ปลาแมกเคอเรล (อาหาร)

ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาสำคัญที่บริโภคกันทั่วโลก[1] เพราะมีไขมันสูง ปลาจึงเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ดี[2] เนื้อปลาเสียง่ายโดยเฉพาะในเขตร้อน ซึ่งกินแล้วอาจทำให้อาหารเป็นพิษ (scombroid food poisoning) ดังนั้น จึงควรกินในวันที่จับได้ ยกเว้นแช่เย็นหรือถนอมไว้[3]

ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกบนน้ำแข็ง
ปลาแมกเคอเรลรมควัน
ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน858 กิโลจูล (205 กิโลแคลอรี)
13.89 ก.
อิ่มตัว3.3 ก.
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว5.5 ก.
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่3.3 ก.
2,670 มก.
219 มก.
18.60 ก.
วิตามิน
วิตามินเอ167 IU
ไทอามีน (บี1)
(16%)
0.18 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(25%)
0.3 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(61%)
9.1 มก.
(18%)
0.9 มก.
วิตามินบี6
(31%)
0.4 มก.
โฟเลต (บี9)
(0%)
1.0 μg
วิตามินบี12
(363%)
8.7 μg
คลอรีน
(13%)
65.0 มก.
วิตามินซี
(0%)
0.4 มก.
วิตามินดี
(107%)
643 IU
วิตามินอี
(10%)
1.5 มก.
วิตามินเค
(5%)
5.0 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
12 มก.
เหล็ก
(13%)
1.63 มก.
แมกนีเซียม
(21%)
76 มก.
ฟอสฟอรัส
(31%)
217 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
314 มก.
โซเดียม
(6%)
90 มก.
สังกะสี
(7%)
0.63 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ63.55 ก.
คอเลสเตอรอล70.0 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

การถนอมปลาให้สดไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนการอัดปลากระป๋องและการแช่เย็นในคริสต์ทศวรรษที่ 19 การหมักเกลือและการรมควันเป็นวิธีหลักที่ใช้[4] ในประวัติประเทศอังกฤษ ปลาจะไม่ผ่านการถนอมอาหาร แต่จะกินสด ๆ เท่านั้น แต่ปลาเสียก็เป็นเรื่องสามัญ ทำให้มีนักเขียนถึงกับกล่าวไว้ว่า "มีการพูดถึงปลาแมกเคอเรลเหม็นในวรรณกรรมอังกฤษมากกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด"[5] ในประเทศฝรั่งเศส ปลามักจะหมักเกลือ จึงสามารถขายได้ทั่วประเทศ[5]

ในประเทศญี่ปุ่น ปลามักจะถนอมด้วยเกลือและน้ำส้มสายชูเพื่อทำซูชิชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซูชิปลาซาบะ เป็นอาหารที่ตามประวัติมาจากจังหวัดเกียวโต เป็นวิธีการแก้ปัญหาขนส่งปลาแมกเคอเรลไปยังเมืองภายในเกาะต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่ถนอมแล้ว จะเป็นปลาไม่สด[6] ถนนที่เชื่อมอ่าวโอบามะกับเกียวโตปัจจุบันเรียกว่า ถนนซาบะ (saba-kaido)

ระดับปรอทที่พบในปลาต่างกันมาขึ้อยู่กับสปีชีส์ หรือแม้แต่ในสปีชีส์เดียวกันแต่จับได้ในที่ต่างกัน แต่ก็ดูเหมือนจะสัมพันธ์กับขนาดของปลามากที่สุด เพราะปลาขนาดใหญ่อยู่ในโซ่อาหารระดับสูงกว่า[7] ตามองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) king mackerel (Scomberomorus cavalla) บวกกับปลากระโทงดาบ ฉลาม และปลาในวงศ์ Malacanthidae (tilefish) เป็นปลาที่เด็กและหญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีปรอทสูง จึงเสี่ยงภาวะปรอทเป็นพิษ[8][9]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Croker, Richard Symonds (1933). The California mackerel fishery. Division of Fish and Game of California. pp. 9–10.
  2. Jersey Seafood Nutrition and Health, State of New Jersey Department of Agriculture, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01, สืบค้นเมื่อ 2012-04-06
  3. "Scombrotoxin (Histamine)". Food Safety Watch. November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-09.
  4. Croker (1933), pp. 104–105
  5. 5.0 5.1 Clapham, JH; Postan, MM; Rich, EE (1941). The Cambridge economic history of Europe. CUP Archive. pp. 166–168. ISBN 978-0-521-08710-0.
  6. Itou, K; Kobayashi, S; Ooizmi, T; Akahane, Y (2006). "Changes of proximate composition and extractive components in narezushi, a fermented mackerel product, during processing". Fisheries Science. 72 (6): 1269–1276. doi:10.1111/j.1444-2906.2006.01285.x.
  7. Storelli, MM; Barone, G; Piscitelli, G; Marcotrigiano, GO (2007). "Mercury in fish: concentration vs. fish size and estimates of mercury intake". Food Addit Contam. 24 (12): 1353–7. doi:10.1080/02652030701387197. PMID 17852384.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. FDA. "Mercury Levels in Commercial Fish and Shellfish (1990-2010)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-14.
  9. Natural Resources Defense Council. "Protect Yourself and Your Family". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้