หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์
หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2537) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐาร่วมพระบิดาและพระมารดา 4 พระองค์
หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 |
สิ้นชีพตักษัย | 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 (79 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ จิตรพงศ์ |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ หม่อมราชวงศ์กัลยา ติงศภัทิย์ หม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ จันทรเสน |
ราชสกุล | จิตรพงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
พระมารดา | หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายงั่ว ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 เป็นพระโอรสลำดับที่ 8 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลำดับที่ 4 อันประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม งอนรถ ) มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 4 พระองค์ คือ [1]
- หม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร จิตรพงศ์ (พ.ศ. 2448 - พ.ศ. 2513) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าตระหนักนิธิผล ไชยันต์ (พ.ศ. 2439 - พ.ศ. 2473)
- หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (พ.ศ. 2451 - พ.ศ. 2548)
- หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ (พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2539) ทรงสมรสกับหม่อมจักลิน ดูบัวส์
- หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ (พ.ศ. 2459 - 2558)
หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์เดียวที่มิได้มีพระนามลงท้ายด้วย 'ใจ' เช่นพระเชษฐาทั้งสอง (คือหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ และหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์) เหตุที่พระบิดาประทานพระนามพระโอรสว่า เพลารถ เนื่องจากเมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงโต จิตรพงศ์ ตั้งครรภ์ หม่อมเจ้าแดง งอนรถ บิดาของหม่อมราชวงศ์หญิงโตได้ทูลขอพระโอรสที่อยู่ในครรภ์จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เนื่องจากหม่อมเจ้าแดงไม่มีผู้สืบราชสกุล แต่ต่อมา หม่อมวัน งอนรถ หม่อมในหม่อมเจ้าแดง งอนรถได้ให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์เล็ก งอนรถ ทำให้ราชสกุลงอนรถมีผู้สืบราชสกุล แต่เพื่อมิให้ผิดคำสัตย์ที่ทรงให้ไว้กับหม่อมเจ้าแดง งอนรถ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงประทานพระนามแก่พระโอรสองค์นี้ว่า เพลารถ
เมื่อชันษายังไม่ครบสิบชันษา หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ได้ทูลขอว่าจะผนวชกับพระบิดา สมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้ผนวช ซึ่งหม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ได้ไปจำพรรษา ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ทรงรอบรู้ในพระบาลีอย่างแตกฉาน และได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ให้เป็นหนึ่งในกรรมการแม่กองบาลีสนามหลวงด้วย
ด้วยความรอบรู้ในพระบาลี หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเคยเทศนาสอน 'หลาน' คือโอรสธิดาในหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ กับหม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร ไชยันต์ (จิตรพงศ์) เมื่อหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ ถึงชีพิตักษัยในปีพุทธศักราช 2473 เรื่อง "กตัญญูกถา" ซึ่งมีเนื้อความเป็นที่จับใจแก่ผู้ที่ได้ฟังเป็นอันมาก[2]
ในปี พ.ศ. 2474 สามเณรหม่อมเจ้าเพลารถ ได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ 3 ประโยค เป็นพัดยศพัดหน้านางพื้นตาดเหลืองล้วน ปักดินเลื้อม[3]
นอกจากนี้หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ยังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา กัณฑ์ "อตฺตสมฺมาปณิธิกถา" ในงานพระศพพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เพื่อ พ.ศ. 2472 อีกด้วย[4]
ต่อมาเมื่อชันษายี่สิบปี ใน พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเป็นนาคหลวง ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม เวลา 16.00 น. จึงเสด็จโดยรถยนต์หลวงมาอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เสร็จพิธีแล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ขณะนั้นทรงกรมพระ) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงประเคนเครื่องบริขาร[5] ต่อมาทรงเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงชรามากแล้ว ประกอบกับเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงทรงลาสิกขา
หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[6]
การทำงาน
แก้หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเข้าทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ในทำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ดังนี้[7]
15 มีนาคม 2487 เสมียน บริษัทไฟฟ้าสยาม
1 มกราคม 2493 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีใหญ่ ไฟฟ้ากรุงเทพ
1 มกราคม 2503 หัวหน้าแผนก แผนกสารบรรณ กองบัญชี การไฟฟ้านครหลวง
20 เมษายน 2503 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง กองบัญชี
1 ธันวาคม 2503 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง ควบคุมงานงบประมาณเงินกู้
10 สิงหาคม 2504 รองผู้อำนวยการกอง กองการบัญชีและการเงิน
ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการบัญชีและการเงิน การไฟฟ้านครหลวง
ครอบครัว
แก้หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ ดิศกุล (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2544) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเจิม ดิศกุล ณ อยุธยา มีโอรสธิดา 3 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ (เกิดวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (ดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2547), กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม[8]สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พิศพัฒน์ รัชนี [9] มีบุตรธิดาสามคน ได้แก่
- หม่อมหลวงสุธานิธิ จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงจิตตวดี จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2520
- หม่อมหลวงตรีจักร จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 สมรสกับนางกวิตา จิตรพงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม กิตติอำพน) มีบุตรสองคนคือ
- เด็กชายรถจักร จิตรพงศ์ ณ อยุธยา
- เด็กหญิงนิธฐา จิตรพงศ์ ณ อยุธยา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์กัลยา ติงศภัทิย์ (รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [10]) (เกิดวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2492) สมรสกับนายจาริต ติงศภัทิย์ (บุตรนายจิตติ ติงศภัทิย์) [11] มีธิดาหนึ่งคนคือ
- นางสาวรมณียา ติงศภัทิย์ เกิดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2523
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ จันทรเสน (7 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543) สมรสกับ ดร.อภิชัย จันทรเสน มีบุตรสามคน ได้แก่
- นายอภิชน จันทรเสน เกิดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2523
- นายอภิราม จันทรเสน เกิดวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2527
- นายอภิโชค จันทรเสน เกิดวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535
สิ้นชีพิตักษัย
แก้หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 สิริพระชันษา 79 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2537 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ พ.ศ. 2537
- ↑ รายนามพระภิกษุสามเณรเปรียญที่ได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ แผนกทรงตัง พุทธศักราช 2474 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/700.PDF
- ↑ ธรรมสมาคม: เทศนาในงานพระศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา รวม 2 เล่ม 144 กัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และ สมเด้จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตต์ขัตติยนารี โปรดให้พิมพ์ในงานพระเมรุท้องสนามหลวง มีนาคม พ.ศ. 2472
- ↑ "หมายกำหนดการ ทรงผนวชและบวชนาคหลวง กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0 ง): 1084–1085. 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2477. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ. 2537
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมสร้างแหล่งสืบสานวัฒนธรรมไทยยุคโลกาภิวัตน์ เก็บถาวร 2005-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย, 16 กรกฎาคม 2545
- ↑ ม.ร.ว.กัลยา (จิตรพงศ์) ติงศภัทิย์ ๘๔ ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2002-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย, 22 มกราคม 2545
- ↑ [1] เก็บถาวร 2010-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย