พันธุ์ป่า
พันธุ์ป่าหรือไวลด์ไทป์ (อังกฤษ: wild type) เป็นฟีโนไทป์หนึ่งของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งๆ ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานเกิดขึ้นเองและพบได้ในธรรมชาติ ตามความเข้าใจเดิมนั้นลักษณะที่เป็นพันธุ์ป่าหมายถึงลักษณะที่เกิดจากอัลลีล "ปกติ" ของโลคัสนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับอัลลีล "กลายพันธุ์" ซึ่งไม่ปกติ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโลคัสส่วนใหญ่ของยีนนั้นมีอัลลีลหลายรูปแบบซึ่งมีความถี่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อยู่อาศัย ดังนั้นรูปแบบพันธุ์ป่าที่เป็นพื้นฐานจริงๆ นั้น จึงไม่มีอยู่จริง อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปนั้นถือว่าอัลลีลที่พบบ่อยที่สุด หรือมีความถี่มากที่สุด จะถือว่าเป็นอัลลีลที่เป็นพันธุ์ป่า[1]
หลักการว่าด้วยการมีอยู่ของไวลด์ไทป์มีประโยชน์ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบเช่นแมลงวันผลไม้ Drosophila melanogaster ซึ่งลักษณะปรากฎ (ฟีโนไทป์) บางอย่างของแมลงวันนี้ เช่น สีตา หรือรูปร่างปีก สามารถถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกิดการกลายพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การมีตาสีขาว การมีร่องที่ปีก เป็นต้น อัลลีลที่เป็นไวลด์ไทป์จะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ "+" ที่ด้านบน
See also
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Jones, Elizabeth; Hartl, Daniel L. (1998). Genetics: principles and analysis. Boston: Jones and Bartlett Publishers. ISBN 0-7637-0489-X.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Absence of the wild-type allele" - Pediatrics เก็บถาวร 2011-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Genetically-spliced bacteria may benefit agriculture" - Sarasota Herald-Tribune
- "Reading of DNA allows creation of synthetic vaccines" - Star News
- "A Curious Clue in Cats" - Newsday เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "A Genetically Engineered Agriculture Revolution?" - The Telegraph