อาวุธนิวเคลียร์

(เปลี่ยนทางจาก ระเบิดนิวเคลียร์)

อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันอย่างเดียว หรือ นิวเคลียร์ฟิชชันและนิวเคลียร์ฟิวชันรวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน (อะตอม) ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ (ระเบิดไฮโดรเจน) ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน[1]

เมฆรูปเห็ดสูง 16 กิโลเมตร ที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ ที่ถล่มฮิโรชิมะของญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง
ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบัน

อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดระเบิดทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็ก ๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิดไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น

มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 วัตถุประเภทจุดระเบิดยูเรเนียม (uranium gun-type) ชื่อรหัสว่า "ลิตเติลบอย" ถูกจุดระเบิดเหนือนครฮิโรชิมะของญี่ปุ่น อีกสามวันให้หลัง วันที่ 9 สิงหาคม วัตถุประเภทจุดระเบิดภายในพลูโตเนียม (plutonium implosion-type) ชื่อรหัสว่า "แฟตแมน" ระเบิดเหนือนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปประมาณ 200,000 ศพ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน จากการบาดเจ็บฉับพลันที่ได้รับจากการระเบิด[2]

นับแต่การทิ้งระเบิดฮิโรชิมะและนางาซากิ อาวุธนิวเคลียร์ถูกจุดระเบิดกว่าสองพันโอกาสเพื่อจุดประสงค์ด้านการทดสอบและสาธิต มีเพียงไม่กี่ชาติที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์หรือถูกสงสัยว่ากำลังแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ ประเทศที่ทราบว่าเคยจุดระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ และได้รับการรับรองว่าครอบครองอาวุธนิวเคีลยร์ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียเป็นผู้สืบทอดอำนาจนิวเคลียร์) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากนี้ อิสราเอลยังถูกเชื่ออย่างกว้างขวางว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้รับการรับรองว่ามี[3][4] รัฐหนึ่ง แอฟริกาใต้ เคยยอมรับว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำขึ้นก่อนหน้านี้ในอดีต แต่นับแต่นั้นได้แยกประกอบคลังแสงของตนและส่งให้กับผู้คุ้มครองนานาชาติ[5]

สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกาประเมินว่ามีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 15,700 หัวทั่วโลกใน พ.ศ. 2558 โดยมีราว 4,120 หัวถูกเก็บไว้ในสถานะ "ปฏิบัติการ" คือ พร้อมใช้งานได้ทันที[3]

ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์

แก้
 
Map of nuclear-armed states of the world.
  NPT-designated nuclear weapon states (China, France, Russia, United Kingdom, United States)
  Other states with nuclear weapons (India, North Korea, Pakistan)
  Other states presumed to have nuclear weapons (Israel)
  States formerly possessing nuclear weapons (Belarus, Kazakhstan, South Africa, Ukraine)
 
Over 2,000 nuclear tests have been conducted in over a dozen different sites around the world. Red Russia/Soviet Union, blue France, light blue United States, violet Britain, black Israel, yellow China, orange India, brown Pakistan, green North Korea and light green (territories exposed to nuclear bombs)

ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบัน

แก้
ประเทศ จำนวน วันที่เริ่มทดลอง สถานที่แรกที่ทดลอง
รัฐอาวุธนิวเคลียร์ทั้งห้าที่อยู่ภายใต้NPT
  สหรัฐ 6,450 16 กรกฎาคม 1945 ("ทรินิตี") แอละโมกอร์โด, รัฐนิวเม็กซิโก
  รัสเซีย 6,850 29 สิงหาคม 1949 ("อาร์ดีเอส-1") เซมิพาลาทินส์ก, คาซัคสถาน
  สหราชอาณาจักร 215 3 ตุลาคม 1952 ("เฮอริเคน") หมู่เกาะมอนเตเบลโล, ออสเตรเลีย
  ฝรั่งเศส 300 13 กุมภาพันธ์ 1960 ("เจอร์บัวบลู") ทะเลทรายสะฮารา, เฟรนช์แอลจีเรีย
  จีน 280 16 ตุลาคม 1964 ("596") หลัวปู้พอ, ซินเจียง
มหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้NPT
  อินเดีย 130–140 18 พฤษภาคม 1974 ("สไมลิงบุดดา") โพคะราน, รัฐราชสถาน
  ปากีสถาน 140–150 28 พฤษภาคม 1998 ("ชาไก-1") Ras Koh Hills, บาโลชิสถาน
  เกาหลีเหนือ 10–20 9 ตุลาคม 2006 Kilju, ฮัมกย็องเหนือ
มหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ไม่ได้ประกาศ
  อิสราเอล 60–400 1960–1979

ประเทศที่ได้รับการแบ่งปันอาวุธนิวเคลียร์

แก้

ประเทศที่เคยมีอาวุธนิวเคลียร์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 43. ISBN 9780850451634.
  2. "Frequently Asked Questions #1". Radiation Effects Reserch Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ Sept. 18, 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "Federation of American Scientists: Status of World Nuclear Forces". Fas.org. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  4. "Nuclear Weapons – Israel". Fas.org. Jan 8, 2007. สืบค้นเมื่อ 2010-12-15.
  5. "Nuclear Weapons – South Africa". Fas.org. May 29, 2000. สืบค้นเมื่อ 2011-04-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้