เทศบาลตำบลตลาดไชยา

เทศบาลตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ตลาดไชยา)

ตลาดไชยา เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าทางด้านทิศเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเทศบาลมีเนื้อที่ประมาณ 29.64 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดไชยาทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเลม็ด มีประชากรโดยประมาณ 5,413 คน

เทศบาลตำบลตลาดไชยา
ทต.ตลาดไชยาตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทต.ตลาดไชยา
ทต.ตลาดไชยา
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลตลาดไชยาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (สำนักงานเทศบาล)
พิกัด: 9°23′28″N 99°12′3″E / 9.39111°N 99.20083°E / 9.39111; 99.20083พิกัดภูมิศาสตร์: 9°23′28″N 99°12′3″E / 9.39111°N 99.20083°E / 9.39111; 99.20083
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอไชยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด29.64 ตร.กม. (11.44 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด5,413 คน
 • ความหนาแน่น182.62 คน/ตร.กม. (473.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05840602
เว็บไซต์www.chaiyacity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ภาพตัวเมืองไชยา จากจุดชมวิวบนยอดเขานางเอ สวนโมกขพลาราม
ถนนวิชิตภักดี ย่านการค้าหลักของเมืองไชยา
ถนนรักษ์นรกิจ ถนนสายหลักสายหนึ่งของเมืองไชยา

ประวัติศาสตร์ แก้

ย้อนอดีตไปกว่าพันปี ที่นี่คือ “ อาณาจักรศรีวิชัย ” เคยรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมแห่งพุทธศาสนาอันผสมผสานอยู่ใน วัฒนธรรมจากอินเดียที่เดินทางเข้ามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ระหว่าง วัฒนธรรมด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เมืองไชยาเป็นเมืองหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตริย์ของอาณาจักรนครศรีธรรมราช เรียกชื่อ “ เมืองบันไทสมอ ” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เมืองไชยาอยู่ในความ ปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นหัวเมืองหนึ่งในเมือง 12 นักษัตร เมืองบันไทสมอใช้ตราลิง ( ปีวอก) เป็นตราประจำเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรีขึ้นฝ่ายกลาโหม แล้วยกไปขึ้นกับกรมท่า เช่นเดียวกับเมืองตะกั่วป่า แล้วได้ย้ายมาขึ้นกับฝ่ายกลาโหมอีกในตอนต้นสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2312 กองทัพเมืองกรุงยกลงไปปราบก๊กเจ้าพระยานคร โปรดให้หลวงนายศักดิ์ ( เจ้าพระยาจักรีแขก) เป็นแม่ทัพ ยกทัพบกผ่านเมืองปะทิว เมืองชุมพร ชาวเมืองอพยพหนีเข้าป่าสิ้น แต่ยังมีนายมั่น คุมสมัครพรรคพวกเข้ามาอ่อนน้อมหาแม่ทัพ จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาแต่งตั้งให้นายมั่นเป็นพระชุมพร ให้กะเกณฑ์พลอาสาสมัครร่วมกับกองทัพหลวง ครั้นมาถึงเมืองไชยา ปลัดเมืองไชยารวบรวมไพร่พลเข้ามาสวามิภักดิ์แก่แม่ทัพเพื่อเข้าร่วมกองทัพด้วย เมื่อทรงทราบก็โปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงปลัดเป็นพระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองไชยา ราชทินนามบรรดาศักดิ์ประจำตำแหน่ง เจ้าเมืองไชยา จึงมีชื่อเรียกว่า พระยาวิชิตภักดี ตั้งแต่นั้นมา

ในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2328 ครั้นเกิดศึกพระเจ้าปะดุง พม่ายกทัพมารุกรานหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีได้เมืองระนอง เมืองตระ ( กระบุรี) เมืองชุมพรได้โดยง่าย แล้วเผาเมืองชุมพรเสียก่อนที่จะยกลงมาตีเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชต่อไป ปรากฏว่าเมืองไชยาถูกพม่าเผาเสียในคราวนั้นด้วย

เข้าใจว่าหลังจากเมืองไชยาถูกพม่าทำลายเผาเมืองเสียหายยากที่จะปฏิสังขรณ์ จึงได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากบ้านเวียง ไปตั้งใหม่ที่ ชายทะเลนอกค่าย ตำบลพุมเรียง เนื่องจากบริเวณปากคลองพุมเรียง มีบ้านผู้คนหนาแน่น เป็นท่าเรือทั้งเรือประมงและเรือค้าขาย จึงเป็น ชุมชนที่เจริญมานาน เพราะสะดวกต่อการติดต่อค้าขายและการคมนาคมกับหัวเมืองอื่นๆ อยู่ใกล้ทะเลมาก ห่างเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร เท่านั้น และมีวัดเก่าอยู่ 2 – 3 วัด ที่สร้างมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา คือ วัดรอ ( สมุหนิมิต) วัดโพธาราม เป็นต้น

เมื่อวันที่ 26 กันยายน ร.ศ. 115 ( พ.ศ. 2439) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบว่าตามที่ได้มีกระแสพระราชดำริให้จัดหัวเมืองปักษ์ใต้ตอนเหนือเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น คือเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองหลังสวน เมืองกาญจนดิษฐ์ และเมืองกำเนิดนพคุณ ( บางสะพาน) ทั้ง 5 หัวเมืองรวมเข้าเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลชุมพร ดังนั้นเมืองในมณฑลชุมพรจึงคงมีเพียง 5 หัวเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพดำเนินการไป นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองคีรีรัฐนิคม ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับเมืองไชยา เพราะเหตุที่เมืองคีรีรัฐนิคมอยู่ฝ่ายน้ำริมข้างฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งอยู่ริมลำน้ำ เมืองไชยา ไปมาถึงกันง่าย พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ยกเกาะสมุย ซึ่งเคยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช และเกาะพะงันซึ่งเคยขึ้นกับเมืองไชยา รวมเป็นอำเภอเดียวกัน ให้ไปขึ้นแก่เมืองกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่ใกล้กว่าเมืองอื่นสามารถเดินทางไปมาติดต่อกันได้สะดวกขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน ร.ศ. 118 ( พ.ศ. 2442) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระบรมราชานุญาต รวมเมืองกาญจนดิษฐ์กับเมืองไชยาเข้าเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า “ เมืองไชยา ” เนื่องจาก 2 เมืองนี้เป็นเมืองใกล้ชิดติดต่อกันและไม่ใหญ่เท่าใดนัก ขอให้หลวงวิเศษภักดีข้าหลวงว่าราชการเมืองไชยา รักษาราชการต่อไปทั้ง 2 เมือง โดยให้ไปตั้งศาลากลางที่บ้านดอนหรือเมืองกาญจนดิษฐ์ ( ตัวเมืองสุราษฎร์ธานีปัจจุบัน) ส่วนเมืองไชยาเดิมซึ่งย้ายไปตั้งที่ตำบลพุมเรียงนั้นให้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพุมเรียงตามนามตำบล สาเหตุที่ให้คงชื่อเมืองไชยาไว้เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์สำคัญเก่าแก่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่ง

ในปีถัดมา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือลงวันที่ 3 เมษายน ร.ศ. 119 ( พ.ศ. 2443) กราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่าได้รับไปบอกพระยารัตนภักดี ข้าหลวงว่าราชการเมืองไชยาเสนอว่าในการที่จะรวมเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นเมืองไชยานั้น ควรยกศาลเมืองไชยาไปรวมตั้งอยู่ที่บ้านดอน และยกอำเภอไชยาขึ้นเป็นศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎรตามพระธรรมนูญศาลหัวเมืองก็พอจะระงับกิจทุกข์สุขของราษฎรเรียบร้อยได้ และยกคลังเมืองไชยาไปรวมอยู่กับคลังอำเภอ บ้านดอน การรับเงินที่เมืองไชยาปีหนึ่งเกินกว่า 50,000 บาท การรักษาพระราชทรัพย์แต่แห่งเดียวเป็นที่มั่นคงขึ้นทั้งเป็นการง่ายในการเบิกจ่ายทำบัญชีทั้งปวง และขอให้ยกที่ว่าการเมืองใชยาไปรวมอยู่ที่บ้านดอนพลางก่อนจนกว่าจะได้จัดการก่อสร้างขึ้นที่ตำบลท่าข้าม ( อำเภอพุนพินในปัจจุบัน) ที่เมืองไชยานั้นให้ปลัดอยู่ประจำรักษาราชการ ส่วนผู้ว่า-ราชการเมืองนั้นจะได้ออกตรวจราชการต่างๆ ทั่วไปทั้งบ้านดอนและ ไชยา พระยารัตนเศรษฐีจึงได้มีหนังสือตอบไปยังหลวงวิเศษภักดีว่าให้รีบจัดการไปตามความเห็นของหลวงวิเศษภักดีไปพลางๆ ก่อน แต่การศาลเมืองไชยานั้นให้ปรึกษากับพระศรีสัตยารักษ์ ข้าหลวงพิเศษให้เป็นที่ตกลงกัน

ในปี พ.ศ. 2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยาที่บ้านดอนว่าเมืองสุราษฎร์ธานี ส่วนชื่อเมืองไชยาให้กลับนำไปใช้เป็นชื่อของอำเภอพุมเรียง เพื่อรักษาชื่อเมืองสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไว้ ( เดิมเมื่อแรกย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนอกค่าย ตำบลพุมเรียงก็เรียกชื่อว่าเมืองไชยาอยู่ก่อนแล้ว

ครั้นถึง พ.ศ. 2478 ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอพุมเรียงกลับขึ้นมาตั้งที่บ้านดอนโรงทอง ตำบลทุ่ง ห่างจากบ้านเวียงประมาณครึ่งกิโลเมตรเศษ เนื่องจากทางบกมีรถไฟตัดผ่านการสัญจรสะดวกกว่าทางน้ำ ทางทะเลลดบทบาทความสำคัญลง ยิ่งในฤดูมรสุมลำบากมาก

ในปี พ.ศ. 2481 เมื่อมีระเบียบการเรียกชื่ออำเภอในทางการปกครองว่าอำเภอใดที่มีศาลากลางจังหวัดนั้นตั้งอยู่ ให้เรียกว่า อำเภอเมืองและให้มีชื่อตามชื่อจังหวัด อำเภอเมืองไชยาจึงต้องตัดคำว่า “ เมือง ” ออก อำเภอเมืองไชยาจึงเป็นอำเภอไชยา และแยกบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอออกจากตำบลทุ่ง ตั้งขึ้นเป็นตำบลตลาดไชยาอีก ตำบลหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2482 ดังที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2492 ตำบลตลาดไชยา ก่อตั้งขึ้นเป็น สุขาภิบาลตำบลตลาดไชยา มีเนื้อที่ 4.12 ตร.กม.

เมื่อปี พ.ศ. 2543 ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล มีเนื้อที่ 4.12 ตร.กม. เท่าเดิม

และเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้ปรับขยายเขตเทศบาล ทำให้มีเนื้อที่รวม 29.64 ตร.กม. ในปัจจุบัน

การคมนาคม แก้

เขตเทศบาลตำบลตลาดไชยา มีถนนสายหลักซึ่งเป็นย่านธุรกิจหลัก 3 สาย คือถนนรักษ์นรกิจ ถนนวิชิตภักดี และถนนชวนะนันท์ ซึ่งเป็นถนนสายแรกเริ่ม ที่ก่อสร้างขึ้นมากว่า 100 ปีแล้ว ปัจจุบันถนนทั้ง 3 สายมีปัญหาคือ พื้นที่คับแคบ ไม่สามารถขยายได้ ทำให้การจราจรติดขัดมาก

ส่วนด้านการขนส่งมวลชน ในเขตเทศบาลมีสถานีรถไฟไชยาเป็นสถานีรถไฟหลัก สถานีนี้เป็นสถานีหลักในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีขบวนรถจอรับส่งผู้โดยสารถึง 20 ขบวนต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีรถเมล์เล็ก หรือรถสองแถวให้บริการจากสถานีรถไฟไชยา ไปยังจุดต่างๆ อีกด้วย เช่น สายไชยา - พุมเรียง, สายไชยา - ท่าชนะ, สายไชยา - บ้านดอน เป็นต้น

สถานศึกษา แก้

สถานศึกษาในเขตตำบลตลาดไชยา ประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง และโรงเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 แห่ง ประกอบด้วย

ศาสนสถาน แก้

เนื่องจากตำบลตลาดไชยา เป็นเมืองโบราณที่มีความเจริญมานาน จึงมีศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ในเขตตำบลตลาดไชยานั้น มีศาสนสถานหลายแห่งด้วยกัน ประกอบด้วยวัด 8 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง สุสานจีน 1 แห่ง และกุโบร์ (สุสานมุสลิม) 1 แห่ง ได้แก่

วัด
มัสยิด
  • มัสยิดบ้านสงขลา
สุสานจีน
กุโบร์