วัดดอนหวาย
วัดดอนหวาย หรือ วัดคงคารามดอนหวาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านโคกหวาย ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เดิมชื่อ วัดโคกหวาย เพราะสร้างวัดบริเวณเนินสูงที่มีต้นหวายจำนวนมาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดคงคารามดอนหวาย" และ "วัดดอนหวาย" คำว่า คงคา มาจากการที่วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน
วัดดอนหวาย | |
---|---|
วัดดอนหวาย | |
ชื่อสามัญ | วัดดอนหวาย, วัดคงคารามดอนหวาย, วัดโคกหวาย |
ที่ตั้ง | เลขที่ 52 หมู่ที่ 5 ถนนพุทธมณฑล สาย 6 ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อวิสาหาร |
เจ้าอาวาส | พระเมธีธรรมานันท์ (สำเริง ธมฺมานนฺโท) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดดอนหวายสร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับวัดไร่ขิง บริเวณวัดเดิมเป็นที่ตั้งของโรงหีบอ้อยซึ่งมีชาวจีนเป็นเจ้าของ ภายหลังได้ยกที่ดินให้สร้างวัดจำนวน 9 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ผู้ริเริ่มสร้างวัดคือ สมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) โดยใช้ช่างจากอยุธยาและประชาชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2349 ต่อมาเจ้าคุณธรรมราชานุวัตร (อาจ) ดำเนินการสร้างวัดจนเสร็จ ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระเมธีธรรมานันท์ (สำเริง ธมฺมานนฺโท)[1]
ประชาชนมักมาไหว้ขอพรหลวงพ่อวิไลเลิศซึ่งประดิษฐานเป็นองค์ประธานภายในอุโบสถ รวมถึงหลวงพ่อวิสาหาร พระพุทธรูปปางมารวิชัยซึ่งประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีค่อนข้างสูง ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นพระประธานภายในวิหาร ด้านซ้ายและขวามีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรพระอัครสาวก ข้างวิหารมีเจดีย์รูปเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองอยู่ทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้มีเจดีย์ทรงลังกาฐานสูงฐานมียักษ์แบก วัดยังมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ที่ศาลาด้านข้างตลาดริมน้ำ[2]
นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงวัดยังมีตลาดน้ำดอนหวายซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดคงคารามดอนหวาย". เทศบาลตำบลบางกระทึก.
- ↑ "ชิมของอร่อย ช้อปของดี ริมแม่น้ำท่าจีน ที่ "ตลาดดอนหวาย"". ผู้จัดการออนไลน์.