อำเภอเชียงคำ

อำเภอในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.เชียงคำ)

เชียงคำ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา

อำเภอเชียงคำ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Kham
วัดพระนั่งดิน มีองค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนพระประธานในวัดอื่น ๆ เคยมีราษฎร์สร้างฐานชุกชีและอัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามอย่างไรก็ยกไม่ขึ้นจึงเรียกสืบต่อกันว่า พระเจ้านั่งดิน สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ หรือมีอายุกว่า 2,500 ปี
วัดพระนั่งดิน มีองค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนพระประธานในวัดอื่น ๆ เคยมีราษฎร์สร้างฐานชุกชีและอัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามอย่างไรก็ยกไม่ขึ้นจึงเรียกสืบต่อกันว่า พระเจ้านั่งดิน สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ หรือมีอายุกว่า 2,500 ปี
คำขวัญ: 
เมืองแห่งธรรมะ มีพระนั่งดิน ถิ่นทอน้ำไหล ผ้าทอไทลื้อ น้ำตกเลื่องลือ คะแนงน้ำมิน ป่าไม้ผืนดิน อุดมสมบูรณ์
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอเชียงคำ
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอเชียงคำ
พิกัด: 19°31′24″N 100°18′6″E / 19.52333°N 100.30167°E / 19.52333; 100.30167
ประเทศ ไทย
จังหวัดพะเยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด784.061 ตร.กม. (302.728 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด75,911 คน
 • ความหนาแน่น96.82 คน/ตร.กม. (250.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 56110
รหัสภูมิศาสตร์5603
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงคำ เลขที่ 418
หมู่ที่ 15 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 56110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เฮือนลื้อ อยู่ที่ บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ลักษณะเป็นบ้านไทลื้อโบราณ สร้างสมัยแม่แสงดา สมฤทธิ์ อายุ 17 ปี ซึ่งปัจจุบันแม่แสงดา อายุเข้า 87 ปี
ศิลปะบ้านโบราณแบบไทลื้อ (สิบสองปันนา) ที่นี่ยังมีชุดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของชาวไทลื้อได้เยี่ยมชมและอุดหนุน ใต้ถุนบ้านแม่แสงดายังทอผ้าแบบไทลื้อให้คนมาเยี่ยมได้ชมการทอผ้าไทลื้อ
วัดแสนเมืองมา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2527 รูปแบบของวิหารสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมของไทลื้อผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างลงตัว
แหล่งศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไตลื้อ และเป็นเรือนแห่งเดียวในจังหวัดพะเยาที่ยังมีความสมบูรณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมไตลื้อ เรือนแห่งนี้เป็นเรือนไม้ที่มีลักษณะยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ซึ่งหลังคาของเฮือนไตลื้อหลังนี้มีรูปแบบแตกต่างจากเฮือนไตลื้อในเมืองสิบสองปันนา (เมืองเชียงรุ้ง ประเทศจีน)

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

 
ภูมิประเทศในเขตตำบลฝายกวาง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาโดยมีภูเขาวางตัวทางทิศใต้และทิศตะวันตกโดยลาดเอียงเป็นพื้นราบทางตอนกลางถึงทิศเหนือ มีแม่น้ำแวนไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ และแม่น้ำลาวไหลจากทางทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกทำให้พื้นที่ราบมีความเหมาะสมแก่การทำการเกษตร เพาะปลูก ทำไร่ และสวน  
 
ค่ายขุนจอมธรรม หรือกรมทหารราบที่ 17 ถือกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางพื้นที่ ยุคสมัย และสถานการณ์ ที่มีความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย และระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  ซึ่งเป็นจุดผกผันด้านความมั่นคงของชาติอย่างรุนแรง

ประวัติ แก้

ความเป็นมาของอำเภอเชียงคำปรากฏในรูปแบบตำนาน 2 ตำนานในสมัยพุทธกาลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตามตำนานพระธาตุดอยคำ ฉบับวัดหนองร่มเย็น เมืองเชียงคำ มีนามเมืองเดิมว่าเชียงชะราว ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านคุ้ม หมู่ 6 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ พระยาผู้ปกครองเมืองได้สร้างพระธาตุไว้บนดอยนอกเมืองเพื่อล้างบาป ต่อมามีผู้พบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ในลำธารหลังดอย ดอยนั้นได้ชื่อว่า “ดอยคำ” พระธาตุบนดอยก็ชื่อว่า”พระธาตุดอยคำ” เมืองเชียงชะราวก็เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองเชียงคำ” แต่ตำนานพระเจ้านั่งดิน พญาผู้สร้างเมืองชื่อว่า “พญาคำแดง” และเมืองนั้นชื่อ “พุทธรส” ประชาชนชาวเมืองมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระพุทธรูปมีนามว่า “พระเจ้านั่งดิน” พระพุทธเจ้าทำนายว่าสืบไปภายหน้าเมืองจะเจริญรุ่งเรือง อุดมไปด้วยสินทรัพย์และจะได้ชื่อว่า “เมืองเชียงคำ”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยจัดระบบการปกครองแผ่นดินส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครั้งนั้นอำเภอเชียงคำอยู่ในแขวงน้ำลาว (รวมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายอยู่ด้วย) พื้นที่ในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน โดยมีเจ้าสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำแขวง ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ ณ วัดพระแก้ว หมู่ 6 บ้านเวียง ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ ต่อมาทางราชการได้ยุบและปรับปรุงแขวงน้ำลาว โดยจัดตั้งเป็นบริเวณน่านเหนือ มีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอเทิง และบางส่วนของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย และเมื่อปี พ.ศ. 2449 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวง ตำแหน่งเจ้าเมือง ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเหมือนกันทั่วประเทศ จัดตั้งจังหวัดเชียงราย แขวงน้ำลาวถูกยุบและแยกเป็นเมืองเทิง และเมืองเชียงคำ เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ตั้งพระยาพิศาลคีรี ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคำเป็นคนแรก

  • วันที่ 22 พฤศจิกายน 2479 ตั้งตำบลบ้านแวน แยกออกจากตำบลไชยพรม ตำบลหย่วน และตำบลลอ[4]
  • วันที่ 23 มกราคม 2481 รวมพื้นที่ตำบลเชียงแรง ตำบลสบบง ตำบลปง ตำบลวังเค็ม ตำบลบ้านแวน กับหมู่บ้านที่ 1-9,17 ตำบลในเวียง หมู่บ้านที่ 1-4 ตำบลไชยพรม และตำบลหย่วน แล้วจัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลหย่วนรวมพื้นที่ตำบลเมืองมิน กับหมู่บ้านที่ 10-16 ตำบลในเวียง หมู่บ้านที่ 5-8 ตำบลไชยพรม แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลเวียง รวมพื้นที่ตำบลดอนคาว ตำบลป่าสัก ตำบลทุ่งกล้วย แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลทุ่งกล้วย รวมพื้นที่ตำบลเมืองลอ และตำบลจุน แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลจุน และให้ยุบท้องที่ดอนคาว ยุบตำบลเชียงแรง ยุบตำบลเมืองลอ ยุบตำบลป่าสัก ยุบตำบลไชยพรม ยุบตำบลบ้านแวน ยุบตำบลเมืองมิน ยุบตำบลปง ยุบตำบลวังเค็ม ยุบตำบลสบบง และยุบตำบลในเวียง[5] เนื่องจากไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบลอยู่ต่อไป
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 แยกหมู่บ้านที่ 53-61 ตำบลหย่วน และหมู่บ้านที่ 9-20 ตำบลทุ่งกล้วย ตั้งเป็น ตำบลเชียงแรง กับโอนพื้นที่หมู่ 18-19, 21-28 (ในตอนนั้น) จากตำบลหย่วน ไปขึ้นกับตำบลเวียง กับแยกหมู่บ้านที่ 1-8 ตำบลทุ่งกล้วย และหมู่บ้านที่ 43-52 ตำบลหย่วน ตั้งเป็น ตำบลสบบง กับแยกหมู่บ้านที่ 30-35 ตำบลหย่วน และหมู่บ้านที่ 21-32 ตำบลทุ่งกล้วย ตั้งเป็น ตำบลเจดีย์คำ และยุบตำบลทุ่งกล้วย กับแยกหมู่บ้านที่ 13-18 ตำบลจุน ตั้งเป็น ตำบลลอ[6] และยุบพื้นที่ตำบลทุ่งกล้วย เนื่องจากไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบลอยู่ต่อไป
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงคำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลหย่วน[7]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลฝายกวาง แยกออกจากตำบลเวียง[8]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจุน ในท้องที่ตำบลจุน อำเภอเชียงคำ[9]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2501 ตั้งตำบลน้ำแวน แยกออกจากตำบลหย่วน[10]
  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2506 แยกพื้นที่ตำบลจุน และตำบลลอ จากอำเภอเชียงคำ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอจุน[11] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงคำ
  • วันที่ 4 พฤษภาคม 2508 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลจุน กิ่งอำเภอจุน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย และจัดตั้งสุขาภิบาลห้วยข้าวก่ำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลจุน[12]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอจุน อำเภอเชียงคำ เป็น อำเภอจุน[13]
  • วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลภูซาง แยกออกจากตำบลเชียงแรง[14]
  • วันที่ 12 กันยายน 2515 ตั้งตำบลร่มเย็น แยกออกจากตำบลเจดีย์คำ[15]
  • วันที่ 10 กรกฎาคม 2516 ตั้งตำบลทุ่งกล้วย แยกออกจากตำบลสบบง[16]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา[17]
  • วันที่ 5 กันยายน 2521 ตั้งตำบลแม่ลาว แยกออกจากตำบลฝายกวาง และตั้งตำบลเชียงบาน แยกออกจากตำบลหย่วน[18]
  • วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลอ่างทอง แยกออกจากตำบลน้ำแวน[19]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลสบบง ในท้องที่บางส่วนของตำบลสบบง[20]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2527 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านนาหนุน (ในขณะนั้น) ของตำบลเชียงแรง ไปตั้งเป็นหมู่ 14 ของตำบลภูซาง[21]
  • วันที่ 29 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลทุ่งผาสุข แยกออกจากตำบลเวียง[22]
  • วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านทราย ในท้องที่หมู่ 2-9 ตำบลเวียง[23]
  • วันที่ 12 กันยายน 2538 ตั้งตำบลป่าสัก แยกออกจากตำบลภูซาง[24]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลภูซาง ตำบลป่าสัก ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลเชียงแรง และตำบลสบบง จากอำเภอเชียงคำ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูซาง[25] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงคำ
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2541 กำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอภูซาง โดยกำหนดให้ตำบลเชียงแรง ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ตำบลภูซาง ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ตำบลสบบง ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ตำบลป่าสัก ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และตำบลทุ่งกล้วย ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน[26]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลเชียงคำ สุขาภิบาลสบบง และสุขาภิบาลบ้านทราย เป็นเทศบาลตำบลเชียงคำ เทศบาลตำบลสบบง เทศบาลตำบลบ้านทราย ตามลำดับ[27] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 มกราคม 2545 กำหนดเขตพื้นที่ตำบลน้ำแวน ให้มีความถูกต้อง โดยกำหนดให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน[28]
  • วันที่ 4 มิถุนายน 2545 แยกพื้นที่หมู่ 8 บ้านร่องส้าน ตำบลร่มเย็น มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 20 บ้านร่องส้านใหม่ และแยกพื้นที่หมู่ 6 บ้านนาเจริญ ตำบลอ่างทอง มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 13 บ้านนาเจริญ และแยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านแวนพัฒนา ตำบลเชียงบาน มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 11 บ้านฝั่งแวน[29]
  • วันที่ 5 กันยายน 2545 แยกพื้นที่หมู่ 7 บ้านบุญยืน ตำบลเจดีย์คำ มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 12 บ้านบุญชัย และแยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านทุ่งเย็น ตำบลแม่ลาว มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 14 บ้านทุ่งเย็น และแยกพื้นที่หมู่ 8 บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 16 บ้านฐานพัฒนา[30]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2546 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 15 บ้านหนองใหม่ ตำบลฝายกวาง เป็น หมู่ 15 บ้านหนองลื้อ[31]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลสบบง รวมกับเทศบาลตำบลสบบง และยุบสภาตำบลเวียง รวมกับเทศบาลตำบลบ้านทราย[32]
  • วันที่ 6 มิถุนายน 2550 จัดตั้งศาลจังหวัดเชียงคำ ในท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน และกิ่งอำเภอภูซาง[33]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ เป็น อำเภอภูซาง[34]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลฝายกวาง เป็น เทศบาลตำบลฝายกวาง[35]
  • วันที่ 5 เมษายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหย่วน เป็น เทศบาลตำบลหย่วน[36]
  • วันที่ 30 กันยายน 2557 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลบ้านทราย เป็น เทศบาลตำบลเวียง[37]
  • วันที่ 9 มิถุนายน 2559 แยกพื้นที่หมู่ 13 บ้านประชาภักดี ตำบลร่มเย็น มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 22 บ้านห้วยเดื่อดอยนาง[38]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2562 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 8 บ้านกาญจนา ตำบลแม่ลาว เป็น หมู่ 8 บ้านวังถ้ำแก้ว[39]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเชียงคำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 137 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[40]
1. หย่วน   Yuan 15 5,930 10,568
2. น้ำแวน   Nam Waen 14 2,993 7,026
3. เวียง   Wiang 10 2,275 5,432
4. ฝายกวาง   Fai Kwang 17 3,780 8,797
5. เจดีย์คำ   Chedi Kham 13 2,483 5,767
6. ร่มเย็น   Rom Yen 24 4,154 12,522
7. เชียงบาน   Chiang Ban 11 3,214 7,417
8. แม่ลาว   Mae Lao 14 2,284 6,499
9. อ่างทอง   Ang Thong 13 2,863 8,386
10. ทุ่งผาสุข   Thung Phasuk 7 1,383 3,497

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเชียงคำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเชียงคำ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหย่วน
  • เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงทั้งตำบล (สุขาภิบาลบ้านทรายเดิม)[23][27][37]
  • เทศบาลตำบลฝายกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายกวางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหย่วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหย่วน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชียงคำ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำแวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์คำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์คำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่มเย็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงบานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผาสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งผาสุขทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (29): 751. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2449
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและรวมกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 2041. วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2455
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลบ้านแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2241. วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3449–3457. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2483
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2773–2778. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 38-39. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กับอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภออาจสามารถ อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง และอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (98 ง): 2964–2977. วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (14 ง): 221–222. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยข้าวก่ำ กิ่งอำเภอจุน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (37 ง): 1344–1346. วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2508
  13. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอพาน กิ่งอำเภอป่าแดด และกิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2451–2463. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2513
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพาน และอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (135 ง): 2307–2312. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2515
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพะเยาและอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (81 ง): 2099–2103. วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
  17. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (92 ง): 2887–2891. วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2730–2732. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2526
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสบบง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (167 ง): 3858–3859. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (95 ง): 2262–2267. วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ และอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (151 ง): 8371–8378. วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534
  23. 23.0 23.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านทราย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-71. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเชียงคำและอำเภอจุน จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (73 ง): 37–45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2538
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูซาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 93 ง): 373–387. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2541
  27. 27.0 27.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (1 ง): 46–52. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-13. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545
  29. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน (งวดที่ ๑)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (45 ง): 142–172. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2545
  30. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้านประจำปี ๒๕๔๕ (งวดที่ ๒)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (72 ง): 81–101. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2545
  31. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านในท้องที่อำเภอเชียงคำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (67 ง): 125. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2546
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 10–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  33. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (26 ก): 8–10. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550
  34. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09. วันที่ 24 สิงหาคม 2550
  35. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ฝายกวาง เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  36. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหย่วน เป็น เทศบาลตำบลหย่วน". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
  37. 37.0 37.1 เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลบ้านทราย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็น เทศบาลตำบลเวียง
  38. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (44 ง): 186–188. วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  39. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (97 ง): 70. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
  40. ประชากรรายหมู่บ้าน-ตำบล ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้