อำเภอสามพราน

อำเภอในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.สามพราน)

สามพราน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด รองจากอำเภอเมืองนครปฐม มีแม่น้ำนครชัยศรีไหลผ่าน ได้รับความเจริญจากกรุงเทพมหานครในด้านรถโดยสารประจำทาง ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรรมากมาย

อำเภอสามพราน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sam Phran
วัดดอนหวาย
คำขวัญ: 
เมืองสามนายพราน พุทธสถานวัดไร่ขิง งามยิ่งสวนสามพราน ถิ่นฐานผลไม้ น้ำใจงดงาม ลือนามตลาดดอนหวาย เกรียงไกรนายร้อยตำรวจ ประกวดราชินีช้าง
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอสามพราน
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอสามพราน
พิกัด: 13°43′24″N 100°13′0″E / 13.72333°N 100.21667°E / 13.72333; 100.21667
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด249.347 ตร.กม. (96.273 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด217,415 คน
 • ความหนาแน่น871.94 คน/ตร.กม. (2,258.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73110,
73160 (เฉพาะตำบลอ้อมใหญ่),
73210 (เฉพาะตำบลทรงคนอง บางกระทึก บางเตย และไร่ขิง),
73220 (เฉพาะตำบลกระทุ่มล้ม)
รหัสภูมิศาสตร์7306
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสามพราน เลขที่ 1
หมู่ที่ 7 ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอสามพรานตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่ออำเภอ

แก้

มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าเดิมท้องที่เหล่านี้เป็นป่ารกชัฏ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งเป็นที่ชุมนุมของช้างโขลงใหญ่ด้วย ช้างโขลงนี้ชอบลงมาหากินและเหยียบย่ำจนเส้นทางกลายเป็นทางน้ำและลำคลอง จนในที่สุดชาวบ้านในสมัยนั้นได้เรียกกันว่า "คลองบางช้าง" และในบริเวณนั้นก็ได้กลายเป็นชื่อเรียกตำบลมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ "ตำบลบางช้าง" สำหรับโขลงช้างที่หากินในบริเวณเขตบางช้างนั้น หัวหน้าโขลงช้างเกิดตกมัน ดุร้ายมาก และได้สร้างความเสียหายโดยออกอาละวาดทำลายพืชผลของชาวบ้านจนชาวบ้านทนไม่ไหว ได้ร่วมมือกันปราบเจ้าช้างตกมันเชือกนั้น แต่ทว่าช้างตกมันเชือกนี้มีกำลังเหลือหลาย ชาวบ้านไม่สามารถปราบได้ถึงแม้จะพยายามสักเพียงใด

ในขณะนั้นได้มีนายพรานสามคนเดินทางมายังคลองปากลัด (ปัจจุบันเรียกว่า "วัดท่าข้าม") ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเขตตำบลบางช้างมากนัก นายพรานสามคนได้เดินทางลัดคลองท่านาไปยังบริเวณที่โขลงช้างนั้นอาศัยอยู่ นายพรานทั้งสามเปรียบเสมือนอัศวินม้าขาวของชาวบ้านคลองบางช้าง ได้ทำการปราบช้างตกมันเชือกนั้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญและความสามัคคี จนในที่สุดก็สามารถปราบช้างตกมันได้สำเร็จ ชาวบ้านจึงได้เรียกบริเวณที่นายพรานทั้งสามปราบช้างได้สำเร็จว่า "สามพราน" ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ตำบลสามพราน"

ประวัติศาสตร์

แก้

ในอดีตอำเภอสามพรานนั้นมีชื่อเรียกว่า อำเภอตลาดใหม่ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขึ้นในที่ดินของพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงครามรามภักดีสุริยะพาหะ (อี้ กรรณสูต) ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นเรียกว่าตลาดใหม่

ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ทำการไปสร้างใหม่ในตำบลสามพราน เนื่องจากที่ทำการเดิมคับแคบ ให้บริการประชาชนได้ไม่สะดวก พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสามพราน ตามชื่อสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลนครชัยศรี ต่อมาปี พ.ศ. 2474 ทางราชการยุบมณฑลนครชัยศรีลง อำเภอสามพรานจึงขึ้นอยู่กับเมืองราชบุรีอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2476 ได้ยุบมณฑลทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร อำเภอสามพรานจึงได้ขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม ตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการของราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476

ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ถึงปัจจุบัน (เรียงตามปี)

  • ในปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้มีคำสั่งโอนตำบลท่าไม้ ตำบลบางยาง ตำบลซูกั้ง (หนองนกไข่) และตำบลอ้อมน้อย อำเภอสามพราน ไปขึ้นกับอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองใหม่ แยกออกจากตำบลสามพราน ตำบลบางช้าง และตำบลท่าตลาด ตั้งตำบลยายชา แยกออกจากตำบลสามพราน และตำบลท่าตลาด ตั้งตำบลท่าข้าม แยกออกจากตำบลสามพราน ตั้งตำบลบางเตย แยกออกจากตำบลบางกระทึก ตำบลทรงคนอง และตำบลไร่ขิง ตั้งตำบลหอมเกร็ด แยกออกจากตำบลทรงคนอง และตำบลท่าตลาด ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลอ้อมใหญ่[1]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลสามพราน ในท้องที่บางส่วนของ ตำบลสามพราน ตำบลคลองใหม่ ตำบลท่าตลาด และตำบลยายชา[2]
  • วันที่ 5 มีนาคม 2506 ขยายเขตพื้นที่สุขาภิบาลสามพราน ให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น[3]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนหวาย ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางกระทึก และตำบลบางเตย[4]
  • วันที่ 24 กันยายน 2508 ยุบสุขาภิบาลดอนหวาย และเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน ให้ครอบคลุมทั้งอำเภอสามพราน[5]
  • วันที่ 14 กันยายน 2519 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน คล้ายกับแบบปี 2506[6]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2524 จัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมใหญ่ ในพื้นที่ตำบลอ้อมใหญ่ และบางส่วนของตำบลบ้านใหม่[7]
  • วันที่ 1 มกราคม 2527 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 (ที่มีพื้นที่อยู่ในพุทธมณฑล) ของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน ไปขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี (ในขณะนั้น)[8]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสามพราน และสุขาภิบาลอ้อมใหญ่ เป็นเทศบาลตำบลสามพราน และเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ตามลำดับ

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอสามพรานแบ่งการปกครองเป็น 16 ตำบล 137 หมู่บ้าน ดังนี้

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[9]
1. ท่าข้าม Tha Kham
6
10,502
2. ทรงคนอง Song Khanong
6
6,587
3. หอมเกร็ด Hom Kret
6
8,380
4. บางกระทึก Bang Krathuek
8
14,679
5. บางเตย Bang Toei
7
7,156
6. สามพราน Sam Phran
9
14,118
7. บางช้าง Bang Chang
11
8,325
8. ไร่ขิง Rai Khing
14
34,564
9. ท่าตลาด Tha Talat
10
16,300
10. กระทุ่มล้ม Krathum Lom
9
28,847
11. คลองใหม่ Khlong Mai
7
12,570
12. ตลาดจินดา Talat Chinda
11
7,944
13. คลองจินดา Khlong Chinda
14
11,203
14. ยายชา Yai Cha
6
8,802
15. บ้านใหม่ Ban Mai
5
10,441
16. อ้อมใหญ่ Om Yai
8
18,121

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอสามพรานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสามพราน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสามพราน ตำบลท่าตลาด ตำบลคลองใหม่ และตำบลยายชา
  • เทศบาลเมืองไร่ขิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่ขิงทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระทุ่มล้มทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมใหญ่ทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลบ้านใหม่
  • เทศบาลตำบลบางกระทึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระทึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรงคนองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหอมเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอมเกร็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามพราน (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตลาด (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหม่ (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดจินดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจินดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองจินดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยายชา (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่)

การคมนาคม

แก้

ถนน

แก้

ถนนสายสำคัญในอำเภอสามพราน ได้แก่

ระบบขนส่ง

แก้

อำเภอสามพราน มีรถโดยสารประจำทางหมวด 1 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และเอกชน ดังนี้

  • สาย 81 หมู่บ้านกลาโหม - ท่าราชวรดิฐ (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 84 วัดไร่ขิง - คลองสาน (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 123 สวนสามพราน - ท่าราชวรดิฐ (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 163 ศาลายา - BTS สนามกีฬาแห่งชาติ (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 515 เซ็นทรัล ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ไทยสมายล์บัส)
  • สาย 515E (4-71E) เซ็นทรัล ศาลายา - ทางด่วน - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ขสมก.)
  • สาย 539 อ้อมน้อย - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เอกชน)
  • สาย 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา - ถนนตก (สมาร์ทบัส
  • สาย 556 วัดไร่ขิง - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ขสมก.)
  • สาย 4-70E เซ็นทรัลศาลายา - BTS หมอชิต (ขสมก.)

สถานที่สำคัญ

แก้

วัดในอำเภอสามพราน

แก้

วัดในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย

  • วัดไร่ขิง (มงคลจินดาราม)
  • วัดนครชื่นชุ่ม
  • วัดเพลินเพชร
  • วัดปรีดาราม (ยายส้ม)
  • วัดวังน้ำขาว
  • วัดบางช้างเหนือ
  • วัดจินดาราม
  • วัดราษฎร์ศรัทธาราม
  • วัดทรงคนองวัดญาณเวศกวัน
  • วัดดอนหวายวัดเชิงเลน
  • วัดบางช้างใต้
  • วัดเทียนดัด
  • วัดเดชานุสรณ์
  • สุสานวัดนักบุญเปโตร
  • วัดสรรเพชญ
  • วัดดงเกตุ
  • วัดหอมเกร็ด
  • วัดคลองอ้อมใหญ่
  • วัดอ้อมใหญ่
  • วัดสิรินธรเทพรัตนาราม
  • วัดธรรมปัญญารามบางม่วง
  • วัดท่าพูด
  • วัดท่าข้าม

โรงเรียนในอำเภอสามพราน

แก้

โรงเรียนในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย

  • โรงเรียนวัดหอมเกร็ด (ไพศาลประชานุกูล)
  • โรงเรียนปรีดารามวิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านหอมเกร็ด
  • โรงเรียนบ้านตากแดด
  • โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาราม
  • โรงเรียนบ้านฉางโรงเรียนวัดบางช้างเหนือ (นครแสงโสภานุเคราะห์)
  • โรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ (ฉิน เกตุ อ่อนอุทิศ)
  • โรงเรียนวัดจินดาราม
  • โรงเรียนบ้านคลองใหม่ (พรเอิบดิลกราษฎร์บำรุง)
  • โรงเรียนบ้านหัวอ่าว (ก๊วยสมบุญราษฏร์บำรุง)
  • โรงเรียนบ้านพาดหมอน
  • โรงเรียนบ้านคลองจินดา
  • โรงเรียนวัดท่าข้าม (ประสานมงคลราษฎร์)
  • โรงเรียนวัดทรงคนอง (กิมไน้บำรุงวิทย์)
  • โรงเรียนวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)
  • โรงเรียนบ้านท่าตลาด
  • โรงเรียนวัดบางช้างใต้ (กิตติวิทยากร)
  • โรงเรียนบ้านเพลินวิทยา
  • โรงเรียนวัดปรีดาราม
  • โรงเรียนสกลวิทยา
  • โรงเรียนเทศบาล๑บ้านสามพราน(นครสาระผดุงวิทย์)
  • วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
  • โรงเรียนบ้านบางม่วง (ประชารังสิต)
  • โรงเรียนบ้านคลองลัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร)
  • โรงเรียนเบญญาพัฒน์

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

โรงพยาบาลในอำเภอสามพราน

แก้

1.โรงพยาบาลสามพราน[10]

2.โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์[11]

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอสามพราน

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [1] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 110-111. 17 กันยายน 2498.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (32 ง): 871–872. 2 เมษายน 2506.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอนหวาย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (83 ง): 2223–2224. 1 กันยายน 2507.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และยุบสุขาภิบาลดอนหวาย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (84 ง): 2480–2481. 5 ตุลาคม 2508.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (126 ง): 2833–2835. 12 ตุลาคม 2519.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (90 ง): 1728–1730. 9 มิถุนายน 2524.
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสามพราน กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (206 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. 31 ธันวาคม 2526.
  9. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  10. http://hospital.moph.go.th/sampran/home.html
  11. http://www.metta.go.th/