พงษ์เทพ เทศประทีป

พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] และอดีตเลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[2]

พงษ์เทพ เทศประทีป
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้านพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
ถัดไปธีรพล นพรัมภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางปริตา เทศประทีป
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.อ. พงษ์เทพ เทศประทีป เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 ที่ตำบลโพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพุฒ กับนางทวี เทศประทีป

การศึกษา

แก้

พล.อ. พงษ์เทพ เทศประทีป สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร ในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2511 นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

การทำงาน

แก้

ในช่วงสงครามเวียดนาม ร.ท. พงษ์เทพ เทศประทีป ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมวดที่ 1 สังกัดกองร้อยอาวุธเบาที่ 2 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลทหารอาสาสมัคร ร.ท. พงษ์เทพ เทศประทีป ไปผลัดที่ 1 ในปี พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512

พล.อ. พงษ์เทพ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในราชการทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 3 อาทิ

  • เสนาธิการกรมทหารราบที่ 3
  • ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 3
  • รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในปี พ.ศ. 2541 เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2542 และตำแหน่งสูงสุด คือ เสนาธิการทหารบก ในปี พ.ศ. 2546-2548

จากนั้นในปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์) ในรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549

พล.อ. พงษ์เทพ เป็นนายกสมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา และสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการขุดคลองไทยบริเวณคอคอดกระ[3][4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  2. คนสนิทยันป๋าเปรมยังแข็งแรง
  3. ดัน”คลองไทย” เป็นนโยบายรัฐ คาด1ปีได้คำตอบ
  4. ประชุมและแถลงการณ์ดำเนินงานคลองไทย (พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป)
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๗ กันยายน ๒๕๑๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๓๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๓ เมษายน ๒๕๑๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔