วิบูลย์ เร้าเสถียร

พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร (24 เมษายน พ.ศ. 2467 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548) เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และราชองครักษ์พิเศษ

วิบูลย์ เร้าเสถียร
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2522 – 22 เมษายน พ.ศ. 2524
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2467
อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เสียชีวิต3 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (81 ปี)
คู่สมรสบำรุงรัตน์ วิบูลย์จันทร์ (สมรส 2497)
บุตร5 คน
ศิษย์เก่าโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2527
ยศ พลโท
สงคราม/การสู้รบสงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร[1] เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2467 ณ ตำบลคลองสวนพู อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของฟองและเหนียม เร้าเสถียร

วิบูลย์ เร้าเสถียร ได้สมรสกับบำรุงรัตน์ เร้าเสถียร (สกุลเดิม วิบูลย์จันทร์) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 มีบุตรทั้งหมด 5 คน คือ

  1. จินตนา ประมิติธนการ
  2. พลตรี นรนิติ เร้าเสถียร
  3. พลตรี กฤษดา เร้าเสถียร
  4. พลโท วรพจน์ เร้าเสถียร
  5. ยุวดี เร้าเสถียร

การศึกษา

แก้

ในประเทศ

แก้

นอกประเทศ

แก้
  • พ.ศ. 2504 : หลักสูตรการปรนนิบัติบำรุง สำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ โรงเรียนยานเกราะ, ค่ายน็อกซ์ กองทัพบกสหรัฐ
  • พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2504 : หลักสูตรนายทหารฝ่ายเสนาธิการ (หลักสูตรเร่งรัด) วิทยาลัยเสนาธิการทหารบก, ค่ายเลเวนเวิร์ธ กองทัพบกสหรัฐ โดยทุน เอ็ม.เอ.พี

การทำงาน

แก้

พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น[1]

ตำแหน่งทหาร

แก้
  • พ.ศ. 2521 : รองเสนาธิการกองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]
  • พ.ศ. 2525 : ผู้อำนวยการสารสนเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3]

ตำแหน่งพิเศษ

แก้
  • พ.ศ. 2501 : นายทหารติดต่อ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโซล
  • พ.ศ. 2512 : หัวหน้ากองยุทธการ กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
  • พ.ศ. 2512 : ช่วยราชการ กองบัญชาการทหารสูงสุด ส่วนหน้า
  • พ.ศ. 2514 : กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2518 : ราชองครักษ์เวร
  • พ.ศ. 2519 : กรรมการธนาคารทหารไทย
  • พ.ศ. 2522 : ราชองครักษ์พิเศษ
  • พ.ศ. 2525 : กรรมการธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2529 : กรรมการเอไอเอ
  • พ.ศ. 2535 : กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ตำแหน่งการเมือง

แก้

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เวลา 10.30 น. ที่บ้านพัก เนื่องจากโรคอัมพฤกษ์ สิริอายุได้ 81 ปี 43 วัน มีการสวดพระอภิธรรมศพที่วัดเสมียนนารี และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้น ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2502 –   เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 3 ประดับดาวเงิน
  •   เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 –   เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 2 (ทหารบก)
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2513 –   ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญบริการโยธาธิการ สื่อสาร และการขนส่ง ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ชั้นที่ 2
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 2
  •   มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2514 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 4[14]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 (2548). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร ม.ว.ม., ป.ช. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดี ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548 เวลา 16.00 น.. บริษัท ธรรมสาร.
  2. 58 ปี หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  3. ราชกิจจานุเบกาษ, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง หน้า ๑, ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๕
  4. ราชกิจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๔๕ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๒ พฤษจิกายน ๒๕๑๙
  5. วุฒิสภา ชุดที่ ๕ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๒๒)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๑๔๓๖, ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๗๑๖, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
  14. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1971.