อำเภอไชยา
ไชยา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในทางใต้ของภูมิภาคนี้ เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัยในสมัยโบราณ โดยมีหลักฐานทั้งโบราณวัตถุและโบราณสถานจำนวนมาก
อำเภอไชยา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chaiya |
คำขวัญ: พระบรมธาตุคู่เมือง รุ่งเรืองพุทธศาสน์ พุทธทาสปราชญ์โลก สวนโมกขพลาราม ลือนามศรีวิชัย ผ้าไหมพุมเรียง ทะเลเคียงหาดทราย แหล่งซื้อขายไข่เค็ม | |
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอไชยา | |
พิกัด: 9°23′12″N 99°12′0″E / 9.38667°N 99.20000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,004.63 ตร.กม. (387.89 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 51,760 คน |
• ความหนาแน่น | 51.52 คน/ตร.กม. (133.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 84110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8406 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอไชยา ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอไชยาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 614 กิโลเมตร ห่างจากบ้านดอนไปทางทิศเหนือ 38 กิโลเมตร ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 7 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าฉาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกะเปอร์
ประวัติ
แก้อำเภอไชยาเดิมมีฐานะเป็นเมืองเรียกว่า เมืองไชยา ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน 3 เมืองในอาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางการปกครองและศูนย์กลางการค้าขายกับต่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนา แต่ต่อมาปี พ.ศ. 1568 ได้ถูกอาณาจักรจากภาคใต้ของอินเดียเข้ายึดอำนาจไว้ได้ ทว่าก็เป็นไปชั่วคราวเท่านั้นก็สามารถรวมคนตั้งตัวได้อีก และได้ทำการรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่เพื่อชิงเกาะสุมาตราและแหลมมลายูกับอาณาจักรมัชปาหิต (ชวา) จนอ่อนกำลังทั้งคู่ จึงถูกอาณาจักรสุโขทัยตีได้ และเข้าครอบครองไว้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 1800 ดังนั้นเมืองไชยาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยก็ตกเป็นขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรสุโขทัยแต่บัดนั้น
ประวัติศาสตร์เมืองไชยาระยะต่อจากนั้นก็เงียบหายไปจนกระทั่งปี พ.ศ. 2328 (สมัยกรุงรัตนโกสินทร์) พม่ายกกองทัพซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อ สงครามเก้าทัพ บุกเข้าตีเมืองชุมพร แล้วตีเรื่อยจนถึงเมืองไชยา พร้อมกับเผาเมืองเสียจนถาวรวัตถุเป็นซากปรักหักพังเหลือไว้เป็นอนุสรณ์
เดิมอำเภอท่าฉางและอำเภอท่าชนะเคยรวมอยู่เป็นอำเภอเดียวกันกับอำเภอไชยา ต่อมาอำเภอท่าฉางแยกออกเป็นกิ่งอำเภอท่าฉาง และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอท่าฉางเมื่อ พ.ศ. 2482 สำหรับอำเภอท่าชนะแยกออกเป็นกิ่งอำเภอท่าชนะเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอท่าชนะ เมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ทางราชการได้จัดตั้งศาลจังหวัดและเรือนจำขึ้นที่อำเภอไชยา และเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 อำเภอไชยาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชั้น 2
ปัจจุบันอำเภอไชยาแบ่งการปกครองออกเป็น 9 ตำบล มี 53 หมู่บ้าน มีการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 หน่วย คือ เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล
รายนามเจ้าเมืองไชยา
แก้ตามจดหมายเหตุของหมื่นอารีราษฎร์ (วิน สาลี) บันทึกไว้ว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีรับสั่งให้พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยา ให้ช่วยสืบหานามตำแหน่งเจ้าเมืองไชยาและนามเดิมตั้งแต่คนแรกตลอดมา จึงได้จัดการสืบหาได้ตามคำบอกเล่าของขุนนาคเวชวีรชน (จบ นาคเวช) อดีตกำนันตำบลทุ่ง และพระยาศรีสงคราม (ช่วย) ปลัดเมืองไชยานอกราชการ ดังนี้
- พระยาพิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (สุลต่านมุสตาฟา سلطان مصطفى) มะระหุมปะแก
- พระยาพิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (เตาฟิค توفيق) มะระหุมตาไฟ
- พระยาพิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (มะระหุมมุดา)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (บุญชู)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (พุทโธ)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (หัวสั่น)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (มี)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ท้วม)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ปลอด)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (กลิ่น)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (กลับ)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (จุ้ย)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (น้อย)
- พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ขำ ศรียาภัย)
- นายพินิจราชการ (ปิ้ว)
- หลวงวิเศษภักดี (อวบ)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอไชยาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 54 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอไชยาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลตลาดไชยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดไชยาทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลเลม็ด
- เทศบาลตำบลพุมเรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุมเรียงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเลม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเลม็ด (นอกเขตเทศบาลตำบลตลาดไชยา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าเวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกรบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโมถ่าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโมถ่ายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากหมากทั้งตำบล
ภูมิศาสตร์
แก้ลักษณะภูมิประเทศ
แก้ท้องที่อำเภอไชยาแบ่งออกเป็นสามตอน คือทางทิศตะวันออกซึ่งติดกับทะเลเป็นที่ราบน้ำเค็ม มีป่าไม้ชายเลน ไม้เบญจพรรณ และทุ่งหญ้าที่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม เดิมมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันน้ำจะแห้งในระหว่างเดือน 5 และเดือน 6 ทางทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ตอนนี้เป็นสวนยางและสวนผลไม้ยืนต้นทั่วไป
ลักษณะภูมิอากาศ
แก้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เพราะตั้งอยู่ในคาบสมุทรจึงได้รับลมมรสุมเต็มที่ มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูแล้งและฤดูฝน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมตามลำดับ
ลำน้ำสำคัญ
แก้อำเภอไชยามีลำน้ำสำคัญ 2 สาย คือ
- คลองไชยา ต้นกำเนิดจากแพรกหรือแควต่าง ๆ ในทิวเขาแดนซึ่งเป็นทิวเขากั้นระหว่างอำเภอกะเปอร์ (จังหวัดระนอง) กับอำเภอไชยา ไหลผ่านตำบลโมถ่าย ตำบลป่าเว ตำบลเวียง แล้วไหลผ่านแยกลงทะเลที่ปากน้ำท่าปูนและปากน้ำไชยา ตำบลเลม็ด เมื่อ 100 ปีก่อนเรือใบสามารถแล่นมาถึงวัดพระบรมธาตุได้
- คลองตะเคียน ต้นกำเนิดจากทิวเขาจอมสีในอำเภอท่าชนะ ไหลเข้าสู่อำเภอไชยาที่ตำบลป่าเว ผ่านตำบลตลาดไชยา ตำบลทุ่ง และไหลออกปากน้ำที่ตำบลพุมเรียง
เศรษฐกิจ
แก้การทำนา
แก้เนื้อที่เพื่อการทำนามีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ ทั้งหมดแต่การทำนาก็นับว่าเป็นอาชีพหลัก โดยทั่วไปส่วนใหญ่ทำกันรอบ ๆ บริเวณตัวเมือง (อำเภอและตลาด) ยิ่งห่างออกไปก็มีเนื้อที่เพาะปลูกน้อยลงตามลำดับ ปัจจุบันเริ่มมีการทำนาปีละ 2 ครั้งกันหลายตำบล สำหรับการเกี่ยวข้าวนั้น แต่เดิมชาวไชยาใช้วิธีลงแขกกัน คือนัดกันไปเก็บเกี่ยวของคนนั้นในวันหนึ่งของคนนี้อีกวันหนึ่งสลับกันไป ซึ่งปัจจุบันยังมีให้เห็นในหลายหมู่บ้าน เครื่องมือเก็บเกี่ยวนั้น แต่เดิมชาวไชยาใช้ "ตรูด" ปัจจุบันกำลังสูญหายไปและมีคนใช้น้อยมาก บางคนไม่สามารถใช้ตรูดได้แล้ว เพราะหันไปใช้เคียวสำหรับเก็บเกี่ยวเกือบทั่วไป
การทำไร่
แก้แต่เดิมทำกันประปรายทางแถบที่เป็นที่ราบสูงทางตะวันตกบริเวณเชิงเขา แต่ส่วนใหญ่เป็นการทำไร่แบบเลื่อนลอย
การทำสวน
แก้การทำสวนของชาวไชยาที่กำลังขยับขยายและกำลังทำกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันคือการทำสวนยางพารา ซึ่งทำกันมากทางตะวันตกและเขตติดต่ออำเภอท่าฉาง
การเลี้ยงสัตว์
แก้สัตว์ที่เลี้ยงกันมากและมีอยู่เกือบทุกตำบล คือ หมู เป็ด ไก่ วัว และควาย โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ เป็ดมีการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่และขนาดกลางอยู่หลายแห่ง ซึ่งนอกเหนือจากการเลี้ยงเป็นประจำบ้านจำนวนน้อยที่มีอยู่ไปทั่ว
การประมง
แก้เนื่องจากอาณาเขตทางด้านทางด้านตะวันออกของอำเภอไชยา ติดต่อกับทะเลคืออ่าวบ้านดอน ดังนั้นอาชีพอีกอย่างหนึ่งของชาวไชยาคือการประมง ซึ่งนับได้ว่าเป็นอาชีพที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการประกอบอาชีพการเกษตรเลย โดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่ริมทะเล ตั้งแต่เขตติดต่ออำเภอท่าชนะจนถึงเขตอำเภอท่าฉาง ต่างก็ยึดอาชีพการประมงเป็นอาชีพหลัก คือราษฎรตำบลตะกรบ พุมเรียง และเลม็ด แต่ที่หนาแน่นที่สุดได้แก่ราษฎรตำบลพุมเรียง ชาวไชยาทำการประมงด้วยวิธีต่าง ๆ กันออกไป ตั้งแต่แห อวน ขนาดเล็กริมน้ำตื้น จนถึงขนาดใช้เครื่องมือที่เกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่เหมือนกับการประมงทั่วไปของไทย ปัจจุบันอาชีพใหม่ของชาวประมงคือการเลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ และที่ได้รับผลแล้วที่ปากน้ำพุมเรียง อีกอย่างหนึ่งคือการทำนากุ้ง
การอุตสาหกรรม
แก้การอุตสาหกรรมเครื่องจักรแต่เดิมมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ 2 โรง ปัจจุบันมีเพียงโรงสีขนาดกลางและขนาดเล็ก อุตสาหกรรมในครัวเรือน มีทำกันหลายอย่าง แต่ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาและเป็นที่ยอมรับทั่วไปมี
- การเย็บหมวก แต่เดิมทำกันมากที่ตำบลพุมเรียง ปัจจุบันมีแพร่หลายไปหลายหมู่บ้าน โดยการเย็บแล้วส่งไปขายต่างจังหวัดส่วนที่จำหน่ายในท้องถิ่นมีน้อยลงกว่าเดิม
- การทอผ้าไหมผ้ายก ทำกันมากในท้องที่ตำบลพุมเรียง และผ้าไหมพุมเรียงก็เป็นผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมากอีกอย่างหนึ่งของอำเภอไชยา
- การทำไข่เค็ม นับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนอย่างหนึ่งที่กำลังมีชื่อเสียงทั่วประเทศ ทำกันมากในท้องที่ตำบลตลาดไชยาและบริเวณรอบ ๆ ตัวตลาดไชยา ปัจจุบันการทำไข่เค็มได้รับการสนับสนุนจากทางราชการ ดังนั้นการทำไข่เค็มจึงเริ่มขยายเข้าสู่โรงเรียน มีอยู่หลายโรงเรียนกำลังฝึกสอนให้นักเรียนทำไข่เค็มและเป็นสินค้าของโรงเรียนเพื่อหารายได้เข้าบำรุงการศึกษา
- การทำน้ำตาลโตนด ทำกันมากที่ตำบลทุ่งและนำตาลจากแหล่งนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนชาวไชยาถ้าพูดถึงน้ำตาลก็ต้อง “น้ำตาลบ้านทุ่ง” เพราะสีสวยปราศจากการปลอมปน หวานหอม เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เคยลิ้มรส
- การทำขนมที่มีชื่อเสียงของอำเภอไชยา ได้แก่ "ขนมกรุบ" และ "ขนมจั้ง" ซึ่งทำกันมากในบริเวณตลาดไชยา
- การค้าขายเป็นอาชีพที่ทำกันเฉพาะในตัวอำเภอและที่ตำบลพุมเรียง และของที่ทำการค้าขายส่วนใหญ่ได้แก่เครื่องอุปโภคบริโภคทุกชนิด
การเงิน
แก้ปัจจุบัน (ณ ปี พ.ศ. 2557) อำเภอไชยามีธนาคารเปิดให้บริการดังนี้
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาไชยา (ถนนรักษ์นรกิจ ต.ตลาดไชยา)
- ธนาคารออมสิน สาขาไชยา (ถนนรักษ์นรกิจ ต.ตลาดไชยา)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาไชยา (ถนนรักษ์นรกิจ ต.ตลาดไชยา)
- ธนาคารกรุงไทย สาขาไชยา (ถนนรักษ์นรกิจ ต.ตลาดไชยา)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาไชยา (เทสโกโลตัสไชยา ต.เวียง)
- ธนาคารกสิกรไทย สาขาไชยา (ตลาดใหม่ ถนนเอเชีย ต.เวียง)
โบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยว
แก้เนื่องจากไชยาเป็นเมืองเก่าแก่ ดังนั้นจึงมีสถานที่โบราณและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่หลายแห่ง เช่น
- พระบรมธาตุไชยา ตั้งอยู่ที่วัดพระบรมธาตุฯ ริมถนนใหญ่ทางเข้าอำเภอไชยา เป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสาริกธาตุแบบศรีวิชัย มีอายุประมาณ 1,200 ปี
- วัดเวียง ตั้งอยู่ตำบลตลาดไชยา บริเวณเคยเป็นเมืองเก่า เชื่อกันว่าเดิมเป็นวังของกษัตริย์ศรีวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 1726
- บ่อน้ำพุร้อน อยู่ที่ตำบลเลม็ด ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงเชิงเขาบ่อร้อนและน้ำพุร้อนผุดจาไต้ภูเขาตลอดเวลา อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส
- ป่าไทรงาม อยู่ที่ตำบลเลม็ด มีต้นไทรขึ้นหนาแน่น ดูจนคล้ายเป็นป่า มีแม่น้ำคลองไชยาตอนแยกไปคลองท่าปูนไหลผ่าน เป็นที่สวนที่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน
- สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลพุมเรียง ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ท้องที่ตำบลเลม็ด ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 เป็นสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ที่ในอุทยานที่สวยงามตามธรรมชาติ มีลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน เป็นที่สงบร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
- ถ้ำพระกฤษณะและรอยพระบาท ที่สวนโมกขพลาราม
- สวนโมกข์นานาชาติ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและอบรมธรรมะให้กับชาวต่างประเทศที่สนใจ อีกทั้งที่บริเวณใกล้เคียงจะมีบ่อน้ำพุร้อนให้ทุกท่านสามารถอาบได้
- หมู่บ้านพุมเรียง เป็นที่ตั้งเมืองไชยาเก่า ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 มาทางทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร ติดชายทะเล มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นหาดทรายบริเวณหาดแหลมโพธิ์ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตอนยกทัพมาปราบพระยานคร และเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 ตอนเสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้ วัดสวนโมกข์ (เก่า) เป็นสถานที่แรกที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้สร้างขึ้นก่อนที่จะย้ายไปยังที่ตั้งปัจจุบัน ในตัวตลาดมีการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมาก คนทั่วไปรู้จักในนาม "ผ้าไหมพุมเรียง" ลวดลายดอกต่าง ๆ บนผืนผ้าเป็นที่แปลกตาเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
- บ่อน้ำมูรธาภิเษก อยู่ที่ตำบลทุ่ง เป็นบ่อน้ำที่ใช้ในพระราชพิธีมูรธาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
**บ้านปากท่อ ตำบล เลม็ด มีต้นจามจุรี ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในบริเวณ โรงเรียนวัดจาย
มวยไชยา
แก้มวยไชยาเป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5-6 จนมีนักมวยจากไชยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นมวยมีชื่อ
มวยไชยาเริ่มมีระเบียบแบบแผนชัดเจนที่ตำบลพุมเรียง โดยนายมาชาวกรุงเทพฯ มาบวชที่วัดทุ่งจับช้างและสอนวิชามวยให้แก่ผู้ที่สนใจ ต่อมาพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยาในเวลานั้นพาลูกศิษย์ขึ้นไปชกมวยหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ มณฑลพิธีท้องสามหลวง กล่าวว่าทำให้ พระยาประวัติสุทธิกรณ์ (เจริญ ตุลยานนท์) เห็นลีลาเชิงหมัดมวยถึงกับอ้าปากค้างเลยที่เดียว จนทำให้นายปล่อง จำนงทองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นมวยมีชื่อ นอกจากนี้พระยาวจีฯ จัดให้มีการแข่งขันมวยในงานสมโภชพระบรมธาตุไชยาทุกปี บุตรธิดาของพระยาวจีฯ เช่น ชื่น ศรียาภัย เป็นผู้ส่งนักมวยจากไชยาขึ้นมาชกในกรุงเทพฯจนเป็นที่รู้จัก
เมื่อย้ายตัวเมืองไชยาจากตำบลพุมเรียงไปที่ตำบลตลาดไชยาดังในปัจจุบัน สถานที่ใหม่ที่ใช้จัดมวยคือสนามมวยเวทีพระบรมธาตุไชยา ในยุคนี้มีนักมวยเกิดขึ้นหลายคณะ แต่เมื่อเวทีมวยแห่งนี้สิ้นสุดลง วงการมวยไชยาก็เริ่มเสื่อมลง