หมีขาว
หมีขั้วโลก ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีน-ปัจจุบัน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Ursidae |
สกุล: | Ursus |
สปีชีส์: | U. maritimus |
ชื่อทวินาม | |
Ursus maritimus Phipps, 1774 | |
ชนิดย่อย | |
†Ursus maritimus tyrannus(?) | |
แผนที่การแสดงการกระจายพันธุ์ของหมีขาว | |
ชื่อพ้อง | |
|
หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (อังกฤษ: polar bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus maritimus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง
ลักษณะและที่อยู่อาศัย
แก้หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากหมีกริซลี (U. arctos horribilis) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ตัวผู้เต็มวัยอาจสูงได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักตัวอาจมากได้ถึง 350–680 กิโลกรัม (770–1,500 ปอนด์) อายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี[3] หมีขาวมีรูปร่างที่แตกต่างจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีส่วนคอที่ยาวกว่า ขณะที่ใบหูก็มีขนาดเล็ก อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ และที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด คือ สีขนที่เป็นสีขาวครีมอมเหลืองอ่อน ๆ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เนื่องจากผลของเกลือในน้ำทะเล ซึ่งขนสีครีมนี้ทำให้พรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็งได้เป็นอย่างดี
หมีขาวกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะซีกโลกทางเหนือ บริเวณขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติกเท่านั้น จัดได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกนี้ อุ้งเท้าของหมีขาวมีขนรองช่วยให้ไม่ลื่นไถลไปกับความลื่นของพื้นน้ำแข็ง หมีขาวถือเป็นสัตว์ที่เดินทางไกลมาก โดยบางครั้งอาจจะใช้วิธีการนั่งบนแผ่นหรือก้อนน้ำแข็งลอยตามน้ำไป หรือไม่ก็ว่ายน้ำหรือดำน้ำไป ซึ่งหมีขาวจัดเป็นหมีที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมาก โดยใช้ขาหน้าพุ้ย หรือบางครั้งก็ใช้ทั้ง 4 ขา เคยมีผู้พบหมีขาวว่ายอยู่ในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 200 ไมล์
หมีขาว เป็นหมีที่ถือได้ว่ากินอาหารมากกว่าหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาหารของหมีขาวมีมากมาย เช่น แมวน้ำ หรือ วอลรัส ด้วยการย่องเข้าไปเงียบ ๆ หรือหลบซ่อนตัวตามก้อนหินหรือก้อนน้ำแข็ง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังอาจจับนกทะเล ทั้งไข่และลูกนก บางครั้งก็จับปลากิน หรืออาจจะกินซากของวาฬที่ตายเกยตื้น หรือแม้แต่ซากหมีขาวด้วยกันหรือลูกหมีที่ตายได้ด้วย[4] หมีขาวมีประสาทสัมผัสการรับรู้กลิ่นที่ดีมาก โดยสามารถได้กลิ่นลูกแมวน้ำที่ซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นน้ำแข็งได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร [5]
วิถีชีวิต
แก้เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวในเขตอาร์กติก (ราวเดือนธันวาคม-มกราคม) ดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ คล้อยต่ำลงเรื่อย ๆ จนไม่ปรากฏอีกเลยที่เส้นขอบฟ้าตลอดฤดูกาล ซึ่งช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นช่วงที่หฤโหดที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะไม่มีแสงสว่าง กลางวันจะมืดเหมือนกลางคืน อาหารก็ขาดแคลน พร้อมด้วยพายุหิมะติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน
หมีขาว ในช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่ให้กำเนิดลูก โดยการขุดโพรงในน้ำแข็งหรือใต้ก้อนหิน เมื่อหิมะตกทับถมมา ผนังถ้ำจะหนาขึ้น และมีความอบอุ่นคล้ายกับอิกลูของชาวเอสกิโม แม่หมีจะคลอดลูกภายในถ้ำนั้น ลูกหมีเกิดใหม่จะมีความยาวราว 20 นิ้วเท่านั้น และมีน้ำหนักตัวไม่ถึงกิโลกรัมดี ซึ่งครั้งหนึ่ง แม่หมีจะออกลูกได้ราว 2 ตัว ในบางครั้งอาจมากถึง 4 ตัว ลูกหมีเกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม และยังไม่มีขนปกคลุมตามลำตัว และจะลืมตาได้เมื่ออายุราว 33 วัน แต่เลนส์ตาจะยังใช้การไม่ได้เต็มที่จนเมื่อมีอายุประมาณ 47 วัน และประสาทหูจะได้ยินเมื่ออายุ 26 วัน แต่จะใช้การได้ดีที่สุดเมื่ออายุได้ 3 เดือน เมื่อลูกหมีอายุเข้า 6 สัปดาห์ครึ่ง ก็ตรงกับช่วงระยะเวลาที่ผ่านพ้นฤดูหนาวพอดี
สำหรับแม่หมีในช่วงนี้จะไม่กินอาหารเลย แต่จะใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ แม้กระทั่งหมีตัวผู้ก็จะเข้าสู่ถ้ำเพื่อจำศีล เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว หิมะและน้ำแข็งเริ่มละลาย แสงแดดกลับมาอีกครั้ง (เดือนมีนาคม-เมษายน) ซึ่งในช่วงนี้ หมีตัวเต็มวัยอาจจะกินหญ้าหรือมอสส์ เป็นอาหารรองท้องได้ ลูกหมีจะหย่านม แม่หมีจะพาลูก ๆ ตระเวนไปในที่ต่าง ๆ เพื่อสอนวิธีการล่าเหยื่อให้ ลูกหมีจะอยู่กับแม่จนอายุได้ขวบกว่าหรือสองขวบ จากนั้นจะจากแม่ไปเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่[6][4]
สัญลักษณ์
แก้หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศรัสเซีย[7]
พันธุ์ผสม
แก้ที่เมืองคักโตวิก รัฐอะลาสสกา หมีขาว มีรายงานว่าได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับหมีกริซลีด้วย ได้ลูกที่ออกมามีรูปร่างบึกบึนใหญ่โตและมีใบหูสามเหลี่ยมตั้งตรงอยู่ส่วนบนของหัวเหมือนหมีกริซลี แต่ทว่ามีขนสีขาวเหมือนหมีขาว และมีลำตัวใหญ่โตกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมทั้งสองสายพันธุ์ ซึ่งหมีลูกผสมนี้มีชื่อเรียกว่า "ซูเปอร์แบร์" ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น เนื่องจากหมีจะเข้ามาหาอาหารถึงในตัวเมือง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อาหารขาดแคลน[8]
อ้างอิง
แก้- Aars, Jon, บ.ก. (2005). "Press Release" (PDF). Proceedings of the 14th Working Meeting of the IUCN/SSC Polar Bear Specialist Group. Polar Bears. Vol. 32. Nicholas J. Lunn and Andrew E. Derocher. Gland, Switzerland: IUCN. ISBN 2-8317-0959-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 19 April 2008.
{{cite conference}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - Bruemmer, Fred (1989). World of the Polar Bear. Toronto, ON: Key Porter Books. ISBN 1-55013-107-9.
- Hemstock, Annie (1999). The Polar Bear. Manakato, MN: Capstone Press. ISBN 0-7368-0031-X.
- Lockwood, Sophie (2006). Polar Bears. Chanhassen, MN: The Child's World. ISBN 1-59296-501-6.
- Matthews, Downs (1993). Polar Bear. San Francisco, CA: Chronicle Books. ISBN 9780811802048.
- Rosing, Norbert (1996). The World of the Polar Bear. Willowdale, ON: Firefly Books Ltd. ISBN 1-55209-068-X.
- ↑ IUCN Polar Bear Specialist Group, 2009.15th meeting of PBSG in Copenhagen, Denmark 2009: Press Release เก็บถาวร 2010-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 10 January 2010.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ Predator's Prey, สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557
- ↑ 4.0 4.1 Survival: Tales from the Wild, สารคดีทาง True Explore 1. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 12 มกราคม 2556
- ↑ "อัศจรรย์โลกน้ำแข็งตอนที่ 7". ช่อง 7. 11 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-23. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
- ↑ หน้า 124-127, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ Polar Bear จากกองทุนสัตว์ป่าโลก (อังกฤษ)
- ↑ "TRACKING A SUPER BEAR". channel.nationalgeographic. สืบค้นเมื่อ July 4, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Biodiversity Heritage Library bibliography for Ursus maritimus
- National Wildlife Federation's Polar Bear Page
- ARKive – images and movies of the polar bear (Ursus maritimus) เก็บถาวร 2006-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Smithsonian National Museum of Natural History species account-Polar Bear เก็บถาวร 2016-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- USGS Polar Bear Studies เก็บถาวร 2009-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Map of polar bear ranges and denning areas in Nunavut from Nunavut Planning Commission เก็บถาวร 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- BBC Nature: Polar bear news, and video clips from BBC programmes past and present.
- Photos, facts, videos from Polar Bears International which funds population, preservation and DNA studies of the polar bear
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ursus maritimus ที่วิกิสปีชีส์