รัศมีโลก (อังกฤษ: Earth radius) ที่ใช้ในภูมิมาตรศาสตร์และดาราศาสตร์นั้นปกติจะหมายถึงค่ารัศมีที่เส้นศูนย์สูตรของโลก ค่านี้มีนิยามต่างกันไป เช่น ค่าตามการวัดจริง และค่าที่กำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นหน่วยวัดความยาว

รัศมีโลก
ภาพตัดภายในโลก
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดดาราศาสตร์, ธรณีฟิสิกส์
เป็นหน่วยของความยาว
สัญลักษณ์R🜨 หรือ ,
การแปลงหน่วย
1 R🜨 ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยเอสไอ   6.3781×106 m[1]

รัศมีที่ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการสำรวจทางภูมิศาสตร์ แก้

ค่าของรัศมีที่เส้นศูนย์สูตรของโลกที่ใช้ในทรงรีโลกมาตรฐาน GRS80 และทรงรีโลกมาตรฐาน WGS84 ซึ่งเป็นมาตรฐานของการสำรวจทางธรณีวิทยาคือ

  • 6378137 m

ค่ารัศมีที่กำหนดเป็นทางการ แก้

ในสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 24 ในปี 2015 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้นิยามค่ารัศมีเส้นศูนย์สูตรและตามแนวขั้วโลก[2] รัศมีเส้นศูนย์สูตรที่ระบุนี้ใช้เป็นหน่วยวัดความยาวในทางดาราศาสตร์

  • รัศมีเส้นศูนย์สูตรของโลกที่กำหนดใช้ ( ) = 6378.1 กม.
  • รัศมีขั้วโลกที่กำหนดใช้ ( ) = 6356.8 กม.

รัศมีเส้นศูนย์สูตรที่กำหนดใช้นี้ใช้สำหรับการเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์นอกระบบ โดยเฉพาะที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงโลกเป็นหลัก ค่ารัศมีนี้อาจถูกแปลงเป็นหน่วยอื่นได้ดังต่อไปนี้

รัศมีตามการวัดจริง แก้

ในเดือนสิงหาคม 1999 คณะกรรมการเฉพาะกิจครั้งที่ 3 ของสมาคมภูมิศาสตร์สากล (IAG) ได้ระบุค่าล่าสุดที่ใช้งานไว้เป็นดังนี้[3]

  • 6378136.59±0.10 m (tide-free system: ไม่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงจากน้ำขึ้นน้ำลง)
  • 6378136.62±0.10 m (zero-frequency tide system: ไม่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงจากน้ำขึ้นน้ำลงโดยตรง แต่ยังพิจารณารวมผลโดยอ้อม)

USNO และ HMNAO ใช้ค่าต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าคงที่ทางดาราศาสตร์ (K6)[4]

  • 6378136.6±0.1 m

อ้างอิง แก้

  1. Mamajek, E. E; Prsa, A; Torres, G; และคณะ (2015). "IAU 2015 Resolution B3 on Recommended Nominal Conversion Constants for Selected Solar and Planetary Properties". arXiv:1510.07674 [astro-ph.SR].
  2. Resolution B3 on recommended nominal conversion constants for selected solar and planetary properties IAU 2015 Resolution B3, XXIXth IAU General Assembly in Honolulu, 13 August 2015
  3. 理科年表、2022、p.601、丸善
  4. ASTRONOMICAL CONSTANTS K6 เก็บถาวร 2022-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1.5 Body Constants, Equatorial radius for Earth, USNO, 2018