เรื่องราวแห่งซินูเฮ

เรื่องราวแห่งซินูเฮ (หรือที่รู้จักในชื่อ ซาเนฮัต)[2] ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดของวรรณคดีอียิปต์โบราณ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายหลังการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งพระองค์เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล และประพันธ์ขึ้นเมื่อราว 1875 ปีก่อนคริสตกาล ถึงแม้ว่าต้นฉบับที่ยังหลงเหลืออยู่จะมาจากในรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ซึ่งปกครองพระราชอาณาจักรอียิปต์ราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล[3]

Light gray stone surface with carved and painted images of two woman, a falcon-headed god, a black-haired man with a long goatee, a jackal-headed god, and Egyptian hieroglyphs inscribed along the top
ภาพนูนต่ำของของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 พร้อมด้วยทวยเทพ; การสวรรคตของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ทรงถูกรายงานโดยฟาโรห์เซนุสดรตที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ในเรื่องราวแห่งซินูเฮ
ซินูเฮ ในไฮเออโรกลีฟ
zAZ1n
h t
M1

zꜣ.nht[1]

มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องในหมู่นักไอยคุปต์วิทยาว่า งานเขียนมีเค้าโครงมาจากเหตุการณ์จริงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีนามว่า ซินูเฮ (อียิปต์โบราณ: Za-Nhet "บุตรชายแห่งมะเดื่อ")[4] โดยมีฉันทามติว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดว่างานเขียนนี้จะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา[5][a] ด้วยจากลักษณะที่เป็นสากลของตัวบทที่ค้นพบในตัวละครซินูเฮ รวมทั้งความรอบคอบและความเมตตาดุจดั่งเทพเจ้านั้น ผู้ประพันธ์นิรนามจึงถูกเรียกว่าเป็น "เชกสเปียร์แห่งอียิปต์" ซึ่งความคิดมีความคล้ายคลึงกันในตำราพระคัมภีร์ไบเบิล เรื่องราวแห่งซินูเฮได้ถูกเขียนขึ้นเป็นลักษณะบทกลอนและอาจจะมีการนำมาแสดงด้วย[7] ความนิยมอย่างมากของงานเขียนชิ้นนี้จะพบเห็นได้จากเศษชิ้นส่วนบันทึกเรื่องดังกล่าวที่ยังหลงเหลืออยู่จำนวนมาก[8]

เชิงอรรถ แก้

  1. เรื่องราวเริ่มต้นด้วยการสวรรคตของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสอง ในตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮต ซึ่งพระองค์อธิบายว่า ก่อนที่พระองค์สวรรคต พระองค์ทรงตกเป็นเหยื่อของการลอบปลงพระชนม์ได้อย่างไร[6]

อ้างอิง แก้

  1. Allen, James P. (June 21, 2000). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs. Cambridge University Press. ISBN 978-0-52177483-3 – โดยทาง Google Books.
  2. "Tale of Sanehat". แปลโดย Koch, Roland. University College London. 2000. Retrieved November 6, 2018.
  3. R. B. Parkinson, The Tale of Sinuhe and Other Ancient Egyptian Poems. Oxford World's Classics, 1999, p. 21
  4. James Karl Hoffmeier, Ancient Israel In Sinai: The Evidence for the Authenticity of the Wilderness Tradition, Oxford University Press 2005, p. 256
  5. James Peter Allen, Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs, Cambridge University Press 2000, p. 281
  6. Religion in ancient Egypt, Byron Esely Shafer, John B., Leonard H. Lesko, David P. Silverman, p. 160, Taylor & Francis, 1991 ISBN 0-415-07030-9.
  7. Edmund S. Meltzer, In search of Sinuhe: "What's in a Name?" Paper presented at The 58th Annual Meeting of the American Research Center in Egypt, Wyndham Toledo Hotel, Toledo, Ohio, Apr 20, 2007
  8. M. Lichtheim, Ancient Egyptian Literature, Volume I: The Old and Middle Kingdoms, 1973, p. 222, ISBN 0-52002899-6