แมคโอเอส

ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์แอปเปิล
(เปลี่ยนทางจาก โอเอสเทน)

แมคโอเอส (อังกฤษ: macOS) ก่อนหน้าเรียกว่า แมคโอเอสเท็น (อังกฤษ: Mac OS X) ถึงปี 2554 และ โอเอสเทน (อังกฤษ: OS X) ถึงปี 2559 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในตระกูลแมคโอเอสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แกนกลาง ดาร์วิน (Darwin) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบยูนิกซ์ที่เป็นโอเพนซอร์ส และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ อควา (Aqua) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทแอปเปิล

macOS
ผู้พัฒนาแอปเปิล
เขียนด้วยภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี, Swift, ภาษาซี Edit this on Wikidata
ตระกูลยูนิกซ์
สถานะปัจจุบัน
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
Proprietary software/Closed source (บางส่วนเป็น ซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์ส)
วันที่ปล่อยให้
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์
24 มกราคม 2527 (รุ่นที่ 1-9)
24 มีนาคม 2544 (รุ่นที่ 10-ปัจจุบัน)
รุ่นเสถียรmacOS Sonoma 14.2.1 / 19 ธันวาคม ค.ศ. 2023 (2023-12-19)
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
IA-32, PowerPC (ทั้ง 32 และ 64 บิต), x86-64, ARM (Apple Silicon)
ชนิดเคอร์เนลHybrid
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายGUI (Aqua)
สัญญาอนุญาตProprietary EULA
เว็บไซต์Apple - macOS

แอปเปิลยังได้สร้างแมคโอเอสรุ่นปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในอุปกรณ์ของแอปเปิล 4 ตัวได้แก่ แอปเปิลทีวี ไอโฟน ไอพอดทัช และไอแพด โดยที่ไอโฟน และ ไอพอดทัชนั้นจะใช้รุ่นของแมคโอเอสที่เรียกว่า iOS ซึ่งระบบปฏิบัติการที่แก้ไขนี้จะมีแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไดรเวอร์และส่วนประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นจะถูกนำออกไป

ข้อมูลของแมคโอเอสเวอร์ชันต่างๆ

แก้
เวอร์ชัน โค้ดเนม วันเปิดตัว วันปล่อยสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ เวอร์ชันล่าสุด
Rhapsody เวอร์ชันสำหรับนักพัฒนา Grail1Z4 / Titan1U 7 มกราคม 2540 31 สิงหาคม 2540 DR2 (14 พฤษภาคม 2541)
Mac OS X Server 1.0 Hera ไม่ทราบ 16 มีนาคม 2542 1.2v3 (27 ตุลาคม 2543)
Mac OS X Developer Preview ไม่ทราบ 11 พฤษภาคม 2541[1] 16 มีนาคม 2542 DP4 (5 เมษายน 2543)
Public Beta Kodiak 15 พฤษภาคม 2543 13 กันยายน 2543 ไม่ทราบ
Mac OS X 10.0 Cheetah 9 มกราคม 2544 24 มีนาคม 2544 10.0.4 (4Q12) (22 มิถุนายน 2544)
Mac OS X 10.1 Puma 18 กรกฎาคม 2544[2] 25 กันยายน 2544 10.1.5 (5S60)

(6 มิถุนายน 2545)

Mac OS X 10.2 Jaguar 6 พฤษภาคม 2545[3] 24 สิงหาคม 2545 10.2.8 (3 ตุลาคม 2546)
Mac OS X 10.3 Panther 23 มิถุนายน 2546[4] 24 ตุลาคม 2546 10.3.9 (7W48) (15 เมษายน 2548)
Mac OS X 10.4 Tiger 4 พฤษภาคม 2547[5] 29 เมษายน 2548 10.4.11 (14 พฤศจิกายน 2550)
Mac OS X 10.5 Leopard 26 มิถุนายน 2549[6] 26 ตุลาคม 2550 10.5.8 (9L31a)

(5 สิงหาคม 2552)

Mac OS X 10.6 Snow Leopard 9 มิถุนายน 2551[7] 28 สิงหาคม 2552 10.6.8 (10K549)(25 กรกฎาคม 2554)
Mac OS X 10.7 Lion 20 ตุลาคม 2553[8] 20 กรกฎาคม 2554 10.7.5 (11G6) (19 กันยายน 2555)
OS X 10.8 Mountain Lion 16 กุมภาพันธ์ 2555[9] 25 กรกฎาคม 2555[10] 10.8.5 (12F2560) (13 สิงหาคม 2558)
OS X 10.9 Mavericks 10 มิถุนายน 2556[11] 22 ตุลาคม 2556 10.9.5

(13F1911) (18 กรกฎาคม 2559)

OS X 10.10 Yosemite 2 มิถุนายน 2557 16 ตุลาคม 2557 10.10.5 (14F2511) (19 กรกฎาคม 2560)
OS X 10.11 El Capitan 8 มิถุนายน 2558 30 กันยายน 2558 10.11.6 (15G31) (18 กรกฎาคม 2561)
macOS 10.12 Sierra 13 มิถุนายน 2559 20 กันยายน 2559 10.12.6

(16G2136) (26 กันยายน 2562)

macOS 10.13 High Sierra 6 มิถุนายน 2560 26 กันยายน 2560 10.13.6 (17G14042)

12 พฤศจิกายน 2563)

macOS 10.14 Mojave 4 มิถุนายน 2561 24 กันยายน 2561 10.14.6 (18G9323)

(21 กรกฎาคม 2564)

macOS 10.15 Catalina 3 มิถุนายน 2562 7 ตุลาคม 2562 10.15.7 (19H2026)

(20 กรกฎาคม 2565)

macOS 11.0 Big Sur 22

มิถุนายน 2563

12 พฤศจิกายน 2563 11.7.10 (20G1427)

(11 กันยายน 2566)

macOS 12.0 Monterey 8 มิถุนายน 2564 25 ตุลาคม 2564 12.7.2 (21G1924)

(11 ธันวาคม 2566)

macOS 13.0 Ventura 6 มิถุนายน 2565 24 ตุลาคม 2565 13.6.3 (22G436)

(11 ธันวาคม 2566)

macOS 14.0 Sonoma 6 มิถุนายน 2566 26 กันยาคม 2566 14.2.1 (23C71)

(19 ธันวาคม 2566)

macOS 15.0 Sequoia 11 มิถุนายน 2567 ปลายปี 2567

ชื่อเรียก

แก้

ครั้งก่อนในช่วงใช้ชื่อ OS X นั้น โดยตัวอักษร "X" หมายถึงเลขสิบในระบบโรมัน และอ่านออกเสียงว่า "เท็น" (Ten, แปลว่า "สิบ" ในภาษาอังกฤษ) แสดงถึงรุ่นที่ต่อมาจากแมคโอเอสตัวก่อนหน้าคือ แมคโอเอส 9 นอกจากนี้ตัวอักษร X ยังแสดงถึงความเป็นยูนิกซ์ (UNIX) ในตัวระบบปฏิบัติการด้วย

แอปเปิลเองได้มีวิธีการเรียกชื่อแมคโอเอสเท็นถึงสามวิธี

  • Mac OS X v10.4 บอกเฉพาะเลขรุ่น (หมายเหตุ: ต้องมีอักษร v ด้วยเสมอ)
  • Mac OS X Tiger บอกเฉพาะรหัสในการพัฒนา
  • Mac OS X v10.4 "Tiger" บอกทั้งเลขรุ่นและรหัสในการพัฒนา

สังเกตว่ารหัสในการพัฒนานั้นจะเป็นชื่อสัตว์ในตระกูลเสือ มาจนถึง OS X 10.8 "Mountain Lion"

แต่ในตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา OS X จึงได้ใช้ชื่อเรียกจากตระกูลเสือนั้น มาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเริ่มจาก OS X Mavericks ก่อน แล้วใช้แบบนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อจากนั้น ในงาน WWDC 2016 ทางบริษัทแอปเปิลได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก OS X เป็น macOS ให้สอดคล้องกับ iOS , tvOS , watchOS และสามารถเรียกได้ง่ายขึ้น ซับซ้อนน้อยลง แต่ยังคงใช้โค๊ดเนมในสถานที่ท่องเที่ยวที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย อยู่เช่นเคยโดยเริ่มต้นที่ macOS Sierra

แมคโอเอสเท็นรุ่นต่างๆ

แก้

เวอร์ชั่น 10.x (ยุคหน่วยประมวลผล PowerPC - อินเทล , Aqua UI)

แก้

Mac OS X Public Beta (Kodiak)

แก้

เปิดตัวต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2000 ในราคา $ 29.95 เพื่อที่จะรับฟังความเห็นจากผู้ใช้ เป็นการเปิดตัวอินเตอร์เฟซ Aqua ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก และแอปเปิ้ลได้ทำการเปลี่ยนแปลง UI หลายอย่างจากความคิดเห็นของลูกค้าที่ตอบกลับมา Mac OS X Public Beta หมดอายุและหยุดการทำงานในฤดูใบไม้ผลิ 2001

Mac OS X 10.0 (Cheetah)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : Mac OS X 10.0

วางจำหน่าย 24 มีนาคม พ.ศ. 2544 ได้รับคำชมในเรื่องความเสถียรและความสามารถ แต่มีปัญหาในด้านความเร็วในการทำงาน ราคาจำหน่าย 129 ดอลลาร์

Mac OS X 10.1 (Puma)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอสเท็น พูม่า

วางจำหน่าย 25 กันยายน พ.ศ. 2544 ไม่ได้วางจำหน่าย แต่แจกเป็นชุดอัพเกรดฟรีสำหรับ Cheetah เพิ่มความเร็วในการทำงาน และความสามารถอื่นๆ เช่น การเล่นดีวีดี

Mac OS X 10.2 (Jaguar)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : Mac OS X 10.2

วางจำหน่าย 23 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน หน้าตาแบบใหม่ และความสามารถ เช่น

Mac OS X 10.3 (Panther)

แก้

วางจำหน่าย 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 พัฒนาความสามารถด้านอื่นเพิ่มขึ้น โดยได้เพิ่มความสามารถเด่นมีดังนี้

  • Exposé - การแสดงหน้าต่างทำงานทั้งหมดในหน้าจอเดียว ทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนหน้าต่างทำงานได้อย่างรวดเร็ว
  • Fast User Switching
  • FileVault
  • เพิ่มการสนับสนุนซีพียู PowerPC 970 บน Apple Power Mac G5

Mac OS X 10.4 (Tiger)

แก้

กำหนดวางจำหน่าย 29 เมษายน พ.ศ. 2548 ความสามารถเด่นมีดังนี้

  • Spotlight
  • Dashboard
  • QuickTime 7
  • Automator
  • Front row

โดยเวอร์ชั่นนี้ ได้เพิ่มการรองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม x86-64 ของอินเทล ตั้งแต่เวอร์ชั่น 10.4.4 เป็นต้นไป พร้อมทั้งนี้ เป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่สนับสนุนซีพียู PowerPC 7xx บน Apple Mac G3

Mac OS X 10.5 (Leopard)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอสเท็น ลีโอพาร์ด

แมคโอเอสเทน เลเพิร์ด (มักเรียกผิดเป็น ลีโอพาร์ด) วางจำหน่ายในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีความสามารถเด่นที่ประกาศแล้วดังนี้

  • Time Machine
  • Spaces
  • Core Animation
  • Quicklook
  • Stack
  • Finder ใหม่ที่รวม Cover Flow view เข้าไป
  • ในตัวระบบปฏิบัติการ รองรับ 64-bit

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมอีกด้วย พร้อมทั้งนี้ เป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่สนับสนุนซีพียู PowerPC 970 บน Apple Power Mac G5 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่รองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม PowerPC

Mac OS X 10.6 (Snow Leopard)

แก้

แมคโอเอส สโนว์ เลเพิร์ด ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยหยุดการสนับสนุนสถาปัตยกรรม PowerPC และมีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมดังนี้

  • Dock Exposé
  • QuickTime X
  • Grand Central Dispatch
  • Safari 4
  • เขียนภาษาจีนโดยใช้ Trackpad ได้
  • ติดตั้งเร็วขึ้น 45%
  • ใช้พื้นที่น้อยลง 6GB
  • ปรับปรุงโค้ดกว่า 90%
  • เปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ 64 บิต อย่างสมบูรณ์
  • โปรแกรมทั้งหมดเปลี่ยนเป็น 64 บิต

Mac OS X 10.7 (Lion)

แก้

แมคโอเอส เท็น ไลออน ราคาจำหน่าย 29.99 ดอลลาร์สหรัฐ และแจกจ่ายไม่คิดเงินสำหรับผู้ซื้อรุ่น 10.6 ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 หรือหลังจากนั้น ซึ่งไม่ได้รับ แมคโอเอส เท็น รุ่น 10.7[12]

OS X 10.8 (Mountain Lion)

แก้

โอเอสเท็น เมาท์เท่น ไลอออน ราคาจำหน่าย 19.99 ดอลลาร์สหรัฐ และแจกจ่ายให้ผู้ซื้อแมคตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2555 หรือหลังจากนั้นที่ไม่ได้รับแมคโอเอสเท็น 10.8[14]

  • Game Center
  • แอพ Messages ใหม่ รองรับ iMessage
  • iCal เปลี่ยนเชื่อเป็น Calendar
  • แยกรายการที่ต้องทำออกมาจาก iCal เป็นแอพใหม่ชื่อ Reminders
  • รองรับ Documents in the Cloud ของ iWork
  • เพิ่มระบบ Notification Center แจ้งเตือนและสถานที่รวมการแจ้งเตือนทั้งหมด
  • รองรับบริการของประเทศจีน เช่น เพิ่ม Baidu ในเซิร์ชเอนจินของซาฟารี
  • เพิ่ม QQ, 163.com เข้าไปในระบบ Mail, Contacts และ Calendar
  • เพิ่ม Youku, Tudou, Sina Weibo เข้าไปใน share sheet

OS X 10.9 (Mavericks)

แก้

โอเอสเท็น 10.9 มาเวอริก แจกฟรีสำหรับผู้ใช้แมคที่ใช้ Mac OS X 10.6 Snow Leopard ขึ้นไป

  • แยกระบบหนังสือออกมาจาก iTunes เป็นแอพ iBooks และให้เปิดอ่านหนังสือจาก iBooks Store บน Mac ได้
  • เพิ่มแอพ Maps ระบบแผนที่ของแอปเปิล
  • iCloud Keychain ระบบเก็บรหัสผ่านของเว็บต่างๆ, บัตรเครดิต, รหัส Wi-Fi และส่งไปถึงอุปกรณ์ที่คุณใช้ทุกเครื่อง
  • ปรับปรุงระบบทำงานหลายหน้าจอ
  • การแจ้งเตือนแบบใหม่ สามารถจัดการงานต่างๆ ผ่านการแจ้งเตือนได้เลย เช่น ตอบข้อความ, รับสาย FaceTime, ลบอีเมล
  • เพิ่มระบบแท็บและแท็กให้ Finder ทำให้จัดการไฟล์ต่างๆ ได้สะดวกกว่าเดิม[15]

OS X 10.10 (Yosemite)

แก้

โอเอสเท็น 10.10 โยซิมิตี้ แจกฟรีสำหรับผู้ใช้แมคที่ใช้ Mac OS X 10.6 Snow Leopard ขึ้นไป

  • เปลี่ยนหน้าตาใหม่เหมือน iOS 7 ที่มีหน้าตาสวย ทันสมัย
  • เพิ่ม Today ใน Notification Center และสามารถใส่ widget เพิ่มได้ โดยสามารถดาวน์โหลด widget เพิ่มได้ที่ Mac App Store
  • Spotlight คลิกแล้วจะมาอยู่ตรงกลางหน้า desktop พร้อมค้นหาได้หลายที่ เช่น Wikipedia, App Store, iTunes Store, iBooks Store, เว็บไซต์ดังๆ, เวลาแสดงหนัง
  • iCloud Drive ทำให้เข้าถึงไฟล์บน iCloud ได้จากทุกที่ ทั้ง Mac, iPhone, iPad และ Windows
  • Safari ใช้ระบบเข้าเว็บแบบส่วนตัวเป็นรายหน้าต่างได้แล้ว, เพิ่มระบบค้นหา DuckDuckGo ที่จะไม่เก็บประวัติการค้นหาของผู้ใช้
  • Mail เพิ่มระบบ Markup ที่ไว้เซ็นหรือเขียนข้อความบนรูปภาพหรือไฟล์ PDF ได้จากในแอพ Mail, Mail Drop ระบบที่มีไว้เพื่อส่งไฟล์ที่ใหญ่แต่ต้องไม่เกิน 5GB
  • ระบบ Continuity ทำให้การทำงานระหว่าง iOS และ OS X ราบรื่น ซึ่งจะทำงานได้บน iOS 8 และ/หรือ OS X Yosemite ขึ้นไปเท่านั้น[16]

OS X 10.11 (El Capitan)

แก้

โดยเน้นปรับปรุงตรงที่ประสบการณ์การใช้งาน (Experience) และ ประสิทธิภาพ (Proformance)

  • เคอเซอร์จะใหญ่ขึ้น หากขยับเมาส์ไปเร็วๆ
  • Mail เพิ่ม gesture ปัดซ้าย-ขวาที่รายการอีเมล , เพิ่มเขียนเมลหลายแท็บ
  • Safari สามารถสั่ง pin site ได้ โดยการลากแท็บเข้ามาชิดขอบซ้ายมือ , เพื่มการควบคุมแท็บที่เปิดเสียงอยู่ ในขณะเล่นผ่านเสียง
  • Spotlight เพิ่มข้อมูลหลายอย่าง เช่น ผลกีฬา สภาพอากาศ
  • เพิ่มการจัดการหน้าต่าง , เพิ่มสามารถทำ split view (2 หน้าต่างพร้อมกัน) ได้บน Full Window
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพ ดังนี้
    • โหลดแอปพลิเคชัน เร็วขึ้น 1.4 เท่า
    • สลับแอปพลิเคชัน เร็วขึ้น 2 เท่า
    • โหลดเขียนอีเมลครั้งแรก เร็วขึ้น 2 เท่า
    • เปิดไฟล์เอกสาร (PDF) บนพรีวิว เร็วขึ้น 4 เท่า
  • เพิ่ม Metal API มาใช้แทนที่ OpenCL และ OpenGL โดยจะเพิ่ม
    • ประมวลผลภาพบนซีพียูเร็วขึ้น 50%
    • ประมวลผลภาพบนซีพียูประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น 40%
    • เรนเดอร์ภาพบนจีพียูเร็วกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กราฟิค[17]

macOS Sierra (10.12)

แก้

เวอร์ชั่นนี้ เป็นเวอร์ชั่นแรกที่เปลี่ยนซื่อจาก OS X เป็น macOS เพื่อให้มีการจัดระเบียบซื่อตาม iOS , watchOS และ tvOS

  • เพิ่มความสามารถบนระบบ Continuity
    • ความสามารถปลดล็อกอัตโนมัติ (Auto Unlock)
    • ความสามารถคัดลอกแบบข้ามอุปกรณ์ (Universal Clipboard)
  • iCloud Drive สามารถซิงค์เดสก์ท็อปได้ ไฟล์ต่างๆได้
  • ปรับปรุงการจัดการพื้นที่โดย
    • ย้ายไฟล์เก่าๆ ขึ้น iCloud โดยอัตโนมัติ
    • ลบไฟล์ที่ไม่ใช้งานโดยอัตโนมัติ เช่น แคช , ไฟล์อยู่ในถังขยะนานเกิน 60 วัน
  • เพิ่ม Apple Pay ให้ใช้จ่ายบนในเว็บได้
  • เพิ่มแท็บ เพื่อจัดการหน้าต่างของแอพต่างๆ
  • เพิ่ม Picture in Picture แสดงวิดีโอจากเว็บเป็นกรอบขนาดเล็ก เล่นอยู่ที่มุมจอ สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ง่าย
  • เพิ่ม Siri

macOS High Sierra (10.13)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอส ไฮ ซีเอรา

ซึ่งได้เปิดตัวมาในงาน WWDC 2017 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 โดยเน้นปรับปรุงในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ โดยปรับปรุงแอพบน Safari , Mail Photos และอื่น ๆ พร้อมทั้งนี้ ยังใช้ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ Apple File System (APFS) เป็นค่าเริ่มต้น , รองรับวิดีโอ ที่เข้ารหัสแบบ HEVC (H.265) , Metal API เป็นเวอร์ชัน 2

macOS Mojave (10.14)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอส โมฮาวี

macOS Mojave ได้เปิดตัวในงาน WWDC 2018 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2561 โดยมีการเพิ่ม Dark Mode , แอปที่มีใน iOS สามารถใช้กับ macOS ได้ (เบื้องต้นมี 4 แอปพลิเคชันคือ News, Stock, Voice Memo และ Home) , รองรับ Group FaceTime , ปรับปรุงหน้าจอ Mac App Store ใหม่ , ปรับปรุงการบันทึกหน้าจอ และสามารถบันทึกหน้าจอเป็นวีดีโอได้ ในเวอร์ชันนี้จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่รองรับแอพแบบ 32 บิต[18]

macOS Catalina (10.15)

แก้

macOS Catalina ได้เปิดตัวในงาน WWDC 2019 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2562 โดยได้เพิ่มฟิวเจอร์ดังต่อไปนี้

  • ได้ทำการแยก iTunes แตกออกเป็น 3 แอพ (โดยมี Apple Music , Podscast และ Apple TV ส่วนตัวจัดการ iPhone ไปอยู่ในที่ Finder)
  • รองรับ SideCar (คือการนำเอา iPad มาเป็นหน้าจอที่สองของ macOS)
  • เพิ่มฟีเจอร์สำหรับคนพิการ
  • เพิ่มแอพ Find My โดยสามารถค้นหาเครื่องแมคได้ แม้ว่าเครื่องแมคนั้นปิดอยู่ หรือเครื่องจะออฟไลน์อยู่ก็ตาม พร้อมเพิ่มความสามารถ Acitivation Lock
  • เพิ่ม Screen Time เพื่อช่วยจัดการใช้งานในเวลาหน้าจอ
  • มาพร้อม API ใหม่ ที่สามารถนำแอพจาก iPad มาทำเป็น macOS ได้ง่ายขึ้น ในที่มีชื่อว่า Project Catalyst[19][20]

เวอร์ชั่น 11 เป็นต้นไป (ยุคหน่วยประมวลผลแอปเปิลซิลิคอน)

แก้

macOS Big Sur (11)

แก้

เนื้อหาหลักดูที่ : แมคโอเอส บิ๊กเซอร์

ในงาน WWDC 2020 ในวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ได้มีการเปิดตัว macOS Big Sur ซึ่งเป็นรุ่นแรกได้ใช้เป็นเวอร์ชัน 11 โดยได้ทำการเปลี่ยนการออกแบบการเชื่อมต่อผู้ใช้ครั้งใหญ่ เพิ่มความปลอดภัยจากการเข้าใช้งานจากเบราว์เซอร์ Safari และปรับปรุงแอปพลิเคชันในแมคโอเอส นอกจากนั้น ยังเป็นรุ่นแรก ที่รองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM แอปเปิลซิลิคอน อย่างเป็นทางการ

macOS Monterey (12)

แก้

ในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ได้เปิดตัว macOS Monterey โดยได้เพิ่มโหมดโฟกัส และสามารถกำหนดหรือเปิดโหมดโฟกัสได้ทุกอุปกรณ์ , เพิ่มคำสั่งลัด (Shortcuts) , เพิ่มแสดงจุดสีเหลืองใน Control Center หากมีการใช้ไมโครโฟนอยู่ และสามารถตั้งค่าให้ไมโครโฟน โฟกัสที่ไหนได้ , เพิ่มโหมดภาพถ่ายบุคคล , Safari เพิ่มกลุ่มแท็บใหม่ และเพิ่มการซ่อนที่อยู่ไอพีของตัวเครื่อง ทำให้ผู้ให้บริการ และเจ้าของเว็บไซต์ไม่สามารถติดตามตัวได้[21][22]

หลังจากการเปิดตัวเวอร์ชั่นนี้ ได้มีการปรับดีไซน์ของ Safari ใหม่ให้เหลือแท็บเดียว หรือ Compact (จากเดิมที่แยก URL Bar กับ Tab Bar กัน) แต่พบว่าฝั่งผู้ใช้ และผู้ทดสอบที่ใช้ในรุ่นเบต้า กลับถูกพิพากวิจารณ์ในการปรับดีไซน์ ทำให้ต้องย้อนกลับไปเป็นแบบเดิม แต่สามารถเปิดโหมดกะทัดรัด (Compact) ได้เช่นเดิม[23]

ภาษา

แก้

แมคโอเอสได้มีรุ่นภาษาอื่นดังต่อไปนี้

อ้างอิง

แก้
  1. Davis, Jim (May 11, 1998). "OS X is the future for Apple". CNET. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  2. "Apple Previews Next Version of Mac OS X" (Press release). Apple. July 18, 2001. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  3. "Apple Previews "Jaguar", the Next Major Release of Mac OS X" (Press release). Apple. May 6, 2002. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  4. "Apple Previews Mac OS X "Panther"" (Press release). Apple. June 23, 2003. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  5. "Steve Jobs to Kick Off Apple's Worldwide Developers Conference 2004 with Preview of Mac OS X "Tiger"" (Press release). Apple. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  6. "Apple Executives to Preview Mac OS X "Leopard" at WWDC 2006 Keynote" (Press release). Apple. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  7. "Apple Previews Mac OS X Snow Leopard to Developers" (Press release). Apple. June 9, 2008. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  8. "Apple Gives Sneak Peek of Mac OS X Lion" (Press release). Apple. October 20, 2010. สืบค้นเมื่อ October 20, 2010.
  9. "Apple Releases OS X Mountain Lion Developer Preview with Over 100 New Features" (Press release). Apple. February 16, 2012. สืบค้นเมื่อ February 16, 2012.
  10. "Mountain Lion Available Today From Mac App Store" (Press release). Apple. July 25, 2012. สืบค้นเมื่อ July 25, 2012.
  11. "Live From Apple's WWDC 2013 Keynote" (Press release). TechCrunch. June 10, 2013. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.
  12. OS X Lion and Lion Server Up to Date Program
  13. Mac App Store
  14. Mountain Lion Releases; Apple Sends 'Used' Codes For Free Upgrade Customers
  15. NewsroomOpen Newsroom navigation Newsroom Latest News
  16. Latest News
  17. แอปเปิลเปิดตัว OS X El Capitan มาพร้อมกับฟีเจอร์แบ่งหน้าจอ Split Screen, Metal for Mac
  18. "เปิดตัว macOS ใหม่ "Mojave" พร้อมกับ Dark Mode และอื่นๆ" (Map). Beartai. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. {{cite map}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "Apple เผยตัวอย่าง macOS Catalina". Apple. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "WWDC 2019 : macOS 10.15 Catalina มาแล้วพร้อมลูกเล่นใหม่เพียบ". Sanook. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. Crew, iMod (2021-10-26). "macOS Monterey มาแล้ว! มีอะไรเด็ดบ้างไปชมกัน". iMoD.
  22. "แอปเปิลออกแบบหน้าจอ Safari ใหม่ รองรับ extension ทุกแพลตฟอร์ม | Blognone". www.blognone.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "แอปเปิลเปลี่ยนใจ ปรับดีไซน์แท็บ Safari ของ macOS 12 กลับมาใช้ดีไซน์เดิม | Blognone". www.blognone.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

แก้