หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ (11 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) เป็นพระธิดาองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ และเป็นพระอนุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทรงนับถือ

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
หม่อมเจ้าชั้น 4
ประสูติ11 ธันวาคม พ.ศ. 2459
สิ้นชีพตักษัย6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (98 ปี)
ราชสกุลจิตรพงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

นอกจากนี้ หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ยังทรงเป็นประธานมูลนิธินริศรานุวัติวงศ์[1] เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสิรินธร[2] และเป็นกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงไอ ประสูติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2459 เป็นพระบุตรองค์ที่เก้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์[4] ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม งอนรถ) มีเจ้าพี่ร่วมหม่อมมารดาสี่องค์ คือ หม่อมเจ้าประโลมจิตร จิตรพงศ์ (ท่านหญิงอี่), หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (ท่านหญิงอาม), หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ (ท่านชายไส) และหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (ท่านชายงั่ว)[5]

หม่อมเจ้ากรณิกาทรงเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เป็นนักเรียนรุ่นพี่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หม่อมเจ้ากรณิกาซึ่งเป็นนักเรียนรุ่นพี่จะมาช่วยหยิบนม และรินถวายทุกวันตามกฎของโรงเรียนที่รุ่นพี่ต้องดูแลรุ่นน้อง[6] หลังทรงสำเร็จการศึกษาก็เป็นครูสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนดังกล่าว[7] ตลอดพระชนม์ชีพได้ทรงงานด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เริ่มจากเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยประมาณ 2 ปี โดยสอนลิลิตตะเลงพ่ายและมหาเวสสันดรชาดก ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น เมื่อเกิดสงครามได้ทรงเข้าทำงานที่กองอาสากาชาด สภากาชาดไทย ตามคำชวนของหม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล ได้ทรงงานช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการทิ้งระเบิดอย่างกล้าหาญ ต่อมาได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นเวลานานถึง 22 ปี (พ.ศ. 2481-พ.ศ. 2503)

หม่อมเจ้ากรณิกามีฝีหัตถ์ด้านงานฝีมือและการตัดเย็บจากการฝึกหัดด้วยองค์เองจนเชี่ยวชาญ และทรงเปิดห้องเสื้อ "กรณิก (Karnik)"[7]ซึ่งเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ทรงมีฝีมือเป็นเลิศในด้านการเย็บปักถักร้อย ถึงขั้นสามารถปักลายเส้นภาพทศชาติชาดกฝีพระหัตถ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ในด้านดนตรีไทย หม่อมเจ้าหญิงกรนิกา จิตรพงศ์ ทรงระนาดทุ้มในวงบ้านปลายเนินเป็นประจำอยู่จนถึงพระชันษา 90 นอกจากนี้ยังโปรดการทำสวน การทำกับข้าว และการออกแบบสิ่งก่อสร้าง โดยทรงเขียนแบบร่างวางแนวคิดแล้วประทานให้สถาปนิกรับไปดำเนินการต่อ ตัวอย่างเช่น ทรงออกแบบห้องพยาบาลของมูลนิธิสิรินธร, ออกแบบเรือนสีเขียวมิ้นต์ ภายในบริเวณบ้านปลายเนิน มีเรือนไม้ที่เรียกกันว่า ‘เรือนละคร’ เป็นเรือนที่หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ทรงออกแบบเอง และใช้เป็นที่สอนรำไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

กรณียกิจ

แก้

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ประทับ ณ ตำหนักปลายเนิน[8] ถนนพระรามที่ 4 ติดกับการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งทรงเปิดสอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทย โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีไทยบ่อยครั้งเมื่อหม่อมเจ้ากรณิกาทรงว่างจากกรณียกิจ เนื่องจากหม่อมเจ้ากรณิกามีปรีชาด้านการดนตรี โดยเฉพาะระนาดทุ้ม และเลิกทรงระนาดทุ้มไปเมื่อชันษา 93 ปี เพราะไม่ถนัดประทับนั่งนาน ๆ[7]

 
หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์

หม่อมเจ้ากรณิกาเคยเสด็จแทนพระองค์ในงานพระราชพิธีบ่อยครั้ง ทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธินริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งมีการประกวดภาพถ่ายเนื่องในงานวันนริศ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้เป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยามและหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลก[9] นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิสิรินธร โดยทรงเป็นประธานอำนวยการจัดสร้างห้องพยาบาลของมูลนิธิดังกล่าว พร้อมกับส่งบุรุษพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ทำการรักษาภิกษุและสามเณรที่วัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี[2] และดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ[10] ภายหลังเมื่อมีชันษามากขึ้น หม่อมเจ้ากรณิกาจึงมิค่อยเสด็จออกงานบ่อยนัก

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ขณะมีชันษา 92 ปี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จพร้อมด้วย ม.ร.ว.เอมจิตร จิตพงศ์ ได้เข้าร่วมลงนามถวายพระพร โดยหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ได้ประทานสัมภาษณ์ไว้ว่า "ตนเคารพรักในหลวงเป็นที่สุดในชีวิต เคยเข้าเฝ้าและได้รับพระมหากรุณาธิคุณอยู่เป็นประจำ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในทุกๆ ด้าน ทรงเป็นเจ้าอยู่ที่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม พระองค์ทรงงานโดยไม่คิดถึงเรื่องอื่น คิดถึงแต่ประชาชนอันเป็นที่รักของพระองค์ ซึ่งตนได้ถวายพระพรให้พระองค์อยู่หัวเป็นประจำ คนไทยทุกคนรักในหลวง เป็นเจ้าอยู่หัวที่อยู่ในใจของคนไทยทุกคน ฝากถึงคนไทยทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ให้มีความเรียบร้อยเพื่อแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของพระองค์" (21 กันยายน 2552)[11]

สิ้นชีพิตักษัย

แก้

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยด้วยอาการพระหทัยล้มเหลวเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 15.22 น. ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร สิริชันษา 98 ปี นับเป็นหม่อมเจ้าองค์สุดท้ายแห่งราชสกุลจิตรพงศ์[12]

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16.30 น. ณ ท้องพระโรง วังปลายเนิน แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์บรรจุศพ พร้อมด้วยฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งเป็นเกียรติยศประกอบ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพมีกำหนด 7 คืน และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด

ในการพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์การพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในการนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุ โดยเสด็จด้วย[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พิธีมอบรางวัลภาพถ่ายและเปิดนิทรรศการ เนื่องในวันนริศ ประจำปี 2557 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร". Fine Art Magazine. 24 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จังหวัดสิงห์บุรี". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 20 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "คณะกรรมการแรกเริ่มก่อตั้ง มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว". มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""ม.จ.หญิงกรณิกา" ลงพระนามถวายพระพร "ในหลวง-พระพี่นางฯ"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 28 ตุลาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  6. "พระจริยวัตรอันงดงาม". งานฉลองศิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 ชวัลณัฏฐ ชัยนันทพัทธ์. "หม่อมเจ้าองค์สุดท้ายแห่งราชสกุล จิตรพงศ์ หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์". แพรวดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "นางอัจฉราวดี ชัยสุวิรัตน์ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย พร้อมคณะผู้บริหารเขต เข้าเยี่ยมคารวะหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ เจ้าของบ้านปลายเนิน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในพื้นที่ ในโอกาสรับตำแหน่งผู้อำนวยการเขตคลองเตย ณ บ้านปลายเนิน เขตคลองเตย". สำนักงานเขตคลองเตย. 9 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. "งานวันนริศ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ ครั้งที่ 5". WhO? Magazine. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ประวัติการก่อตั้งมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว". มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. พรุ่งนี้เปิดศาลาสหทัยสมาคมลงนามถวายพระพร
  12. "หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยแล้ว สิริพระชันษา 98 ปี". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. กรณิกานุสรณ์ในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้า กรณิกา จิตรพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 4-6 มีนาคม พุทธศักราช 2559
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี 2555" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (35ข): 2. 3 ธันวาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2551 (กรณีพิเศษ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16ข): 1. 12 ธันวาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2533" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (74ง ฉบับพิเศษ): 3. 4 พฤษภาคม 2533. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)