ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ถือว่าเป็นราชวงศ์ที่อยู่ช่วงเวลาจุดรุ่งเรืองที่สุดของสมัยราชอาณาจักรกลางโดยเหล่านักไอยคุปต์วิทยา ซึ่งมักจะรวมเข้ากับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด สิบสาม และสิบสี่ให้อยู่ในช่วงเวลาของสมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักวิชาการบางคนถือเพียงแค่ว่าราชวงศ์ที่สิบเอ็ดและราชวงศ์ที่สิบสองเป็นส่วนหนึ่งในสมัยราชอาณาจักรกลางเท่านั้น

ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

1991 ปีก่อนคริสตกาล – 1802 ปีก่อนคริสตกาล
รูปสลักพระสรีระส่วนบนของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 จากสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐ เมืองมิวนิค
รูปสลักพระสรีระส่วนบนของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3
จากสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐ เมืองมิวนิค
เมืองหลวงทีบส์, อิทจ์-ทาวี
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคทองแดง
• ก่อตั้ง
1991 ปีก่อนคริสตกาล 
• สิ้นสุด
 1802 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์

ประวัติราชวงศ์ แก้

ลำดับเหตุการณ์ภายในช่วงราชวงศ์ที่สิบสองนั้นคงที่ที่สุดในยุคใดๆ ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักรใหม่ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้บันทึกระยะเวลาที่ราชวงศ์นี้ปกครองพระราชอาณาจักรอยู่ที่ 213 ปี (ระหว่าง 1991–1778 ปีก่อนคริสตกาล) นักบวชมาเนโทได้ระบุว่าราชวงศ์มีศูนย์กลางปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ แต่จากบันทึกชั้นต้นร่วมสมัยเป็นที่ชัดเจนว่าฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์นี้พระนามว่า อเมนเอมฮัตที่ 1 ได้ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองใหม่ที่มีนามว่า "อเมนเอมฮัต-อิทจ์-ทาวี" ("อเมนเอมฮัต ผู้ทรงยึดครองทั้งสองดินแดน") หรือเรียกอย่างง่ายว่า อิทจ์ทาวี[1] ซึ่งยังไม่ทราบที่ตั้งเมืองโบราณแห่งนี้ แต่สันนิษฐานว่าจะอยู่ใกล้เมืองฟัยยูม ซึ่งอาจจะตั้งใกล้สุสานหลวงที่อัลลิชต์[2]

ลำดับของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสองนั้นเป็นที่ทราบอย่างดีจากหลายแหล่งหลักฐานคือ บันทึกพระนามกษัตริย์จำนวนสองรายการที่บันทึกไว้ในวิหารในเมืองอไบดอส และอีกหนึ่งบันทึกที่เมืองซัคคารา รวมถึงบันทึกพระนามที่ได้จากงานเขียนของมาเนโท ซึ่งบันทึกไว้ในรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรสที่ 3 สามารถสัมพันธ์กับวัฏจักรโซทิก[3] ดังนั้น เหตุการณ์มากมายภายในราชวงศ์นี้มักถูกกำหนดให้เป็นปีใดปีหนึ่ง

บันทึกทางประวัติศาสตร์จากช่วงเวลาดังกล่าวที่กล่าวถึงพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ว่ามาจาก[4]บริเวณแอลเลเฟนไทน์ หรือ ตา-เซติ[5][6][7] โดยนักวิชาการหลายคนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแย้งว่าพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 น่าจะมาจากดินแดนนิวเบีย[8][9][10][11][12][13][14]

รายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ แก้

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสอง
พระนาม พระนามฮอรัส รูปภาพ รัชสมัย พีระมิด พระมเหสี
อเมนเอมฮัตที่ 1 เซเฮเทปอิบเร   1991 – 1962 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1 เนเฟริทาทเจเนน
เซนุสเรตที่ 1 (เซซอสทริสที่ 1) เคเปอร์คาเร   1971 – 1926 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 เนเฟรูที่ 3
อเมนเอมฮัตที่ 2 นุบเคาเร   1929 – 1895 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดขาว คาเนเฟรู

เคมินุบ?

เซนุสเรตที่ 2 (เซซอสทริสที่ 2) คาเคเปอร์เร   1897 – 1878 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดที่อัลลาฮูน เคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 1

โนเฟรตที่ 2 อิตาเวเรต? คเนเมต

เซนุสเรตที่ 3 (เซซอสทริสที่ 3) คาเคาเร   1878 – 1839 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดที่ดาห์ชูร์ เมเรตเซเกอร์

เนเฟิร์ตเฮนุท เคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 2 ซิตฮาธอร์ยูริเนต

อเมนเอมฮัตที่ 3 นิมาอัตเร   1860 – 1814 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดดำที่ฮาวารา อาอัต

เฮเทปิ เคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 3

อเมนเอมฮัตที่ 4 มาอาเครูเร   1815 – 1806 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแห่งมาซกูนาใต้ (สันนิษฐาน)
โซเบคเนเฟรู โซเบคคาเร   1806 – 1802 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือ (สันนิษฐาน)

ผู้ปกครองที่เป็นที่ทราบของราชวงศ์ที่สิบสอง มีดังนี้[15]

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 แก้

ราชวงศ์ที่สิบสองสถาปนาขึ้นโดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งอาจจะเป็นราชมนตรีของฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดพระนามว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 กองทัพของพระองค์เคลื่อนทัพไปทางใต้ไกลถึงแก่งน้ำตกที่สองของแม่น้ำไนล์และถึงทางตอนใต้คานาอัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับดินแดนคานาอันแห่งไบบลอสและผู้ปกครองชาวกรีกในทะเลอีเจียน พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 แก้

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ทรงโปรดให้ส่งคณะสำรวจเดินทางลงใต้ไปยังแก่งน้ำตกที่สามของแม่น้ำไนล์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 แก้

 
รูปสลักที่สวมมงกุฏสีแดงแห่งอียิปต์ล่างและใบหน้าที่สะท้อนถึงลักษณะของฟาโรห์ผู้ครองราชย์ น่าจะเป็นฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 หรือฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 รูปสลักดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์อันศักดิ์สิทธิ์สำหรับอิมิอุต และสวมกระโปรงสั้นศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปสลักไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนของผู้ปกครองที่มีพระชนม์ชีพ

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 ทรงเป็นฟาโรห์ในช่วงเวลาที่สงบสุข

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 แก้

 
รูปสลักส่วนพระเศียรของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ที่มีลักษณะอ่อนเยาว์ จากช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1870 ปีก่อนคริสตกาล พิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐที่มิวนิก
 
ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์
 
จารึกแห่งอับคาอู สร้างขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ก็ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะทรงอยู่อย่างสงบ

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 แก้

เมื่อพบว่าดินแดนนิวเบียเกิดความมากขึ้นในรัชสมัยผู้ปกครองพระองค์ก่อน ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 จึงทรงส่งคณะสำรวจไปยังดินแดนแห่งนิวเบีย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงส่งคณะสำรวจไปยังเลวานไทน์ การดำเนินการทางทหารของพระองค์ทำให้เกิดตำนานของนักรบผู้ยิ่งใหญ่นาม เซโซสทริส ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เล่าขานโดยมาเนโธ, เฮโรโดตัส และดิโอโดรัส ซิคูลัส โดยที่มาเนโธกล่าวว่า เซโซสทริส ในตำนานนั้นไม่เพียงพิชิตดินแดนเช่นเดียวกับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เท่านั้น แต่ยังพิชิตบางส่วนของคานาอันและข้ามไปยังยุโรปเพื่อผนวกเธรซ อย่างไรก็ตาม ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งในอียิปต์หรืองานเขียนร่วมสมัยอื่นๆ ที่ยืนยันคำกล่าวอ้างเพิ่มเติมของมาเนโธ

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 แก้

ฟาโรห์อเมนเอมเฮตที่ 3 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และยังทรงดำเนินการทางนโยบายต่างประเทศของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 พระราชอำนาจของราชวงศ์ที่สิบสองก็ถูกใช้ไปอย่างมหาศาล และปัญหาที่เพิ่มขึ้นในการปกครองก็ตกเป็นของผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระนามว่า โซเบคเนเฟรู เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ทรงเป็นที่จดจำสำหรับวิหารพระบรมศพที่ฮาวาราที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ซึ่งเฮโรโดตัส และดิโอโดรัส ซิคูลัส และสตราโบรู้จักในนาม "เขาวงกต" นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ มีการใช้ประโยชน์กับที่ลุ่มฟัยยูมเป็นครั้งแรก

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 แก้

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดา และทรงปกครองอยู่ประมาณเก้าปี

ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู แก้

ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 โดยที่พระองค์ทรงถูกทิ้งให้อยู่กับปัญหาทางราชการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งถูกบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเชษฐาของพระองค์หรือพระเชษฐาต่างพระราชมารดาหรือพระเชษฐาบุญธรรม[16] เมื่อฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 สวรรคต พระองค์ทรงกลายเป็นรัชทายาท เพราะพระภคินีของพระองค์พระนามว่า เนเฟรูพทาห์ ซึ่งทรงน่าจะเป็นรัชทายาทลำดับต่อไปในการปกครอง ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้าแล้วตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสอง ไม่มีบันทึกว่าพระองค์ทรงมีองค์รัชทายาท นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีรัชกาลที่ค่อนข้างสั้น และได้มีการเปลี่ยนแปลงในการสืบสันตติวงศ์ ซึ่งพระราชบัลลังก์อาจจะตกเป็นของรัชทายาทที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4[17]

วรรณกรรมอียิปต์โบราณ แก้

ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง วรรณกรรมอียิปต์โบราณได้รับการพัฒนาอย่างมาก ผลงานบางชิ้นที่รู้จักกันดีในช่วงเวลาดังกล่าว คือ เรื่องราวแห่งซินูเฮ ซึ่งมีสำเนาของบันทึกปาปิรุสหลายร้อยเล่มยังคงหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ ในสมัยราชวงศ์ที่สิบสองยังมีตำราคำสอนอีกหลายเล่ม เช่น ตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮตและเรื่องเล่าของชาวนาฝีปากกล้า

นอกจากนี้ ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบแปดยังทรงการเก็บรักษาบันทึกปาปิรุสอียิปต์ที่โดดเด่นที่สุด และบางส่วนซึ่งหลงเหลือรอดมาจนถึงทุกปัจจุบัน ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. Arnold, Dorothea (1991). "Amenemhat I and the Early Twelfth Dynasty at Thebes". Metropolitan Museum Journal. The Metropolitan Museum of Art. 26: 5–48. doi:10.2307/1512902. JSTOR 1512902.
  2. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. p. 159.
  3. Parker, Richard A., "The Sothic Dating of the Twelfth and Eighteenth Dynasties," in Studies in Honor of George R. Hughes, 1977 [1]
  4. "Then a king will come from the South, Ameny, the justified, by name, son of a woman of Ta-seti, child of Upper Egypt""The Beginning of the Twelfth Dynasty". Kingship, Power, and Legitimacy in Ancient Egypt: From the Old Kingdom to the Middle Kingdom. Cambridge University Press: 138–160. 2020.
  5. "Ammenemes himself was not a Theban but the son of a woman from Elephantine called Nofret and a priest called Sesostris (‘The man of the Great Goddess’).",Grimal, Nicolas (1994). A History of Ancient Egypt. Wiley-Blackwell (July 19, 1994). p. 159.
  6. "Senusret, a commoner as the father of Amenemhet, his mother, Nefert, came from the area Elephantine."A. Clayton, Peter (2006). Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 78.
  7. "Amenemhet I was a commoner, the son of one Sen- wosret and a woman named NEFRET, listed as prominent members of a family from ELEPHANTINE Island."Bunson, Margaret (2002). Encyclopedia of Ancient Egypt (Facts on File Library of World History). Facts on File. p. 25.
  8. General History of Africa Volume II - Ancient civilizations of Africa (ed. G Moktar). UNESCO. p. 152.
  9. Crawford, Keith W. (1 December 2021). "Critique of the "Black Pharaohs" Theme: Racist Perspectives of Egyptian and Kushite/Nubian Interactions in Popular Media". African Archaeological Review (ภาษาอังกฤษ). 38 (4): 695–712. doi:10.1007/s10437-021-09453-7. ISSN 1572-9842. S2CID 238718279.
  10. Jr, Richard A. Lobban (10 April 2021). Historical Dictionary of Ancient Nubia (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 9781538133392.
  11. Morris, Ellen (6 August 2018). Ancient Egyptian Imperialism (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 72. ISBN 978-1-4051-3677-8.
  12. Van de Mieroop, Marc (2021). A history of ancient Egypt (Second ed.). Chichester, West Sussex. p. 99. ISBN 1119620872.
  13. Fletcher, Joann (2017). The story of Egypt : the civilization that shaped the world (First Pegasus books paperback ed.). New York. pp. Chapter 12. ISBN 1681774569.
  14. Smith, Stuart Tyson (8 October 2018). "Ethnicity: Constructions of Self and Other in Ancient Egypt". Journal of Egyptian History. 11 (1–2): 113–146. doi:10.1163/18741665-12340045. ISSN 1874-1665.
  15. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, London 2004
  16. Dodson, Hilton, The Complete Royal Families of Egypt, 2004, p. 98.
  17. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period (1997), p. 15.