สมจิตร จงจอหอ

(เปลี่ยนทางจาก ศิลาชัย ว.ปรีชา)

พันโท สมจิตร จงจอหอ (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย) เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2 สมัย เหรียญทองซีเกมส์ 3 สมัย และได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญธงชาติไทย นำคณะนักกีฬาทีมชาติไทย ในพิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 206

พันโท
สมจิตร จงจอหอ
ต.ช., ต.ภ., จ.ม.
ชื่อจริงสมจิตร จงจอหอ
รุ่นไลท์ฟลายเวท
ฟลายเวท
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2518 (49 ปี)
ประเทศไทย อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา
ประเทศไทย
รายการเหรียญรางวัล
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ฟลายเวท
มวยสากลเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ไทย 2003 ฟลายเวท
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ชิคาโก 2007 ฟลายเวท
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เกาหลีใต้ 2002 ฟลายเวท
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กาตาร์ 2006 ฟลายเวท
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ บรูไน 1999 ไลท์ฟลายเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มาเลเซีย 2001 ฟลายเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เวียดนาม 2003 ฟลายเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โคราช 2007 ฟลายเวท

ประวัติ แก้

สมจิตร จงจอหอ มีชื่อเล่นว่า "น้อย" เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2518 ที่ ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของ นายเช้า และ นางฝ้าย จงจอหอ หลังจากนั้นย้ายภูมิลำเนาตาม บิดา มารดา ไปอยู่และเติบโตที่ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันย้ายกลับมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา

การศึกษา แก้

สมจิตรจบจากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันมวยรายการต่าง ๆ มากมาย อาทิ เวิลด์แชมเปียนชิพ, มวยทหารโลก, เอเชียนเกมส์[1] โดยก่อนชกมวยสากลสมัครเล่น สมจิตรเคยเป็นนักมวยไทยมาก่อน ใช้ชื่อว่า "ศิลาชัย ว.ปรีชา" นอกจากนี้แล้วได้ยังรับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

สมจิตร ได้รับการคาดหมายให้เป็นตัวเต็งในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และเอเชียนเกมส์ 2006 แต่ไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ตามคาด ทำให้สมจิตรเกิดความท้อแท้ใจ จนเกิดความคิดจะแขวนนวมถึง 2 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็กลับมาตั้งต้นพยายามใหม่[2]

หลังจากนั้น ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันในรุ่น 51 กิโลกรัม ได้สำเร็จ โดยชนะอันดริส ลาฟฟิตา นักมวยชาวคิวบา ที่สมจิตรเคยแพ้ เมื่อครั้งแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิพ เมื่อปี พ.ศ. 2548[3]

สมจิตรเคยรับหน้าที่เป็นพิธีกรในรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต และรับงานบันเทิงเป็นครั้งคราว

ชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัว แก้

สมจิตร จงจอหอ สมรสกับ นางศศิธร (อุ๋ม) (นามสกุลเดิม : เนาว์ประเสริฐ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ อภิภู จงจอหอ (ชื่อเล่น : กำปั้น) และ พิชามญธุ์ จงจอหอ (ชื่อเล่น : จันทร์เจ้า) [4]

ธุรกิจส่วนตัว แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2558 สมจิตรได้ตั้งค่ายมวยเป็นของตัวเอง ในชื่อ "สมจิตรยิม" เปิดสอนมวยไทยแก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ ที่จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงยังมีนักมวยชื่อดังในสังกัดค่ายดังกล่าว คือ ปวริศ สมจิตรยิม

ผลงาน แก้

โอลิมปิก แก้

เอเธนส์ 2004

ปักกิ่ง 2008

กีฬา แก้

บันเทิง แก้

  • พิธีกรรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต ช่วง กีฬาไทย กีฬาโลก ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 06.00 -07.30 น. (ไม่ได้จัดประจำ)
  • พิธีกรรายการ เกมกำแพงซ่า น็อกเอาต์ ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.
  • พิธีกรรายการ เกมกำแพงซ่า สไตรค์ ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.
  • กรรมการรายการ กิ๊กดู๋ สงครามเพลง เงินล้าน ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30 - 00.10 น.
  • พิธีกรรายการ Healthy Trip ออกอากาศทุกวันจันทร์ 19.30-20.00 น. ทาง T Sports Channel ช่อง True Visions 68, KU BAND 12657 MHz และทางช่องเคเบิล TV ท้องถิ่น
  • เป็นนักปั้นฝันในรายการ The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที ปี 3
  • ผลงานเพลงชุด "นักรักสมัครเล่น"
  • พิธีกรรายการ อึ้ง ทึ่ง เสียว ทาง ThaiCh8 : ช่อง 8 อาร์เอส ออกอากาศทุกวัน พฤหัสบดี เวลา 15.30 น. , ศุกร์ เวลา 23.10 น. , เสาร์ เวลา 15.00 น.
  • พิธีกรรายการ ศึกท่อน้ำไทย ลุมพินี ทีเคโอ เกียรติเพชร PPTVHD36 : พีพีทีวี ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 16.10-18.00 น.
  • พิธีกรรายการ เตะสู้ฝัน ทาง ช่อง 7 เอชดี ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 18:00-18:45 น.
  • พิธีกรรายการ สมรภูมิกีฬา All Star Challenge ทางช่อง 7 เอชดี ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13:30-14:30 น.
  • พิธีกรรายการ ศึกมวยกรงแปดเหลี่ยม "Legend Fighting Championships" ทางช่อง 8, YouTube:Legend Fighting Championship, มวยช่อง8 : MuayCh8 ออกอากาศ สัญจรแต่ละครั้ง ร่วมกับ ต้อง-ศุภชัย จิวะอุดมทรัพย์, อ๊อด เคโอ

ละครโทรทัศน์ แก้

ภาพยนตร์ แก้

ซีรีส์ แก้

  • ชุมชนสมหวัง หมู่ 8 (พ.ศ. 2563)

รางวัลที่ได้รับ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เปิดประวัติ สมจิตร จงจอหอ กับเส้นทางนักชกไทย
  2. "สมจิตร" รับเคยเลิกชก 2 ครั้ง ลั่นแบ่งเงินบริจาค เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2551 19:37 น.
  3. "สมจิตร" โชว์เก๋าคว่ำคิวบาซิวทองสำเร็จ เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2551 18:16 น.
  4. "สมจิตร จงจอหอ ไทยรัฐออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-11-17.
  5. 5.0 5.1 "ผลเอเชียนเกมส์ มวยสากลสมัครเล่น รุ่น 51 กก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๖, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ เพิ่มเติม เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓๗, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๗, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้