปที่ตัวนายกรัฐมนตรีทั้งหมด จะมีเพียงบางส่วนที่จะอภิปรายรัฐมนตรีทั้ง 5 คนด้วย ซึ่งจะจัดเป็นคู่ ๆ ไป ทั้งนี้เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ผู้อภิปรายของพรรคอนาคตใหม่จะหายไปเพียง 3 คนเท่านั้นคือ ปิยบุตร แสงกนกกุล, พรรณิการ์ วานิช และเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี โดยวิปฝ่ายค้านก็ได้เตรียมผู้อภิปรายสำรองไว้เรียบร้อยแล้ว[8]
24 กุมภาพันธ์ วิปฝ่ายค้านได้เปิดเผยสัดส่วนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคต่าง ๆ ออกมาอย่างเป็นทางการดังนี้ พรรคเพื่อไทย 18 คน, อดีตพรรคอนาคตใหม่ 16 คน, พรรคเสรีรวมไทย 3 คน, พรรคประชาชาติ 2 คน, พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรคพลังปวงชนไทย พรรคละ 1 คน รวม 42 คน และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นเป้าหมายแรกของการเปิดฉากอภิปราย โดยฝ่ายค้านระบุว่าจะใช้เวลา 2 วันเต็ม ๆ ในการอภิปรายนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีผู้ลงชื่ออภิปราย พล.อ.ประยุทธ์แบบเจาะจงไว้ถึง 21 คน
ขณะที่วิปรัฐบาลก็ได้เตรียมทีม "องครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี" ไว้ด้วยเช่นกัน โดยมีจำนวน 30 คน เนื่องจากในญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ ได้บรรยายข้อกล่าวหาเอาไว้มากที่สุดถึง 28 บรรทัด รวม 35 ข้อกล่าวหา[7]
ผลการลงมติ
แก้รายนามรัฐมนตรี | ไว้วางใจ | ไม่ไว้วางใจ | งดออกเสียง | ไม่ลงคะแนน | ผู้เข้าร่วมประชุม |
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | 272 | 49 | 2 | - | 323 |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | 277 | 50 | 2 | - | 329 |
วิษณุ เครืองาม | 272 | 54 | 2 | - | 328 |
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา | 272 | 54 | 2 | - | 328 |
ดอน ปรมัตถ์วินัย | 272 | 55 | 2 | - | 329 |
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า | 269 | 55 | 7 | - | 331 |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 กรุงเทพธุรกิจ (31 มกราคม 2563). "ยื่นแล้ว! 6 พรรคฝ่ายค้าน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 รัฐมนตรี". www.bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 ไทยพีบีเอส (5 กุมภาพันธ์ 2563). "วิป 3 ฝ่ายตกลงวันอภิปรายกันไม่ได้". news.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ข่าวสด (31 ธันวาคม 2562). "เพื่อไทย เตรียม 25 ขุนพล อภิปรายไม่ไว้วางใจ 5 รมต. ลุยจัดหนัก จนต้องเปลี่ยนนายกฯ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โพสต์ทูเดย์ (20 มกราคม 2563). "ชัดแล้ว!ฝ่ายค้านยื่นญัตติเชือดนายกฯและรมต.อีกกว่า 7 คนวันที่ 29 ม.ค." www.posttoday.com. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ THE STANDARD (29 มกราคม 2563). "ฝ่ายค้านยื่นซักฟอกรัฐบาล 31 ม.ค. ขออภิปรายก่อนเลือกตั้งซ่อมกำแพงเพชร หวั่นบีบเวลาช่วงปิดสมัยประชุม". thestandard.co. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สนุก.คอม (5 กุมภาพันธ์ 2563). "ฝ่ายค้านได้คิว 55 ชั่วโมง ซักฟอกรัฐบาล 24-27 ก.พ. ลงมติ 28 ก.พ." www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 บีบีซี (24 กุมภาพันธ์ 2563). "อภิปรายไม่ไว้วางใจ : ระดม 42 ส.ส. ฝ่ายค้านร่วมศึกซักฟอก เผย "เกินครึ่ง" จองกฐินประยุทธ์". www.bbc.com. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักข่าว INN (17 กุมภาพันธ์ 2563). "ฝ่ายค้านเตรียม30คนซักฟอกพร้อมแผน3สส.แทนอนค.หากถูกยุบ". www.innnews.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วอยซ์ทีวี (28 กุมภาพันธ์ 2563). "ปิดสมัยประชุมสภา ส.ส. มีมติไว้วางใจนายกฯ- 5 รมต. 'ประวิตร' คะแนนสูงสุด". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
ก่อนหน้า | การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2556 | การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 (24-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) |
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564 |