วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปซึ่งผู้ใช้ควรถือปฏิบัติ แม้ควรปฏิบัติโดยสามัญสำนึก และอาจมีข้อยกเว้นในบางโอกาส การแก้ไขใจความสำคัญของหน้านี้ควรสะท้อนความเห็นพ้อง หากไม่มั่นใจให้อภิปรายก่อน |
การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ตัวอย่างเช่น:
Ritter, Ron. The Oxford Style Manual. Oxford University Press, 2002, p. 1. |
เมื่อใดที่ควรอ้างอิง: นโยบายของการอ้างอิง คือ การพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูล ซึ่งข้อความใด ๆ ที่เป็นข้อขัดแย้งหรือคาดว่าจะเป็นข้อขัดแย้งจะต้องมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation) เช่นเดียวกับการอ้างคำพูดจากบุคคลอื่น นโยบายนี้มีผลบังคับใช้กับข้อความใด ๆ ในเมนสเปซ — บทความ รายชื่อ คำอธิบายภาพ และเนื้อหาแต่ละส่วนของบทความ — โดยไม่มีข้อยกเว้น ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างหน้านี้กับนโยบายการอ้างอิง ให้ถือว่านโยบายดังกล่าวมาก่อนเสมอ และหน้านี้ควรจะได้รับการปรับปรุงให้เข้ากันกับนโยบายดังกล่าวด้วย การอ้างอิงยังมีผลสำหรับภาพด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เมื่ออัปโหลดภาพ ผู้อัปโหลดจะต้องระบุแหล่งที่มาของภาพและระบุสถานภาพลิขสิทธิ์ของภาพ
เขียนอ้างอิงอย่างไร: แต่ละบทความควรจะใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบเดียวกันทั้งหมด ถ้าหากบทความนั้นมีการอ้างอิงแล้ว ก็ควรยึดรูปแบบนั้นในการอ้างอิงหรือเปลี่ยนรูปแบบการอ้างอิงให้เป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งควรจะได้รับการเห็นชอบจากผู้ร่วมพัฒนาก่อน ในการอ้างอิงให้ถูกวิธี สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องมีข้อมูลเพียงพอที่จะระบุแหล่งข้อมูล สำหรับข้อผิดพลาดอื่น ๆ จะมีผู้เข้ามาจัดการในภายหลังได้
วัตถุประสงค์
วิกิพีเดียส่งเสริมให้มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภายในบทความ ด้วยวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาในบทความแต่ละเรื่อง เชื่อถือได้และสามารถพิสูจน์ยืนยันได้
- เพื่อให้ภาพลักษณ์ของวิกิพีเดียน่าเชื่อถือมากขึ้น
- เพื่อแสดงว่าการแก้ไขของคุณไม่ใช่ข้อคิดเห็นของคุณคนเดียว คนบางกลุ่ม หรือเป็นงานวิจัยต้นฉบับ
- เพื่อลดการโต้เถียงอันเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
- เพื่อให้เกียรติผู้เขียนแหล่งอ้างอิงนั้น และหลีกเลี่ยงการคัดลอกข้อเขียนของเขา
- เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงได้
ประเภทของการอ้างอิง
- อ้างอิงเต็ม (full citation) เป็นการบ่งชี้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และตำแหน่งที่จะพบข้อมูลที่กำลังกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลนั้นตามความเหมาะสม (เช่น เลขหน้า) ตัวอย่างเช่น ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1. ราชบัณฑิตยสถาน. หน้า 4. การอ้างอิงประเภทนี้มักระบุเป็นเชิงอรรถ (footnote) และเป็นวิธีการอ้างอิงที่พบใช้บ่อยที่สุดในบทความวิกิพีเดีย
- อ้างอิงแทรกในเนื้อหา หมายถึง อ้างอิงใด ๆ ที่เพิ่มเข้าไปใกล้กับข้อมูลที่สนับสนุน ตัวอย่างเช่น ต่อท้ายประโยคหรือย่อหน้า โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปเชิงอรรถ
- อ้างอิงทั่วไป (general reference) เป็นการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สนับสนุนเนื้อหา แต่ไม่แสดงเป็นอ้างอิงแทรกในเนื้อหา อ้างอิงทั่วไปมักจัดทำเป็นรายการไว้ท้ายบทความในส่วน "อ้างอิง" อ้างอิงประเภทนี้อาจพบได้ในบทความที่ยังไม่ได้พัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเนื้อหาทั้งหมดของบทความสนับสนุนด้วยแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว อ้างอิงประเภทนี้ยังอาจจัดเป็นรายการเรียงตามพยัญชนะในส่วน "อ้างอิง" ในบทความที่มีพัฒนาการโดยเป็นส่วนเสริมอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
- อ้างอิงแบบย่อ (short citation) เป็นการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาที่บ่งชี้ตำแหน่งที่แหล่งข้อมูลว่าข้อมูลโดยเฉพาะนี้สามารถพบได้ที่ใด โดยไม่ให้รายละเอียดของแหล่งข้อมูลนั้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งรายละเอียดนั้นจะถูกแสดงไว้ในส่วนอ้างอิงทั่วไปแทน ตัวอย่างเช่น ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). หน้า 4 ระบบนี้ใช้ในบางบทความ อ้างอิงสั้นอาจเขียนอยู่ในรูปเชิงอรรถ หรือเป็นอ้างอิงวงเล็บในข้อความ
- การกล่าวถึงในข้อความ (in-text attribution) เป็นการกล่าวถึงในข้อความบทความเลย (มิใช่เพียงเชิงอรรถ) ว่าข้อความเฉพาะหนึ่ง ๆ นั้นมาจากแหล่งใด อ้างอิงประเภทนี้มักเป็นข้อความแสดงความคิดเห็น ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้รับการยืนยัน และคำกล่าว โดยทั่วไปการกล่าวถึงในบทความมิได้บ่งรายละเอียดข้อความที่มาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำเป็นเชิงอรรถตามปกติ ตัวอย่างเช่น ตามข้อมูลของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ ...[1]
การอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนข้อมูลนั้น แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านจะสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ ช่วยเหลือผู้อ่านและผู้เขียนคนอื่น ๆ
การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำคลุมเครือ เช่น "บางคนกล่าวว่า " หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า " แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย พึงระลึกว่าวิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะติดป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน และรอจนกว่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
ในหน้าแก้ความกำกวมนั้นไม่ใช่อ้างอิง เพราะการอ้างอิงข้อมูลที่ให้นั้นควรอยู่ในหน้าบทความเป้าหมายเท่านั้น การอ้างอิงไม่ควรใช้ในส่วนบทนำของบทความ เพราะเป็นการสรุปข้อมูลที่มีการระบุแหล่งอ้างอิงไว้ในบทความแล้ว แม้อาจมีการยกเว้นที่ข้อความนั้นจะต้องมีแหล่งอ้างอิงเสมอแม้แต่ในส่วนบทนำ
สำหรับภาพหรือไฟล์สื่ออื่น รายละเอียดของแหล่งที่มาและสถานะลิขสิทธิ์ควรปรากฏในหน้าไฟล์นั้น คำอธิบายภาพควรมีการอ้างอิงตามความเหมาะสมเช่นเดียวกับส่วนอื่นของบทความ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงรายละเอียดของภาพที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรงจากภาพเอง (เช่น "ภาพนี้เป็นภาพผู้ชายสองคน")
เมื่อใดที่ควรอ้างอิง
- เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่
- เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
- ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
- เนื้อหาที่เป็นหรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
- เมื่อคุณอ้างอิงคำพูดของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
- เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรืออ้างถึงอันดับ หรือความเป็นที่สุด
- เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลนั้นยังเป็นที่พิพาทหรือมีแนวโน้มหมิ่นประมาท ซึ่งหากข้อมูลประเภทนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิง ผู้ใช้ควรลบข้อมูลทิ้งทันที
แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา ไม่ควรอ้างอิงเว็บบล็อก เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย
แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ นอกจากนี้ไม่อ้างอิงวิกิพีเดียด้วยกันเอง ไม่ว่าจะภาษาเดียวกันหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม
แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เอกสารการสอนในห้องเรียน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข ISBN หรือ ISSN กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด
แหล่งอ้างอิงกับแหล่งข้อมูลอื่นต่างกันอย่างไร
แหล่งอ้างอิง (reference หรือ source) ควรเป็นที่รวมแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันเนื้อหาข้อมูลภายในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงได้หากต้องการ ตัวอย่างการอ้างอิง เช่น การนำข้อมูลในเว็บไซต์หรือหนังสือมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในวิกิพีเดีย ซึ่งจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มา เป็นต้น
สำหรับ แหล่งข้อมูลอื่น (หรือ ลิงก์ภายนอก) ใช้สำหรับรวมแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในบทความ หรือไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ (ซึ่งอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง) แต่มีความเกี่ยวข้องกับบทความ และอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากต้องการศึกษาในเรื่องนั้น ๆ เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น บทวิจารณ์ของบุคคลที่มักจะไม่เป็นกลาง ถือเป็นแหล่งข้อมูลอื่น
วิธีการอ้างอิง
เชิงอรรถ
การอ้างอิงประเภทนี้เป็นบรรทัดข้อความที่ระบุถึงแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้กับข้อความที่สนับสนุน นับเป็นการอ้างอิงข้อมูลประเภทข้อความอย่างถูกต้อง ถ้าคำใดคำหนึ่งหรือวลีใดวลีหนึ่งเป็นที่โต้เถียงกันอย่างมาก คุณสามารถใช้อ้างอิงประเภทนี้ติดกับคำหรือวลีดังกล่าวได้โดยไม่ต้องรอจนจบประโยคก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วการใส่อ้างอิงจุดเดียวในบทความที่ท้ายประโยคที่ต้องการจะอ้างอิงก็เพียงพอแล้ว ตราบใดที่เป็นที่อธิบายได้ว่าแหล่งข้อมูลใดสนับสนุนส่วนใดของข้อความ
การอ้างอิงในบทความวิกิพีเดียส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเชิงอรรถ ซึ่งปรากฏในรูปของวงเล็บเหลี่ยมและมีตัวเลขอยู่ภายในที่สามารถคลิกได้และลิงก์ไปยังรายการตัวเลขอ้างอิงที่อยู่ตอนท้ายของบทความ
หลังจากประโยค หรือย่อหน้าที่อ้างอิง ให้ใส่:
ซึ่งจะปรากฏในลักษณะนี้
|
เครื่องหมายอ้างอิงโดยปกติจะวางไว้ท้ายประโยคหรือย่อหน้าที่ต้องการอ้างอิง แต่บางครั้งหากคำหรือวลีนั้นเป็นที่โต้เถียงกันมาก และอยู่กลางประโยค ก็อาจเพิ่มเครื่องหมายดังกล่าวติดกับข้อความนั้นได้ทันที แต่โดยทั่วไปแล้ว การอ้างอิงท้ายประโยคหรือย่อหน้าก็เพียงพอแล้ว ตราบเท่าที่ประจักษ์ว่าแหล่งข้อมูลนั้นสนับสนุนส่วนใดของข้อความ หากกล่องข้อมูลหรือตารางต้องการอ้างอิง แต่ไม่สามารถใช้การอ้างอิงแบบเป็นจุดได้ ควรใช้คำบรรยายหรือข้อความอื่นที่อภิปรายถึงเนื้อหานั้นแทน |
การสร้างรายการอ้างอิง
ผู้ใช้คนแรกที่เพิ่มเชิงอรรถเข้าไปในบทวามต้องสร้างส่วนที่ข้อความอ้างอิงนั้นปรากฏ การอ้างอิงจะปรากฏที่ท้ายบทความตรงที่คุณพิมพ์ว่า {{รายการอ้างอิง}} การพิมพ์ดังกล่าวจะสร้างรายการเชิงอรรถที่ใช้ในบทความขึ้น และควรตั้งชื่อหัวข้อนั้นว่า "อ้างอิง" หรือ "เชิงอรรถ" โดยเขียนดังนี้:
== อ้างอิง == {{รายการอ้างอิง}} |
โดยรายชื่อแหล่งอ้างอิงจะแสดงและเรียงลำดับให้โดยอัตโนมัติ
หากส่วนอ้างอิงกินเนื้อที่มากเกินไป แลดูไม่สวยงาม สามารถแบ่งการแสดงผลเป็นสอง หรือสามคอลัมน์ โดยใส่
{{รายการอ้างอิง|2}} หรือ {{รายการอ้างอิง|3}} |
อ้างอิงหลายจุดในบทความ จากแหล่งเดียวกัน
ในครั้งแรก หลังจากประโยค หรือส่วนที่อ้างอิง ให้ใส่ตัวแปร "name" และระบุชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนี้
<ref name="name">ที่มาของแหล่งอ้างอิง</ref> |
การอ้างอิงครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อหนังสือ ให้ใส่เพียงชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิง:
<ref name="name"/> |
หมายเหตุ: หากชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนั้น (1) เป็นภาษาอังกฤษ (2) ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยตัวเลข และ (3) ไม่มีการเว้นวรรค สามารถละเครื่องหมาย "..." (อัญประกาศ) ได้ เช่น <ref name=abc>
อ้างอิงแบบย่อ
ในหลายบทความมีการใช้การอ้างอิงแบบย่อในเชิงอรรถ โดยเขียนเฉพาะผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า ตัวอย่างเช่น <ref>Smith 2010, p. 1.</ref> รายการเชิงอรรถจะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติตามที่ได้ระบุไว้ด้านบนแล้ว สำหรับแหล่งข้อมูลเต็มจะระบุไว้ในส่วน "บรรณานุกรม" หรือคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น
ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือข้าพเจ้าได้เห็นมา<ref>กุหลาบ สายประดิษฐ์, 2500, หน้า 5</ref> == อ้างอิง == {{รายการอ้างอิง}} == บรรณานุกรม == * กุหลาบ สายประดิษฐ์, ข้าพเจ้าได้เห็นมา, สำนักพิมพ์ สุภาพบุรุษ, 2494 |
ซึ่งจะปรากฏในบทความดังนี้:
ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือข้าพเจ้าได้เห็นมา[1]
อ้างอิง
บรรณานุกรม
|
อ้างอิงทั่วไป
อ้างอิงทั่วไปเป็นการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งสนับสนุนเนื้อหา แต่ไม่แสดงเป็นอ้างอิงแทรกในเนื้อหา อ้างอิงทั่วไปโดยปกติจะทำรายการไว้ท้ายบทความในส่วน "อ้างอิง" และมักเรียงตามชื่อของผู้ประพันธ์ ตัวอย่างของอ้างอิงแบบทั่วไปมีให้ด้านบนในส่วนอ้างอิงแบบย่อแล้ว
นอกเหนือไปจากการใช้อ้างอิงทั่วไปเมื่อใช้อ้างอิงแบบย่อหรือแบบวงเล็บแล้ว ส่วนอ้างอิงทั่วไปยังรวมในบทความที่ใช้อ้างอิงแทรกในเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากการอ้างอิงนั้นยังมิได้ให้แก่ข้อมูลทั้งหมดในบทความ ในบทความที่ยังไม่ได้พัฒนา ส่วนอ้างอิงทั่วไปอาจมีได้แม้ว่าจะยังไม่มีอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเลยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเนื้อหาทั้งบทความได้รับการสนับสนุนด้วยแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว ข้อเสียของการใช้อ้างอิงทั่วไปเป็นอย่างเดียวคือ ความถูกต้องของการอ้างอิง (text-source integrity) จะเสียไป เว้นเสียแต่บทความนั้นสั้นมาก
ข้อมูลแหล่งอ้างอิงที่ควรระบุ
หนังสือ
การอ้างอิงหนังสือนั้นให้ระบุชื่อผู้ประพันธ์, ชื่อหนังสือ, เล่มที่ (ถ้ามี), เมืองที่พิมพ์ (ไม่จำเป็น), ชื่อสำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ และหมายเลข ISBN
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหานั้นควรเพิ่มหมายเลขหน้าที่เกี่ยวข้อง และยังอาจเพิ่มเลขบทได้ตามความเหมาะสม เมื่อมีการเจาะจงหมายเลขหน้า ควรระบุวันเดือนปีที่พิมพ์หรือระบุว่าเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่เท่าใดด้วย เพราะฉบับพิมพ์ครั้งถัดมาอาจมีจำนวนหน้าไม่เท่าเดิม
สำหรับการอ้างอิงในหนังสือที่มีผู้ประพันธ์หลายคนเขียนเป็นส่วน ๆ แยกกัน ควรมี ชื่อผู้ประพันธ์, ชื่อบท, ชื่อของบรรณาธิการหนังสือ, และชื่อของหนังสือและรายละเอียดอื่นข้างต้น
เมื่อหนังสือนั้นสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เช่น กูเกิลบุคส์ จะเป็นประโยชน์มากหากคุณเพิ่มลิงก์ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่ว่าเมื่อคลิกเข้าไปในชื่อหนังสือแล้วจะนำผู้อ่านไปยังหน้าที่กำลังกล่าวถึงได้ทันที ตัวอย่างเช่น
Rawls, John. [http://books.google.com/books?id=kvpby7HtAe0C&pg=PA18 A Theory of Justice]. Harvard University Press, 1971, p. 18. |
หมายเหตุ: ลิงก์ประเภทนี้ควรลิงก์ไปยังหนังสือที่มีหน้านั้นจริง ๆ หากไม่มี ก็ไม่ควรเพิ่ม
บทความวารสาร
การอ้างอิงบทความวารสารให้ระบุชื่อผู้ประพันธ์, ปีที่พิมพ์ (บางครั้งให้รวมเดือนด้วย), ชื่อเรื่องของบทความ (ในเครื่องหมายอัญประกาศ), ชื่อของวารสาร, ปีที่, ฉบับที่ และหมายเลขหน้า (คือ หมายเลขบทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์บางแห่ง)
สำหรับการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบุแล้วในส่วนหนังสือข้างต้น
หากบทความนั้นสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ ให้เพิ่มลิงก์ชื่อบทความไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น
Carr A, Ory D (2006). [http://dx.doi.org/10.1371/journal.pmed.0030496 Does HIV cause cardiovascular disease?] PLoS Medicine, 3(11):e496. |
บทความหนังสือพิมพ์
การอ้างอิงบทความหนังสือพิมพ์ให้ระบุชื่อหนังสือพิมพ์, วันเดือนปีที่พิมพ์, ชื่อผู้ประพันธ์ (ถ้ามี), ชื่อบทความ (ในเครื่องหมายอัญประกาศ) และเมืองที่พิมพ์ หากไม่ระบุในชื่อหนังสือพิมพ์แล้ว หมายเลขหน้าไม่จำเป็นต้องระบุ
หากบทความนั้นสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ ให้ลิงก์ชื่อบทความไปยังที่อยู่เว็บที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น
หน้าเว็บ
การอ้างอิงหน้าเวิลด์ไวด์เว็บนั้นให้ระบุชื่อผู้ประพันธ์, ชื่อบทความ (ในเครื่องหมายอัญประกาศ) ชื่อเว็บไซต์, วันเดือนปีที่เผยแพร่ (ถ้าทราบ), วันที่คุณได้รับข้อมูลนั้น ตัวอย่างเช่น 2008-07-15 (จำเป็นต้องระบุหากไม่ทราบวันเดือนปีที่เผยแพร่) หมายเลขหน้าสามารถเพิ่มได้ถ้ามี
บันทึก
การอ้างอิงบันทึกเสียงให้ระบุชื่อของผู้ประพันธ์เพลงหรือคนเขียนบท, ชื่อของผู้แสดง, ชื่อเพลง (ในเครื่องหมายอัญประกาศ), ชื่อของอัลบั้ม, ชื่อค่ายเพลง, ปีที่วางจำหน่าย, สื่อ (เช่น ตลับเทป, ซีดี, ไฟล์เอ็มพี3)
สำหรับการอ้างอิงภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ หรือบันทึกวิดีโอ ให้ระบุชื่อผู้กำกับ (หรือผู้อำนวยการสร้างถ้าเทียบเท่ากัน), ชื่อของนักแสดงคนสำคัญ, ชื่อของตอนนั้นในเครื่องหมายอัญประกาศ (ถ้ามี), ชื่อของภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์, ชื่อของสตูดิโอ, ปีที่เผยแพร่, สื่อ (เช่น ภาพยนตร์, ดีวีดี)
อ้างอิงตามที่คุณพบเจอ
อย่าอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่คุณไม่ได้พบเจอด้วยตัวคุณเอง หากคุณอ่านหนังสือและมีระบุว่าหนังสือเล่มนั้นอ้างอิงจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ให้เขียนดังนี้
Smith, John. Name of Book I Haven't Seen, Cambridge University Press, 2009, p. 1 อ้างใน Paul Jones (ed.). Name of Encyclopedia I Have Seen. Oxford University Press, 2010, p. 2. |
ความถูกต้องของการอ้างอิง
เมื่อใช้การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาก็มีความสำคัญอย่างมากที่จะรักษาความถูกต้องของการอ้างอิง จุดประสงค์ของการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาคือการให้ผู้อ่านและผู้แก้ไขคนอื่น ๆ ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น แต่จุดประสงค์ดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จหากการอ้างอิงวางไว้อย่างไม่ชัดเจน ระยะห่างระหว่างข้อความและแหล่งข้อมูลอยู่ที่การตัดสินใจของผู้เขียนเอง แต่การเพิ่มเติมข้อมูลโดยไม่ระบุถึงแหล่งข้อมูลอย่างชัดเจนนั้นอาจนำไปสู่การกล่าวหาว่าเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ ละเมิดนโยบายการอ้างอิง หรือแม้กระทั่งโจรกรรมทางวรรณกรรม ผู้เขียนควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังเมื่อจัดรูปแบบหรือเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อความและแหล่งข้อมูลยังคงเป็นไปเช่นเดิม
จากตัวอย่าง รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาด้านล่างไม่เป็นประโยชน์มากนัก เนื่องจากผู้อ่านไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลใดสนับสนุนข้อความส่วนใดบ้าง หรือแหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งสนับสนุนข้อความบางส่วน หรือมีเพียงแหล่งเดียวที่สนับสนุนข้อความดังกล่าว ในขณะที่แหล่งที่เหลือควรจะถูกจัดเป็น "แหล่งข้อมูลอื่น" มากกว่า:
ไม่สำเร็จ ดีเลีย สมิธ เป็นคนเขียนหนังสือทำอาหารที่ขายดีที่สุดในสหราชอาณาจักร[1][2][3][4] |
วิธีระบุว่าปัญหาอ้างอิง
คำสั่งที่พิมพ์ | โอกาสที่ใช้ | ผลลัพธ์ | ||
---|---|---|---|---|
|
ใส่ไว้บนสุดของบทความ หรือใส่ภายในหัวข้อที่ต้องการอ้างอิงโดยเฉพาะ |
| ||
|
ใส่ไว้บนสุดของบทความ ที่มีแหล่งอ้างอิงอย่างน้อยหนึ่งแหล่ง แต่ยังไม่เพียงพอ |
| ||
|
ใส่ท้ายวลีหรือประโยคที่ต้องการแหล่งอ้างอิง ในจุดที่เป็นข้อกังขา | [ต้องการอ้างอิง] | ||
ใส่ต่อจากแหล่งอ้างอิง เพื่อระบุว่าแหล่งอ้างอิงนั้นยังขาดข้อมูลที่ควรระบุ | [ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] | |||
|
ใส่ท้ายวลีหรือประโยคที่ต้องการแหล่งอ้างอิง และเป็นถ้อยคำคลุมเครือ | [ใคร?] |
อย่างไรก็ดี หากข้อมูลนั้นเคลือบแคลงและเป็นโทษ ให้ลบออกทันทีโดยไม่ต้องติดป้าย คุณอาจนำไปไว้ในหน้าอภิปรายแทน
ดูเพิ่ม
- วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลอื่น สำหรับการเพิ่มลิงก์ให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเพิ่มเติม