หวาย
หวาย เป็นพืชที่อยู่ในเผ่าหวาย (Calameae)[1] พบทั่วไปในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเชีย ทั่วโลกมีหวายเกือบ 600 ชนิด เฉพาะในประเทศไทย มีหวายเกือบ 60 ชนิด เช่น หวายโคก หวายดง หวายน้ำผึ้ง เป็นต้น[2]
หวาย | |
---|---|
Daemonorops draco | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | Arecales Arecales |
วงศ์: | ปาล์ม (พืช) Arecaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยหวาย Calamoideae |
เผ่า: | หวาย Calameae Kunth, 1831 |
ลักษณะโดยทั่วไปของหวายเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อยตระกูลปาล์ม ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่ มีกาบหุ้มต้น มีปล้อง และมีหนามแหลม มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็กๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่งๆ มีใบย่อยราว 60 - 80 คู่ ออกดอกเป็นช่อ สีขาวปนเหลือง ผลค่อนข้างกลม เปลือกเป็นเกล็ด ลูกอ่อนเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ผลแก่เปลือกสีเหลือง เปลือกล่อน เนื้อแข็ง รสเปรี้ยวอมฝาด
การใช้ประโยชน์
แก้หวายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย ในจังหวัดสกลนครและขอนแก่น มีการปลูกหวายเชิงการค้า นิยมนำส่วนลำต้นที่สูงและมีความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษมาสานเป็นตะกร้อ เครื่องเรือน ลูกหวายอ่อนใช้กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกะเปลือกออกแล้วนำไปทำส้มตำ หน่อหวายใช้ทำอาหาร เช่น แกงอ่อม ซุบหน่อหวาย ยำ ข้าวเกรียบและหวายทอดกรอบ หวายบางชนิดในผลมีเรซินสีแดงเรียกเลือดมังกร ซึ่งใช้เป็นยาในสมัยโบราณและใช้ย้อมสีไวโอลิน [3] ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ใช้หน่อหวายเป็นอาหารเช่นกัน
สกุล
แก้อ้างอิง
แก้- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. หวาย ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 259
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ หวาย ที่วิกิสปีชีส์