หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เป็นโอรสของหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ กับ หม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ จิตรพงศ์ (ดิศกุล) โดยหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เริ่มต้นจากชีวิตในวัง ไปสู่โลกแห่งการศึกษาในยุคกลางเก่ากลางใหม่ ของอังกฤษ จวบจนกลับมารับราชการการทำงานด้านวัฒนธรรมที่มีความสำคัญยิ่งนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาแก้ไข
หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆดังนี้[1]
- ชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนราชินี
- ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- Bachelor of Arts with Honours (ศิลปศึกษา) University of Cambridge ประเทศอังกฤษ
- Master of Arts (ศิลปศึกษา) University of Cambridge ประเทศอังกฤษ
- Diploma in Architecture (สถาปัตยกรรมศาสตร์) University of Cambridge ประเทศอังกฤษ
- ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ครอบครัวแก้ไข
หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พิศพัฒน์ รัชนี มีบุตรธิดาสามคน ได้แก่
- หม่อมหลวงสุธานิธิ จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515
- รองศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงจิตตวดี จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2520
- หม่อมหลวงตรีจักร จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 สมรสกับนางกวิตา จิตรพงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม กิตติอำพน) มีบุตรสองคนคือ
1.เด็กชายรถจักร จิตรพงศ์ ณ อยุธยา 2.เด็กหญิงนิธฐา จิตรพงศ์ ณ อยุธยา
การทำงานแก้ไข
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เริ่มเข้ารับราชการในกรมศิลปากร, อาจารย์ที่วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาปนิก ช่างภาพ, หัวหน้างานสำรวจและโครงการที่กองสถาปัตยกรรม ชีวิตราชการเจริญก้าวหน้าตามลำดับ จนสุดท้ายหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ 08/10/2545 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งนักบริหารระดับ 11 (หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์) โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นักบริหาร 11) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย
นอกจากนี้หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 วรรคสอง บัญญัติให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง และทำหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม[2]
หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ยังดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิมนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[3]
ในพระราชพิธีออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวันเชิญพระโกศออกพระเมรุ ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันเสาร์ที่ 15 พ.ย.2551 ประยูรญาติผู้ใกล้ชิด ซึ่งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมส่งเสด็จในริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องราชอิสริยยศตั้งแต่ริ้วที่ 1-6 โดยหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ได้ร่วมอัญเชิญเครื่องราชอิสริยยศ ชั้น มหาวชิรมงกุฎ[4]
นอกจากนี้หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ยังเป็นนักประพันธ์และนักวิชาการด้านวัฒนธรรม โดยได้เขียนหนังสือและตำราไว้มากมายหลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น ก้าวเข้าสู่ควอร์เตอร์สุดท้ายแห่งชีวิต หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ โดยนำเสนอเรื่องราวชีวประวัติของหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมคนแรกในยุคปัจจุบัน ท่านถือกำเนิดอยู่ในราชสกุลจิตรพงศ์ ซึ่งเป็นทายาทและผู้สืบสายสกุลรุ่นที่สามเพียงคนเดียวของปูชนียบุคคลถึงสองพระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในเล่มนี้จะกล่าวถึงข้อเท็จจริงและความทรงจำในอดีตตลอดช่วงชีวิตเริ่มจากชีวิตในวัง ไปสู่โลกแห่งการศึกษาในยุคกลางเก่ากลางใหม่ ของอังกฤษ จวบจนกลับมารับราชการการทำงานด้านวัฒนธรรมที่มีความสำคัญยิ่งนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน, จิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ แปลโดย ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2545 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2560 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2539 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.)[8] สืบราชตระกูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ https://hris.parliament.go.th/ss_detail.php?ssp_id=20241&lang=th
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/D/133/27.PDF
- ↑ ไฟล์:///C:/Users/HPAIOPC07/Downloads/2188-7145-1-PB.pdf
- ↑ https://www.moe.go.th/moe/upload/hotnews/htmlfiles/4891-8157.html
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00177223.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00117203.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/048/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4 พฤษภาคม 2539