เอชดี 69830

(เปลี่ยนทางจาก HD 69830)

เอชดี 69830 หรือ HD 69830 (285 G. Puppis) เป็นดาวแคระเหลืองที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 41 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวท้ายเรือ ในปี พ.ศ. 2548 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ค้นพบวงแหวนแคบ ๆ ของจานเศษซาก (Debris disk) ที่มีอุณหภูมิปานกลาง โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์[10] ประกอบด้วยฝุ่นละอองปริมาณมากกว่าแถบดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ ในปี พ.ศ. 2549 ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะสามดวง ที่มีมวลอย่างน้อยที่สุดเทากับดาวเนปจูน ได้รับการยืนยันว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ ซึ่งวงโคจรอยู่ภายในกว่าวงแหวนของจานเศษซาก[11]

เอชดี 69830

เอชดี 69830 คือดาวแคระเหลืองชนิด G8V
มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ (G2V)
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว กลุ่มดาวท้ายเรือ
ไรต์แอสเซนชัน 08h 18m 23.94706s[1]
เดคลิเนชัน -12° 37′ 55.8116″[1]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) +5.98[2]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมG8V[3]
ดัชนีสี U-B0.33[2]
ดัชนีสี B-V0.75[2]
ดัชนีสี V-R0.40
ดัชนีสี R-I0.36
ชนิดดาวแปรแสงnone
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)+30.4[4] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 278.99 ± 0.25[1] mas/yr
Dec.: −987.59 ± 0.29[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)80.04 ± 0.35[1] mas
ระยะทาง40.7 ± 0.2 ly
(12.49 ± 0.05 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)5.47 ± 0.01[5]
รายละเอียด
มวล0.863 ± 0.043[3] M
รัศมี0.905 ± 0.019[3] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.53[6]
กำลังส่องสว่าง0.622 ± 0.014[3] L
อุณหภูมิ5,394 ± 62[3] K
การหมุนตัว35.1 ± 0.8 days[7]
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)0.8±0.5[3] km/s
ชื่ออื่น
285 G. Puppis,[8] BD−12°2449, GJ 302, HIP 40693, HR 3259, LHS 245, SAO 154093[9]
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata
Exoplanet Archivedata
ARICNSdata
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
data

ระยะห่างและการสังเกตเห็นได้ แก้

เอชดี 69830 เป็นดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และกำลังส่องสว่างในระดับ V ชนิด G8V มีมวลประมาณ 86% , มีรัศมี 90%, กำลังส่องสว่าง 62% และ 89% ของสัดส่วนธาตุเหล็กเมื่อเทียบกับของดวงอาทิตย์ อายุของดาวนั้นประมาณไว้ที่ 10.6 ± 4 พันล้านปี เอชดี 69830 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 40.7 ปีแสง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกลุ่มดาวท้ายเรือ (Poop Deck) สามารถเห็นได้ทางตะวันออกของดาวซิริอุส, ตะวันตกเฉียงใต้ของดาวโพรซิออน, ตะวันออกเฉียงเหนือของดาววีเซน (Wezen, Delta Canis Majoris) และทางเหนือของดาวเนออส (Naos, Zeta Puppis)

ระบบดาวเคราะห์ แก้

ระบบดาวเคราะห์ เอชดี 69830[11][12]
ดาวเคราะห์
(ตามลำดับจากดาว)
มวล กึ่งแกนเอก
(AU)
คาบการโคจร
(วัน)
ความเยื้องศูนย์กลาง ความเอียงของวงโคจร รัศมี
บี 10.2 M 0.0785 8.667 ± 0.003 0.1 ± 0.04
ซี 11.8 M 0.186 31.56 ± 0.04 0.13 ± 0.06
ดี 18.1 M 0.63 197 ± 3 0.07 ± 0.07 ~4 R
แถบดาวเคราะห์น้อย 0.93–1.16 AU

ดาวเคราะห์ แก้

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ทีมนักดาราศาสตร์ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (ESO) ใช้สเปกโทรมิเตอร์ HARPS ในกล้องโทรทรรศน์ที่หอดูดาวลาซิยาขนาด 3.6 เมตรในทะเลทรายอาตากามาประเทศชิลี ตรวจสอบและประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสามดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์[13] ด้วยมวลต่ำสุดอยู่ระหว่าง 10 ถึง 18 เท่าของโลก ดาวเคราะห์ทั้งสามสันนิษฐานว่าคล้ายกับดาวเนปจูนหรือดาวยูเรนัส จนถึงปี พ.ศ. 2554 ไม่พบดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี จากการตรวจติดตามในระยะ 3 หน่วยดาราศาสตร์ของระบบ เอชดี 69830

ดาวโคจรด้วยความเอียงของวงโคจร 13+27-13สันนิษฐานว่ามุมเอียงของวงโคจรสัมพัทธ์กับโลกนั้น[7] เป็นผลรวมมุมเอียงของดาวเคราะห์ทั้งหมด[14] อย่างไรก็ตามดาวเคราะห์ บี และ ซี นั้นเป็น "ดาวเนปจูนร้อน" และปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า ภายนอกระบบนี้มีบางสิ่งมีความสัมพันธ์เป็นมุมเอียงเมื่อเทียบกับแกนของดาวฤกษ์[15]

ดาวเคราะห์นอกสุดที่ค้นพบนั้นดูเหมือนจะอยู่ในเขตอาศัยได้ของระบบ ซึ่งน้ำจะยังคงมีเสถียรภาพในสถานะของเหลว (ข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นเกี่ยวกับกำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์หลัก จะบอกให้ทราบว่าขอบเขตที่แท้จริงของเขตอาศัยได้อยู่ในบริเวณใด) เอชดี 69830 เป็นระบบดาวเคราะห์นอกระบบแห่งแรกที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ โดยไม่พบดาวเคราะห์ใดที่เปรียบเทียบมวลได้กับดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์

จานเศษซาก แก้

ในปี พ.ศ. 2548 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ตรวจพบจานเศษซาก (Debris disk) ในระบบ เอชดี 69830 ที่สอดคล้องกับแถบดาวเคราะห์น้อยที่ถูกสร้างขึ้นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของระบบสุริยะถึงยี่สิบเท่า ตอนแรกสันนิษฐานว่าแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวงโคจร ที่เทียบเท่ากับวงโคจรของดาวศุกร์ในระบบสุริยะ ซึ่งจะวางไว้ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงที่สองและสามของระบบ เอชดี 69830 แผ่นจานมีปริมาณของฝุ่นเพียงพอที่ในเวลากลางคืนของดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียง จะปรากฏส่องสว่างในแถบจักรราศีบนทรงกลมท้องฟ้า ด้วยความสว่างกว่า 1,000 เท่าที่สามารถเห็นได้ง่ายมากกว่าการมองเห็นทางช้างเผือกบนโลก

การวิเคราะห์เพิ่มเติมของสเปกตรัมของฝุ่นพบว่า ประกอบด้วยวัสดุที่ผ่านกระบวนการมาอย่างมาก เช่นมาจากดาวเคราะห์น้อยประเภท ซี (Carbonaceous asteroid) ที่มีรัศมีอย่างน้อย 30 กม. ซึ่งแตกกระจายและอุดมไปด้วยแร่โอลิวีน และสะเก็ดซึ่งครั้งหนึ่งประกอบด้วยของเหลวซึ่งจะไม่สามารถมีได้เมื่ออยู่ในระยะใกล้กับดาวฤกษ์ แต่ดูเหมือนว่าแถบดาวเคราะห์น้อยที่ผลิตฝุ่นนั้นจะอยู่นอกวงโคจรของดาวเคราะห์ชั้นนอกสุดประมาณ 1 หน่วยดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์ บริเวณนี้มีการสั่นพ้องของวงโคจรเป็นอัตราส่วน 2: 1 และ 5: 2 เฉลี่ยกับดาวเคราะห์ เอชดี 69830 ดี[12]

แกลเลอรี แก้

 
ภาพจำลองเปรียบเทียบท้องฟ้ากลางคืนบนโลก
กับบนดาวเคราะห์ในระบบ เอชดี 69830
ภาพจำลองเปรียบเทียบท้องฟ้ากลางคืนบนโลก
กับบนดาวเคราะห์ในระบบ เอชดี 69830
 
 
วงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบ
เอชดี 69830 และจานเศษซาก
วงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบ
เอชดี 69830 และจานเศษซาก
 


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 van Leeuwen, F. (2007). "Validation of the new Hipparcos reduction". Astronomy and Astrophysics. 474 (2): 653–664. arXiv:0708.1752. Bibcode:2007A&A...474..653V. doi:10.1051/0004-6361:20078357.Vizier catalog entry
  2. 2.0 2.1 2.2 Mermilliod, J.-C. (1986), "Compilation of Eggen's UBV data, transformed to UBV (unpublished)", Catalogue of Eggen's UBV Data. SIMBAD, Bibcode:1986EgUBV........0M.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Tanner, Angelle; และคณะ (February 2015), "Stellar Parameters for HD 69830, a Nearby Star with Three Neptune Mass Planets and an Asteroid Belt", The Astrophysical Journal, 800 (2): 5, arXiv:1412.5251, Bibcode:2015ApJ...800..115T, doi:10.1088/0004-637X/800/2/115, 115.
  4. Evans, D. S. (June 20–24, 1966). "The Revision of the General Catalogue of Radial Velocities". ใน Batten, Alan Henry; Heard, John Frederick (บ.ก.). Determination of Radial Velocities and their Applications, Proceedings from IAU Symposium no. 30. Determination of Radial Velocities and Their Applications. Vol. 30. University of Toronto: International Astronomical Union. p. 57. Bibcode:1967IAUS...30...57E.
  5. Holmberg, J.; และคณะ (2009). "The Geneva-Copenhagen survey of the solar neighbourhood. III. Improved distances, ages, and kinematics". Astronomy and Astrophysics. 501 (3): 941–947. arXiv:0811.3982. Bibcode:2009A&A...501..941H. doi:10.1051/0004-6361/200811191.Vizier catalog entry
  6. Ramírez, I.; และคณะ (February 2013), "Oxygen abundances in nearby FGK stars and the galactic chemical evolution of the local disk and halo", The Astrophysical Journal, 764 (1): 78, arXiv:1301.1582, Bibcode:2013ApJ...764...78R, doi:10.1088/0004-637X/764/1/78.
  7. 7.0 7.1 Simpson, E. K.; และคณะ (November 2010), "Rotation periods of exoplanet host stars", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 408 (3): 1666–1679, arXiv:1006.4121, Bibcode:2010MNRAS.408.1666S, doi:10.1111/j.1365-2966.2010.17230.x.
  8. Benjamin Apthorp Gould, reprinted; updated by Frederick Pilcher. "Uranometria Argentina". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 2011-02-04.
  9. "HD 69830". SIMBAD. Centre de données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 2015-04-25.
  10. Beichman, C. A.; และคณะ (2005). "An Excess Due to Small Grains around the Nearby K0 V Star HD 69830: Asteroid or Cometary Debris?". The Astrophysical Journal. 626 (2): 1061–1069. arXiv:astro-ph/0504491. Bibcode:2005ApJ...626.1061B. doi:10.1086/430059.
  11. 11.0 11.1 Lovis, Christophe; และคณะ (2006). "An extrasolar planetary system with three Neptune-mass planets" (PDF). Nature. 441 (7091): 305–309. arXiv:astro-ph/0703024. Bibcode:2006Natur.441..305L. doi:10.1038/nature04828. PMID 16710412. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-26.
  12. 12.0 12.1 Lisse, C. M.; และคณะ (2007). "On the Nature of the Dust in the Debris Disk Around HD 69830". The Astrophysical Journal. 658 (1): 584–592. arXiv:astro-ph/0611452. Bibcode:2007ApJ...658..584L. doi:10.1086/511001.
  13. "Trio of Neptunes and their Belt: HARPS Instrument Finds Unusual Planetary System". ESO – Science release. 18 May 2006.
  14. "hd_69830_b". Extrasolar Planet Encyclopaedia. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
  15. Roberto Sanchis-Ojeda; Josh N. Winn; Daniel C. Fabrycky (2012). "Starspots and spin-orbit alignment for Kepler cool host stars". Astronomische Nachrichten. 334 (1–2): 180–183. arXiv:1211.2002. Bibcode:2013AN....334..180S. doi:10.1002/asna.201211765.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


พิกัด:   08h 18m 23.9s, −12° 37′ 55.0″