มณฑลฉ่านซี

(เปลี่ยนทางจาก ส่านซี)

ฉ่านซี ตามสำเนียงกลาง (จีน: 陕西; พินอิน: Shǎnxī) หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นมณฑลหนึ่งในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) โดยมากมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งอยู่ระหว่างภูเขาหลายแห่ง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองระดับมณฑลอื่น ๆ ได้แก่ มณฑลชานซี (ตะวันออกเฉียงเหนือ), มณฑลเหอหนาน (ตะวันออก), มณฑลหูเป่ย์ (ตะวันออกเฉียงใต้), ฉงชิ่ง (ใต้), มณฑลเสฉวน (ตะวันตกเฉียงใต้), มณฑลกานซู่ (ตะวันตก), เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย (ตะวันตกเฉียงเหนือ) และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (เหนือ)

มณฑลฉ่านซี

陕西省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนฉ่านซีเฉิ่ง (陕西省 Shǎnxī Shěng)
 • อักษรย่อSN / ฉ่าน ( Shǎn) หรือ ฉิน ( Qín)
(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน)
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลฉ่านซี
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลฉ่านซี
พิกัด: 35°36′N 108°24′E / 35.6°N 108.4°E / 35.6; 108.4พิกัดภูมิศาสตร์: 35°36′N 108°24′E / 35.6°N 108.4°E / 35.6; 108.4
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ซีอาน
เขตการปกครอง10 จังหวัด, 107 อำเภอ, 1,745 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคหู เหอผิง (胡和平})
 • ผู้ว่าการหลิว กั๋วจง (刘国中)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด205,800 ตร.กม. (79,500 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 11
ความสูงจุดสูงสุด3,767.2 เมตร (12,359.6 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
 • ทั้งหมด37,327,378 คน
 • อันดับอันดับที่ 16
 • ความหนาแน่น180 คน/ตร.กม. (470 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 21
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 99.5%
หุย – 0.4%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง, ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้, ภาษาจีนจิ้น
รหัส ISO 3166CN-SN
GDP (ค.ศ. 2017)[3]2.19 ล้านล้านเหรินหมินปี้
324.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 15)
 • ต่อหัว57,266 เหรินหมินปี้
8,482 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 12)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.756[4]
สูง · อันดับที่ 14
เว็บไซต์www.shaanxi.gov.cn (อักษรจีนตัวย่อ)
มณฑลฉ่านซี
"ฉ่านซี" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ陕西
อักษรจีนตัวเต็ม陝西
ฮั่นยฺหวี่พินอินเกี่ยวกับเสียงนี้ Shǎnxī
ไปรษณีย์Shensi
ความหมายตามตัวอักษร"ทางตะวันตกของฉ่าน (ช่องเขา)"
ชื่อภาษาดุงกาน
ภาษาดุงกานШанщи

มณฑลฉ่านซีครอบคลุมพื้นที่ 205,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศจีน เมืองหลวงของมณฑลคือ ซีอาน ซึ่งรวมพื้นที่ของอดีตเมืองหลวงของจีน อันได้แก่ เฟิงเฮ่า และฉางอาน โดยซีอานเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน[5] และยังเป็นหนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดในจีน โดยเคยเป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย และราชวงศ์ถัง[6] นอกจากนี้ เสียนหยาง ก็เคยเป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ฉิน ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำเว่ย์

ประชากรส่วนใหญ่ของมณฑลฉ่านซีเป็นชาวจีนฮั่น ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาจีนกลาง รวมทั้งภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ และสำเนียงท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษาจีนจิ้น

มณฑลฉ่านซีมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของจีน โดยอยู่ในอันดับกึ่งกลางในบรรดาเขตการปกครองระดับมณฑลของจีน อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลฉ่านซีประกอบไปด้วยภาคเชื้อเพลิงฟอสซิลและเทคโนโลยีขั้นสูง สำหรับภาคเทคโนโลยีขั้นสูงนั้นประกอบด้วยอุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ โดยมณฑลฉ่านซีเป็นแหล่งผลิตอุปกรณ์การวิจัยและพัฒนา และอุปกรณ์การผลิต สำหรับอุตสาหกรรมการบินเชิงพาณิชย์ภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 50 ของประเทศ[7]

อ้างอิง แก้ไข

  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  3. 陕西省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Shaanxi on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาChinese (China)). Statistical Bureau of Shaanxi. 2018-03-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. 最新中国城市人口数量排名(根据2010年第六次人口普查). www.elivecity.cn (ภาษาChinese (China)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  6. "Xi'an - MSN Encarta". 2008-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  7. "China Economy @ China Perspective". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2011-10-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข