วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนคร และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร | |
---|---|
พระบรมธาตุไชยา ปูชนียสถานสำคัญภายในวัด | |
ชื่อสามัญ | วัดพระธาตุไชยา |
ที่ตั้ง | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4011 ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท |
พระประธาน | พระเจ้าโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธรูปศิลา สกุลช่างไชยา |
กิจกรรม | นมัสการพระบรมธาตุไชยา |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
ลำดับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง
ระดับแรก(เริ่มต้น) วัดพระธาตุไชยา (วัดราษฎร์)
ระดับที่สอง วัดพระบรมธาตุไชยา พระอารมหลวง (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ)
ระดับที่สาม วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร)
ข้อมูล
แก้- พุทธศตวรรษที่ 13 - พุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยศรีวิชัย ได้สร้างวัดพระบรมธาตุไชยา วัดมี โบสถ์ หรือพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันตก
- วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นโบราณสถาน รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน
- พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ภาพเจดีย์พระบรมธาตุ เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองลูกเสือจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร
- สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง
- พระพุทธรูปทำด้วยศิลา สูง 104 เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบราชวงศ์คุปตะ สกุลช่างสารนาถ
- พุทธศตวรรษที่ 14 ได้สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) สองกรสำริด ประติมากรรมในชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) ภาคกลาง จารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลาง
- พุทธศตวรรษที่ 15 ได้สร้างพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา ศิลปะจามพุทธ
- สมัยอยุธยา ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาทราย ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา
ภาพประกอบ
แก้-
เจดีย์พระบรมธาตุไชยา
-
ลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูองค์พระบรมธาตุไชยา
-
ซุ้มประตูทางเข้าวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์