ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรในยุโรปตะวันตกระหว่าง ค.ศ. 987 ถึง 1791
(เปลี่ยนทางจาก Kingdom of France)

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (ฝรั่งเศสเก่า: Reaume de France; ฝรั่งเศสกลาง:Royaulme de France; ฝรั่งเศส: Royaume de France) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือชื่อที่ให้ความหมายคลอบคลุมในวงกว้าง (umbrella term) ได้ให้แก่อัตลักษณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ของฝรั่งเศสในยุคกลางและสมัยใหม่ตอนต้น เป็นหนึ่งในรัฐมหาอำนาจที่มากที่สุดในยุโรปมาตั้งแต่สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ นอกจากนี้ยังเป็นมหาอำนาจอาณานิคมในยุคแรก ซึ่งมีดินแดนอยู่ในความครอบครองทั่วโลก

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

Royaume de France
ค.ศ. 987–1792
ค.ศ. 1814–1815
ค.ศ. 1815–1848
ธงชาติฝรั่งเศส
ธงประจำราชวงศ์บูร์บง
เพลงชาติ(ค.ศ. 1590–1792 ค.ศ. 1814–1830)
มาร์ช็องรีกัทร์
("มาร์ชพระเจ้าอ็องรีที่ 4")
(ค.ศ. 1830–ค.ศ. 1848)
ลาปาริเซียน
("ชาวปารีสเอ๋ย")

เพลงสรรเสริญพระบารมี
(ค.ศ. 1686)
กร็องดิเยอโซฟเฟอเลอรัว (ไม่เป็นทางการ)
("ขอพระเจ้าคุ้มครององค์ราชา")
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1000
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1000
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789
เมืองหลวง
  • ปารีส (ค.ศ. 987–1682; ค.ศ. 1789–1792; ค.ศ. 1814–1848)
  • แวร์ซาย (ค.ศ. 1682–1789)
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครอง
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 987–996
พระเจ้าอูก กาแป
• ค.ศ. 1180–1223
พระเจ้าฟีลิปที่ 2
• ค.ศ. 1364–1380
พระเจ้าชาร์ลที่ 5
• ค.ศ. 1422–1461
พระเจ้าชาร์ลที่ 7
• ค.ศ. 1589–1610
พระเจ้าอ็องรีที่ 4
• ค.ศ. 1643–1715
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
• ค.ศ. 1774–1792
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
• ค.ศ. 1814–1824
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
• ค.ศ. 1824–1830
พระเจ้าชาร์ลที่ 10
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1815
ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์
• ค.ศ. 1847 – ค.ศ. 1848
ฟร็องซัว กีโซ
สภานิติบัญญัติ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง / สมัยใหม่ตอนต้น
• ราชวงศ์กาเปเซียงเสวยราชสมบติ
3 กรกฎาคม ค.ศ. 987
ค.ศ. 1337–1453
ค.ศ. 1562–1598
5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789
6 เมษายน ค.ศ. 1814
2 สิงหาคม ค.ศ. 1830
24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848
สกุลเงินลีฟ ลีฟปารีซิส ลีฟทัวนอยด์ ดีนาร์ โซล ฟรังก์ เอคู หลุยส์ดิออร์
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2

ฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (Francia Occidentalis) ส่วนหนึ่งทางตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ด้วยสนธิสัญญาแวร์เดิง(ค.ศ. 843) สาขาของราชวงศ์การอแล็งเฌียงยังคงปกครองจนถึง ค.ศ. 987 เมื่อพระเจ้าอูก กาแปได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์และก่อตั้งราชวงศ์กาเปเซียง ดินแดนแห่งนี้ยังคงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า ฟรังเกีย และผู้ปกครองที่มีนามว่า เร็กซ์ ฟรานโครูม (rex Francorum ในภาษาละตินแปลว่า "พระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์") ในช่วงเข้าสู่สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ กษัตริย์องค์แรกที่เรียกตัวเองว่า เร็กซ์ ฟรังเกีย ("พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส") คือ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ใน ค.ศ. 1190 และอย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1204 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ฝรั่งเศสถูกปกครองอย่างต่อเนื่องโดยราชวงศ์กาเปเซียงและสายเลือดราชวงศ์ของพวกเขาอย่างวาลัวและบูร์บง—จนกระทั่งระบอบพระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างใน ค.ศ. 1792 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยังได้ปกครองอยู่ในรัฐร่วมประมุขกับราชอาณาจักรนาวาร์ในสองช่วงเวลาคือ ค.ศ. 1284-1328 และ ค.ศ. 1572-1620 ภายหลังจากนั้นสถาบันนาวาร์ได้ถูกยุบและถูกผนวกรวมเข้ากับฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์ (แม้ว่าพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสจะยังคงใช้พระอิสริยยศว่า "พระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์" จนถึงจุดสิ้นสุดของระบอบพระมหากษัตริย์)

ฝรั่งเศสในสมัยกลางเป็นระบอบราชาธิปไตยแบบระบบฟิวดัล ที่ถูกปกครองแบบกระจายอำนาจ ในบริตทานีและกาตาลุญญา(ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเสปน) เช่นเดียวกับอากีแตน อำนาจของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแทบไม่มีความหมาย ลอแรนและพรอว็องส์เป็นรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส ในช่วงแรก พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกได้ถูกเลือกโดยผู้มีอิทธิพลทั้งฝ่ายฆราวาสและฝ่ายนักบวช แต่โดยปกติแล้ว พิธีราชภิเษกของโอรสองค์โตของกษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ในช่วงตลอดพระชนม์ชีพของพระบิดาของพระองค์ได้ก่อให้เกิดหลักการของสิทธิบุตรหัวปีที่เป็นผู้ชาย ซึ่งได้ถูกประมวลไว้ในกฎหมายซาลิก ในช่วงปลายสมัยกลาง การแข่งขันระหว่างราชวงศ์กาเปเซียง ผู้ปกครองของราชอาณาจักรฝรั่งเศสและข้าราชบริวารของพวกเขาอย่างราชวงศ์แพลนแทเจอนิต ซึ่งยังได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันที่ถูกเรียกโดยรวมว่า จักรวรรดิอ็องเฌอแว็ง ส่งผลทำให้การต่อสู้รบด้วยอาวุธหลายครั้ง หนึ่งในความขัดแย้งทั้งหมดของพวกเขาที่เป็นที่ฉาวโฉ่มากที่สุดซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337–1453) ซึ่งกษัตริย์แห่งอังกฤษได้อ้างสิทธิ์ในราชบังลังก์ฝรั่งเศส ภายหลังจากได้รับชัยชนะจากความขัดแย้งดังกล่าว ต่อมาฝรั่งเศสต้องการที่จะขยายอำนาจของตนไปยังอิตาลี แต่กลับพ่ายแพ้ให้กับเสปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในสงครามอิตาลีที่ตามมา (ค.ศ. 1494–1559)

ฝรั่งเศสในยุคสมัยใหม่ตอนต้นเป็นการรวมศูนย์กลางอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น ภาษาฝรั่งเศสเริ่มถูกแทนที่ภาษาอื่นจากการใช้อย่างเป็นทางการ และพระมหากษัตริย์ทรงขยายพระราชอำนาจที่เด็ดขาด แม้ว่าจะอยู่ในระบบการบริหารปกครอง (ระบอบเก่า) ที่ซับซ้อนโดยความผิดปกติทางประวัติศาสตร์และระดับภูมิภาคในแผนกฝ่ายการเก็บภาษี ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายคณะสงฆ์ และอภิสิทธิ์ท้องถิ่น ในทางศาสนา ฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกระหว่างชาวคาทอลิกที่เป็นส่วนใหญ่และชาวโปรเตสแตนต์ที่เป็นส่วนน้อย อูว์เกอโน ซึ่งนำไปสู่สงครามกลางเมืองหลายครั้งคือ สงครามศาสนา (ค.ศ. 1562-1598) สงครามศาสนาได้บ่อนทำลายฝรั่งเศส แต่ชัยชนะเหนือเสปนและราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสงครามสามสิบปีทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในภาคพื้นทวีปอีกครั้ง ราชอาณาจักรกลายเป็นมหาอำนาจทางทหาร การเมือง และวัฒนธรรมที่มีความสำคัญมากที่สุดของยุโรปในศตวรรษที่ 17 ภายใต้รัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสได้พัฒนาจักรวรรดิอาณานิคมแห่งแรกในเอเชีย แอฟริกา และในอเมริกา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 จักรวรรดิอาณานิคมที่หนึ่งได้ขยายจากพื้นที่ทั้งหมด ณ จุดสูงสุดใน ค.ศ. 1680 มากกว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร(3,900,000 ตารางไมล์) จักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกในช่วงเวลาตามหลังจักรวรรดิสเปนเท่านั้น ความขัดแย้งอาณานิคมกับบริเตนใหญ่ทำให้สูญเสียดินแดนที่ถือครองส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือใน ค.ศ. 1763 ฝรั่งเศสได้เข้าแทรกแซงในสงครามปฏิวัติอเมริกาได้ช่วยเหลือในการรับรองความเป็นเอกราชของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาใหม่ แต่กลับมีค่าใช้จ่ายที่สูงและประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยสำหรับฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศสได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรใน ค.ศ. 1791 แต่ราชอาณาจักรได้ถูกยกเลิกในอีกหนึ่งปีต่อมาและถูกแทนที่ด้วยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่ง ระบอบกษัตริย์ได้ถูกรื้อฟื้นโดยประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1814 และได้ดำเนินต่อไป (ยกเว้นจากสงครามร้อยวันใน ค.ศ. 1815) จนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1848

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

แก้
  • Gildea, Robert. The Past in French History (1996)
  • Nora, Pierre, ed. Realms of Memory: Rethinking the French Past (3 vol, 1996), essays by scholars; excerpt and text search; vol 2 excerpts; vol 3 excerpts
  • Pinkney, David H. "Two Thousand Years of Paris," Journal of Modern History (1951) 23#3 pp. 262–264 in JSTOR
  • Revel, Jacques, and Lynn Hunt, eds. Histories: French Constructions of the Past (1995). 654pp, 64 essays; emphasis on Annales School
  • Symes, Carol. "The Middle Ages between Nationalism and Colonialism," French Historical Studies (Winter 2011) 34#1 pp 37–46
  • Thébaud, Françoise. "Writing Women's and Gender History in France: A National Narrative?" Journal of Women's History (2007) 19#1 pp. 167–172 in Project Muse