วากาเมะ

(เปลี่ยนทางจาก วะกะเมะ)
วากาเมะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Chromalveolata
หมวด: Heterokontophyta
ชั้น: Phaeophyceae
อันดับ: Laminariales
วงศ์: Alariaceae
สกุล: Undaria
สปีชีส์: U.  pinnatifida
ชื่อทวินาม
Undaria pinnatifida
(Harvey) Suringar, 1873
สาหร่ายวากาเมะดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน188 กิโลจูล (45 กิโลแคลอรี)
9.14 g
น้ำตาล0.65 g
ใยอาหาร0.5 g
0.64 g
3.03 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(5%)
0.06 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(19%)
0.23 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(11%)
1.6 มก.
(14%)
0.697 มก.
โฟเลต (บี9)
(49%)
196 μg
วิตามินซี
(4%)
3 มก.
วิตามินอี
(7%)
1 มก.
วิตามินเค
(5%)
5.3 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(15%)
150 มก.
เหล็ก
(17%)
2.18 มก.
แมกนีเซียม
(30%)
107 มก.
แมงกานีส
(67%)
1.4 มก.
ฟอสฟอรัส
(11%)
80 มก.
โซเดียม
(58%)
872 มก.
สังกะสี
(4%)
0.38 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

วากาเมะ (ญี่ปุ่น: ワカメโรมาจิwakame) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Undaria pinnatifida เป็นผักทะเลหรือสาหร่ายทะเลกินได้ที่พบในประเทศญี่ปุ่น มีรสหวานละเอียดและมักเสิร์ฟในซุปและสลัด โดยเกษตรกรชาวญี่ปุ่นปลูกสาหรายชนิดนี้มาตั้งแต่ยุคนารา[1]

ชื่อ แก้

ชื่อสามัญดั้งเดิมมาจากภาษาญี่ปุ่นว่า วากาเมะ (ワカメ, わかめ, 若布, 和布)[2][3]

ในภาษาอังกฤษยังมีอีกชื่อว่า ซีมัสตาร์ด (sea mustard)[4] ภาษาจีนกลางเรียกว่า ฉวินไต้ไช่ (裙带菜, qúndài cài)[5] ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า วากาเม (wakamé) หรือ ฟูแฌร์เดแมร์ (fougère des mers, เฟิร์นทะเล) ในภาษาเกาหลีเรียกว่า มีย็อก (미역, miyeok)[5]

ศัพทมูลวิทยา แก้

ในภาษาญี่ปุ่นเก่าคำว่า me โดยทั่วไปหมายถึงสาหร่ายที่รับประทานได้ (seaweed) ตรงข้ามกับ mo หมายถึงสาหร่ายทั่วไป (algae) อักษรคันจิ เช่น 海藻, 軍布 และ 和布 ถูกนำมาใช้สำหรับการถอดความ[6] ในบรรดาสาหร่ายทะเล วากาเมะนิยมนำมารับประทานมากที่สุด ดังนั้น me จึงหมายถึงวากาเมะโดยเฉพาะ[7] ต่อมาความหมายขยายไปสู่สาหร่ายชนิดอื่น ๆ เช่นคาจิเมะ (kajime), ฮิโรเมะ หรือคมบุ (hirome; kombu), อาราเมะ (arame) เป็นต้น คำว่า "wakame" สืบเชื้อสายมาจาก waka + me (若布, ความหมายตามตัวอักษรคือ young seaweed) ถ้าวากะ waka เป็นคำนำหน้าแสดงการยกย่อง (เช่นเดียวกับกรณีของทามะ tama ในคำว่าทามากูชิ 玉串, tamagushi) วากาเมะจึงน่าจะเป็นคำที่ใช้แทนสาหร่ายสำหรับรับประทานซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยโบราณ[6] ในมังโยชู (万葉集, Man'yōshū) นอกจากคำว่า 和可米 และ 稚海藻 (ทั้งคู่อ่านว่า วากาเมะ) แล้ว ยังพบคำว่านิกิเมะ (和海藻, soft wakame) นอกจากนี้คำว่า ทามาโมะ (玉藻 ความหมายตามตัวอักษรคือ beautiful algae) ซึ่งมักปรากฏในมังโยชู อาจตีความได้ว่าคือคำในบทกวีที่หมายถึงวากาเมะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

สาหร่ายวากาเมะเป็นสาหร่ายสีน้ำตาลอมเขียวขุ่น เป็นสาหร่ายที่พบได้ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในทะเลญี่ปุ่น สามารถเติบโตในน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิเย็นปานกลาง หรือเย็นมาก ชาวญี่ปุ่นนิยมนำสาหร่ายวากาเมะมาใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีรสชาติที่อร่อย เช่น ซุป สลัด ตากแห้ง รวมไปถึงการทอดกรอบ เป็นต้น

นอกจากนี้สาหร่ายวากาเมะมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีจำนวนของคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำ ในขณะที่มีสรรพคุณที่มีคุณค่ากับร่างกายเป็นอย่างมาก สาหร่ายวากาเมะจึงกลายมาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและความงาม ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย[8]

สรรพคุณ แก้

ด้านความงาม แก้

  • ช่วยในการบำรุงผิวพรรณ สาหร่ายวากาเมะช่วยในการปรับสภาพผิว และเสริมสร้างกระบวนการทำงานของคอลลาเจนและอิลาสตินให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงผิวหนังทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยในการปกป้องผิว สาหร่ายวากาเมะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ให้ผิวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ลดอาการระคายเคือง ลดความหยาบกร้านของผิว นอกจากนี้ยังช่วยในการปกป้องผิวจากมลภาวะอีกด้วย
  • ช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสาหร่ายวากาเมะจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเผาผลาญไขมันสีขาวตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ในบริเวณพุง ต้นขา ต้นแขน เป็นต้น ซึ่งอวัยวะเหล่านี้มักจะเกิดการสะสมของไขมันสีขาวได้ง่ายกว่าอวัยวะส่วนอื่น ๆ [8]

ด้านสุขภาพ แก้

  • ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยลดความดันโลหิต พร้อมกับป้องกันภาวะหลอดเลือดในสมองแข็ง (Arteriosclerosis) รวมไปถึงการต่อสู้กับเนื้องอก และยังช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว
  • มีแคลเซียมสูงกว่านมถึง 14 เท่า การรับประทานสาหร่ายวากาเมะปริมาณ 50-100 กรัม จะเป็นการช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกายในปริมาณที่พอเหมาะใน 1 วัน นอกจากนี้สาหร่ายวากาเมะยังเหมาะสำหรับสตีมีครรภ์ที่ต้องการปริมาณแคลเซียมมากกว่าปกติ
  • ช่วยลดปัญหาท้องผูก สาหร่ายวากาเมะมีสภาพเป็น Salinity มีเกลือแมกนีเซียม หรืออัลคาไลน์ รวมไปถึงใยอาหาร ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเหมือนกับยาระบายตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีใยอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก และยังมีกรดอาลิกนิคที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเร่งขับถ่ายสารพิษต่าง ๆ ในทางเดินอาหาร ให้ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยแก้ปัญหาทางอาการปวดอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดบั้นเอวปวดไหล่ บ่าแข็งตึง เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นจากการไหลเวียนของเลือดที่บกพร่องไม่ปกติ
  • ช่วยในการบำรุงเลือด สาหร่ายวากาเมะมีส่วนประกอบของแร่ธาตุทองแดง และธาตุเหล็ก ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการบำรุงเลือด
  • ช่วยทำให้กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สาหร่ายวากาเมะมีส่วนประกอบของแม็กนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการบำรุงกล้ามเนื้อและระบบประสาท
  • ช่วยในการลดจำนวนกัมมันตภาพรังสีที่สู่ร่างกาย ผ่านการดูดซึมของลำไส้ได้ถึง 50-80% โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่นางาซากิ ที่รับประทานสาหร่ายทะเลเป็นประจำ คนเหล่านี้ไม่มีใครที่เกิดอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้นเลย แม้โรงพยาบาลจะอยู่ห่างจากจุดที่เกิดการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์เพียง 1 กม เท่านั้น
  • ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดขึ้นใหม่ สาหร่ายวากาเมะมีสารรูติน ที่มีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดขึ้นใหม่
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • มีวิตามินบี 12 ซึ่งสามารถพบได้น้อยมากในพืชและผัก ซึ่งเป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่รางกายของเราต้องการ[8]

ด้านการแพทย์ แก้

พบว่าในสาหร่ายวากาเมะนั้นมีสารอาหารต่าง ๆ มากมายทั้งโปรตีน พอลิแซ็กคาไรด์ เกลือแร่ วิตามินและยังมีไขมันในปริมาณน้อย[9] นอกจากนั้นยังมีสารอื่น ๆ อีกเช่น ฟูโคแซนทิน (Fucoxantin) ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาถึงผลของสารชนิดนี้มากมายหนึ่งในนั้นคือ ฤทธิ์ในการต้านการเกิดความอ้วน (anti-obesity)

ฟูโคแซนทินเป็นสารแคโรตินอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีส้ม แดง หรือเหลือง ชนิดหนึ่งที่พบในปริมาณมากในสาหร่ายสีน้ำตาลรวมทั้งในสาหร่ายวากาเมะ โดย Maeda และคณะพบว่ากลไกในการเกิดฤทธิ์ในการต้านการเกิดความอ้วนนั้นเกิดจากการที่ฟูโคแซนทินกระตุ้นให้มีการสร้าง uncoupled protein-1 (UCP-1) ในเซลล์ไขมันสีขาว (White adipose tissue) ซึ่งปกติ UCP-1 นั้นจะมีหน้าที่ในการสลายไขมันเพื่อทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย[10] โดยจะสามารถพบ UCP-1 ได้มากในเซลล์ไขมันสีน้ำตาล (brown adipose tissue) ซึ่งมีจำนวนน้อยในร่างกายคน โดย UCP-1 พบได้น้อยในเซลล์ไขมันสีขาวซึ่งพบเป็นส่วนมากในร่างกายมนุษย์[11] ดังนั้นการเพิ่ม UCP-1 จึงทำให้มีร่างกายมีการสลายไขมันมากขึ้น นอกจากนั้น Maeda และคณะยังได้ศึกษาในหนูทดลองโดยให้หนูทดลองกินอาหารที่มีไขมันสูงแล้วแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับฟูโคแซนทินและกลุ่มที่ไม่ได้รับฟูโคแซนทินโดยติดตามน้ำหนักของหนูทดลองเป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มหนูที่ได้รับฟูโคแซนทินมีน้ำหนักขึ้นน้อยกว่ากลุ่มหนูที่ไม่ได้รับฟูโคแซนทิน และพบว่ากลุ่มที่ได้รับฟูโคแซนทินมีน้ำหนักที่ใกล้เคียงกับหนูที่เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับอาหารในแบบปกติอีกด้วย[12]

ข้อควรระวังในการบริโภคสาหร่ายวากาเมะ แก้

ด้วยคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมา ทำให้มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมากนิยมนำสาหร่ายวากาเมะมาใช้เป็นส่วนประกอบ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานสาหร่ายวากาเมะ ก็มีข้อที่ควรพึงระวังสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพบางประเภท ดังนี้

  • ผู้ที่เป็นโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรระมักระวังในการบริโภค เนื่องจากสาหร่ายวากาเมะมีปริมาณของโซเดียมสูง
  • หากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เนื่องจากมีปริมาณของไอโอดีนสูง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการใจสั่น กระวนกระวาย และหิวตลอดเวลา อาการดังกล่าวสามารถพบได้ในกลุ่มของผู้ที่รับประทานสาหร่ายทะเลอัดเม็ดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายเดือน เมื่อหยุดทำการรับประทานอาการเหล่านั้นก็จะหายไปเอง[8]

อ้างอิง แก้

  1. Man'yōshū "比多潟の 磯のわかめの 立ち乱え 我をか待つなも 昨夜も今夜も" (Poetry on the theme of Wakame)
  2. "Undaria pinnatifida". Food and Agriculture Organization of the United Nations.
  3. "Undaria pinnatifida". Seaweed Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
  4. Kwon, Mya (June 5, 2013). "Sea Mustard aka "Miyeok"(Korean) or "Wakame"(Japanese)" (PDF). Washington.edu. สืบค้นเมื่อ February 9, 2020.
  5. 5.0 5.1 Abbott, Isabella A (1989). Lembi, Carole A.; Waaland, J. Robert (บ.ก.). Algae and human affairs. Cambridge University Press, Phycological Society of America. p. 141. ISBN 978-0-521-32115-0.
  6. 6.0 6.1 小学館国語辞典編集部 (ed.) (2006), 『日本国語大辞典』 精選版 (Nihon Kokugo Daijiten, Shorter Edition), 小学館, (ในภาษาญี่ปุ่น)
  7. There is also a theory: initially me stood for only wakame, and expanded to the word for general seaweeds afterwards. See 小島憲之 et al. (ed. & tr.) (1995), 『新編 日本古典文学全集7 萬葉集(2)』, 小学館, p.225, (ในภาษาญี่ปุ่น)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 ข้อมูลสาหร่ายวากาเมะ จากเว็บไซต์ kondoodee.com เก็บถาวร 2014-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557
  9. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถิติโรคอ้วน. เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557
  10. Venugopal V. Marine products for healthcare: functional and bioactive nutraceutical compounds from the ocean. Boca Raton, Fla: CRC Press/Taylor & Francis. 2009.
  11. Maeda H, Hosokawa M, Sashima T, Funayama K, Miyashita K. Fucoxanthin from edible seaweed, Undaria pinnatifida, shows antiobesity effect through UCP1 expression in white adipose tisuue. Biochemical and Biophysical Reseach Communication 2005; 332: 392-397.
  12. Saely CH, Geiger K, Drexel H. Brown versus white adipose tissue: A mini-riview. Gerontology 2012; 58: 13-23.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Undaria pinnatifida ที่วิกิสปีชีส์