พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (13 กันยายน พ.ศ. 2425 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ เป็นอธิบดีกรมเพาะปลูก ต้นราชสกุลเพ็ญพัฒน์[1] เป็นผู้นิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือลาวดวงเดือน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
อธิบดีกรมเพาะปลูก
ประสูติ13 กันยายน พ.ศ. 2425
สิ้นพระชนม์11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 (27 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์
หม่อม
หม่อมเทียม
พระบุตรหม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม
พรรณเพ็ญแข กฤดากร
หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์
ราชสกุลเพ็ญพัฒน์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5

พระประวัติ แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 41 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425 เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชันษา 20 ปี กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ[2]

ในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม พร้อมกับสร้างสวนหม่อนและสถานีเลี้ยงไหมขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพ ทรงจัดตั้งกองช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมา วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 กระทรวงเกษตราธิการได้รวมกองการผลิต, กองการเลี้ยงสัตว์ และกองช่างไหม ตั้งขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นอธิบดีกรมช่างไหมพระองค์แรก

งานหลักของกรมช่างไหม คือ การดำเนินงานตามโครงการของสถานีทดลองเลี้ยงไหม เริ่มด้วยการก่อตั้งโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นในพระราชวังดุสิต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 และเปิดโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นที่ปทุมวัน เรียกว่า "โรงเรียนกรมช่างไหม" เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิจัย และฝึกพนักงานคนไทยขึ้นแทนคนญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วังที่ประทับของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นบ้านของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) บิดาของเจ้าจอมมารดามรกฎ มีชื่อเรียกว่าวังท่าเตียน (เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งวัง เช่นเดียวกับวังท่าเตียนหรือวังจักรพงษ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์) มีโรงละครอยู่โรงหนึ่ง ในสมัยนั้นเรียกกันว่า ปรินส์เทียเตอร์

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงศักดินา 15000[3]

สิ้นพระชนม์ แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ประชวรวัณโรคภายในมานาน แม้พระบิดาจะพระราชทานหมอหลวงมาถวายการรักษา พระอาการก็ยังทรงและทรุดจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 เวลา 16.08 น. พระชันษา 27 ปี ในคืนนั้นพระบรมวงศานุวงศ์มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ตลอดทั้งเสนาบดีสรงน้ำพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ประดิษฐานบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑปใหญ่ แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 9 องค์ พระสงฆ์มีหม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (เนตร) เป็นประธานสวดสดับปกรณ์[4]

พระโอรส-ธิดา แก้

 
ตราประจำราชสกุลเพ็ญพัฒน์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระโอรสธิดา 3 องค์ ได้แก่[5]

  • หม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม (25 สิงหาคม พ.ศ. 2447 – 5 กันยายน พ.ศ. 2447)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กฤดากร; 1 ตุลาคม พ.ศ. 2431 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2446[6][7] มีพระธิดา 1 องค์

  • พรรณเพ็ญแข กฤดากร (11 กันยายน พ.ศ. 2448 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร (พระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
    • หม่อมหลวงเพ็ญศักดิ์ กฤดากร (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2476) สมรสกับมยุรี (สกุลเดิม สุขุม) และจุฑามาศ (สกุลเดิม สุคนธา)
    • หม่อมหลวงพรรณศิริ อัศวรักษ์ (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2478) สมรสกับวัฒนา อัศวรักษ์
    • หม่อมหลวงธิดาเพ็ญ มาลิก (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480) สมรสกับวัฒนา อัศวรักษ์ และศุภโยกต์ มาลิก

และมีพระโอรสกับหม่อมเทียม (สกุลเดิม คชเสนี) (พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 24 เมษายน พ.ศ. 2507) 1 องค์

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ (13 กันยายน พ.ศ. 2425 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ราชตระกูล แก้

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงจินดาพิจิตร (ด้วง)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านผู้หญิงหุ่น เพ็ญกุล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยานครอินทร์รามัญ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 24. 9 มิถุนายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชสกุลวงศ์, หน้า 91
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1003–1004. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1852–1853. 21 พฤศจิกายน ร.ศ. 128. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 259
  6. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i672.html
  7. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  8. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 21 (ตอน 27): หน้า 463. 2 ตุลาคม ร.ศ. 123. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 20 (ตอน 27): หน้า 444. 4 ตุลาคม ร.ศ. 122. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 15 (ตอน 26): หน้า 756. 27 กันยายน ร.ศ. 127. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เล่ม 25 หน้า 358 วันที่ 27 กันยายน ร.ศ.127
  12. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 35): หน้า 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
บรรณานุกรม
  • ศุภวัฒน์ เกษมศรี, หม่อมราชวงศ์ และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : บรรณกิจ ๑๙๙๑, 2549. 360 หน้า. หน้า 259. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 91. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น แก้