หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์
ร้อยตรี หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ทรงเป็นโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม กับหม่อมเทียม คชเสนี ประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม สิ้นพระชนม์ ขณะนั้นหม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ ชันษาได้ 5 ปี ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี ซึ่งเป็นเสด็จป้า ได้ศึกษากับครูผู้หญิงในพระบรมมหาราชวัง จนชันษาได้ 9 ปี จึงได้เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อ พ.ศ. 2458 ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2471 เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อย Sandhurst เมื่อสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับมารับราชการในกรมจเรทหารบกและกรมเสนาธิการทหารบกตามลำดับ
ร้อยตรี หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคพระหทัยวาย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2503
หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ สมรสกับหม่อมหลวงพอจิตร ปัทมสิงห์ มีโอรส 2 คน คือ [1]
- หม่อมราชวงศ์เพ็ญพิไชย เพ็ญพัฒน์ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - ) สมรสกับ เชอร์ลีย์ แอนน์ วีเลอร์ ชาวอังกฤษ และ เพ็ญศิรี แก้วสถิตย์
- หม่อมหลวงหญิงสุธารัตน์ เพ็ญพัฒน์ (แฝด) สมรสกับ วีระชัย อุดมมานะ
- หม่อมหลวงหญิงวิไลรัตน์ เพ็ญพัฒน์ (แฝด) สมรสกับ ชัยรักษ์ นภาบริรักษ์
- หม่อมหลวงพิพัฒนไชย เพ็ญพัฒน์
- หม่อมหลวงรังสิภัทร เพ็ญพัฒน์
- หม่อมหลวงนันทิวัชร เพ็ญพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์พัฒน์มหินทร์ เพ็ญพัฒน์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2480 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2523)
- หม่อมราชวงศ์เพ็ญพิไชย เพ็ญพัฒน์ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - ) สมรสกับ เชอร์ลีย์ แอนน์ วีเลอร์ ชาวอังกฤษ และ เพ็ญศิรี แก้วสถิตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2482 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2] สืบตระกูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ป.จ.ว.
พงศาวลีแก้ไข
พงศาวลีของหม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 1803 วันที่ 25 กันยายน 2482
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |