โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา

โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา (อังกฤษ: Watraikhing Wittaya School) (อักษรย่อ: ว.ข., W.R.K.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ก่อตั้งโดยพระครูมงคลวิลาส (เฉย กิตติธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง มีเนื้อที่ 37 ไร่ 2 ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง ตั้งอยู่ที่ 53 หมู่ 2 ถนนไร่ขิง-ทรงคนอง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
ที่ตั้ง
53 หมู่ 2 ถนนไร่ขิง-ทรงคนอง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ข. / WRK
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญรักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา22 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระครูมงคลวิลาส (เฉย รอดอนันต์)
เขตการศึกษาสพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1001730603
ผู้อำนวยการนายสมเกียรติ ปทุมสูติ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี   ฟ้า-ขาว
เพลงมาร์ช ว.ข. เกรียงไกร
ต้นไม้ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์
เว็บไซต์www.wrk.ac.th
บริเวณสนามกีฬา

ประวัติโรงเรียน

แก้

การก่อตั้งโรงเรียน

แก้

พระครูมงคลวิลาศ (เฉย รอดอนันต์) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พร้อมด้วยประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมมือร่วมใจก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น เปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 โดยมีฐานะเป็นโรงเรียนราษฎร์ชื่อว่า “โรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษา” มีพระครูมงคลวิลาศ (เฉย รอดอนันต์) เป็นองค์อุปถัมภ์ นายสุวรรณ อุบลศรี เป็นเจ้าของโรงเรียน นายถวิล โปราณานนท์ เป็นครูใหญ่คนแรก เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดไร่ขิงเป็นที่เรียน เมื่อมีนักเรียนมากขึ้นก็ไปอาศัยอาคารชั่วคราว เช่น โรงมุงจากบ้าง โรงลิเกบ้างเป็นที่เรียนจนถึง พ.ศ. 2499 รวมเวลา 10 ปีเต็ม

ในปี พ.ศ. 2500 พระครูมงคลวิลาศ (เฉย รอดอนันต์) ได้จัดหาที่เรียนให้ใหม่ โดยต่อเติมเรือนปั้นหยา 2 ชั้น ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดไร่ขิง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดไร่ขิงสุนทรอุทิศ) ให้เป็นที่เรียน และแต่งตั้งนายธีระ เหล็กเพชร เป็นครูใหญ่แทนนายถวิล โปราณานนท์ ที่ขอลาออก จนถึงปี พ.ศ. 2502 นายธีระ เหล็กเพชร ขอลาออก จึงแต่งตั้งนายวิจิตร พร้อมมูล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน จนถึงปี พ.ศ. 2510 ได้มีการเริ่มต้นปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษาอย่างขนานใหญ่ โดย พระราชปัญญาภรณ์ (ปัญญา อินทปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (สมณศักดิ์ชั้นยศในขณะนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินแปลงใหม่เนื้อที่ 18 ไร่ สร้างอาคารเรียน 3 ชั้น แบบคอนกรีตทรงไทยประยุกต์ ขนาด 24 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง พร้อมด้วยอาคารประกอบต่างๆ มีโรงอาหาร-หอประชุม 1 หลัง ห้องสุขาชาย 1 หลัง ห้องสุขาหญิง 1 หลัง เจาะบ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ สร้างถังน้ำบาดาล 1 ถัง ใช้เวลาดำเนินการจนถึงปี พ.ศ. 2514 จึงแล้วเสร็จ โดยมีพระราชปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาส นายเลี้ยน ปัถวี กรรมการวัด นายฉลวย เปรมสัตย์ธรรม ตัวแทนวัดเป็นเจ้าของโรงเรียน นายทวี สุจจิตจูร ครูผู้จัดการโรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการวัดไร่ขิง เป็นผู้ควบคุมดำเนินการก่อสร้างและได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งในที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ต่อมาภายหลังพระราชปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมให้โรงเรียนจนมีเนื้อที่อาณาเขตรั้วโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 37 ไร่ 2 งาน

พ.ศ. 2516 พระราชปัญญาภรณ์ (ปัญญา อินทปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ในฐานะองค์อุปถัมภ์โรงเรียนได้ประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อขอความเห็นที่จะโอนกิจการของโรงเรียนนี้ให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขยายการศึกษาออกสู่ท้องถิ่งชนบทอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมเห็นชอบด้วย จึงทำเรื่องขอโอนไปยังกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้รับการโอนโรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษามาเป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา และเปลี่ยนชื่อใหม่ นามว่า "โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา" โดยมีนายวิจิตร พร้อมมูล รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมา กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งนายพิศณุ รัตนสุพร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2517 โดยขณะนั้นมีนักเรียน 11 ห้องเรียน จำนวน 369 คน ครู 23 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน

พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดไร่ขิง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเปิดป้ายนาม "โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา" เพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป นับเป็นเกียรติประวัติสูงยิ่งของโรงเรียนและนำความปลาบปลิ้มปิติยินดีมาสู่ชาวไร่ขิง ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

ตลอดเวลาที่นายพิษณุ รัตนสุพร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้รับความร่วมมือจากคณะครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า นักเรียนในขณะนั้น และชุมชนวัดไร่ขิงช่วยกันพัฒนาและปรับปรุงโรงเรียนในทุกๆด้าน ทำให้โรงเรียนเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว จนได้เลื่อนตำแหน่งจากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับ

ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562 พระเทพศาสนาภิบาล (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (สมณศักดิ์ชั้นยศในขณะนั้น) เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดป้าย "อาคารอเนกประสงค์พระเทพศาสนาภิบาล" และพิธีทำบุญเลี้ยงพระ 41 ปี โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา

อาคารต่างๆ

แก้
อาคาร การใช้งาน จำนวนชั้น
อาคาร 1 อาคารเรียน 3 ชั้น
อาคาร 2 อาคารเรียน 3 ชั้น
อาคาร 3 อาคารเรียน 3 ชั้น
อาคาร 4 อาคารเรียน 3 ชั้น
อาคาร 5 อาคารเรียน 7 ชั้น
อาคาร 6 อาคารเรียน 4 ชั้น
ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ห้องสมุด 1 ชั้น
หอประชุมเอนกประสงค์ หอประชุม 1 ชั้น
ศูนย์ดนตรีไทยพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ห้องซ้อมดนตรีไทยและวงดนตรีลูกทุ่ง 1 ชั้น
อาคารคุณแม่ชีสนั่น จารุวรรโณ ห้องสำหรับทำกิจกรรม To Be Number One - YC 1 ชั้น

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายวิจิตร พร้อมมูล (รักษาการครูใหญ่) พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2517
2 นายพิษณุ รัตนสุพร พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2527
3 นายประสก มนุญวงศ์ พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2533
4 นายทรงศิลป์ชัย เทียนประเสริฐ พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2536
5 นายถวิล บุญภักดี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537
6 นายบุรี แก้วเล็ก พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538
7 นายจีระศักดิ์ ไพศาล พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
8 นายวันชัย เศรษฐกร พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544
9 นายวรพจน์ นาคนคร พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2547
10 นายสุนทร สุมาลย์โรจน์ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
11 นายองอาจ ตรีชั้น พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2556
12 นายมนัส ชัยยะ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2559
13 นายวิวัฒน์ ชูศรีจันทร์ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562
14 นางสาวรุ่งชีวา สุขศรี พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2565
15 นายสมเกียรติ ปทุมสูติ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้