พระเจ้าอูก กาแป

พระเจ้าอูก กาแป[a] (ฝรั่งเศส: Hugues Capet; ประมาณ ค.ศ. 939 - 14 ตุลาคม ค.ศ. 996)[2] เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 987 ถึง 996 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 36 แห่งฝรั่งเศส และเป็น "ปฐมกษัตริย์ของชาวแฟรงก์" แห่งราชวงศ์กาเปเซียง บิดาของพระองค์คืออูกมหาราช และมารดาของพระองค์คือ เฮดวิจแห่งซัคเซิน พระองค์ได้ถูกรับเลือกให้เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์แห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียงพระองค์สุดท้ายคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 5 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าอูกสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรสของจักรพรรดิชาร์เลอมาญคือจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา และเปแป็งแห่งอิตาลีผ่านพระมารดาและพระอัยยิกา (ย่า) ของพระองค์คือเบอาทริสแห่งแวร์ม็องดัวตามลำดับ และยังเป็นพระราชนัดดาของอ็อทโทที่ 1 มหาราชอีกด้วย[3]

พระเจ้าอูก กาแป
พระสาทิสลักษณ์พระเจ้าอูก กาแป สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
พระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์
ครองราชย์3 กรกฎาคม ค.ศ. 987 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 996
ราชาภิเษก3 กรกฎาคม ค.ศ. 987 นอร์ยอน
ก่อนหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 5 ในฐานะกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรค์ตะวันตก
ถัดไปพระเจ้ารอแบร์ที่ 2
พระราชสมภพค.ศ. 939
ปารีส อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
สวรรคต14 ตุลาคม ค.ศ. 996
ปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ฝังพระศพมหาวิหารแซ็ง-เดอนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
คู่อภิเษกอาเดลาอีดแห่งอากีแตน
พระราชบุตรเฮดวิก เคาต์เตสแห่งเอโนลต์
จิเซลา เคาต์เตสแห่งปงธิว
พระเจ้ารอแบร์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
ราชวงศ์รอแบร์เซียง
ราชวงศ์กาเปเซียง (ปฐมราชวงศ์)
พระราชบิดาอูกมหาราช
พระราชมารดาเฮดวิจแห่งซัคเซิน
ลายพระอภิไธย

ราชวงศ์ที่พระองค์ก่อตั้งคือราชวงศ์กาเปเซียง ที่ปกครองฝรั่งเศสมาเกือบสามศตวรรษครึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 987 ถึง ค.ศ. 1328 ในสายราชสกุลหลัก และจนถึงปี ค.ศ. 1848 ผ่านทางสายราชสกุลสาขา (โดยหยุดชะงักไปในปี ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1814)[4]

การสืบเชื้อสายและการสืบทอด

แก้

พระเจ้าอูกเป็นบุตรชายของอูกมหาราช ดยุกแห่งแฟรงก์ และเฮดวิจแห่งซัคเซิน พระราชธิดาของกษัตริย์เยอรมันคือพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี พระเจ้าอูกประสูติระหว่างปี ค.ศ. 938 หรือ ค.ศ. 941[5][6][7] พระองค์ประสูติมาในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์อันดีและมีอำนาจด้วยความผูกพันมากมายกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและเยอรมนี

โดยทางฝั่งพระมารดาของพระองค์ พระเจ้าอูกเป็นพระราชนัดดาของอ็อทโทที่ 1 มหาราช จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ไฮน์ริชที่ 1 ดยุกแห่งบาวาเรีย และบรูโนมหาราช อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญจน์ และสุดท้ายเกอร์เบกาแห่งซัคเซิน ราชินีแห่งฝรั่งเศสพระราชินีเกอร์เบกา เป็นพระราชินีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและเป็นพระมารดาของพระเจ้าโลแทร์แห่งฝรั่งเศส

ตระกูลของพระราชบิดาของพระองค์คือตระกูลรอแบร์เตียง เป็นตระกูลเจ้าที่ดินที่มีอำนาจในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์[8] พระอัยกาของพระองค์คือพระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส[8] โอโด เคานต์แห่งปารีสเป็นพระอัยกา และเอ็มมาแห่งฝรั่งเศส ราชินีของราอูลแห่งบูร์กอญเป็นพระปิตุจฉา (ป้า) ของพระองค์ พระอัยยิกาของพระเจ้าอูกคือเบอาทริสแห่งแวร์ม็องดัวเป็นทายาทของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ

จุดเริ่มต้นของตระกูลรอแบร์เซียง

แก้

หลังสิ้นศตวรรษที่ 9 เมื่อพระราชอำนาจของราชวงศ์การอแล็งเซียงเริ่มเสื่อมลง เหล่าขุนนางแห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกยืนยันว่าการสืบราชบัลลังก์ของกษัตริย์ต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การสืบราชบัลลังก์ผ่านสายเลือด และบรรดาขุนนางจึงเลือกกษัตริย์จากตระกูลรอแบร์เตียงถึง 2 พระองค์(โอโด (888-898) และรอแบร์ที่ 1 (922-923)) แทนที่จะเป็นสมาชิกราชวงศ์การอแล็งเซียง

พระเจ้ารอแบร์ที่ 1 พระราชบิดาของอูกมหาราช ถูกสืบทอดราชบัลลังก์ในฐานะกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกโดยราอูลแห่งบูร์กอญ พระราชบุตรเขยของพระองค์ เมื่อราอูลสวรรคตในปี ค.ศ. 936 อูกมหาราชต้องตัดสินใจว่าเขาควรจะอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ด้วยตนเองหรือไม่ การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์จะทำให้เขาเสี่ยงกับการเลือกตั้งผู้สืบราชบัลลังก์คนใหม่ซึ่งเขาจะต้องแข่งขันกับขุนนางผู้มีอำนาจคือแอร์แบร์ที่ 2 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว ลุงแท้ ๆ ของเขาเพราะ แอร์แบร์ที่ 2 เป็นพี่ชายของเบอาทริส มารดาของเขา และเป็นบิดาของ อูก อาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์ และพันธมิตรคือพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนีและอูกเดอะแบล็ก ดยุกแห่งเบอร์กันดี พระอนุชาของกษัตริย์ผู้ล่วงลับคือราอูลแห่งบูร์กอญ เพื่อขัดขวางคู่แข่ง[9] อูกมหาราชได้นำเจ้าชายหลุยส์ พระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส หรือ ชาร์ลผู้เรียบง่าย ซึ่งถูกเนรเทศไปอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษมาสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส[10]

การวางแผนครั้งนี้ทำให้อูกกลายเป็นบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดในฝรั่งเศสในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10 เมื่ออยู่ในอำนาจ พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ทรงมอบตำแหน่ง dux Francorum (ดยุกแห่งแฟรงก์) ให้กับเขา พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 (อาจอยู่ภายใต้ความกดดัน) ประกาศอย่างเป็นทางการว่าอูกเป็น "ผู้มีอำนาจเป็นรองแค่พระองค์ในอาณาจักร" อูกยังได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นอีกเมื่อแอร์แบร์ที่ 2 ซึ่งเป็นลุงของเขาและเคานต์แห่งแวร์ม็องดัวเสียชีวิตในปี ค.ศ. 943 เนื่องจากอาณาเขตของแอร์แบร์ที่ 2 ถูกแบ่งระหว่างบุตรชายทั้ง 4 คนของเขา

อูกมหาราชครอบครองพื้นที่กว้างใหญ่ในภาคกลางของฝรั่งเศส ตั้งแต่ออร์เลอองส์และซ็องลิสไปจนถึงโอแซร์และซ็องส์ ในขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ครอบครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของปารีสเท่านั้น (กงเปียญ, ล็อง, ซัวซ็องส์)

ระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 10

แก้

กษัตริย์ก่อนหน้าพระเจ้าอูกไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส และผู้สืบทอดราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากพระองค์ก็ไม่ใช้พระอิสริยยศนั้น จนกระทั่งถึงยุคทายาทรุ่นที่ 5 ของพระองค์คือพระเจ้าฟีลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกษัตริย์ในยุคนั้นปกครองในฐานะ เร็กซ์ ฟรังโกรัม (กษัตริย์แห่งแฟรงก์) ซึ่งเป็นพระราชอิสริยยศที่ใช้มาจนถึงปี ค.ศ. 1190 ดินแดนที่พวกเขาปกครองนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอดีตอาณาจักรการอแล็งเฌียง ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ถูกปกครองโดยราชวงศ์ออทโท ซึ่งนำโดยจักรพรรดิออทโทที่ 2ซึ่งเป็นพระญาติชั้นที่ 1 ของพระเจ้าอูก และต่อมาปกครองโดยพระราชโอรสของจักรพรรดิออทโทที่ 2 คือจักรพรรดิออทโทที่ 3

การเลือกตั้งและการขยายอำนาจ

แก้

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 978 ถึง 986 อูกเป็นพันธมิตรกับจักรพรรดิเยอรมัน ออตโตที่ 2 กับออตโตที่ 3 และกับอาดัลเบอโร อาร์ชบิชอปแห่งไรมส์ ในการวางแผนร้ายทางการเมืองต่อกษัตริย์การอแลงเฌียง ในปี ค.ศ. 985 อูกเป็นผู้ปกครองเบ็ดเสร็จยกเว้นในทางตำแหน่ง และหลังรัชสมัยสั้นๆ ของพระโอรสของโลแธร์ หลุยส์ที่ 5 อูกเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 987 โดยกลุ่มบุคคลสำคัญชาวแฟรงก์ อาดัลเบอโรสามารถโน้มน้ามเหล่าบุคคลสำคัญได้ว่าราชบัลลังก์ควรได้มาจากการเลือกตั้งมากกว่าการสืบทอดทางสายเลือดและชาร์ลส์แห่งโลร์แรน ผู้ท้าชิงชาวการอแลงเฌียงที่ถูกต้องตามกฎหมายที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวไม่เหมาะที่จะปกครอง อูกได้รับการสวมมงกุฎที่นัวยงในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 987 นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่าการเลือกตั้งของอูกไม่ใช่การเคลื่อนไหวในเชิงปฏิวัติ ปู่ของพระองค์ โรแบร์ต์ที่ 1, พี่น้องชายของปู่ อูด และน้า รูดอล์ฟ (ราอูล) ล้วนเคยเป็นกษัตริย์ที่ไม่ใช่ชาวการอแลงเฌียง

รัชสมัยของอูกมีเหตุการณ์สำคัญคือการพยายามที่ไร้ผลของชาร์ลส์แห่งโลร์แรนในการแสดงสิทธิ์ของตนกับความขัดแย้งต่อเนื่องกับอูดที่ 1 เคานต์แห่งบลัวส์ และฟุลค์ แนร์รา เคานต์แห่งอองฌู ที่ต่อมาอูกสนับสนุน ในปี ค.ศ. 993 อูดได้การช่วยเหลือจากอาร์ชบิชอปแห่งลองในแผนการสบคบคิดที่ไม่ประสบความสำเร็จที่จะส่งตัวอูกกับพระโอรส โรแบร์ต์ ไปให้ออตโตที่ 3 การไม่มีใครถูกลงโทษจากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ใหม่กาแปเตียง อูกอาจรักษาบัลลังก์ไว้ได้เพราะความไร้สามารถของศัตรูในการร่วมมือกันเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านพระองค์

สิ่งสืบทอด

แก้

พระเจ้าอูก กาแปสวรรคตในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 996 ที่ปารีส[2] และมีการฝังพระวรกายของพระองค์ในมหาวิหารแซ็ง-เดอนี รอแบร์ พระราชโอรสของพระองค์ ขึ้นครองราชย์ต่อ

ทายาท

แก้

พระเจ้าอูก กาแปอภิเษกสมรสกับอาเดลาอีด พระธิดาในวิลเลียม ทาวเฮด เคานต์แห่งปวาตู โดยมีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน ดังนี้:

จำนวนพระราชธิดาพระองค์อื่นมีการรับรองความน่าเชื่อถือได้น้อยกว่า[11]

หมายเหตุ

แก้
  1. กาแปเป็นฉายาที่ไม่ทราบความหมายเพื่อแยกพระองค์ออกจากอูกมหาราช พระราชบิดาของพระองค์ นิรุกติศาสตร์พื้นบ้านเชื่อมคำนี้เข้ากับ "cape" (ผ้าคลุมไหล่)[1]

อ้างอิง

แก้
  1. Cole, Robert (2005). A Traveller's History of France (seventh ed.). New York: Interlink Books. p. 31. ISBN 978-1-56656-606-3.
  2. 2.0 2.1 "Hugh Capet | king of France". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2020-03-07.
  3. "Hedwig". Women in World History: A Biographical Encyclopedia.
  4. "Capetian dynasty | French history | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-24.; "Major Rulers of France | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-24.
  5. Critical companion to Dante: "Hugh Capet (ca.938-996). Hugh Capet was king of France and founder of the Capetian line of kings"; The Rise of the Medieval World, 500-1300: A Biographical Dictionary: "Hugh Capet (939-996). Hugh Capet was founder of the Capetian Dynasty"
  6. Medieval France: An Encyclopedia: "(ca.940-996). The son of Hugues Le Grand, duke of Francia, Hugh Capet is traditionally considered the founder of the third dynasty of French Kings, the Capetians"
  7. Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafeln 10, 11
  8. 8.0 8.1 Bradbury, Jim (2007). The Capetians: Kings of France, 987–1328. London: Hambledon Continuum. p. 69.
  9. James, pp 183–184; Theis, pp 65–66.
  10. Fanning, Steven; Bachrach, Bernard S. (eds & trans.) The Annals of Flodoard of Reims, 916–966 (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), p. 28
  11. Thus Gauvard, p. 531.

ข้อมูล

แก้
  • Gauvard, Claude. La France au Moyen Âge du Ve au XVe siècle. Paris: PUF, 1996. 2-13-054205-0
  • James, Edward. The Origins of France: From Clovis to the Capetians 500–1000. London: Macmillan, 1982. ISBN 0-312-58862-3
  • Riché, Pierre. Les Carolingiens: Une famille qui fit l'Europe. Paris: Hachette, 1983. 2-012-78551-0
  • Theis, Laurent. Histoire du Moyen Âge français: Chronologie commentée 486–1453. Paris: Perrin, 1992. 2-87027-587-0
  • Lewis, Anthony W. "Anticipatory Association of the Heir in Early Capetian France." The American Historical Review, Vol. 83, No. 4. (Oct., 1978), pp 906–927.