ซุบ เป็นคำนามในภาษาไทยถิ่นอีสาน หมายถึง ชื่ออาหารอีสานชนิดหนึ่งจำพวกยำ เรียกชื่อตามสิ่งของที่นำมาประกอบเป็นหลัก เช่น ซุบหน่อไม้ ซุบเห็ด[1] ซุบมะเขือ ซุบบักมี่ (ขนุนอ่อน) ซุบเห็ดกระด้าง (เห็ดขอนไม้ตากแห้ง นำมาต้มให้อ่อนนุ่ม) การทำซุบจะไม่นิยมให้มีรสเผ็ดมากนัก

ซุบ
ซุบหน่อไม้
มื้ออาหารหลัก
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักผักต่าง ๆ น้ำปลาร้า น้ำปลา ข้าวคั่ว งาคั่ว พริกป่น สะระแหน่ ต้นหอม
ซุบมะเขือ

สันนิษฐานว่า คำว่า "ซุบ" มาจากคำว่า "ชุบ" หมายถึง จุ่มหรือจิ้ม คือการนำผักมาจิ้มแจ่ว โดยแจ่วมีส่วนผสมเป็นปลาร้าและพริก ผักที่นิยมนำมาทำซุบ เช่น หน่อไม้สดต้มขูดฝอย ขนุนอ่อน มะเขือต้ม ผักเม็ก ผักติ้ว[2] หากเป็นซุบหน่อไม้ จะใช้หน่อไม้ขูดเส้นต้มในน้ำคั้นใบย่านาง

ส่วนผสมอื่นในการทำซุบ ได้แก่ น้ำปลาร้า เนื้อปลาต้มโขลก ข้าวคั่วโขลก งาคั่ว คลุกเคล้าผสมกัน ไม่นิยมใส่พืชที่ให้รสเปรี้ยวจัด เช่น มะนาว มะขาม ใส่หอมแดงซอย พริกป่น (บ้างใส่พริกสด)[3] โรยด้วยต้นหอมซอยหยาบ ๆ ใบสัง และใบผักชีฝรั่ง และสะระแหน่เด็ดเป็นใบ ๆ[4] มักรับประทานโดยนำข้าวเหนียวลงไปจิ้มหรือชุบแล้วทานพร้อมกัน

อ้างอิง แก้

  1. "ซุบหน่อไม้ (๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
  2. "อาหาร, อีสาน, ซุป, เนี่ยน, ต้ม, คำ, ป่น".
  3. พิชญาดา เจริญจิต. "เล่าเรื่อง อาหารอีสาน". เทคโนโลยีชาวบ้าน.
  4. "ทำไมเรียก "ซุบหน่อไม้" ทั้งที่เมนูฮิตในร้านส้มตำนี้ไม่เหมือน soup แบบ "ซุปฝรั่ง"". ศิลปวัฒนธรรม.