กองทัพกัมพูชา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
กองทัพพระราชาณาจักรกัมพูชา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองยุทธพลเขมรภูมินท์ (เขมร: កងយោធធពលខេមរភូមិន្ទ; กงโยธพลเขมรภูมินฺท, ฝรั่งเศส: Forces armées royales khmères; FARK) เป็นกำลังทหารแห่งชาติของประเทศกัมพูชา มีองค์พระมหากษัตริย์กัมพูชา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนีทรงเป็นจอมทัพ (เทียบเท่าผู้บัญชาการทหาร) และ สมเด็ต ฮุน เซ็น เป็นจอมพล กองทัพกัมพูชาประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศและกองกำลังพิเศษ
กองยุทธพลเขมรภูมินท์ (กองทัพพระราชาณาจักรกัมพูชา) | |
---|---|
កងយោធពលខេមរភូមិន្ទ | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2496 คำขวัญประจำกองทัพ
|
เหล่า | กองทัพบกกัมพูชา กองทัพเรือกัมพูชา กองทัพอากาศกัมพูชา กองราชอาวุธหัตถ์ |
กองบัญชาการ | ราชธานีพนมเปญ, พระราชอาณาจักรกัมพูชา |
ผู้บังคับบัญชา | |
จอมทัพ | พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี |
ผบ. สูงสุด | สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแณต |
รมว.กลาโหม | พลเอก เตีย เซ็ยฮา |
กำลังพล | |
อายุเริ่มบรรจุ | 18-60 |
ประชากร วัยบรรจุ | 3,980,995 ชาย, อายุ 18–49 (2010 est.), 3,970,244 หญิง, อายุ 18–49 (2010 est.) |
ประชากร ฉกรรจ์ | 2,751,618 ชาย, อายุ 18–49 (2010 est.), 2,835,807 หญิง, อายุ 18–49 (2010 est.) |
ประชากรวัยถึงขั้น ประจำการทุกปี | 175,497 ชาย (2010 est.), 172,788 หญิง (2010 est.) |
ยอดประจำการ | 124,000 |
ยอดสำรอง | 192,000 |
รายจ่าย | |
งบประมาณ | 445 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (FY01 est.) |
ร้อยละต่อจีดีพี | 3% (2010) |
อุตสาหกรรม | |
แหล่งผลิตนอกประเทศ | จีน รัสเซีย บัลแกเรีย[1] อินเดีย เช็กเกีย โปแลนด์ เกาหลีใต้ สหรัฐ เบลเยียม อิสราเอล อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ |
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
ประวัติ | ประวัติศาสตร์การทหารของกัมพูชา |
ยศ | ยศทหารกองทัพกัมพูชา |
ประวัติ
แก้กองทัพเขมร (2496-2513)
แก้กองทัพพระราชอาณาจักรกัมพูชาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ภายใต้สนธิสัญญาฝรั่งเศส - เขมร สนธิสัญญานี้ทำให้เกิดการสิ้นสุดของสถานะรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและทำให้กัมพูชาได้รับสิทธิในการบริหารจัดการกิจการทหารของตนเป็นครั้งแรก ในช่วงเริ่มแรกบทบาทของกองทัพมีดังต่อไปนี้:
- เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติและปกป้ององค์พระมหากษัตริย์
- เพื่อความมั่นคงความมั่นคงทางสังคมและการเคารพในกฎหมาย และเพื่อปกป้องราชอาณาจักรกัมพูชา
มีกองกำลัง 50,000 นาย กองทัพเขมร ได้จัดขึ้นที่ระดับกองพันภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบกประมุขแห่งรัฐ ในช่วงเริ่มต้นของกองทัพนี้ไม่มีอาวุธอะไรมากกว่าปืนเล็กยาวปลอมที่ทำด้วยไม้เพื่อลวงกองทหารเวียดมิญ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กษัตริย์นโรดมสีหนุทรงจำใจลงนามในสนธิสัญญากับเวียดนามซึ่งไม่เป็นผลดีต่อกัมพูชาอย่างมาก ส่งผลให้กัมพูชาเสียดินแดนจำนวนมากให้แก่เวียดนามเหนือ
โครงสร้าง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งบประมาณ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุคลากร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กำลังพลประจำการ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพ | กำลังพล |
กองทัพบก | 115,000 |
กองทัพเรือ | 10,400 |
กองทัพอากาศ | 1,200 |
กองกำลังปฏิบัติการพิเศษ | 3,200 |
กองราชอาวุธหัตถ์ | 2,000 |
รวม | 131,800' |
กำลังพลสำรอง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องแบบ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาค
แก้กองยุทธพลเขมรภูมินทร์แบ่งเขตทหารตามสภาพภูมิศาสตร์ออกเป็น 5 ภูมิภาคทหารและ 1 ภูมิภาคทหารพิเศษ แต่ละภูมิภาคดูแลขึ้นตรงต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามเมืองและจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้[2]:
- ภาคที่ 1: มีกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดสตึงแตรง รับผิดชอบดูแลจังหวัดสตึงแตรง จังหวัดรัตนคีรี และจังหวัดมณฑลคีรี
- ภาคที่ 2: มีกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดกำปงจาม รับผิดชอบดูแลจังหวัดกำปงจาม จังหวัดไพรแวง จังหวัดสวายเรียง และจังหวัดกำปงธม
- ภาคที่ 3: มีกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดกำปงสปือ รับผิดชอบดูแลจังหวัดกำปงสปือ จังหวัดตาแก้ว จังหวัดกำปอต จังหวัดพระสีหนุ จังหวัดเกาะกง และจังหวัดแกบ
- ภาคที่ 4: มีกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดเสียมราฐ รับผิดชอบดูแลจังหวัดเสียมราฐ จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดพระวิหาร
- ภาคที่ 5: มีกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดพระตะบอง รับผิดชอบดูแลจังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัตว์ จังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดไพลิน
- ภาคพิเศษ: มีกองบัญชาการอยู่ที่กรุงพนมเปญ รับผิดชอบดูแลจังหวัดกำปงชนัง จังหวัดกันดาล และเขตราชธานีกรุงพนมเปญ
- ค่ายที่มีชื่อเสียง: ค่ายฝึกหน่วยพลร่มแห่งกองทัพกัมพูชา ค่ายถอกดอว์พนมชัย จังหวัดกันดาล
อาวุธและยุทโธปกรณ์
แก้กองทัพบกกัมพูชา
แก้กองทัพบกกัมพูชาเป็นเหล่าทัพที่สำคัญที่สุดในจำนวน 3 เหล่าทัพ อาวุธส่วนมากของกัมพูชาจะเป็นอาวุธที่ได้รับการบริจาคหรือซื้อมาจากค่ายสังคมนิยมเดิมอย่างรัสเซียและจีน กองทัพกัมพูชาประกอบด้วย กรมทหารราบ 9 กรม, กองพันยานเกราะ 3 กองพัน, กรมทหารช่าง 4 กรม, และกองพลน้อยต่อต้านการก่อการร้าย 3 กองพล มีกำลังทหาร 124,000 นาย งบประมาณกลาโหม 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีโดยประมาณ
อาวุธส่วนมากเป็นอาวุธในยุคสงครามเย็น เช่น ที-54/55 ที่เคยใช้ในสงครามกลางเมือง ในปัจจุบันอาวุธหลายรายการได้รับการบริจาคจากจีน รัสเซีย และสหรัฐ สำหรับอาวุธหลักของกองทัพบกกัมพูชาประกอบไปด้วย
อาวุธประจำกาย (ในหน่วยหลัก)
แก้ปืนเล็ก
แก้จำนวน | รายการ |
---|---|
N/A | ปืนเล็กสั้น China North Industries Corporation QBZ-95 (ขนาด 5.56 x 45 มม.) |
N/A | ปืนเล็กยาว Izhmash AK-47 (ขนาด 7.62 x 39 มม.) |
N/A | ปืนเล็กสั้น China North Industries Corporation QBZ-95 (ขนาด 5.56 x 45 มม.) |
N/A | ปืนเล็กยาว Colt M16A1 (ขนาด 5.56 x 45 มม) |
อาวุธประจำหน่วยทหารราบ
แก้อาวุธต่อสู้รถถัง
แก้จำนวน | รายการ |
---|---|
N/A | เครื่องยิงจรวด China North Industries Type 56 RPG (RPG-2) (ขนาด 82 มม. หัวรบ HEAT) |
N/A | เครื่องยิงจรวด China North Industries Type 69 RPG (RPG-7) (ขนาด 85 มม. หัวรบ HEAT) |
อาวุธประจำหน่วยทหารปืนใหญ่
แก้ปืนใหญ่
แก้จำนวน | รายการ |
---|---|
100 | ปืนใหญ่สนามลากจูงแบบ Type 59-1 ขนาด 130 มม. (จีน) |
100 | ปืนใหญ่สนามลากจูงแบบ Petrov Artillery Design Bureau 2A18 (D-30) ขนาด 120 มม. |
100 | ปืนใหญ่สนามลากจูงแบบ Design bureau of Motovilikha Plants M1938 ขนาด 122 มม. |
100 | ปืนใหญ่สนามลากจูงแบบ design bureau of No. 92 Artillery Factory M1942 (ZiS-3) ขนาด 76 มม. |
จรวด
แก้จำนวน | รายการ |
---|---|
50 | ระบบจรวดหลายลำกล้อง อัตราจร China North Industries Type 81 (ขนาด 122 มม. 40 ท่อยิงต่อแท่นยิง) |
100 | ระบบจรวดหลายลำกล้อง อัตราจร Motovilikha Plants BM-21 (ขนาด 122 มม. 40 ท่อยิงต่อแท่นยิง) |
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
แก้ปืนกลต่อสู้อากาศยาน Soviet Army ZU-23-2 (ขนาด 23 มม. 4 ลำกล้อง)
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40L60 (M1) (ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว)
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Soviet Army AZP S-60 (ขนาด 57 มม. แท่นเดี่ยว)
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
แก้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำ ประทับบ่ายิง Kolomna Strela 2 หรือ SA-7 (นำวิถีด้วยอินฟราเรด)
แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Almaz Central Design Bureau S-125 Neva/Pechora หรือ SA-3 (นำวิถีด้วยเรดาร์แบบเซมิ-แอ็คทีฟ อวป. 4 นัดต่อแท่นยิง)
ยานพาหนะสายสรรพาวุธ
แก้รถถัง
แก้100 x รถถังหลักแบบ Morozov T-54 (ติดตั้ง ป. 100 มม. ปก. 7.62 มม. 2 กระบอก)
250 x รถถังหลักแบบ OKB-520 T-55 (ติดตั้ง ป. 100 มม. ปก. 7.62 มม. 2 กระบอก)
200 x รถถังหลักแบบ Norinco Type-59 (ติดตั้ง ป. 100 มม. ปก.ร่วมแกน 7.62 มม. 2 กระบอก และ ปกตอ. 12.7 มม. 1 กระบอก)
100 x รถถังเบาแบบ N. Shashmurin and Zh.Y. Kotin PT-76 (ติดตั้ง ป. 76 มม. ปก. 7.62 มม. 1 กระบอก)
รถสายพานสนับสนุนการรบ
แก้50 x รถรบทหารราบแบบ Kurganmashzavod BMP-3 (ติดตั้ง ป. 100 มม.)
รถสายพาน
แก้70 x รถรบทหารราบแบบ Pavel Isakov BMP-1 (ติดตั้ง ปก. 7.62 มม. 3 กระบอก)
รถเกราะ
แก้204 x รถเกราะลำเลียงพล Gorkovsky Avtomobilny Zavod BTR-60
100 x รถเกราะลำเลียงพล Automotive Factory No. 2 Zavod imeni Likhacheva BTR-152
160 x รถเกราะลำเลียงพล Fabryka Samochodów Ciężarowych OT-64
อากาศยาน
แก้1 x เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ Eurocopter SA 365 Dauphin
4 x เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางแบบ Mil Moscow Helicopter Plant Mi-8
5 x เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางแบบ Mil Moscow Helicopter Plant Mi-17
กองทัพเรือกัมพูชา
แก้กองทัพเรือกัมพูชายังมีสถานการณ์เป็นกองทัพเรือใกล้ฝั่ง (Green Navy) โดยกัมพูชามีเรือตรวจการณ์ลำน้ำชั้น Kaoh จำนวน 2 ลำ และเรือเร็วโจมตี (ปืน) อีก 2 ลำ
กองทัพเรือกัมพูชาไม่มีเรือฟริเกตประจำการ
ในปี 2548 รัฐบาลจีนได้บริจาคเรือตรวจการณ์ขนาด 46 เมตรจำนวน 4 ลำ เรือตรวจการณ์ขนาด 20 เมตรจำนวน 3 ลำ และเรือลำเลียงสัมภาระอีก 1 ลำให้กองทัพเรือกัมพูชาเพื่อช่วยเหลือในการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายทางทะเลและลาดตระเวนปราบโจรสลัด
ทั้งนี้หลังจากการค้นพบแหล่งน้ำมันของกัมพูชาในบริเวณอ่าวไทย ทำให้เชื่อได้ว่ากองทัพเรือกัมพูชาอาจจำเป็นต้องจัดหาเรือตรวจการณ์ที่มีขนาดใหญ่เพิ่มเติมเพื่อลาดตระเวนคุ้มกันแหล่งผลิตน้ำมันในอ่าวไทย
กองทัพอากาศกัมพูชา
แก้กองทัพอากาศกัมพูชามีฐานบินอยู่สองฐานคือ ฐานทัพอากาศพระตะบองและฐานทัพอากาศพนมเปญ แต่มีเครื่องบินประจำการที่ฐานทัพอากาศพนมเปญเพียงที่เดียว
กัมพูชาเคยจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-21 จำนวน 22 ลำจากรัสเซียในปี 2529 แต่เครื่องบินถูกสั่งกราวน์ทั้งหมดในปี 2535 เนื่องจากขาดงบประมาณ ต่อมาในปี 2539 กองทัพอากาศกัมพูชาว่าจ้างบริษัท Israel Aircraft Industry ให้ทำการปรับปรุง MiG-21 จำนวน 12 ลำ และจัดหา L-39C มือสองที่ได้รับการปรับปรุงอีก 6 ลำ โดยกองทัพอากาศกัมพูชาได้รับมอบ L-39C ทั้งหมดในปี 2540 แต่จากการที่สมเด็จฮุนเซ็นขับเจ้านโรดมรณฤทธิ์ออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้ธนาคารโลกและสหรัฐตัดความช่วยเหลือต่อกัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบกับโครงการปรับปรุง MiG-21 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้อิสราเอลส่งมอบ MiG-21 คืนให้กับพูชา 2 ลำ ปัจจุบันเราไม่ทราบสถานะของเครื่องบินทั้ง 2 ลำนี้ แต่คาดว่าไม่สามารถทำการบินได้เนื่องจากขาดงบประมาณและขาดนักบินที่มีความชำนาญ
กองทัพอากาศกัมพูชามีอากาศยานดังต่อไปนี้
- เครื่องบินขับไล่ MiG-21 Bis และ MiG-21UM จากรัสเซียอย่างละ 1 ลำ (ใช้งานหรือทำการบินไม่ได้) - เครื่องบินขับไล่ฝึก L-39C จากสาธารณรัฐเช็กจำนวน 6 ลำ ( - เครื่องบินลำเลียง Y-12 จากจีนจำนวน 2 ลำ - เครื่องบินลำเลียง An-24RV จากรัสเซียจำนวน 2 ลำ (รับโอนจากกัมพูชาแอร์ไลน์) - เครื่องบินลำเลียงเบา BN-2A Islander จากอังกฤษจำนวน 2 ลำ - เครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ Falcon 20E จากฝรั่งเศสจำนวน 1 ลำ (ได้รับบริจาคจากฝรั่งเศส) - เฮลิคอปเตอร์ AS350 Ecureuil จำนวน 2 ลำ (ได้รับบริจาคจากฝรั่งเศส) - เฮลิคอปเตอร์ SA365 Dauphin จำนวน 1 ลำ (ได้รับบริจาคจากฝรั่งเศส) - เฮลิคอปเตอร์ Mi-8/Mi-17 จำนวน 6 ลำ - เฮลิคอปเตอร์ Mi-26 จำนวน 2 ลำ - เฮลิคอปเตอร์ Zhi-9 จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 20 ลำ
ศาลทหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความสัมพันธ์ทางทหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Yemen was Bulgaria's Biggest Arms Export Partner in 2010 - UN, Novinite, 9 August 2011
- ↑ Ian Ramage, Strong Fighting: Sexual Behavior and HIV/AIDS in the Cambodian Uniformed Services, 2002
อ่านเพิ่ม
แก้- Dylan Hendrickson, 'Cambodia's security-sector reforms: limits of a downsizing strategy,' Conflict, Security, and Development, Volume 1, Issue 1.
- Gerald Segal and Mats Berdal, 'The Cambodia Dilemma,' Jane's Intelligence Review, March 1993, p. 131-2. Includes listing of formations and equipment of the various factions.
- Robert Karniol, 'Confined to local waters,' Naval Forces Update, Jane's Defence Weekly, 20 June 1992, p. 1097. Status of Cambodian navy.