พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Charles III de France; 17 กันยายน ค.ศ. 879 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 929) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงก์ตะวันตก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 10 ในราชวงศ์การอแล็งเฌียง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโลทารินเจีย[1]
พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงก์ตะวันตก | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 898 – 922 |
ก่อนหน้า | อูดที่ 1 |
ถัดไป | รอแบร์ที่ 1 |
พระมหากษัตริย์แห่งโลธาริงเกีย | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 911 – 923 |
ก่อนหน้า | หลุยส์ |
พระราชสมภพ | 17 กันยายน 879 |
สวรรคต | 7 ตุลาคม 929 (พระชนมายุ 50 พรรษา) |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์การอแล็งเฌียง |
พระราชบิดา | พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชมารดา | อาเดลาอีดแห่งปารีส |
พระเจ้าชาร์ลที่ 3 เป็นพระโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและอาเดลาอีดแห่งปารีส[2]พระมเหสีองค์ที่สองของพระองค์ พระองค์ทรงประกาศอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่ที่โอโด เคานต์แห่งปารีสขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ได้ปกครองฝรั่งเศสจริงๆ หลังจากที่โอโดสิ้นพระชนม์[3]
ชีวิตช่วงแรก
แก้ชาร์ลเป็นพระโอรสคนที่สามที่ประสูติหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์ผู้ติดอ่าง โดยประสูติจากพระมเหสีคนที่สอง อาเดเลดแห่งปารีส[4] ในวัยเด็กชาร์ลถูกขัดขวางไม่ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 884 เมื่อพระเชษฐาต่างมารดา พระเจ้าแกร์โลม็อง สิ้นพระชนม์[5] กลุ่มขุนนางแฟรงก์กลับขอให้ลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ จักรพรรดิชาร์ลผู้ตัวอ้วน ขึ้นปกครองแทน[6] จักรพรรดิชาร์ลผู้ตัวอ้วนไม่ใช่กษัตริย์ที่ดี พระองค์จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 887 ทรงสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นานในเดือนมกราคม ค.ศ. 888 เหล่าขุนนางเลือกโอโด วีรบุรุษในการปิดล้อมปารีส เป็นกษัตริย์ ชาร์ลถูกส่งไปอยู่ในการคุ้มครองของรานูล์ฟที่ 2 แห่งอากีแตนที่ยึดเอาพระราชตำแหน่งมาใช้เสียเองจนกระทั่งทำสนธิสัญญาสันติภาพกับโอโด
กษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
แก้ในปี ค.ศ. 893 ขุนนางกลุ่มหนึ่งที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับโอโดสวมมงกุฎให้ชาร์ล พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎที่อาสนวิหารแร็งส์ แต่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์อย่างเต็มรูปแบบจนกระทั่งโอโดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 898[7]
ในปี ค.ศ. 911 กลุ่มชาวไวกิงนำโดยรอลโลปิดล้อมปารีสและชาร์ตร์ส์ หลังได้ชัยชนะใกล้กับชาร์ตร์ส์ในวันที่ 26 สิงหาคม ชาร์ลตัดสินใจเจรจากับรอลโล การพูดคุยนำโดยเอียเว อาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์ ส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาแซ็งต์-แคลร์-ซูร์-เอปต์ที่มอบดินแดนทั้งหมดที่อยู่ระหว่างแม่น้ำเอปต์กับทะเลให้รอลโลกับคนของรอลโล และยังมอบบริตทานีไว้ให้ "ใช้ทำมาหากิน" ซึ่งในตอนนั้นบริตทานีเป็นดินแดนเอกราชที่ฝรั่งเศสไม่สามารถพิชิตได้ แลกกับการให้รอลโลสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อกษัตริย์และให้ความช่วยเหลือทางทหารในยามที่จำเป็น รอลโลยังยอมรับการทำพิธีศีลล้างบาปและแต่งงานกับจิเซลา พระธิดาของกษัตริย์ อาณาเขตที่มอบให้รอลโลนั้นใกล้เคียงกับอาณาเขตของนอร์ม็องดีบน ซึ่งจะเติบโตกลายเป็นนอร์ม็องดีภายใต้การปกครองของลูกหลานของรอลโล
ในปี ค.ศ. 911 เช่นกันที่พระเจ้าหลุยส์ผู้ยังเด็ก กษัตริย์แห่งเยอรมนี สิ้นพระชนม์ ขุนนางของโลธาริงเกียให้ชาร์ลเป็นกษัตริย์คนใหม่ของตนแม้ว่าบางส่วนจะเลือกคอนรัดแห่งฟรานโกเนียเป็นกษัตริย์[7] ชาร์ลพยายามเอาชนะใจคนกลุ่มนั้นอยู่หลายปี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 907 พระองค์แต่งงานกับหญิงชนชั้นสูงชาวโลธาริงเกียนชื่อ เฟรเดรุน ทั้งยังปกป้องโลธาริงเกียจากการโจมตีของคอนรัด กษัตริย์ของชาวเยอรมัน สองครั้ง[8] พระราชินีเฟรเดรุนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 917 โดยมีพระธิดาหกคนและไม่มีพระโอรส[9] พระเจ้าชาร์ลจึงยังไม่มีทายาท ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 919 ชาร์ลแต่งงานใหม่กับอีดจิฟูแห่งเวสเซ็กซ์ (อังกฤษ) พระธิดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส กษัตริย์แห่งอังกฤษ พระองค์มีพระโอรสให้ชาร์ลหนึ่งคน คือ อนาคตพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
ชาร์ลมีคนโปรดที่ราชสำนักเป็นชายชื่อฮากาโน เรื่องนี้ทำให้ขุนนางหันมาต่อต้านชาร์ล พระองค์มอบอารามมากมายที่เคยเป็นของบารอนคนอื่นให้ฮากาโน ทำให้บารอนเหล่านั้นโกรธ ชาร์ลยังทำให้ดยุคคนใหม่ จิลแบต์ ต่อต้านพระองค์หันไปสนับสนุนกษัตริย์เยอรมัน พระเจ้าเฮนรีผู้เป็นพรานล่านก ในปี ค.ศ. 919[7] แต่ใช่ว่าทุกคนในโลธาริงเกียจะต่อต้านชาร์ล วิเกอริชยังคงสนับสนุนพระองค์
การปฏิวัติของขุนนาง
แก้สุดท้ายขุนนางก็ยึดอำนาจชาร์ลในปี ค.ศ. 920[10] พวกขุนนางเบื่อหน่ายการเมืองการปกครองและความโปรดปรานเคานต์ฮากาโนของชาร์ล[10] แต่หลังการเจรจาข้อตกลงโดยอาร์ชบิชอปแอร์วิอุสแห่งแร็งส์ กษัตริย์ได้รับการปล่อยตัว[10] ในปี ค.ศ. 922 กลุ่มขุนนางแฟรงก์ก่อปฏิวัติอีกครั้งนำโดยรอแบต์แห่งนูสเตรีย[10] พระอนุชาของพระเจ้าโอโด กลุ่มกบฏเลือกรอแบต์เป็นกษัตริย์ ชาร์ลต้องหนีไปโลธาริงเกีย ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 922 ชาร์ลเสียผู้สนับสนุนที่ภักดีที่สุด แอร์เวอุสแห่งแร็งส์ ไป ชาร์ลกลับมาพร้อมกับกองทัพนอร์มันในปี ค.ศ. 923 แต่ต่อมาพ่ายแพ้ในวันที่ 15 มิถุนายน ใกล้กับซวยส์ซงส์ รอแบต์สิ้นพระชนม์ในสนามรบ[7] ชาร์ลถูกจับกุมตัวและจองจำในปราสาทที่เปโรนภายใต้การเฝ้าดูของแอร์แบต์ที่ 2 แห่งแวร์ม็องดัวส์[11] พระมเหสีชาวอังกฤษของชาร์ล อีดจิฟู กับพระโอรส หลุยส์ หนีไปอังกฤษ[12] บุตรเขยของรอแบต์ รูดอล์ฟแห่งเบอร์กันดี ได้รับเลือกให้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์[13] ในปี ค.ศ. 925 โลธาริงเกียกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนี ชาร์ลสิ้นพระชนม์ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 929 และถูกฝังใกล้ กับวิหารแซ็งต์-เฟอร์ซี พระโอรสคนเดียวของพระองค์ที่มีกับอีดจิฟูต่อมาจะได้รับการสวมมงกุฎในปี ค.ศ. 936 เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส[12]
ครอบครัว
แก้ชาร์ลแต่งงานครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 907 กับเฟรเดรุน พระธิดาของดีทริช เคานต์ในฮามาแลนด์[4] ทั้งคู่มีพระธิดาด้วยกันหกคน คือ
- เออร์เมนทรูด[4]
- เฟรเดรุน[4]
- อาเดเลด[4]
- จิเซลา ภรรยาของรอลโลแห่งนอร์ม็องดี[14]
- รอทรูด[4]
- ฮิลเดอการ์ด[4]
ในปี ค.ศ. 919 ชาร์ลแต่งงานครั้งที่สองกับอีดจิฟูแห่งเวสเซ็กซ์[4] ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ
- พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สืบทอดต่อบัลลังก์ของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกในปี ค.ศ. 936[4]
ชาร์ลยังมีบุตรนอกกฎหมายอีกหลายคน ได้แก่
อ้างอิง
แก้- ↑ Michel Parisse, "Lotharingia", The New Cambridge Medieval History, III: c. 900–c. 1024, ed. Timothy Reuter (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), 313–15.
- ↑ Genealogiæ Comitum Flandriæ, Witgeri Genealogica Arnulfi Comitis MGH SS IX, p. 303.
- ↑ Matilda's mother Reinhild or Reginlind was probably sister of Frederuna. Settipani (1993), p. 325 footnote 324.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 1
- ↑ The Annals of Flodoard of Reims, 9919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xv
- ↑ Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 1993), p. 216
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Michel Parisse, "Lotharingia", The New Cambridge Medieval History, III: c. 900–c. 1024, ed. Timothy Reuter (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), 313–15.
- ↑ Cambridge Medieval History, Vol. III—Germany and the Western Empire, eds. H. M. Gwatking; J. P. Whitney, et al. (New York: The Macmillan Company, 1922), p. 74
- ↑ Genealogiæ Comitum Flandriæ, Witgeri Genealogica Arnulfi Comitis MGH SS IX, p. 303.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 1993), p. 250
- ↑ Jean Dunbabin, "West Francia: The Kingdom", The New Cambridge Medieval History, III: c. 900–c. 1024, ed. Timothy Reuter (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), 378–79.
- ↑ 12.0 12.1 The Annals of Flodoard of Reims, 9919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xvii
- ↑ The Annals of Flodoard of Reims, 9919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xvi
- ↑ Orderic Vitalis, The Ecclesiastical History of Oderic Vitalis, ed. Marjorie Chibnall, Volume II, Books III And IV (Oxford: The Clarendon Press, 1993), p. 9