การดำน้ำ

(เปลี่ยนทางจาก ดำน้ำ)

การดำน้ำ (อังกฤษ: underwater diving) เป็นการลดตัวใต้ผิวน้ำเพื่อทำกิจกรรมใต้น้ำ มักเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นหลัก หรืออาจเป็นภารกิจทางทหาร การแช่น้ำและการสัมผัสกับน้ำเย็นและความดันสูงมีผลทางสรีรวิทยาต่อนักดำน้ำซึ่งจะจำกัดความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรวม การกลั้นหายใจเป็นข้อจำกัดสำคัญ และการหายใจที่ความดันสูงยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การพัฒนาวิธีการทางด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรอบของมนุษย์และยังช่วยให้ทำงานใต้น้ำได้นานยิ่งขึ้น[1]

การดำน้ำโดยใช้ต่อท่ออากาศจากผิวน้ำ (surface-supplied)

สภาพแวดล้อมทำให้กิจกรรมดำน้ำมีความอันตรายหลากหลายอย่างและความเสี่ยงส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยทักษะการดำน้ำที่เหมาะสม การฝึกอบรม ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ และก๊าซหายใจที่ใช้ ที่ขึ้นอยู่กับความลึกและวัตถุประสงค์ในการดำน้ำ กิจกรรมดำน้ำมีความลึกสูงสุดประมาณ 40 เมตร (130 ฟุต)[2][3] สำหรับการดำน้ำลึกเชิงสันทนาการ 530 เมตร (1,740 ฟุต) สำหรับการดำน้ำเชิงพาณิชย์และ 610 เมตร (2,000 ฟุต) ที่สวมใส่ชุด atmospheric suit การดำน้ำยังถูกจำกัด ให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตรายมากเกินไป แม้ว่าระดับความเสี่ยงอาจผันผวน [4][5][6]

ประเภทของการดำน้ำ แก้

ประเภทของการดำน้ำสามารถแบ่งได้เป็นหลายแบบตามอุปกรณ์ดำน้ำที่ใช้

 
ฟรีไดวิงกับโลมา

ฟรีไดวิง (freediving) แก้

การกลั้นหายใจขณะดำน้ำหรือว่ายน้ำ นับเป็นทักษะที่มีประโยชน์ในยามฉุกเฉินและเป็นส่วนสำคัญของกีฬาทางน้ำ การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของกองทัพเรือ และยังช่วยให้สนุกกับกิจกรรมทางน้ำได้อย่างเต็มที่[7] การดำน้ำลึกใต้น้ำโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจสามารถแบ่งเป็น 3 แบบ การว่ายน้ำใต้น้ำ สนอร์เกอลิง (snorkeling) และฟรีไดวิง ทั้งหมดมีความคล้ายกันมาก ทั้งนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาใต้น้ำหลายชนิดที่แข่งโดยปราศจากอุปกรณ์ช่วยหายใจ [8][9][10][11][12]

ฟรีไดวิง เป็นการดำน้ำอิสระที่ไม้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจแต่อาศัยความสามารถของนักดำน้ำในการกลั้นลมหายใจไว้จนกว่าจะขึ้นสู่ผิวน้ำใหม่ เทคนิคนี้มีตั้งแต่การดำน้ำแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการดำน้ำแบบแข่งขัน Apnea ตีนกบและหน้ากากดำน้ำมักใช้ในการดำน้ำฟรีไดวิ่ง เพื่อปรับปรุงวิสัยทัศน์และการเคลื่อนไหวใต้น้ำ ท่อหายใจ (snorkel) ช่วยให้นักดำน้ำสามารถหายใจบนผิวน้ำในขณะที่ใบหน้าแช่อยู่ในน้ำ สนอร์เกอลิง จะว่ายอยู่บนผิวน้ำบนพื้นผิวที่ไม่มีเจตนาในการลงไปใต้น้ำเป็นกีฬาทางน้ำและกิจกรรมสันทนาการที่เป็นที่นิยม [7][13]

การดำน้ำสกูบา แก้

การดำน้ำสกูบาเป็นการดำน้ำลึกที่นักดำน้ำใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจติดกับตัวลงไปใต้น้ำ ทำให้สามารถดำน้ำได้โดยอิสระ และเคลื่อนที่ไปมาใต้น้ำได้ โดยไม่ติดกับสายอากาศที่ต่อมาจากเครื่องอัดอากาศบนผิวน้ำ (surface-supplied diving equipment หรือ SSDE) [14]

อ้างอิง แก้

  1. Kot, Jacek (2011). Educational and Training Standards for Physicians in Diving and Hyperbaric Medicine (PDF). Kiel, Germany: Joint Educational Subcommittee of the European Committee for Hyperbaric Medicine (ECHM) and the European Diving Technical Committee (EDTC). สืบค้นเมื่อ 30 March 2013.
  2. Staff. "Competencies of a recreational scuba diver at level 2 "Autonomous Diver"". EUF Certification International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013.
  3. Brylske, A. (2006). Encyclopedia of Recreational Diving (3rd ed.). Rancho Santa Margarita, California: PADI. ISBN 1-878663-01-1.
  4. Comex SA. "Innovation in extreme environments". Compagnie maritime d'expertises. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 11 November 2016.
  5. Logico, Mark G. (4 August 2006). "Navy Chief Submerges 2,000 Feet, Sets Record, Story Number: NNS060804-10". Official Website of the United States Navy. U.S. Navy. สืบค้นเมื่อ 3 November 2016.
  6. Staff (2016). "Hardsuit depth record". Nuytco Research Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-29. สืบค้นเมื่อ 24 September 2016.
  7. 7.0 7.1 Busuttili, Mike; Holbrook, Mike; Ridley, Gordon; Todd, Mike, บ.ก. (1985). "Using basic equipment". Sport diving – The British Sub-Aqua Club Diving Manual. London: Stanley Paul & Co Ltd. p. 58. ISBN 0-09-163831-3.
  8. Ostrovsky, Igor. "Aquathon". History of Underwater Sports. World Underwater Federation (CMAS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 9 November 2016.
  9. Ucuzal, Levent. "Apnoea". History of Underwater Sports. Rome: World Underwater Federation (CMAS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 9 November 2016.
  10. Staff. "Hockey". History of Underwater Sports. World Underwater Federation (CMAS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 9 November 2016.
  11. Wiesner, Rudi. "Rugby". History of Underwater Sports. World Underwater Federation (CMAS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 9 November 2016.
  12. Staff. "Spearfishing". History of Underwater Sports. World Underwater Federation (CMAS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 9 November 2016.
  13. North Pacific Acoustic Laboratory: Environmental Impact Statement (Report). Vol. 1. Arlington, Virginia: Office of Naval Research. 2001. pp. 3–45.
  14. US Navy Diving Manual (2006), Chapter 1 Section 3 Scuba Diving.