สารบัญแฟ้มอิเกีย

(เปลี่ยนทางจาก แคตตาล็อกอิเกีย)

สารบัญแฟ้มอิเกีย (อังกฤษ: IKEA Catalogue หรือ IKEA Catalog; สวีเดน: Ikea-katalogen) เป็นสารบัญแฟ้มที่มีการตีพิมพ์รายปักษ์โดยบริษัทเฟอร์นิเจอร์และเครื่องแต่งบ้านสัญชาติสวีเดน อิเกีย สารบัญแฟ้มฉบับแรกตีพิมพ์เป็นภาษาสวีเดนในปี 1951[1] ถือกันว่าสารบัญแฟ้มของอิเกียนั้นเป็นเครื่องมือทางการตลาดชิ้นสำคัญของบริษัท และข้อมูลจากปี 2004 พบว่าการจัดพิมพ์สารบัญแฟ้มของอิเกียนั้นคิดเป็น 70% ของงบประมาณการตลาดประจำปี[2] ในปีงบประมาณ 2013 ทั่วโลกมีการตีพิมพ์สารบัญแฟ้มของอิเกียกว่า 208 ล้านฉบับ[3]

ปกสารบัญแฟ้มอิเกียภาษาไทยฉบับหนึ่ง

ในฉบับปี 2013 ได้มีการจัดพิมพ์รวม 62 รูปแบบที่ต่างกันสำหรับใช้ใน 43 ประเทศที่มีกิจการของอิเกีย[3] ฉบับปี 2010 มีการตีพิมพ์เป็นภาษาต่าง ๆ รวม 30 ภาษา[4]

ในเดือนธันวาคม 2020 อิเกียได้ประกาศยกเลิกการตีพิมพ์สารบัญแฟ้มลงหลังการตีพิมพ์รายปียาวนานกว่า 70 ปี[5]

การผลิตและการกระจาย แก้

สารบัญแฟ้มของอิเกียโดยทั่วไปประกอบด้วยราว 300 หน้าและมีสินค้า 12,000 ชิ้น จัดส่งทั้งทางไปรษณีย์และให้บริการที่สาขาของอิเกีย[6] แต่ละฉบับของสารบัญแฟ้มใช้เวลาในการพัฒนาราว 10 เดือนจากคอนเซปต์สู่ผลงานตีพิมพ์[3]

สารบัญแฟ้มส่วนใหญ่ผลิตโดย IKEA Communications AB ใน Älmhult ประเทศสวีเดน ที่ตั้งของสาขาแรกของอิเกียและที่ตั้งของ IKEA Communications ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสตูดิโอถ่ายภาพขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปเหนือ ด้วยพื้นที่มากกว่า 8,000 ตารางเมตร[1] ในปี 2012 สตูดิโอประกอบด้วยพนักงานจ้างเต็มเวลา 285 คน ในจำนวนนี้ประกอบด้วยช่างภาพ, ช่างไม้, มัณฑนากร และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่ช่วยสร้างสรรค์การถ่ายภาพ[3] สารบัญแฟ้มนั้นพิมพ์บนกระดาษปราศจากคลอรีนที่ 10-15% มาจากขยะหลังใช้งาน[7]

การพัฒนา แก้

บริษัทเริ่มทดลองใช้การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ในปี 2005 โดยสร้างภาพของเก้าอี้ไม้หนึ่งตัวที่เรนเดอร์ในคอมพิวเตอร์ แทรกไปในฉบับปี 2006 ที่ซึ่งหัวหน้าแผนกภาพของอิเกีย Anneli Sjögren ระบุว่าลูกค้าไม่มีใครสังเกตเห็นหรือรับรู้ว่าเก้าอี้ภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์[3] ในปี 2010 ได้มีภาพของห้องที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ภาพแรกปรากฏในสารบัญแฟ้ม[8] ในปี 2013 ภาพในสารบัญแฟ้ม, โบรชัวร์ และเว็บไซต์ของอิเกียกว่า 12% เป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์[3] และในปี 2014 ภาพผลิตภัณฑ์ 75% (กล่าวคือภาพสินค้าที่มีพื้นหลังเป็นสีขาว) และภาพที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ 35% บนช่องทางสื่อสารทั้งหมดของอิเกียสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ทั้งหมด[8]

ระบบความเป็นจริงเสริมได้ถูกนำเข้ามาใช้ในสารบัญแฟ้มของอิเกียฉบับปี 2013 ผ่านการสแกนสัญลักษณ์ที่ปรากฏในเล่มสารบัญแฟ้ม[9]

ไทป์เฟซ แก้

ในปี 2009 อิเกียได้เปลี่ยนไทป์เฟซที่ใช้ในสารบัญแฟ้มจากฟูทูราเป็นเวอร์ดานา เพื่อให้ในงานตีพิมพ์และเว็บไซต์เป็นไทป์เฟซเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่ออย่างมากพอควร[10][11][12]

รายชื่อฉบับ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "IKEA Catalogue printable facts" (PDF). IKEA United Kingdom. September 2003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2012. สืบค้นเมื่อ August 29, 2007.
  2. "IKEA student info". IKEA United Kingdom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2004. สืบค้นเมื่อ August 29, 2007.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Hansegard, Jens (August 23, 2012). "IKEA's New Catalogs: Less Pine, More Pixels". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2012. สืบค้นเมื่อ September 2, 2012.
  4. "Sustainability Report 2011" (PDF). IKEA. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ September 2, 2012.
  5. Ringstrom, Anna. "IKEA turns the page on catalogue after seven decades | The Guardian". www.theguardian.pe.ca.
  6. "Vanliga frågor och svar - Kundservice". www.ikea.com.
  7. "FAQ". IKEA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2012. สืบค้นเมื่อ September 2, 2012.
  8. 8.0 8.1 Parkin, Kirsty (June 24, 2014). "Building 3D with Ikea". CGSociety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2014. สืบค้นเมื่อ August 30, 2014.
  9. Baldwin, Roberto (July 20, 2012). "Ikea's Augmented Reality Catalog Will Let You Peek Inside Furniture". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2012. สืบค้นเมื่อ July 24, 2012.
  10. Abend, Lisa (August 28, 2009). "The Font War: Ikea Fans Fume over Verdana". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ October 30, 2019.
  11. Campbell, Mel; Wortsman, Jeremy (September 1, 2009). "The Full Fonty: Why Type Nerds Went Mental Over IKEA". Crikey. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
  12. Garfield, Simon (September 2, 2009). "Verdana: Ikea's flat-pack font". The Guardian. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-28. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  18. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ 2012-09-02.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  19. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-02.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  20. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-28. สืบค้นเมื่อ 2012-09-02.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้