หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์

หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ หรือ ท่านผู้หญิงโต จิตรพงศ์ หม่อมในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และเป็นผู้ขอพระราชทานราชสกุล "งอนรถ"[1]

หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์
เกิดหม่อมราชวงศ์โต งอนรถ
12 ธันวาคม พ.ศ. 2426
เสียชีวิต2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (74 ปี)
คู่สมรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
บุตร6 องค์
บิดามารดาหม่อมเจ้าแดง งอนรถ
หม่อมวัน งอนรถ ณ อยุธยา

ประวัติ

แก้

หม่อมราชวงศ์โต เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2426 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าแดง งอนรถ (โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ-ต้นราชสกุลงอนรถ) กับ หม่อมวัน เนื่องจาก หม่อมเจ้าแดง และหม่อมวัน มีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คนแต่ได้สิ้นชีพไปตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือเพียงคนเดียวที่อยู่มาจนโต จึงได้ชื่อว่า "โต" และมีน้องชายหนึ่งคนคือ พันเอกหม่อมราชวงศ์เล็ก งอนรถ (สมรสกับเฉลา งอนรถ ณ อยุธยา มีบุตร 7 คน)[2]

เมื่ออายุได้ 7 ขวบก็ได้เข้าอยู่ในพระบรมมหาราชวังกับหม่อมเจ้าหญิงอ่าง โกเมน ซึ่งทรงมีหน้าที่เป็นพนักงานเครื่องนมัสการ คือ ควั่นธูปเทียนสำหรับใช้ในราชการ จึงได้รับการอบรมสั่งสอนในวิชาการด้านนี้มาจากหม่อมเจ้าหญิงอ่างด้วย นอกจากนั้นหม่อมเจ้าหญิงอ่างยังทรงอบรมโตในด้านความประพฤติและกิริยามารยาทอุปนิสัยอย่างเข้มงวด

หม่อมเจ้าหญิงอ่างทรงสนิทสนมคุ้นเคยกันมากกับพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพรรณราย พระมารดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีตำหนักที่ประทับในบริเวณวังของพระโอรสที่ตำบลท่าพระ หม่อมเจ้าหญิงอ่างเคยเสด็จออกมาประทับกับพระองค์เจ้าหญิงพรรณราย และ หม่อมราชวงศ์โตก็ได้ตามเสด็จด้วย พระองค์เจ้าหญิงพรรณรายโปรด หม่อมราชวงศ์โต จึงตรัสขอจาก หม่อมเจ้าหญิงอ่าง เมื่อทรงได้รับความเห็นชอบจาก หม่อมเจ้าแดงแล้ว หม่อมเจ้าหญิงอ่างก็ทรงยก หม่อมราชวงศ์โตถวายแด่พระองค์เจ้าหญิงพรรณราย หม่อมราชวงศ์โตจึงออกจากพระบรมมหาราชวังมาอยู่ที่วังท่าพระตั้งแต่นั้นมา

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพรรณราย ทรงเป็นช่างดอกไม้และทรงชำนาญทำพุ่มขี้ผึ้ง และปักพุ่มบูชาต่าง ๆ ทรงทำพุ่มขี้ผึ้งขนาดต่าง ๆ ขายมาตั้งแต่ยังเสด็จอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว เมื่อเสด็จออกมาประทับที่วังท่าพระก็ยังทรงทำพุ่มขาย และได้ทรงขยายกิจการอีกมากมาย พระโอรสทรงเป็นช่างก็ทรงออกแบบลวดลายเขียนพาน ทำหุ่นทรงติดพุ่ม สวมยอดแบบตัวผึ้งถวายให้งดงาม เมื่อ หม่อมราชวงศ์โตมาอยู่กับพระองค์หญิงพรรณราย ก็ได้ถ่ายวิชาต่าง ๆ จากพระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์นั้นไว้ด้วย

หม่อมราชวงศ์โตอยู่กับพระองค์เจ้าหญิงพรรณรายได้ 10 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็ทรงพระเมตตา ยกขึ้นเป็นพระชายาในปี พ.ศ. 2446

ซึ่ง หม่อมราชวงศ์โต มีโอรสธิดากับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทั้งหมด 6 องค์ ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าสาม จิตรพงศ์
  2. หม่อมเจ้าประโลมจิตร ไชยันต์ (ต.จ.)[3] (พ.ศ. 2448-2513)
  3. หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (ท.จ.ว.) (พ.ศ. 2451-2550)
  4. หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ (ป.จ.) (พ.ศ. 2453-2539)
  5. หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (พ.ศ. 2457-2537)
  6. หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ (ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.) (พ.ศ. 2459-2558)

หม่อมราชวงศ์โต ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 สิริอายุได้ 74 ปี 294 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกรมราชเลขาธิการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล (งอนรถ ณ อยุธยา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2012-10-05.
  2. สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์. นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ /นักเขียนนักประพันธ์ เก็บถาวร 2016-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 8 พฤษภาคม 2556
  3. หม่อมเจ้าประโลมจิตร จิตรพงศ์ (ต.จ.)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๘๐๖, ๒ พฤษภาคม ๒๔๙๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๒, ๑๖ มกราคม ๒๔๘๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้