ผู้ใช้:Somsak Ung/ภาษาไทยที่ราบภาคกลาง

ภาษาไทยที่ราบภาคกลาง เป็น ภาษาไทยถิ่นกลาง ที่เป็นมาตรฐานในการเรียนภาษาไทยตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และใช้สำหรับการสอนภาษาไทยสำหรับคนต่างชาติอีกด้วย มีลักษณะสำเนียงเหน่อ

ลักษณะทางสัทศาสตร์ แก้

ภาษาไทยถิ่นนี้จัดเป็นภาษาไทยถิ่นกลาง หรือภาษาไทยมาตรฐาน ดังนั้นลักษณะการออกเสียงจึงมีความใกล้เคียงกับภาษาหนังสือมากที่สุด ทุกสำเนียงย่อยออกอักขระ "" และ "" จะเข้มงวดและแยกออกอย่างชัดเจน มีวรรณยุกต์ห้าเสียง หลักภาษาจะอยู่ตามระบบหลักภาษาไทยทุกประการ ลักษณะเด่นคือเหมือนเอื้อนเสียงเหมือนร้องเพลง

ต้นกำเนิด แก้

นักวิชาการกลุ่มหนึ่งมองว่าภาษาไทยถิ่นกลางเริ่มต้นมาในช่วยก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา โดยได้รับอิทธิพลมาจากภาษามอญโบราณ และด้วยรากฐานภาษาไทยที่มีอักขระเสียงที่ซับซ้อน จึงทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่พูดช้าเพราะต้องการความชัดเจน แรกเริ่มสำเนียงไทยกลางที่เป็นมาตรฐานคือสำเนียงสุพรรณบุรีซึ่งพบได้ในชาววัง มีลักษณะเหน่อและเหนียวหนืดได้อย่างเห็นชัด พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงตรัสสำเนียงถิ่นนี้เช่นกัน กระทั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้มีการกวาดต้อนชาวมอญครั้งใหญ่และนำชาวมอญมาที่สามโคกและพระประแดงจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยถิ่นนี้ครั้งใหญ่ในภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ทำให้ภาษาไทยใหม่ลดความเหน่อลงไป ส่วนถิ่นที่ยังรักษาอัตลักษณ์เหน่อหนักจะยังพบได้ในภาคตะวันตกของประเทศไทย

สำเนียงย่อย แก้

ภาษาไทยถิ่นกลางสามารถจำแนกย่อยได้อีกดังนี้

ภาคกลางตะวันออก แก้

  • สำเนียงอยุธยา (สำเนียงกรุงเทพรอบนอกก็เรียก) พบได้หลัก ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดสมุทรปราการ , และจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลางส่วนใหญ่ แม้จะเป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย แต่ด้วยลักษณะเหน่อเล็กน้อย จึงไม่เป็นที่นิยมใช้เป็นภาษากลาง โดยภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเช่นสุริโยไท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งแม้ว่าในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจะพูดสำเนียงสุพรรณบุรี แต่นั่นเป็นเพราะว่าสำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อ การฟังอาจจะต้องใช้ความตั้งใจ ดังนั้นสำเนียงนี้จึงมีความเหมาะสมมากกว่า มีความเหน่อเล็กน้อยและสำเนียงอยุธยาจะเหน่อคล้ายสำเนียงสุพรรณบุรี แต่สำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อมากกว่า มีข้อสันนิษฐานว่าสำเนียงการเล่นโขนในปัจจุบันคือสำเนียงอยุธยาโบราณ ซึ่งยังคงอัตลักษณ์การเอื้อนเสียงเอาไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 -3 ยังมีการใช้สำเนียงอยุธยาในกรุงเทพมหานคร และในเขตคลองสาน ซึ่งเป็นชุมชนของชาวกรุงศรีอยุธยาที่ลงมาตั้งรกรากในกรุงเทพมหานคร การใช้ภาษาไทยถิ่นนี้แทนภาษาไทยถิ่นกรุงเทพก็ต่อเมื่อไม่ต้องการความแข็งกระด้างแบบสำเนียงกรุงเทพ สมัยก่อนพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่จะฝึกให้พูดสำเนียงถิ่นนี้เพราะเป็นสำเนียงชนชั้นสูงในสมัยก่อน และถูกใช้เป็นบทความแต่งกลอน บทนิพนธ์ การแสดงโขน และนาฏศิลป์แขนงต่าง ๆ

ภาคกลางตะวันตก แก้

  • สำเนียงถิ่นระยอง พูดกันในแถบจังหวัดระยองและอำเภอสัตหีบ ปัจจุบันปรากฏว่าภาษาระยองดั้งเดิมนั้นมีจำนวนคนพูดค่อนข้างน้อย ที่พูดได้มักจะเป็นผู้สูงอายุ ทำให้ในขณะนี้มีผู้พยายามฟื้นฟูภาษาระยองขึ้นมาใหม่ทั้งในส่วนราชการและท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้วสำเนียงระยองยังแตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจยากของคนท้องถิ่นอื่นหรือจังหวัดอื่น สำเนียงทั้ง 3 จังหวัดในภาคตะวันออกนั้นมีการเปรียบเปรยไว้ว่า "ระยองฮิสั้น จันท์ฮิยาว ตราดฮิใหญ่" หมายถึงคำว่า "ฮิ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในสำเนียงภาคตะวันออก ซึ่งแปลว่า "เหรอ" เช่น ไปไหนมาฮิ แปลว่าไปไหนมาเหรอ ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกมีการลากเสียงสั้นและยาวที่แตกต่างกัน[1] แต่ลักษณะสำเนียงและวรรณยุกต์มีส่วนคล้ายกับสำเนียงโคราช ซึ่งเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกันอยู่
  • สำเนียงเหน่อแบบเวียงจันทน์ สำเนียงสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงเวียงจันทน์ ใช้พูดในกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ถึงอย่างไรก็ตามในภาษาลาวเวียงจันทน์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับภาษากลางสำเนียงสุพรรณบุรี เนื่องจากภาษาเวียงจันทน์ยังคงอัตลักษณ์ภาษาลาวดั้งเดิมไว้ที่มีไว้ตั้งแต่อาณาจักรล้านช้าง หลายคำในพงศาวดารลาวยังมีใช้คำเหล่านั้นอยู่ในปัจจุบัน เวียงจันทน์ย้ายเมืองหลวงลงมาจากเมืองหลวงพระบาง ในขณะที่สำเนียงลาวหลวงพระบางแทบไม่มีความเหน่อเลย สำเนียงเวียงจันทน์นั้นมีความเหน่อน้อยกว่าสำเนียงทางภาคตะวันตกของประเทศไทยมาก มีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน รวมถึงภาษาไทยภาคกลางและภาษาลาวเวียงจันทน์ต่างก็ไม่ได้มีการยืมคำใด ๆ ทั้งสิ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีสงครามกับทางเวียงจันทน์หลายครั้ง มีการเทครัวชาวลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในภาคอีสานและภาคกลางของไทยจำนวนมาก ในจังหวัดราชบุรีมีชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกเทครัวลงมาอาศัย และในปัจจุบันยังคงพูดภาษาลาวเวียงจันทน์อยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง มีข้อสันนิษฐานที่ชาวลาวเวียงจันทน์พูดเหน่อ อาจเป็นเพราะยุคสงครามเจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำลายเมืองเวียงจันทน์ และทางสยามส่งคนไปดูแลปกครองในมณฑลลาวพุงขาว กวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงมาเป็นจำนวนมาก ศักดินาสยามสมัยนั้นยังคงพูดเหน่อแบบชาวกรุงศรีอยุธยาและคล้ายสำเนียงหลวงสุพรรณบุรี, ในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามเสียประเทศลาวให้ประเทศฝรั่งเศส แต่กลับมีชาวลาวเวียงจันทน์เดิมที่คงจงรักภักดีต่อสยามได้ข้ามแม่น้ำโขงตามมาตั้งบ้านเมืองในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มีการบันทึกไว้ว่าชาวอำเภอท่าบ่อยังคงพูดสำเนียงเวียงจันทน์ดั้งเดิม ซึ่งต่างจากสำเนียงนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาวปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. "ภาษาถิ่นระยอง"สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง